คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา
คิดเล่นเห็นต่าง กับ คำผกา ประจำวันที่ 3 มีนาคม 2556
โรงอาบน้ำสาธารณะคืออะไร...และอย่างไร?
http://www.dailymotion.com/VoiceTV#video=xxx1no
คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม 2556
เด็กไทยไปโรงเรียนอย่างไร?
http://www.dailymotion.com/VoiceTV#video=xxw69h
วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556
นับเสร็จแล้ว100% "สุขุมพันธุ์"นำโด่ง 1,256,349 คะแนน ทิ้งห่างพงศพัศ1.78แสนคะแนน คนกทม.ใช้สิทธิ63.98%
นับเสร็จแล้ว100% "สุขุมพันธุ์"นำโด่ง 1,256,349 คะแนน ทิ้งห่างพงศพัศ1.78แสนคะแนน คนกทม.ใช้สิทธิ63.98%
ประกาศผลการเลือกตั้งชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ในวันนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว หลังจากนับคะแนนครบ 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเวลา 20.13 น.ที่ผ่านมา ดังนี้
นับคะแนนแล้ว 6,548 จาก 6,548 หน่วย คิดเป็น 100.00 %
ผู้มาใช้สิทธิ 2,715,640 คน จาก 4,244,465 คน คิดเป็น 63.98 %
หม่อมราชวงศ์ สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้ 1,256,349 คะแนน
พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ ไก้ 1,077,899 คะแนน
ส่วนต่างคะแนนห่างกัน 178,450 คะแนน
เลือกตั้ง กทม.เที่ยวนี้ พท.ได้เสียงเพิ่มจากเดิม กว่า 75 % เชียวนะครับ
ดูตารางเปรียบเทียบนี้
อ.วิโรจน์ รำลึก 37 ปี ดร.บุญสนอง
อ.วิโรจน์ รำลึก 37 ปี ดร.บุญสนอง
อ.วิโรจน์ รำลึก 37 ปี ดร.บุญสนอง
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=Is6QndZytdQ
วิโรจน์ ตั้งวาณิชบ์ สนทนาและแลกเปลี่ยนความทรงจำผู้ร่วมอุดมการณ์งานรำลึก 37 ปี การจากไปของ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน ณ ห้องทิวลิป โรงแรม Rama Garden ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2556
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2556
รายการ Intelligence ประจำวันที่ 2 มีนาคม 2556 จากชุมชนถึงผู้ว่า
รายการ Intelligence ประจำวันที่ 2 มีนาคม 2556
จากชุมชนถึงผู้ว่า
ปัญหาชุมชนใน กทม.ยังรอผู้ว่าฯ มาแก้ไข ไม่ว่าใครจะได้รับเลือกก็ตาม ทั้งขยะที่กองรออยู่ ปัญหาการศึกษา ที่ชาวชุมชนรู้สึกว่า โรงเรียน กทม.ได้รับการเอาใจใส่น้อยกว่าโรงเรียนของ สพฐ. ปัญหายาเสพติด ที่เยาวชนกว่าครึ่งติดยาบ้า ยาไอซ์ ทั้งที่ชาวชุมชนรู้ว่าใครค้าใครเสพย์ แต่ทำอะไรไม่ได้ ปัญหาสุขภาพ ที่ไปๆ มาๆ คนจนในกรุงเทพฯ กลับได้รับการดูแลน้อยกว่าคนชนบท และปัญหาที่อยู่อาศัย ที่กำลังจะเป็นเรื่องใหญ่เพราะจะต้องไล่รื้อชุมชนตามโครงการป้องกันน้ำท่วม
ฟัง เสียงสะท้อนจาก ณัชพล เกิดเกษม ประธานสภาองค์กรชุมชน กทม. ว่าที่ ร.ต.รามัญ สาระพันธุ์ ประธานชุมชนเลียบคลองมอญ ทินกร จรรยา ประธานสภาองค์กรชุมชนเขตดอนเมือง ณัฐวดี มิ่งชัย ผู้ประสานงานองค์กรชุมชนเขตธุนบุรี และศิริศักดิ์ หาญชนะ คณะทำงานสภาองค์กรชุมชน เขตบึงกุ่ม
รายการ World Update ประจำวันที่ 3 มีนาคม 2556
รายการ World Update ประจำวันที่ 3 มีนาคม 2556
- กองกำลังนาโต้ออกมารับผิด
- รถไฟชิงกันเซ็งญี่ปุ่นตกราง
- "เบน แอฟเฟล็ค"กับบทบาทผู้กำกับอนาคตไกล
(คลิกฟัง)
http://www.dailymotion.com/video/xxwybv_yyyyy-yy-
- กองกำลังนาโต้ออกมารับผิด
- รถไฟชิงกันเซ็งญี่ปุ่นตกราง
- "เบน แอฟเฟล็ค"กับบทบาทผู้กำกับอนาคตไกล
(คลิกฟัง)
http://www.dailymotion.com/video/xxwybv_yyyyy-yy-
15 ปีองค์กรอิสระ 'วิษณุ วรัญญู' ชี้อำนาจล้น แนะเอาออกจาก รธน.
