หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ด่วน! พบแล้วสาเหตุ นาซ่า เลิกใช้สนามบินอู่ตะเภา ปชป. ไม่ควรพลาด !

ด่วน! พบแล้วสาเหตุ นาซ่า เลิกใช้สนามบินอู่ตะเภา ปชป. ไม่ควรพลาด !

 

พบแล้วสาเหตุ นาซ่า เลิกใช้สนามบินอู่ตะเภา



 

เชิญร่วมกลุ่มศึกษา "ปรองดองกับหลักการทำงานแนวร่วมในมุมมองมาร์คซิสต์"

เชิญร่วมกลุ่มศึกษา "ปรองดองกับหลักการทำงานแนวร่วมในมุมมองมาร์คซิสต์"

 

 

เชิญร่วมกลุ่มศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองมาร์คซิสต์

หัวข้อ "ปรองดองกับหลักการทำงานแนวร่วมในมุมมองมาร์คซิสต์"

นำเสนอโดย วิภา ดาวมณี

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม 55 เวลา 14.00-16.00 น.
ณ สำนักงาน TLC ซ.ลาดพร้าว 64 แยก 5(ไมมีที่จอดรถ)

สนใจร่วมวงโทรสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ที่เบอร์  085 044 1778

(ที่มา)http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/06/blog-post_29.html?spref=fb 

ย้อนรอย Intelligence 80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย

ย้อนรอย Intelligence 80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย

 

 

 

80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย "เงื่อนไขปฏิวัติสุกงอม"

http://shows.voicetv.co.th/intelligence/42038.html

 

80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย 'บทเรียนจากคณะราษฎร'

http://shows.voicetv.co.th/intelligence/42491.html

 

80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย ''ประวัติศาสตร์ที่ถูกทำให้ลืม''


http://shows.voicetv.co.th/intelligence/42671.html

และสุดท้าย ในวันเสาร์ 30 มิ.ย 2555
80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย "ปฐมบทรัฐธรรมนูญ"

http://shows.voicetv.co.th/intelligence/43170.html

เจาะข่าวตื้น 62 : สอดแหนมนาซา

เจาะข่าวตื้น 62 : สอดแหนมนาซา

 

เจาะข่าวตื้น 56 : เจาะรถไฟไทย

ขอต้อนรับเข้าสู่เจาะข่าวตื้นประจำวันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน 2555


(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=-nFb-kru6lQ&feature=player_embedded

เด็กสวนนันฯ ย้ำ ไม่เอา ม.นอกระบบ

เด็กสวนนันฯ ย้ำ ไม่เอา ม.นอกระบบ




นศ.มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา คัดค้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ระบุการดำเนินการขาดความโปร่งใส ไม่เป็นธรรม รวมทั้งขาดการมีส่วนร่วมของประชาคมสวนสุนันทา


เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. เวลาประมาณ 13.00 น. สภานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา พร้อมด้วยนักศึกษากว่า 300 คน รวมตัวกันบริเวณหน้าตึก 31 อาคารที่ใช้เป็นห้องประชุม เพื่อคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบด้วยเหตุผลที่ว่า "การดำเนินการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบที่เกิดขึ้นขาดความโปร่งใสและเป็นธรรม รวมทั้งขาดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของประชาคมสวนสุนันทา" 

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41330

โลกร้องรัฐบาลไทย 'ร่วม' ภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ

โลกร้องรัฐบาลไทย 'ร่วม' ภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ

 

โลกร้องรัฐบาลไทย 'ร่วม' ภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ

http://www.iccnow.org/

 
รายงานข่าวจากเว็บไซต์ประชาไท เผย คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (Asian Human Rights Commission: AHRC) ได้เผยแพร่แถลงการณ์ร่วมโดย องค์กรเครือข่ายเพื่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (Coalition for the International Criminal Court - CICC) เรียกร้องให้รัฐบาลไทยแสดงเจตจำนงที่จะร่วมกับประชาคมโลกในการต่อสู้ ต่อต้านระบบ “ลบล้างความผิด” (Impunity) ด้วยการให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court – ICC) ซึ่งเป็นศาลอาญาถาวรระหว่างประเทศแห่งแรก และแห่งเดียวของโลก ที่มุ่งจัดการกับคดีที่มีลักษณะเป็นอาชญากรรมสงคราม อาชญากรรมต่อต้านมนุษยชาติ และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
 
ประเทศไทย เป็นประเทศเป้าหมายหลักของการรณรงค์ระดับโลก เพื่อการให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรม ในเดือนตุลาคม 2554 การรณรงค์ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่จะเรียกร้องให้ประเทศภาคีสมาชิกของสห ประชาชาติให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรม ซึ่งถือเป็นอนุสัญญาสาคัญที่เป็นพื้นฐานแห่งการจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ ขึ้น
 
