หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทางออกที่ชัดเจนตรงไปตรงมาสำหรับประเทศไทย

โดยนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมใน Financial Times

ในบทความ “Thaksin’s dream can end Thai democracy” (ความฝันของทักษิณสามารถทำให้ประชาธิปไตยไทยสิ้นสุดลง โดยตีพิมพ์ในวันที่ 6 กรกฎาคม) ของนาย Joshua Kurlantzick ที่แสดงความกังวลใจว่า “ประชาธิปไตย” ในประเทศไทยตกอยู่ในวิกฤติหากนายกรัฐมนตรีที่ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งทักษิณ ชินวัตรได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับไปยังประเทศที่เลือกเขาให้เป็นผู้นำ ประเทศถึงสองครั้ง

ตั้งแต่ทักษิณถูกคณะรัฐประหารถอดถอนออกจากอำนาจในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ทักษิณตกเป็นเป้าโจมตีของกระบวนการตุลาการหลายครั้ง ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ไม่ได้กระทำภายใต้หลักนิติรัฐ แต่กระนั้น “ข้อหา” เดียวที่ทักษิณถูกตัดสินว่ามีความผิดคือ ข้อหาลงลายมือชื่อเพื่อให้อนุญาตให้ภรรยาเข้าร่วมประมูลที่ดินสาธารณะตามที่ กฎหมายกำหนด แม้ว่า ราคาซื้อขายที่ดินจะมีมูลค่าสูงกว่าราคาที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ประเมิน แต่ทักษิณยังมีความผิดฐานมี “ผลประโยชน์ทับซ้อน” และถูกตัดสินให้จำคุกเป็นเวลาสองปี ด้วยเหตุผลที่ว่าภรรยาของเขาไม่สมควรได้รับอนุญาตให้เข้าประมูลที่ดินในขณะ ที่สามีดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องผู้ดำรงตำแหน่งในสำนักนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีการคลังไม่มีอำนาจ เหนือหน่วยงานรัฐในการจัดการขายที่ดิน จึงยากที่จะสรุปว่าคดีของทักษิณไม่ใช่เรื่องอื่นใดนอกจากเป็นเรื่องที่มีมี เหตุจูงใจทางการเมือง

นาย Kurlantzick ละเลยและกล่าวเพียงว่า ปัญหาเดียวของการเดินทางกลับประเทศไทยของดร.ทักษิณคือ การที่ดร.ทักษิณปฏิเสธที่จะยอมรับคำพากพิพากษาลงโทษที่ไร้สาระของกลุ่ม ตุลาการที่ถูกเลือกสรรขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศยังอยู่ภายใต้การนำของรัฐบาล ทหาร และในขณะเดียวกัน นาย Kurlantzick ลืมที่จะกล่าวถึง กลุ่มนายพลที่ฉีกรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ยับยั้งการพัฒนาทางประชาธิปไตยที่ดำเนินมาเป็นเวลา 15ปี อนุมัติภูมิคุ้มกันทางกฎหมายเพื่อไม่ให้พวกเขาต้องถูกดำเนินคดี และการสังหารประชาชน 92รายซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในเดือนเมษายนและ พฤษภาคม พ.ศ.2553 ถูกปกปิดเพื่อไม่ให้ผู้นำพลเรือนและทหารที่วางแผนและสั่งสลายการชุมนุมถูก ดำเนินคดี

ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2554 พรรคเพื่อไทยซึ่งนำโดยน้องสาวของดร.ทักษิณ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรชนะการเลือกตั้งและได้ที่นั่งในสภาเป็นจำนวนมากในการเลือกตั้งที่ชอบ ด้วยกฎหมาย นี่เป็นครั้งที่ห้าที่พรรคการเมืองซึ่งเกี่ยวข้องหรือนำโดยดร.ทักษิณ ได้รับชัยชนะติดต่อกัน นักวิเคราะห์ข่าวอย่างนาย Kurlantzickอาจทำให้เราเชื่อว่าประชาธิปไตยในประเทศไทยสามารถรอดปลอดภัยได้ หากกลุ่มคนที่ได้รับประชามติจากประชาชนให้เข้ามาบริหารประเทศครั้งแล้วครั้ง เล่ายอมรับสิทธิของกลุ่มอำมาตย์ในการเลือกผู้นำประเทศ ปรับเปลี่ยนกระบวนการตุลาการ และล้มล้างคำตัดสินของประชาชนผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเท่านั้น แต่เราเชื่อมั่นในทางออกง่ายๆตรงไปตรงมา: การรักษาประชาธิปไตยในประเทศไทยให้รอดปลอดภัยนั้น ทหารจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือน ระบบความยุติธรรมต้องมีความเท่าเทียมภายใต้หลักนิติรัฐ และสถาบันที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งจะต้องยอมรับผลที่เกิดจากกระบวนการทาง ประชาธิปไตย

หมอตุลย์นำ "เสื้อหลากสี" ประท้วงสถานทูตญี่ปุ่น




"ตุลย์ สิทธิสมวงศ์" นัดกลุ่มเสื้อหลากสีรวมตัวกันที่สถานทูตญี่ปุ่นเพื่อคัดค้านการออกวีซ่าให้ กับ "ทักษิณ ชินวัตร" ก่อนไปกระทรวงไอซีทีเพื่อสอบถาม "อนุดิษฐ์ นาครทรรพ" ว่าจะปราบเว็บไซต์หมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ตามที่กล่าวไว้หรือไม่

มติชนออนไลน์ รายงานว่า ในเวลา 10.00 น. วันนี้ (18 ส.ค.) นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ผู้ประสานงานกลุ่มเครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน หรือ กลุ่มเสื้อหลากสี นัดรวมตัวกันที่สถานทูตญี่ปุ่น ถนนวิทยุ เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านการออกวีซ่าให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

จากนั้นในเวลา 14.00 น. กลุ่มคนเสื้อหลากสีจะเดินทางไปให้กำลังใจ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่ประกาศว่า จะปราบปรามเว็บไซต์หมิ่นสถาบัน โดยจะไปสอบถามว่าเรื่องดังกล่าวจะทำจริงหรือไม่ เพราะเท่าที่ผ่านมา นพ.ตุลย์ ยังไม่ได้มีการพูดคุยโดยตรงกับ น.อ.อนุดิษฐ์ แต่อย่างใด