หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หน่ออ่อนของนายทุนในอาณาจักรจีนโบราณ 

 


ในยุคนี้จีนนำหน้าโลก มีการสร้างเมืองยักษ์ใหญ่ที่มีประชากรเป็นล้าน มีการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมเหล็กที่จ้างแรงงานจำนวนมาก เพื่อสร้างอาวุธและเครื่องมือ มีการผลิตดินปืน และสารเคมี โดยใช้ถ่านหินจากเหมืองเป็นเชื้อเพลิงแทนถ่านจากการเผาไม้
 
โดย C. H.

อาณาจักร ใหม่ของจีนหลังการล่มสลายของอารยะธรรมเก่า เริ่มเจริญภายใต้ราชวงศ์สุย และเจริญต่อไปภายใต้ราชวงศ์ถังเมื่อประมาณ ค.ศ. 600 มีการพัฒนาระบบชลประทาน และการปลูกข้าว การใช้สงครามเพื่อขยายอาณาจักร และมีการสร้างระบบการค้าขายไปในทุกทิศ ในเมืองกวางตุ้งมีพ่อค้าอิหร่าน มาเลย์ อินเดีย เวียดนาม และเขมร มีการเผยแพร่ภาษาจีนไปสู่เกาหลีและญี่ปุ่น และเทคนิคการทำกระดาษที่ริเริ่มในจีน ค่อยๆ เผยแพร่ตามเส้นทางการค้าขายไปสู่ตะวันตก
    
ยิ่งกว่านั้นมีการนำ ระบบข้าราชการมาใช้เพื่อบริหารอาณาจักร โดยที่ผู้ชายที่อยากเป็นข้าราชการจะต้องใช้เวลาเป็นนักศึกษาและสอบผ่านข้อ สอบราชการ ระบบข้าราชการของรัฐแบบนี้พยายามผูกขาดการค้าในเกลือ สุรา และชา และพยายามปฏิรูปที่ดินเพื่อให้มีเกษตรกรรายย่อยมากขึ้น เกษตรกรเหล่านี้จะได้จ่ายภาษีให้รัฐ แทนที่ความร่ำรวยจะกระจุกในมือของพวกขุนนางเจ้าของที่ดินเก่า
    
ใน ยุคนี้จีนนำหน้าโลก มีการสร้างเมืองยักษ์ใหญ่ที่มีประชากรเป็นล้าน มีการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมเหล็กที่จ้างแรงงานจำนวนมาก เพื่อสร้างอาวุธและเครื่องมือ มีการผลิตดินปืน และสารเคมี โดยใช้ถ่านหินจากเหมืองเป็นเชื้อเพลิงแทนถ่านจากการเผาไม้ ใน ค.ศ. 1078 จีนผลิตเหล็กมากกว่า 114,000 ตันในขณะที่อังกฤษในปี ค.ศ. 1788 สมัยปฏิวัติอุตสาหกรรมผลิตแค่ 68,000 ตัน ท่ามกลางการพัฒนาดังกล่าว พ่อค้ารายใหญ่ขึ้นมาเป็นหน่ออ่อนของนายทุน และมีบทบาททางสังคมมากขึ้น คนเหล่านี้มักจะสนใจศาสนาพุทธและศาสนาอื่นๆ

แต่ความคิดความเชื่อ หลักในหมู่ข้าราชการจะเป็นลัทธิขงจื๊อ ที่เน้นระเบียบวินัยและความอนุรักษ์นิยม และดูถูกการค้าขายและชนชั้นล่างทั้งหมด ที่สำคัญคือระบบชลประทาน และการผลิตแบบอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ ที่เป็นพื้นฐานการผลิต ยังอยู่ในมือของรัฐข้าราชการ พ่อค้าจึงจำเป็นต้องพึ่งพาอำนาจของรัฐข้าราชการนี้และไม่สามารถยึดอำนาจรัฐ ได้
    
พ่อค้าหรือหน่ออ่อนนายทุนจีนไม่มีโอกาสที่จะฉวยโอกาสล้ม ระบบเก่าได้ในยุคท้ายของราชวงศ์ถัง ทั้งๆ ที่รัฐอ่อนแอลง เพราะกองทัพมองโกลบุกเข้ามายึดครองจีนและผู้นำใหม่ตั้งตัวเป็นราชวงศ์หยวน หลังจากนี้ไม่มีการพัฒนาเทคโนโลจีเหมือนเมื่อก่อน และหน่ออ่อนของนายทุนจีนก็พลาดโอกาสที่จะสร้างระบบทุนนิยมในยุคนั้น

 (ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/06/blog-post_07.html

[คลิป] เสวนา "อำนาจในการบัญญัติรัฐธรรมนูญเป็นของใคร ?"