15 ปีองค์กรอิสระ 'วิษณุ วรัญญู' ชี้อำนาจล้น แนะเอาออกจาก รธน.
1 มี.ค.56 เว็บไซต์ประชาไทร่วมกับโครงการสะพาน จัดงานสัมมนา “15 ปีองค์กรอิสระ สำรวจธรรมาภิบาล สำรวจประชาธิปไตย” โดยมี คริสตี้ เคนนีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา และนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน
พงศ์เทพ กล่าวว่า องค์กรอิสระกับธรรมาภิบาลเป็นประเด็นที่สังคมไทยต้องขบคิดกันอย่างจริง จากประสบการณ์ที่ได้มีส่วนร่วมในการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งเป็นจุดก่อกำเนิดองค์กรอิสระนั้นทำให้เห็นว่า สสร.ในเวลานั้นผิดพลาด เพราะคิดว่าจะหาคนที่เพรียบพร้อมด้วยคุณธรรมความรู้เข้ามาในองค์กรอิสระ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้อย่างที่คาดหวัง ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือ ใครจะมาตรวจสอบองค์กรเหล่านี้ซึ่งมีอำนาจมหาศาล ทำอย่างไรที่จะจัดกลไกให้องค์กรเหล่านี้ต้องมีการยึดโยงกับประชาชนและต้อง ถูกตรวจสอบได้ รัฐธรรมนูญ 2550 สร้างกลไกที่ประหลาดมาก รัฐสภาซึ่งส่วนใหญ่มาจากประชาชน มีอำนาจจำกัดในการตรวจสอบองค์กรอิสระ กรรมาธิการต่างๆ ไม่สามารถเรียกคนในองค์กรอิสระ หรือฝ่ายตุลาการ มาสอบถามได้
รศ.วิษณุ วรัญญู ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด และหัวหน้าโครงการวิจัย 'องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ' เพื่อจัดทำข้อเสนอการปฏิรูปการเมืองเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.) ปี 2539 กล่าวว่า การพูดถึงองค์กรอิสระ หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพูดถึงรัฐธรรมนูญ ประเทศไทยถูกแช่แข็งด้านพัฒนาการรัฐธรรมนูญมาเป็นเวลานานนับแต่ปี 2490 การยกร่างรัฐธรรมนูญล้วนอยู่ในวงจรเดิมและขาดจิตนาการใหม่ๆ สวนทางกับกระแสโลก จนมาถึงรัฐธรรมนูญ 2540 จึงเริ่มมีสิ่งใหม่ จินตนาการใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่น องค์กรอิสระ การบรรจุองค์กรอิสระไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อให้หลุดพ้นจากการแทรกแซงของฝ่ายการ เมือง แต่ผลก็คือ ทำให้องค์กรเหล่านี้เองรวมถึงคนทั่วไปเข้าใจว่า คือ องค์กรอิสระเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นองค์กรเทียบเท่ารัฐสภา รัฐบาล ศาล ซึ่งเป็นไปไม่ได้ และทำให้องค์กรอิสระไม่ถูกตรวจสอบ
วิษณุกล่าวในรัฐธรรมนูญ 2550 ไปไกลยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญ 2540 องค์กรอิสระถูกจัดหมวดหมู่ว่าเป็น “องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ” อย่างชัดเจนในทางการตรวจสอบก็มีการจำกัดอำนาจศาลปกครองไว้ด้วยว่า จะตรวจสอบอำนาจชี้ขาดขององค์กรเหล่านี้ไม่ได้
เขากล่าวต่อว่า ลักษณะเช่นนี้ส่งผลเสียหลายประการ คือ เกิดการทับซ้อนกับอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยอื่นๆ และเป็นตัวนำสู่วิกฤตการเมือง การบริหารได้ง่าย และทำให้ไม่มีการคิดค้นที่จะมีองค์กรอิสระนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในรัฐ ธรรมนูญ ทั้งที่พัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคมไทยไปไกลจนควรจะต้องพัฒนาองค์กรอิสระขึ้นมา อีกหลายส่วน ซึ่งไม่จำเป็นต้องบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ สามารถออกเป็นกฎหมายเฉพาะได้ เช่น องค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่องคอมพิวเตอร์และข้อมูลข่าวสารออ นไลน์ เพื่อดูแลสิทธิเสรีภาพของประชาชน, องค์กรที่ดูแลเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของรัฐ, องค์กรที่ดูแลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม เป็นต้น
"รักในหลวง ห่วงลูกหลาน ทำให้ สนง. ทรัพย์สินฯ เป็นของประชาชน"
"รักในหลวง ห่วงลูกหลาน ทำให้ สนง.
