หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ผู้ต้องหาคดีประวัติศาสตร์

ผู้ต้องหาคดีประวัติศาสตร์


โดย สุริวงค์ เอื้อปฏิภาน



นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กลายเป็นนายกฯระดับประวัติศาสตร์ไปแล้ว เพราะเป็นคนแรกที่ได้รับการแจ้งข้อหาร้ายแรงว่าร่วมก่อให้เกิดการฆาตกรรม ในคดีที่ประชาชนล้มตายกลางเมืองนับร้อย เนื่องจากการปราบปรามการชุมนุมของรัฐ

เป็นผู้นำทางการเมืองคนแรกที่ต้องเดินเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ตกเป็นผู้ต้องหา จากความตายของประชาชนที่ร่วมประท้วงทางการเมือง

ตาม บทสรุปของที่ประชุมร่วม 3 ฝ่าย อัยการ ตำรวจ ดีเอสไอ มีมติให้ตั้งข้อหาต่อนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ขณะนั้น ฐานร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 15 ปีถึง 20 ปี

หนักหนาสาหัสทีเดียว

จึงต้องนับเป็นนายกฯระดับประวัติศาสตร์ แต่เป็นประวัติศาสตร์เลือด

ประเทศไทยเราผ่านการปราบปรามผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยมาแล้วหลายครั้ง

นับจาก 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งรัฐบาลถนอม-ประภาส ต้องรับผิดชอบต่อประชาชนที่ตายกว่า 70 ศพ ด้วยการหลบหนีออกไปต่างประเทศ

มาถึง 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งผ่านการวางแผน สร้างเรื่อง แล้วล้อมฆ่า มีคนตายราวครึ่งร้อย ไม่มีการสอบสวนและไม่มีใครรับผิดชอบ

จาก นั้นเป็นกรณี 17 พฤษภาคม 2535 ยุครัฐบาลทหาร รสช. ลงเอยนายกฯขณะนั้น ต้องรับผิดชอบด้วยการลาออก และวางมือหายไปจากวงการอย่างสิ้นเชิง

สุดท้ายจึงเป็นเหตุการณ์ 10 เมษายน-19 พฤษภาคม 2553

กลยุทธ์ เพื่อไทย การแก้ "รัฐธรรมนูญ" ยิ่งกลัว ยิ่งเสื่อม

กลยุทธ์ เพื่อไทย การแก้ "รัฐธรรมนูญ" ยิ่งกลัว ยิ่งเสื่อม




ทั้งๆ ที่พรรคร่วมรัฐบาล ไม่ว่าพรรคชาติไทยพัฒนา ไม่ว่าพรรคชาติพัฒนา ไม่ว่าพรรคพลังชล ซึ่งร่วมอยู่ในคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ต่างเห็นชอบที่จะเดินหน้าการโหวตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3

ทั้งๆ ที่แม้กระทั่งประธานวุฒิสภาซึ่งเป็น ส.ว.ฉะเชิงเทรา รวมถึง ส.ว.เลือกตั้ง ส.ว.สรรหาจำนวนไม่น้อย

ต่างเห็นชอบที่จะเดินหน้าการโหวตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3

แต่ ดูเหมือนว่าเกจิทางการเมืองระดับ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เกจิทางการเมืองระดับ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ซึ่งดำรงอยู่ในตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ดำรงอยู่ในตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นประธานรัฐสภา

จะตกอยู่ในอาการลังเล ไม่แน่ใจ คนหนึ่ง ต้องการเวลาให้รัฐบาลในการทำงาน คนหนึ่งอ้างพระราชโองการในเรื่องการปรองดอง สามัคคี

เป้าหมายก็เพื่อที่จะยังไม่ให้มีการเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญ

เหมือน กับเป็นความปรารถนาดี เหมือนกับเป็นยุทธวิธีของการรักษาเสถียรภาพ เหมือนกับเป็นการปรองดองสมานฉันท์โดยไม่ไปแตะในสิ่งที่อีกฝ่ายหงุดหงิด ไม่พอใจ

ทำตัวเป็น "เด็กดี" ทางการเมือง


ความจริง การพิจารณาเรื่องรัฐธรรมนูญอย่างแยกจำแนกให้เป็นเรื่องของฝ่ายนิติบัญญัติ อย่างที่คณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสนอต่อนายก รัฐมนตรีนั้น

ถูกต้อง

ถูกต้องเพราะรัฐบาลถือว่าอยู่ในปีกของอำนาจบริหาร ขณะที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของอำนาจนิติบัญญัติ

