ครูเบนพูดถึงราชาธิปไตยสมัยใหม่ (5) ผลของการยกเลิกระบบอาณานิคมต่อราชาธิปไตย
(แปลจากปาฐกถานำของศาสตราจารย์ เบเนดิคท์ แอนเดอร์สัน เรื่อง "Modern Monarchies in a Global Comparative Perspective" ในการประชุม Democracy and Crisis in Thailand ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 9 มีนาคมศกนี้ ต่อจากตอนที่สี่)
ชะตากรรมของระบอบประชาธิปไตย : การยกเลิกระบบอาณานิคม
1946+ ราชาธิปไตยจอร์แดนซึ่งเดิมทีเป็นแว่นแคว้นที่สร้างโดยอังกฤษเมื่อ ค.ศ.1921 ได้เอกราชในปี ค.ศ.1946
1952 ราชาธิปไตยอียิปต์ภายใต้การควบคุมของราชวงศ์แอลเบเนียถูกทหารโค่น
1956+ ราชาธิปไตยเก่าแก่ของโมร็อกโกได้เอกราชจากฝรั่งเศสโดยสันติ
1957+ มลายาของอังกฤษได้เอกราชภายใต้ระบอบราชาธิปไตยที่ราชาทั้งหลายผลัดเปลี่ยน หมุนเวียนกันขึ้นครอง โดยที่ราชาเหล่านี้ล้วนอยู่ในอารักขาของอังกฤษ จากคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา
1958 ราชาธิปไตยอิรัก (ราชวงศ์ฮาชิม) ซึ่งอังกฤษยัดเยียดให้ถูกทหารโค่น
1961+ คูเวตและแว่นแคว้นเก่าของตนได้เอกราชจากอังกฤษ
1962 ซามัวได้เอกราชจากนิวซีแลนด์ (หลังเป็นดินแดนในอาณัติของสันนิบาตชาติและสหประชาชาติ) โดยมีกษัตริย์พร้อมกัน 2 องค์ และรัฐธรรมนูญ ค.ศ.1962
1963+ อังกฤษยอมให้เอกราชแก่ราชาธิปไตยสวาซิแลนด์ในระดับท้องถิ่น
1969 ราชาธิปไตยลิเบียถูกทหารโค่นด้วยรัฐประหาร
1970+ ตองกากลายเป็นราชาธิปไตยเอกราชหลังอยู่ในอารักขาของอังกฤษมา 90 ปี
1970+ ราชาธิปไตยกัมพูชาถูกทหารโค่นใน ค.ศ.1970 และฟื้นฟูขึ้นใหม่โดยสหประชาชาติใน ค.ศ.1993
"ผมอยากจะหยุดตรงนี้สักครู่เพื่อ เน้นย้ำผลลัพธ์สำคัญประการหนึ่งของการยกเลิกระบบอาณานิคม เรื่องนี้ไม่ค่อยมีใครสังเกตเห็นมากนักและน่าจะเป็นสิ่งที่ปลุกขวัญกำลังใจ ระบอบราชาธิปไตยที่เหลืออยู่ นั่นคือการยกเลิกระบบอาณานิคมและการขยายตัวอย่างใหญ่โตของสหประชาชาติ หมายความว่าอาณาเขตของชาติกลายเป็นสิ่งที่มีเสถียรภาพและศักดิ์สิทธิ์ขึ้น กว่าก่อนมาก
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1334312720&grpid=&catid=02&subcatid=0207