หนังสือลงวันที่ 3 ตุลาคม 2554 ที่องค์กรเครือข่ายระหว่างประเทศ ซึ่งมีสมาชิกหลากหลายมากมายกว่า 2500 องค์กร/ หน่วยงาน จาก 150 ประเทศทั่วโลก มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดศาลอาญาระหว่างประเทศ ที่มีความเที่ยงธรรม มีประสิทธิภาพ และมีความเป็นอิสระ ส่งถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เรียกร้องให้รัฐบาลไทยได้ดำเนินการให้เกิดความคืบหน้าสู่การให้สัตยาบันต่อ ธรรมนูญกรุงโรม ว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศในเร็ววัน 
 
ปัจจุบัน 118 รัฐภาคีทั่วโลก ได้เข้าร่วมกับภาคีธรรมนูญกรุงโรม ว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศแล้ว และล่าสุดประเทศมัลดริฟส์ได้เข้าร่วมเป็นภาคีสนธิสัญญาฉบับนี้ ในรอบสองปีที่ผ่านมา ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเซียได้เริ่มเข้ามีส่วนร่วมในศาลอาญาระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น อาทิ เช่น บังกลาเทศให้สัตยาบันเมื่อเดือนมีนาคม 2553 ฟิลิปปินส์ให้สัตยาบันเมื่อเดือนสิงหาคม 2554 และตามด้วยมัลดริฟส์ เมื่อเดือนกันยายน ที่ผ่านมา ภูมิภาคเอเซียยังคงเป็นภูมิภาคที่ด้อยจานวนภาคีสมาชิกในศาลอาญาระหว่าง ประเทศอยู่มากเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ กล่าวคือ มีเพียง 9 รัฐภาคีเท่านั้น ในปัจจุบัน 
 
การให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรมแห่งศาลอาญาระหว่างประเทศของรัฐบาลไทย จะเป็นแบบอย่างที่ดียิ่งสำหรับประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน “ประเทศไทยอยู่ในฐานะที่มีบทบาทโดดเด่นในภูมิภาคเอเซีย และบทบาทนำในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค” Evelyn Balais Serrano ผู้ประสานงานภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกขององค์กรเครือข่ายเพื่อศาลอาญาระหว่าง ประเทศระบุ
 
“ภายใต้รัฐบาลใหม่ ถือได้ว่านี่เป็นโอกาสอันสาคัญยิ่งที่ประเทศไทยจะพิจารณาให้สัตยาบันเข้า เป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมแห่งศาลอาญาระหว่างประเทศอย่างจริงจัง และนี่จะเป็นความพยายามในการกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศและประเทศเพื่อน บ้าน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการหยุดยั้ง และขจัด ‘การลบล้างความผิด’ (Impunity) และดำเนินการให้เกิดความยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเหยื่อผู้ถูกล่วงละเมิดท่ามกลางความขัดแย้งในอดีต ทั้งนี้ให้เป็นไปบนหลักการพื้นฐาน เป้าหมาย และเจตนารมย์แห่งธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ” 
 
องค์กรเครือข่ายเพื่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (CICC) ยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยได้มีส่วนร่วมในการประชุม ณ กรุงโรม และมีการดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อเข้าสู่กระบวนการให้สัตยาบัน และขณะเดียวกันก็ตระหนักว่าข้อท้าทายทางกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งเกิดเป็นประเด็นคำถามขึ้น อันสืบเนื่องมาจากความ (ไม่) สอดคล้องกันระหว่างธรรมนูญศาล กับกฎหมายภายในประเทศ องค์กรเครือข่ายเพื่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (CICC) เรียกร้องให้รัฐไทยได้ศึกษาบทเรียนการแก้ปัญหา หรือคลี่คลายความกังวลจากรัฐภาคีอื่นๆ ซึ่งประสบผลสำเร็จในการฝ่าข้ามความกังวลเหล่านั้นมาแล้วด้วยดี รัฐบาลใหม่ต้องแสดงจุดยืน และความมุ่งมั่นในการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 
 
“ภายใต้การปฏิรูประบบ กลไก และนโยบายหลักโดยรัฐบาล ผู้บริหารชุดใหม่พึงจะได้รับประโยชน์จากการเข้าเป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมด้วย ทั้งนี้จะเป็นการแสดงให้เป็นที่ปรากฎว่า ประชาชนไทยมีความห่วงใยและเห็นอกเห็นใจ รู้สึกในความสมานฉันท์กับผู้เจ็บปวด ผู้สูญเสีย และเหยื่อของความขัดแย้งในภูมิภาคเอเซีย และประเทศทั่วโลก” นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้นำสำคัญในคณะทำงานไทยว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศกล่าว 
 
