หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

80 ปี การปฏิวัติ 2475 "ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร" // นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มิถุนายน 55

80 ปี การปฏิวัติ 2475 "ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร" // นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มิถุนายน 55

 

 

 

(คลิกอ่าน) 

Open publication

 

ในเล่มพบกับ

แถลงการณ์ “องค์กรเลี้ยวซ้าย” ในวาระครบรอบ 80 ปี การปฏิวัติ ๒๔๗๕

โดย องค์กรเลี้ยวซ้าย

การปฏิวัติฝรั่งเศส

โดย C.H.

ละครตลกร้าย เรื่องการนำอาชญากรรัฐมาขึ้นศาล

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

Hunger Game ในโลกปัจจุบัน

โดย โคแบร

ยิ่งเลีย....ยิ่งล้าหลัง

โดย สมุดบันทึกสีแดง

อีกหนึ่งบาดแผลที่พวกนักขุดทอง ไม่อยากกล่าวถึงในพม่า

โดย ฮิปโป

รากฐานและรูปแบบของ “อำนาจ”

โดย ลั่นทมขาว
 
สังคมเป็นใหญ่ คือคำโกหกคำโต

โดย ครรชิต พัฒนโภคะ

จากกุข่าวรัฐประหาร กลายเป็นรัฐประหารโดยตุลาการ

โดย ยังดี โดมพระจันทร์
 
ว่าด้วยทุน เล่ม 2 บทที่ 1: วงจรของ “ทุนเงิน”

โดย กองบรรณาธิการ

(ที่มา)

Divas Cafe

Divas Cafe

 

แดงโห่ ปชป เฮ นักวิชาการซัด กระแสตีกลับเพื่อไทย Divas Cafe 13มิย55
http://youtu.be/vTCbQdANN1k
  
300ปี ชาตกาล 'ฌ็อง-ฌัก รุสโซ' 

(คลิกฟัง)
http://shows.voicetv.co.th/divas-cafe/43122.html

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand

 

 

Wake Up Thailand 28มิย55

(คลิกฟัง)http://www.youtube.com/watch?v=f1uBISiyf1U&feature=player_embedded

The Daily Dose

The Daily Dose


The Daily Dose 28มิย55

http://www.youtube.com/watch?v=YmueXqINQ88&feature=plcp

จริยธรรมประธานศาลรัฐธรรมนูญ

จริยธรรมประธานศาลรัฐธรรมนูญ


โดยชำนาญ จันทร์เรือง


ไม่น่าเชื่อข่าวที่รายงานใน Manager Online ว่าเป็นคำพูดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพราะรายงานข่าวได้บอกว่าเมื่อวันที่ 22 มิ.ย.ศาลรัฐธรรมนูญได้มีการจัดการสัมมนาบทบาทของสื่อมวลชน ในการพัฒนาระบบนิติรัฐและนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญ ระหว่างวันที่ 22-23 มิ.ย. ที่โรงแรม แกรนด์แปซิฟิก ซอฟเฟอริน รีสอร์ท แอนด์ สปา ชะอำ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี เพื่อให้สื่อมวลชนมีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่การนำเสนอข่าวสารให้ สาธารณชนรับทราบในผลการดำเนินงานศาลรัฐธรรมนูญ(???)

ซึ่งนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้เปิดเผยในงานสัมมนาว่า การจัดงานพบสื่อไม่ใช่เป็นการจัดเพื่อหาเสียงให้สื่อหันมาสนับสนุน เพราะสื่อถล่มศาลรัฐธรรมนูญอยู่ทุกวัน แต่มีเป้าหมายเป็นการสร้างความเข้าใจบทบาทหน้าที่ซึ่งกันและกัน การที่ว่าสื่อต้องทำความเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ชัดเจน เรื่องนี้ยาก เพราะสื่อบางครั้งก็ยังไม่เข้าใจเรื่องที่เกิดขึ้น ตลอดระยะเวลา 44 ปีที่ตนเองทำงานด้านกฎหมายมา จะว่าเป็นคนมืออ่อนหรืออย่างไรก็ว่ากันไป แต่ตลกที่มีคนที่ไม่ได้จบกฎหมายออกมาวิจารณ์ด่าศาลรัฐธรรมนูญทางโทรทัศน์ มันก็เป็นเรื่องแปลก ดังนั้น สื่อไม่ได้ทำตัวนำเสนอความคิดเห็นในหลายด้าน

