หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รัสเซียเตรียมติดตั้งระบบอ่านซิมมือถือในสถานีรถไฟใต้ดิน

รัสเซียเตรียมติดตั้งระบบอ่านซิมมือถือในสถานีรถไฟใต้ดิน

 


Moscow Metro phone tracker 


ตำรวจกรุงมอสโควประกาศติดตั้งระบบเซนเซอร์ตรวจจับซึ่งสามารถอ่านข้อมูลซิมการ์ด อ้างหวังลดอาชญากรรมล้วงกระเป๋า 

เมื่อวันที่ 29 ก.ค. ที่ผ่านมา ทางการรัสเซียประกาศว่าจะมีการติดตั้งระบบอ่านข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการที่ "น่าสงสัย"

ผู้บังคับการตำรวจกรุงมอสโคว อังดรี โมคอฟ เปิดเผยว่าทางการรัสเซียจะมีการติดตั้งระบบเซนเซอร์ตรวจจับซึ่งสามารถอ่าน ข้อมูลจากซิมการ์ดของมือถือเพื่อเป็นตรวจสอบว่าโทรศัพท์นั้นถูกขโมยมาหรือ ไม่

อังดรีอ้างว่าระบบตรวจสอบทำไปเพื่อลดอาชญากรรมการล้วงกระเป๋าในสถานีรถไฟ ใต้ดิน แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนบอกว่ารัฐบาลรัสเซียอาจจะมีเจตนาซ่อนเร้นในเรื่องนี้

ASEAN Weekly: ธงชัย วินิจจะกูล: สยาม/ไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา

ASEAN Weekly: ธงชัย วินิจจะกูล: สยาม/ไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา

 

 

ASEAN Weekly: ธงชัย วินิจจะกูล: สยาม/ไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา : ความรู้เรื่องไทยท่ามกลางภูมิภาค

ASEAN Weekly ทางประชาไทใส่เสียงสัปดาห์นี้ เป็นปาฐกถาพิเศษโดยศาสตราจารย์ธงชัย วินิจจะกูล ประธานสมาคมเอเชียศึกษา และอาจารย์จากภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสันสหรัฐอเมริกา ในหัวข้อ "สยาม/ไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา : ความรู้เรื่องไทยท่ามกลางภูมิภาค"

อ่านเพิ่มเติม http://prachatai.com/journal/2013/07/47794

คนงานฟาสต์ฟู้ดอเมริกันประท้วงขอเพิ่มค่าจ้างเป็น 15 เหรียญต่อชั่วโมง

คนงานฟาสต์ฟู้ดอเมริกันประท้วงขอเพิ่มค่าจ้างเป็น 15 เหรียญต่อชั่วโมง 


 

คนงานในร้านฟาสต์ฟู้ดของสหรัฐอเมริกาในหลายเมืองใหญ่ ออกมาเดินขบวนประท้วงเพื่อเรียกร้องขอค่าแรงขั้นต่ำอย่างน้อย 15 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง สุดทนค่าแรงต่ำเพียงแค่ 7.25 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง
 
เมื่อเช้าของวันที่ 29 ก.ค. 56 ที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่าคนงานในร้านฟาสต์ฟู้ดของสหรัฐอเมริกา เช่น แมคโดนัลด์ (McDonald's), พิซซ่าฮัท (Pizza Hut), เบอร์เกอร์คิง (Burger King) ,เคเอฟซี (KFC) และเวนดี้ (Wendy's) ในนิวยอร์ก, เซนต์หลุยส์, แคนซัสและอีกหลายเมืองใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาเดินขบวนประท้วงเพื่อเรียกร้องขอค่าแรงขั้นต่ำอย่างน้อย 15 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง

คนงานแม็คโดนัลด์ประจำสาขาบรู๊คลิน นิวยอร์ก คนหนึ่งระบุว่าเกือบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยค่า แรงเพียงแค่ 7.25 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง โดยผู้จัดการประท้วงระบุว่ามีคนงานในอุตสาหกรรมฟาสต์ฟู้ดที่เข้าร่วมการ ประท้วงที่นิวยอร์ควันนี้กว่า 500 คน ทั้งนี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วคนงานร้านฟาสต์ฟู้ดในชิคาโก้, มิลวอคกี้ และดีทรอยด์ ก็ได้ออกมารวมตัวเคลื่อนไหวด้วยเช่นกัน
  
คนงานในอุตสาหกรรมนี้บางคนได้ค่าแรงต่ำเตี้ยถึง 7.25 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง ซึ่งเมื่อเที่ยบกับอัตราเงินเฟ้อแล้วปรากฏว่าจ้างนี้ต่ำกว่า 22 % ในปี ค.ศ.1968 (9.27 ดอลลาร์) และต่ำกว่า 7% ในปี ค.ศ.2009 (7.78 ดอลลาร์)
 