เมื่อเข้าเป็นภาคีแล้ว รัฐบาลไทยจะสามารถเข้ามีส่วนร่วมในการประชุมประจำปีของรัฐภาคีของศาลอาญา ระหว่างประเทศ ในฐานะสมาชิก และเข้าร่วมประชุมเพื่อร่วมพิจารณาในประเด็นปัญหาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการ บริหารจัดการภารกิจศาล ตลอดจนการสรรหา/เลือกตั้งผู้พิพากษา หัวหน้าอัยการศาล และเจ้าหน้าที่ตาแหน่งสาคัญอื่น ๆ 
 
ข้อมูลพื้นฐาน 
ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) (ซึ่งแตกต่างจากศาลโลก หรือ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ - บรรณาธิการแปล) เป็นศาลถาวรระดับนานาชาติที่มีบทบาทอานาจในการพิจารณาพิพากษาคดีอาชญากรรม สงคราม อาชญากรรมต่อต้านมนุษยชาติ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยที่อำนาจหน้าที่ของศาลจะยืนบนหลักการ “เสริมแรง” (Complimentarity) คือ มีอำนาจเสริมกับระบบศาลระดับประเทศ ไม่แทรกแซงหรือก้าวก่ายอำนาจศาลในประเทศนั้น ๆ ทั้งนี้ศาลอาญาระหว่างประเทศ จะมีอำนาจในการตรวจสอบต่อเมื่อระบบศาลในประเทศนั้นไม่ “ใส่ใจ” หรือ “ไม่มีความสามารถ” ที่จะพิจารณารับคำฟ้องดังกล่าว อันมีลักษณะที่จะต้องดาเนินการให้ผู้บงการให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อต้านมนุษยชาติ และอาชญากรรมสงคราม ได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม 
 
จนถึงปัจจุบัน อัยการศาลกำลังไต่สวนอยู่ 6 คดี ก่อนนำขึ้นสู่การพิจารณาคดีในชั้นศาล ได้แก่ คดีประเทศแอฟริกากลาง คดีสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก คดีดาร์ฟูร์ ประเทศซูดาน คดีอูกันดา คดีเคนยา และคดีลิเบีย 
 
ศาลได้ออกหมายจับ 18 ฉบับ หมายเรียก 9 ฉบับ มีคดี 3 คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา นอกจากนี้ อัยการศาลยังขออนุมัติอำนาจจากศาลเมื่อเร็วๆ นี้ ให้เปิดการไต่สวนกรณีไอวอรี่ โคสต์ อัยการศาลยังระบุว่า เขากาลังพิจารณา 8 กรณี จาก 4 ภูมิภาค อันได้แก่ แอฟกานิสถาน โคลอมเบีย จอร์เจีย กีนี ฮอนดูรัส เกาหลีใต้ ไนขีเรีย และปาเลสไตน์ 
 
องค์กรเครือข่ายเพื่อศาลอาญาระหว่างประเทศ เป็นเครือข่ายระดับโลกขององค์กรภาคประชาสังคม ใน 150 ประเทศ ที่ทำงานร่วมกันในการสร้างเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศกับศาลอาญาระหว่าง ประเทศ เพื่อให้มีหลักประกันว่า ศาลจะมีความเที่ยงธรรม มีประสิทธิภาพ และเป็นอิสระ ดำเนินการเพื่อให้เกิดความยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง และมีความเป็นสากล นอกจากนี้ ยังรวมถึงการช่วยพัฒนากฎหมายในระดับประเทศให้สามารถอำนวยความเป็นธรรมแก่ เหยื่อจากอาชญากรรมสงคราม อาชญากรรมต่อต้านมนุษยชาติ และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ 
 
(ที่มา)  
http://news.voicetv.co.th/global/19877.html

hot topic บทบาทศาลรัฐธรรมนูญกับการเมือง 29 6 2012

hot topic บทบาทศาลรัฐธรรมนูญกับการเมือง 29 6 2012






(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=6T50vBvcSXo 

เปิดรายงาน “โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม”

เปิดรายงาน “โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม”

 



โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ยื่นคำร้องผ่านอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ ยกประเด็นขอบเขตอำนาจทางพื้นที่ เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีสัญชาติอังกฤษโดยกำเนิด 
 
อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล นักวิชาการจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อธิบายระบบศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC  ว่า  เป็นศาลที่ผู้รับผิดทางอาญาเป็นบุคคลธรรมดา   เป็นศาลเสริม เข้าไปไต่สวนในกรณีที่กระบวนการยุติธรรมในประเทศภาคีสมาชิกไม่สามารถดำเนิน การได้   ขณะนี้มีประเทศภาคีสมาชิกที่ให้สัตยาบรรณแล้ว 114  ประเทศ มี 54  ประเทศที่ลงนามในสนธิสัญญากรุงโรม แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบรรณ รวมทั้งประเทศไทย

ขอบเขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ เขตอำนาจทางเวลา เขตอำนาจทางเนื้อหา และเขตอำนาจทางพื้นที่หรือบุคคล  ศาลอาญาระหว่างประเทศ ดำเนินคดี 4 ฐานความผิด คือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์  อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ อาชญากรรมสงคราม และการรุกราน

การยื่นฟ้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศกระทำได้ผ่าน 2 องค์กร คือ รัฐภาคี และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ แต่นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ยื่นคำร้องผ่านอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ ให้เปิดการไต่สวนด้วยตนเอง โดยยกประเด็นขอบเขตอำนาจทางพื้นที่ เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีสัญชาติอังกฤษโดยกำเนิด  เนื่องจากอังกฤษเป็นรัฐภาคีของศาลอาญาระหว่างประเทศ
อาจารย์ปิยบุตร สำรวจสถิติคำร้องที่องค์กรต่าง ๆ ยื่นต่อ อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ ในรอบ 8 ปี นับแต่การก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศเมื่อปี 2002 พบว่า มีการยื่นคำร้องถึง 3,000 กว่าคำร้อง  แต่ที่มีการเปิดการไต่สวนมีเพียง  20 %  เท่านั้น

อาจารย์ปิยบุตร แบ่งเนื้อหารายงาน 250 หน้า ของโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ยื่นต่ออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศเป็น 3 ส่วน  คือ   ความเป็นมาของคนเสื้อแดง  การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการสังหารหมู่ และขอบเขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ

 
(คลิกฟัง)
http://shows.voicetv.co.th/intelligence/3881.html

"ซ้อมทรมานแบบไทยๆ" เปิดปมปัญหา-หลากข้อเสนอรูปธรรม

"ซ้อมทรมานแบบไทยๆ" เปิดปมปัญหา-หลากข้อเสนอรูปธรรม

 

ญาติเหยื่อทหารเกณฑ์ตายคาแข้งครูฝึก เล่าประสบการณ์เรียกร้องความเป็นธรรมที่ยังมาไม่ถึง ทนายความสิทธิฯ เผย 3 คดีเหนือ-อีสาน-ใต้ โชว์ความบกพร่องกฎหมายพิเศษ องค์กรสิทธิเสนอร่าง กม.ตั้งคณะกรรมการสอบสวนการซ้อมทรมาน ขณะศาลเตือนตั้งองค์กรใหม่ไม่เวิร์ค-เปลืองงบประมาณ

ในการเสวนาสาธารณะ เรื่อง การเข้าถึงความยุติธรรมและการเยียวยาเหยื่อซ้อมทรมาน ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. เนื่องในวันต่อต้านการซ้อมทรมานสากล พรเพ็ญ คงเจริญเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ผู้ดำเนินรายการ กล่าวนำการอภิปรายว่า ปัจจุบันประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน ซึ่งให้นิยามคำว่า "การทรมาน" ไว้ว่าคือการทำให้เกิดความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งเกิดขึ้นจากการกระทำที่เป็นเจตนา โดยมุ่งหมายต่อข้อสนเทศ คือ การรับสารภาพ หรือข้อมูลข่าวสาร ที่อาจจะเป็นประโยชน์กับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ แต่หากผู้ที่กระทำการดังกล่าวไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ จะไม่ใช่การทรมานตามความหมายนี้ อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นว่าการทรมานกระทำได้ ถ้าเป็นการลงโทษที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งประเทศไทยเป็นเพียงไม่กี่ประเทศที่ยังมีโทษประหารชีวิต ซึ่งก็เป็นที่วิจารณ์กันในวงการสิทธิมนุษยชนว่า อาจเข้าข่ายการทรมาน หรือเป็นการปฏิบัติโดยไร้มนุษยธรรมด้วย

ญาติเหยื่อบอกเล่าความยุติธรรมที่ยังมาไม่ถึง

ด้าน นริศราวัลณ์ แก้วนพรัตน์ นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เล่าถึงการเรียกร้องความเป็นธรรมในพลทหารวิเชียร เผือกสม น้าชาย ซึ่งเป็นทหารเกณฑ์ในพื้นที่สามจังหวัดและถูกครูฝึกรุมทำร้ายจนเสียชีวิต โดยได้ร้องเรียนมาตั้งแต่หลังจากผู้ตายเสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 มิ.ย.54 จนปัจจุบันนี้ก็ยังไม่ได้รับความเป็นธรรม



(อ่านนต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41323