ทรัพย์สินฯ เป็นของประชาชน"
"ชอบนะที่พวกสลิ่มและข้าราชบริพารทั้งหลายออกมาพูดกันมากมายทำนองว่า สำนักงานทรัพย์สินไม่ใช่ของกษัตริย์ และในหลวงไม่ได้รวยที่สุดในโลกเนี่ย ถ้าไม่อยากให้เสื่อมเสียพระเกียรติ ถ้าไม่อยากให้ถูกจัดอันดับเป็นกษัตริย์ที่รวยที่สุดในโลก ต้องบอกให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ยกเลิก พรบ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ 2491 และแก้ไขพรบ. สนง. ทรัพย์สินปี 2479 โดยด่วน และให้รัฐบาลคุมการบริหารและการใช้เงินภายใต้คณะกรรมการบริหารที่ตรวจสอบได้ กำกับได้ และให้ออกจากตำแหน่งได้ ทั้งนี้ ต้องเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและประท้วงในกรณีที่ สนง. ทรัพย์สินสร้างปัญหาต่อประชาชนได้ด้วยเช่นกัน นี่อาจจะเป็นเรื่องแรกท่ีสลิ่มคลั่งเจ้า กับคนไม่รักเจ้าเห็นพ้องต้องกันก็ได้นะ ... เอาไหม เอาไหม เอานะ?"
จรรยา ยิ้มประเสริฐ
20 กันยายน 2555
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ปัญหาของ สนง. ทรัพย์สินฯ ได้ตามลิ๊งค์ด้านล่างนี้
http://thaipublica.org/2012/07/crown-property-transparency/
http://prachatai.com/journal/2011/06/35539
http://prachatai.com/journal/2012/01/38952
ทรัพย์สินฯ เป็นของประชาชน"
"ชอบนะที่พวกสลิ่มและข้าราชบริพารทั้งหลายออกมาพูดกันมากมายทำนองว่า สำนักงานทรัพย์สินไม่ใช่ของกษัตริย์ และในหลวงไม่ได้รวยที่สุดในโลกเนี่ย ถ้าไม่อยากให้เสื่อมเสียพระเกียรติ ถ้าไม่อยากให้ถูกจัดอันดับเป็นกษัตริย์ที่รวยที่สุดในโลก ต้องบอกให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ยกเลิก พรบ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ 2491 และแก้ไขพรบ. สนง. ทรัพย์สินปี 2479 โดยด่วน และให้รัฐบาลคุมการบริหารและการใช้เงินภายใต้คณะกรรมการบริหารที่ตรวจสอบได้ กำกับได้ และให้ออกจากตำแหน่งได้ ทั้งนี้ ต้องเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและประท้วงในกรณีที่ สนง. ทรัพย์สินสร้างปัญหาต่อประชาชนได้ด้วยเช่นกัน นี่อาจจะเป็นเรื่องแรกท่ีสลิ่มคลั่งเจ้า กับคนไม่รักเจ้าเห็นพ้องต้องกันก็ได้นะ ... เอาไหม เอาไหม เอานะ?"
จรรยา ยิ้มประเสริฐ
20 กันยายน 2555
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ปัญหาของ สนง. ทรัพย์สินฯ ได้ตามลิ๊งค์ด้านล่างนี้
http://thaipublica.org/2012/07/crown-property-transparency/
http://prachatai.com/journal/2011/06/35539
http://prachatai.com/journal/2012/01/38952
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)