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2013/07/47924

เล่าข่าวนอกกระแส: ประจำสัปดาห์ 29 กรกฎาคม 2556

เล่าข่าวนอกกระแส: ประจำสัปดาห์ 29 กรกฎาคม 2556


 
  - ญาติผู้เสียหายฯ ปี 53 เล็งแก้ร่างกฎหมายนิรโทษกรรม
- กลุ่มนักโทษการเมือง แสดงจุดยืนหนุนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ส.ส.วรชัย
- ข้อมูลพื้นฐานนักโทษการเมือง
- ‘Do or Die’ ทางเลือกแรงงาน ‘เอา-ไม่เอา’ กม.ประกันสังคม
- ปฏิทินกิจกรรม

"รัฐบาลมักอ้าง “ความมั่นคงแห่งชาติ”

"รัฐบาลมักอ้าง “ความมั่นคงแห่งชาติ”

Noam Chomsky "Snowden Should Be Honored for Telling Americans What the Government Was Doing"
http://www.youtube.com/watch?v=J9jqY23hgqA

โนอัม ชอมสกีบอกว่า เราควรยกย่องเอ็ดเวิร์ด สโนวเดน “เขาทำให้สิ่งที่พลเมืองทุกคนต้องทำ เขากำลังบอกให้คนอเมริกันได้ทราบว่ารัฐบาลของตัวเองกำลังทำอะไรอยู่” “สิ่งที่เขาเปิดเผยไม่มีอะไรเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงอย่างที่รัฐกล่าว อ้างเลย เว้นอย่างเดียวคือ ความมั่นคงของรัฐบาลจากประชาชนของตนเอง”

ชอมสกีบอกว่า รัฐบาลมักอ้าง “ความมั่นคงแห่งชาติ” เพื่อปิดกั้นสิทธิการรับรู้ของประชาชน แต่ถ้าเราดูให้ดีจะพบว่า ข้อมูลที่รัฐบาลปิดกั้นโดยอ้าง “ความมั่นคง” นั้น เป็นข้อมูลที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐบาลเองต่างหาก ไม่ใช่ความมั่นคงของประเทศทั้งหมด ชอมสกียังย้อนด้วยว่า สหรัฐฯ อ้างโน่นอ้างนี่เพื่อให้รัสเซียส่งตัวสโนวเดนกลับในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน แต่ทีประเทศอื่นอย่างโบลิเวียขอให้สหรัฐฯ ส่งตัวอดีตประธานาธิบดีที่ถูกฟ้องศาลเป็นความอาญาแล้ว สหรัฐฯ ไม่เห็นส่งตัวให้ หรือกรณีเจ้าหน้าที่ซีไอเอ 22 คนที่ศาลอิตาลีรับฟ้องข้อหาลักพาตัวบุคคลและส่งไปทรมานที่อียิปต์ สหรัฐฯ ก็ไม่ส่งตัวให้เช่นกัน

"Snowden should be honored. He was doing what every citizen ought to do," Chomsky says in the video below. "He was telling Americans what the government is doing."

คลังเสียงเสวนา: 108 เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง

คลังเสียงเสวนา: 108 เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง




รายการคลังเสียงเสวนา สัปดาห์นี้ขอนำเสนอการอภิปรายของนักวิชาการว่าด้วยการนิรโทษ

รายการคลังเสียงเสวนา สัปดาห์นี้ขอนำเสนอการอภิปรายของนักวิชาการว่าด้วยการนิรโทษกรรมนักโทษการ เมือง ในหัวข้อ “108 เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2556 ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนิน กรุงเทพฯ โดย ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 2553 (ศปช.)

ผู้อภิปรายประกอบไปด้วย กฤตยา อาชวนิจกุล มหาวิทยาลัยมหิดล, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, จาตุรนต์ ฉายแสง ประธานสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย, นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ธงชัย วินิจจะกูล มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน, อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์, ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ มหาวิทยาลัยเกียวโต, สุดา รังกุพันธุ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อภินันท์ บัวหภักดี บรรณาธิการ อนุสาร อสท.และวาสนา มาบุตร มารดาของนักโทษการเมือง

ดำเนินรายการโดย ประจักษ์ ก้องกีรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปล่อยนักโทษการเมือง โดยไม่มีเงื่อนไข

ปล่อยนักโทษการเมือง โดยไม่มีเงื่อนไข




Podjana Walai 
Podjana Walai (เลี้ยวซ้าย)