[คลิป] เสวนา "อำนาจในการบัญญัติรัฐธรรมนูญเป็นของใคร ?"

 


Seminar : อำนาจในการบัญญัติรัฐธรรมนูญ

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=O_7Pqt9w_js#!

 


เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2555 สถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย จัดการเสวนา รัฐธรรมนูญ เสวนาวิชาการหัวข้อ "อำนาจในการบัญญัติรัฐธรรมนูญเป็น ของใคร ?"โดยผู้อภิปรายประกอบด้วย รศ.มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์และ นายมะโน ทองปาน นักวิชาการด้านกฎหมาย อดีตกรรมการบริหารสภาทนายความ ดำเนินรายการโดยศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ มีรายละเอียดดังนี้

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/40924

ฝากถึงรัฐบาลเพื่อไทย

ฝากถึงรัฐบาลเพื่อไทย


เสวนา"ปฎฺิญญาหน้าศาล

เสวนา"ปฎฺิญญาหน้าศาล

 


 
13.00 น. พบกับ "อ.สมศักดิ์"
16.00 น. ฟังปราศรัยหลากหลายท่าน และวงไฟเย็น

ณ ฟุตบาทหน้าศาลอาญา รัชดา

5 อำนาจในพายุตุลาการภิวัตน์ รัฐสภา-อัยการ-นิติบัญญัติระส่ำ

5 อำนาจในพายุตุลาการภิวัตน์ รัฐสภา-อัยการ-นิติบัญญัติระส่ำ

 

 

ทันทีที่ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ออกมาแสดงจุดยืน-หลักการของศาลรัฐธรรมนูญ ต่อกรณีที่มีคำสั่งให้รัฐสภาชะลอการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ออกไปก่อน

ดีกรีความขัดแย้งอาจจะทวีเพิ่มขึ้น หลังจากที่หน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้องต่างออกมาตบเท้าแสดงความเห็นในทิศทางที่ "ตรงข้าม" กับศาลรัฐธรรมนูญด้วยกันทั้งสิ้น

เริ่มจาก "สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์" ในฐานะประธานสภา ที่ออกมาแสดงท่าทียืนยันที่จะเรียกประชุมร่วมรัฐสภาเป็นกรณีพิเศษในวันที่ 8 มิ.ย. เพื่อพิจารณาร่างกฎหมายที่ค้างสภา แต่จะไม่มีการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันดังกล่าว

ประธานสภาระบุว่า เพื่อยึดผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก และไม่ต้องการให้ประชาชนเสียเลือดเสียเนื้อ

"หากสั่งให้เดินหน้าประชุมและให้ลงมติแก้รัฐธรรมนูญ วาระ 3 ก็ละเมิดอำนาจศาล แต่หากฟังคำสั่งศาล ผมก็ผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 291 วรรคห้า"

ขณะ ที่ "พิทูร พุ่มหิรัญ" เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร แถลงชี้แจงในทิศทางเดียวกับ "สมศักดิ์" ว่า ทีมกฎหมายรัฐสภาก็ได้ตีความอย่างสุจริตเพื่อให้ข้อมูลแก่ประธานสภา

โดยสรุปความเห็นได้ทั้งหมด 6 ประเด็น หยิบยกเอาหลักการแห่งรัฐธรรมนูญมา

สนับสนุนทั้งสิ้น 4 มาตรา ดังนี้
 


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1339211214&grpid&catid=03&subcatid=0305

รำลึก 9 มิถุนายน 2489 วันเริ่มต้นของการไม่พูดความจริงและการพูดความจริงไม่ได้ ใประเทศไทย

รำลึก 9 มิถุนายน 2489 วันเริ่มต้นของการไม่พูดความจริงและการพูดความจริงไม่ได้ ใประเทศไทย
 
 
http://a2.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/182149_3396339867994_67091323_n.jpg 
e-book จากห้องสมุด อ.ปรีดี "ข้อเท็จจริงกรณีสวรรคต [ฉบับสมบูรณ์] โดย สุพจน์ ด่านตระกูล ให้เพื่อนๆ download ไปอ่านเป็นความรู้ เนื่องในโอกาสครบรอบ 66 ปี วันที่ 9/6/2489 เวลา 9.09 น.
(คลิกอ่าน)http://www.mediafire.com/view/?2aj73zd15x6kfo4   
 

รัชกาลที่ ๘ อานันทมหิดล

http://www.youtube.com/watch?v=lXXeDTq7FVo&feature=related