“ขอนำคดีที่อยู่ในความสนใจขณะนี้ เรื่องที่ศาล รัฐธรรมนูญรับพิจารณาคำฟ้องกรณี รัฐบาล รัฐสภา กำลังยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มาตรา 68 เราก็ไปดูการพิจารณาของสภาวาระที่ 3 ก็เห็นว่าเป็นไปได้เหมือนกัน เพราะ รัฐสภาชุดนี้พิจารณากฎหมายแบบขายขาด แล้วโยนภาระให้ ส.ส.ร. ก็ต้องเสียเงินเลือกตั้ง ส.ส.ร.มาให้ร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีกรอบว่าไม่แตะต้อง หมวด 1 (บททั่วไป) และหมวด 2 (พระมหากษัตริย์) ต้องไม่แตะนะ ถ้าเขาร่างมาแล้วแตะล่ะ ใครจะทำไม อ๋อไม่เป็นไรมีประธานสภาเป็นผู้วินิจฉัย แต่ถ้าประธานสภาเห็นว่าให้ลงมติเลย เวลานั้นศาลรัฐธรรมนูญจะทำอะไรได้อีก เพราะเมื่อมีผลเป็นการลงประชามติไปแล้ว ผมขอย้ำเลยว่าถ้าเชื่อถือในบุคคล ก็ไม่ต้องมีกฎหมาย” นายวสันต์ กล่าว  

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41288

สนนท.จัดกิจกรรม 8 ทศวรรษประชาธิปไตยอำนาจสูงสุดยังไม่เป็นของราษฎรทั้งหลาย

สนนท.จัดกิจกรรม 8 ทศวรรษประชาธิปไตยอำนาจสูงสุดยังไม่เป็นของราษฎรทั้งหลาย

 

 

สนนท. จัดเสวนาและเวทีวัฒนธรรมรำลึก 80 ปีการปฏิวัติประชาธิปไตย ย้ำอำนาจยังไม่เป็นของราษฎร เพราะอำนาจเก่าขัดขวาง หนุนแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยให้ย้อนกลับไปดูรัฐธรรมนูญฉบับแรกในวันที่ 27 มิ.ย.2475 ที่เป็นประชาธิปไตยสุด


09.30 น. วานนี้(27 มิ.ย.) สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.)และเครือข่ายองค์กรนักศึกษา จัดกิจกรรมรำลึก 80 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครองและมีรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยในชื่องาน “8 ทศวรรษ ประชาธิปไตย อำนาจสูงสุดยังไม่เป็นของราษฎรทั้งหลาย” ที่ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ราชดำเนิน โดยเริ่มด้วยการเสวนาโดยนิสิตนักศึกษาในหัวข้อ “ขบวนการนิสิตนักศึกษากับ เจตนารมณ์คณะราษฎร” และหลังจากนั้นบ่ายโมงได้มีการบรรยาย พิเศษคณะราษฎรในความทรงจำ โดย พันตรีพุทธินาถ พหลพลพยุหเสนา ทายาท พระยาพหลพลพยุหเสนา ต่อด้วย เสวนาวิชาการ หัวข้อ “80 ปี ประชาธิปไตย อำนาจสูงสุดยังไม่เป็นของ ราษฎรทั้งหลาย”โดยมี รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และ ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล จากคณะนิติราษฎร์ เป็นวิทยากร สุดท้ายในช่วงค่ำมีเวทีวัฒนธรรม ดนตรี กวี ละคร เครือข่ายองค์กรนักศึกษา โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 80 คน

นายพรชัย ยวนยี เลขาธิการ สนนท. ได้เปิดเผยถึงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมกับผู้สื่อข่าวว่า “เหตุผลแรกคือเราต้องการรำลึกถึงคุณงามความดีในการนำพาประเทศไทยไปสู่ความ เจริญก้าวหน้าของคณะราษฎรโดยการอภิวัฒน์จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์มาเป็นระบอบ ประชาธิปไตยที่อำนาจสูงสุดอยู่ที่ประชาชนทั้งหลาย สิ่งเหล่านี้มันบ่งบอกออกมาผ่านตัวรัฐธรรมนูญ ส่วนเหตุผลที่ 2 ต้องการเปิดพื้นที่ให้กับนักศึกษานักกิจกรรมได้มาพูดคุยกันเกี่ยวกับ เหตุการณ์ทางการเมืองว่า 80 ปีผ่านมาแล้วในการปฏิวัติประเทศไทยนี่ เรามีอำนาจสูงสุดหรือยัง ประชาชนมีอำนาจสูงสุด ในมุมมองของนักศึกษาเห็นอย่างไรกับเจตนารมณ์คณะราษฎรเห็นอย่างไรกับ การอภิวัฒน์สยามเมื่อปี 2475”