'เกมเอานักโทษการเมืองเป็นตัวประกัน หลีกเลี่ยงหรือคลุมเครือเรื่องทหาร แล้วมาโทษกันเองในขบวน เราถือว่าเป็นเกมที่สกปรกมาก'

"ใครๆ ก็ห่วงใยและเคลื่อนไหวให้ปล่อยนักโทษการเมืองด้วยรูปแบบและวิธีการต่างๆ แต่เราไม่เคยคิดจะผูกขาดแคมเปญนี้ แล้วมาร้องไห้ดราม่าว่าขอให้ปล่อยนักโทษการเมือง หรืออวดสรรพคุณว่าตัวเองทำไรบ้าง หรือทำดีกว่าคนอื่นยังไง ราวกับมานั่งทวงบุญคุณ....

ที่สำคัญนอกจากจะวิจารณ์ฝ่ายตรงข้ามแล้ว ต้องรวมรัฐบาล นักการเมืองเพื่อไทยที่แช่แข็งปัญหา และนปช.ที่เบี่ยงเบนประเด็นเรื่องเอาผิดทหารที่ฆ่าประชาชน....

ราไม่เคยลืมประวัติศาสตร์ ที่ทหารถูกนิรโทษกรรมทุกครั้งหลังทำรัฐประหาร และนักเคลื่อนไหวรุ่นที่ผ่านมาไม่พยามแคมเปญเรื่องเอาอาชญากรรัฐมาขึ้นศาล ถ้าจะแก้ไขกระบวนการยุติธรรมไทย ต้องเริ่มจากสถานการณ์ตรงหน้านี้....

จะไปพูดถึงการปฏิรูประบบยุติธรรมในอนาคตอยู่ทำไม พูดกันจนเมื่อยแล้ว ไม่เห็นเปลี่ยนแปลงอะไรได้สักที เวลาโอกาสมีก็ไม่ทำ"

"ไม่เกี่ยวกับการเมือง???"

"ไม่เกี่ยวกับการเมือง???"
 
 


มันเป็นสิ่งที่น่าแปลกมากที่ตัวแทนฝ่าย "ประชาธิปไตย" หลายคนออกมาให้สัมภาษณ์ในทำนองว่า ม.112 ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ล่าสุดนาย วรชัย เหมะ ส.ส. สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ที่เป็นผู้เสนอร่างนิรโทษกรรมเข้าสู่สภาได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่ายืนยันจุดยืนนี้ว่า ม.112 ไม่เกี่ยวกับการเมือง ดังนี้:

"ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ไม่ได้นิรโทษกรรมให้กับผู้กระทำผิดตามมาตรา 112 เพราะคดีทำผิดตามมาตรา 112 ไม่เกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมือง" [1]

คำสัมภาษณ์นี้ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงอย่างมากเพราะ มีนักโทษคดี ม.112 จำนวนมากที่เป็นเหตุมาจากการเมืองโดยตรง เช่น
 

- คดี สมยศ พฤกษาเกษมสุข ถูกตัดสินจำคุก 10 ปี จากการเป็นบรรณาธิการนิตยสารวอยซ์ ออฟ ทักษิณ (Voice of Thaksin) ซึ่งเป็นนิตยสารทางการเมือง [2]

- คดี สุชาติ นาคบางไทร ถูกตัดสินจำคุก 3 ปี จากการปราศรัยทางการเมือง [3]

- คดี สุรชัย แซ่ด่าน ถูกตัดสินจำคุก 12 ปี 6 เดือน จากการปราศรัยทางการเมือง [4]

- ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล หรือ หนุ่มเรดนนท์ ถูกตัดสินจำคุก 13 ปี จากการดูแลเว็ปไซต์ทางการเมือง [5] 

แอด มินคิดว่า หากจะบอกว่าเรื่อง ม.112 มันช่วยยาก อุปสรรคเยอะ ช่วยไม่ได้ (ด้วยสาเตุใดก็ตาม) ก็น่าจะพูดมาตรงๆเถิด แต่อย่าพูดว่ามันไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง เพราะมันไม่ตรงกับข้อเท็จจริง และอาจทำให้เกิดความสับสน เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในระยะยาวได้
 

อ้างอิง
[1] http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20130726/519430/วรชัยยันก.ม.ไม่นิรโทษฯทหาร-ผู้ทำผิดม.112.html
 
 


[2] http://freedom.ilaw.or.th/th/case/61
 

[3] http://freedom.ilaw.or.th/th/case/23
 
[4] http://freedom.ilaw.or.th/th/case/46
 
 


[5] https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10152952333840551&set=a.10150540436460551.646424.299528675550&type=1&theate