น่าแปลกที่บางส่วนในรัฐบาลมิได้มีความแจ่มชัดในเรื่องนี้

เครือข่ายเฝ้าระวังพิทักษ์ฯ สถาบัน จี้นายกเอาผิด ม.112 บุคคลจากคลิป เสธ.อ้าย

เครือข่ายเฝ้าระวังพิทักษ์ฯ สถาบัน จี้นายกเอาผิด ม.112 บุคคลจากคลิป เสธ.อ้าย

 

ฝากรูป




กลุ่มเครือข่ายเฝ้าระวังพิทักษ์และปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ร้องเรียนนายก เอาผิดบุคคลจากคลิป เสธ.อ้าย "อภิวันท์-ก่อแก้ว-จุตพร-ชูพงศ์-ใจ-ทักษิณ" ชี้กระทบกระเทือน เปรียบเปรย พูดจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ 
 
7 ธ.ค. 55 - เว็บไซต์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์รายงาน ว่าที่ทำเนียบรัฐบาล กลุ่มเครือข่ายเฝ้าระวังพิทักษ์และปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ จากกรุงเทพมหานคร และ จ.ราชบุรี ประมาณ 40 คน นำโดยนายธานินทร์ พันธ์ประภากิจ ผู้ประสานงานเครือข่าย เข้าร้องเรียน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กรณีให้เร่งรัดดำเนินการทางกฎหมายกับกลุ่มคนที่พูดจาบจ้วงสถาบันพระมหา กษัตริย์ ทั้งนี้ จากการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือเสธ.อ้าย ประธานองค์การ เมื่อวันที่ 24 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยช่วงหนึ่งของการชุมนุมมีการเปิดคลิปวิดีโอที่ปรากฏกลุ่มบุคคลพูดจาจาบ จ้วงละเมิดสถาบัน ซึ่งกลุ่มบุคคลดังกล่าวมีความเกี่ยวข้อง และมีความสัมพันธ์กับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และพรรคเพื่อไทย ซึ่งรัฐบาลกลับไม่ดำเนินการใดๆ ต่อบุคคลกลุ่มนี้
       
โดยคลิปดังกล่าวมีพฤติกรรมจาบจ้วงใน 2 ลักษณะ คือ บุคคลที่มีพฤติกรรมกระทบกระเทือน เปรียบเปรยที่มีเจตนาให้คนฟังเข้าใจว่าหมายถึงบุคคลใด แต่ไม่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เช่น พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย นายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย และนายจุตพร พรหมพันธุ์ แกนนำกลุ่ม นปช. กลุ่มที่ 2 บุคคลที่กระทำความผิดตามมาตรา 112 ชัดเจน เช่น นายชูพงศ์ ถี่ถ้วน นายใจ อึ๊งภากรณ์ นักวิชาการคนเสื้อแดง และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ
 
นายธานินทธ์กล่าวว่า สิ่งที่พวกตนยอมไม่ได้ คือ การปล่อยให้มีการจาบจ้วงสถาบันเกิดขึ้น ในฐานะที่นายกฯ มีหน้าที่โดยตรงในการพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ หลังจากนี้จะติดตามการดำเนินการของรัฐบาลภายใน 30 วัน หากไม่มีการดำเนินการต่อกลุ่มบุคคลดังกล่าว ทางเครือข่ายฯ จะเดินทางมาชุมชุมอีกครั้ง และขอย้ำว่าเรามีหมัดเด็ดในการชุมนุมครั้งต่อไปถ้าหากรัฐบาลยังไม่ดำเนินการ อะไร
       
นายสมภาส นิลพันธ์ ผอ.ศูนย์บริการประชาชนสำนักปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนรับหนังสือร้องเรียนดังกล่าว พร้อมระบุว่าจะนำหนังสือร้องเรียนไปยื่นต่อนายกฯ ภายในวันนี้ และขอให้ผู้ชุมนุมทั้งหมดเดินทางกลับ
 
(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/12/44104 

"อย่าปล่อยให้เขาฆ่าประชาชนครั้งแล้วครั้งเล่า!"

"อย่าปล่อยให้เขาฆ่าประชาชนครั้งแล้วครั้งเล่า!"




อ.พวงทอง ภวัครพันธุ์ ได้ให้สัมภาษณ์มติชนในโอกาสสองปีหลังเหตุการณ์สังหารหมู่ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ว่าเราไม่ปล่อยให้ผู้ที่มีส่วนในการรับผิดชอบในเหตุการณ์รุนแรงครั้งนั้นต้องลอยนวล ซึ่งเป็นการสร้างสิ่งที่หลายคนเรียกว่า "วัฒนธรรมแห่งการหลุดพ้นโทษ" (culture of impunity) ให้กับชนชั้นนำของประเทศที่สังหารประชาชนครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ก็ไม่เคยมีใครได้รับโทษ