(อ่านต่อ)

สมชาย ปรีชาศิลปกุล: อภิรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีไทย 2475-2555

อภิรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีไทย 2475-2555

 

รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล

 

27 มิ.ย.55 เวลา 13.00 น. ที่ห้องประชุม มล.ตุ้ม ชุมสาย ณ อยุธยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนร่วมกับคณะนิติศาสตร์ และภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดเสวนาในหัวข้อ “80 ปีแห่งความย้อนแย้งของประชาธิปไตยไทย” โดยมี รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้อภิปรายในหัวข้อ “อภิรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีไทย 2475-2555”


สมชายเริ่มต้นกล่าวถึงหัวใจสำคัญรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย หรือพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ.2475 ซึ่งมีอยู่สองประการ คือหนึ่ง เป็นรูปแบบการปกครองที่กษัตริย์อยู่ใต้ธรรมนูญการปกครอง และสอง อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย

ต่อมารัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2475 ซึ่งว่ากันว่าเป็นฉบับที่ได้รับการยอมรับกันในหลายฝ่ายในชนชั้นนำไทย ในคำปรารภของรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงความคาดหวังว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะ “ยืนยงอยู่คู่กับสยามรัฐราชสีมาตราบเท่ากัลปาวสาน” เป็นความมุ่งหมายในช่วงเริ่มต้นรัฐธรรมนูญของไทย ในรัฐธรรมนูญหลังๆ อีกสองสามฉบับหลังจากนั้นก็จะเห็นเรื่องนี้ แต่รัฐธรรมนูญหลังจากนั้น โดยเฉพาะหลังทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา ความเข้าใจคือเราทราบกันดีว่ารัฐธรรมนูญไทยไม่มีทางกัลปาวสาน แค่ข้ามทศวรรษได้ก็เก่งแล้ว แต่ในช่วงเริ่มต้นรัฐธรรมนูญไทย อันนี้เป็นนัยยะสำคัญที่มีอยู่

แต่ในความเป็นจริงตั้งแต่ 2475-2525 ครบรอบ 50 ปี เรามีรัฐธรรมนูญแล้ว 13 ฉบับ และจากปี 2475-2555 ครบรอบ 80 ปีรัฐธรรมนูญ มี 18 ฉบับ จะพบว่าอายุเฉลี่ยของรัฐธรรมนูญในเมืองไทยไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยยะ สำคัญ ประมาณ 4 ปีบวกลบนิดหน่อยต่อฉบับ เราจะบอกว่าเป็นความล้มเหลวของรัฐธรรมนูญในสังคมไทยหรือไม่

ปรากฏการณ์นี้นำไปสู่คำถามจำนวนมาก ในหมู่นักกฎหมายก็จะมองว่ารัฐธรรมนูญไทยไม่ได้เป็นกฎหมายสูงสุด หรือนักรัฐศาสตร์ก็ตาม รัฐธรรมนูญอยากจะฉีกเมื่อไรก็ฉีกได้ หรือรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ก็เสนอว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้มีน้ำยาหรือศักดิ์สิทธิ์เท่าที่ระเบียบในกรมกอง หน่วยงานราชการ หรือรัฐธรรมนูญถูกมองว่าเป็นเครื่องมือของชนชั้นนำในการแย่งชิงอำนาจทางการ เมือง เมื่อไรที่ใครไม่พอใจกฎกติกาที่มีอยู่ ก็ยึดอำนาจ และเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของตน

 

(อ่านต่อ)http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41293

Hot Topic 28มิย55

Hot Topic 28มิย55

 


 

นาซา อู่ตะเภา แผนสหรัฐฯแผ่อิทธิพลสู่เอเซียจริงหรือ Hot Topic 28มิย55 

(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=akh_RVt1JcU&feature=player_embedded#!

(ที่มา)
http://shows.voicetv.co.th/hot-topic

อรุณ วัชระสวัสดิ์ : การ์ตูนการเมือง กรณี NASAกับสนามบินอู่ตะเภา

อรุณ วัชระสวัสดิ์ : การ์ตูนการเมือง กรณี NASAกับสนามบินอู่ตะเภา