หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เจาะข่าวตื้น 57 : เจาะผีอีแพง (คลายเครียด)

เจาะข่าวตื้น 57 : เจาะผีอีแพง (คลายเครียด)

 
 
(คลิกอ่าน) 
http://www.youtube.com/watch?v=vI4gbXMN1yo&feature=share

ฮิวแมนไรทส์วอทช์ชี้กรณี 'อากง' ทำไทยเสื่อมถอยในสายตานานาชาติ

ฮิวแมนไรทส์วอทช์ชี้กรณี 'อากง' ทำไทยเสื่อมถอยในสายตานานาชาติ


 

ประธานสิทธิมนุษยชนภาคพื้นแปซิฟิกพบ กมธ.ต่างประเทศแสดงความเสียใจกรณี 'องกง' ตาย หยันไทยเสื่อมถอยในสายตานานาชาติ แนะปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม

 
11 พ.ค. 55 - โพสต์ทูเดย์รายงานว่า นายแบรด อดัมส์ ประธานองค์การสิทธิมนุษยชนภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (ฮิวแมนไรทส์วอทช์) ได้เดินทางเข้าพบนายสุนัย จุลพงศธร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร เพื่อสอบถามถึงการเสียชีวิตของนายอำพล ตั้งนพกุล หรือ อากง ผู้ต้องหาคดีหมิ่นสถาบัน ซึ่งได้เสียชีวิตไปแล้ว 
 
โดยนายแบรด กล่าวว่า ตนรู้สึกไม่ดีที่ประเด็นนี้ยังไม่ได้ปรับปรุงให้ดีขึ้น ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ตนได้เข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ไม่มีอะไรที่ดีขึ้นโดยเฉพาะการให้การประกันตัว 
                
“สถานะของไทยขณะนี้เสื่อมถอยไปมาก ในสายตานานาชาติ ซึ่งปัจจัยหนึ่งมาจากอัตราโทษที่รุนแรง และจำคุกเป็นเวลานาน ซึ่งส่วนมากมาจากคดีหมิ่นสถาบัน เป็นเรื่องที่ชาวโลกไม่สามารถเข้าใจได้ อาทิ กรณีคดีอากง บทลงโทษรุนแรงกว่า เมื่อเทียบกับคดีอาชญากรรม คดียาเสพติด เมื่อเทียบกันแล้วไม่สมเหตุสมผลผมมองว่ารัฐบาลและศาลยุติธรรมควรปฎิรูป กฎหมาย เพื่อลดอัตราการลงโทษในคดีหมิ่นสถาบัน เพราะที่ผ่านมาการตัดสินในคดีหมิ่นสถาบันมีการดึงเอาเหตุทางการเมืองเข้ามา เกี่ยวข้อง ดังนั้นการตัดสินของศาลต้องมีเหตุผลที่อธิบายได้ อดีตไทยเคยมีเสรีภาพทางสื่อออนไลน์มากที่สุด แต่ระยะหลังมีการปิดกั้น ซึ่งกติการะหว่างประเทศกำหนดให้สังคมประชาธิปไตย ควรมีการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นให้น้อยที่สุด แต่ไทยกลับทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม" นายแบรด กล่าว
 
ด้านนายสุนัย กล่าวว่า เป็นปรากฎการณ์ที่หมิ่นเหม่ต่อการละเมิดสิทธิมนุษยธรรมในประเทศไทย ซึ่งประเด็นนี้ถือว่ามีความสำคัญ และในวันที่ 16 พ.ค.นี้ ทางกรรมาธิการฯ จะนำเรื่องนี้หารือกัน รวมถึงกรณีที่นักโทษทางการเมืองยังไม่ได้รับการประกันตัว อาทิ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นายสุรชัย (แซ่ด่าน) ด่านวัฒนานุสรณ์ และคนเสื้อแดง
 
(ที่มา)
 

ฮิวแมน ไรท์วอทช์ มาตรฐานสิทธิมนุษยชนไทยต่ำ

(คลิกอ่าน)

ข้อเสนอรูปธรรม ในการรณรงค์ให้ยกเลิก 112

ข้อเสนอรูปธรรม ในการรณรงค์ให้ยกเลิก 112

 

 

ปัญหาที่เราต้องมาร่วมกันคิดคือ เราจะรณรงค์ให้ยกเลิกกฏหมายนี้อย่างไร


กฏหมายมาตรา 112 เป็นกฏหมายที่ขัดกับประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกในทุกรูปแบบและ เป็นกฏหมายที่เป็นอุปสรรค์ในการสร้างความโปรงใสและการตรวจสอบอำนาจรัฐ ตรงนี้ผู้รักประชาธิปไตยจำนวนมากเข้าใจดี และถ้าเราดูประเทศที่เป็นประชาธิปไตยจริง ที่มีกษัตริย์เป็นประมุข โดยเฉพาะในยุโรป เราจะพบว่าหลายประเทศยกเลิกกฏหมายนี้นานแล้ว หรือประเทศที่ยังมี ไม่มีการใช้กฏหมายในรูปธรรมในปัจจุบัน และที่สำคัญคือไม่มีการใช้เพื่อปิดปากคนที่มีความเห็นต่างทางการเมือง อันนี้คือความจริงไม่ว่านักวิชาการเสื้อเหลืองจะแอบอ้างมาอย่างไร ดังนั้นการรณรงค์ให้ยกเลิกกฏหมาย 112 เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายทำได้ ทั้งคนที่สนับสนุนให้มีประมุขเป็นกษัตริย์ หรือคนที่ต้องการระบบสาธารณรัฐ

ปัญหาที่เราต้องมาร่วมกันคิดคือ เราจะรณรงค์ให้ยกเลิกกฏหมายนี้อย่างไร ผมในฐานะผู้หนึ่งที่โดนกฏหมาย 112 ในปี 2551 มีข้อเสนอดังนี้

กฏหมาย 112 เป็นกฏหมายที่ใช้ปกป้องเผด็จการ โดยเฉพาะทหาร และลูกน้องของทหารเช่นนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ หรือศาลเป็นต้น การรณรงค์ให้ยกเลิก 112 จึงแยกไม่ออกจากการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

ในเมื่อการยกเลิกกฏหมาย 112 เป็น เรื่องเดียวกับการสร้างประชาธิปไตย เราควรจะมองเห็นชัดเจนว่าผู้ที่กำลังต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย มวลชนคนเสื้อแดงนั้นเอง เป็นผู้ที่สามารถรณรงค์ให้ยกเลิก 112 ได้ ถ้าเขาตัดสินใจร่วมกันที่จะสู้ตรงนี้ ซึ่งแปลว่าถ้าเราต้องการรณรงค์ให้ยกเลิกกฏหมาย 112 เป้าหมายหลักคือการชักชวนมวลชนเสื้อแดงของ นปช. แดงทั้งแผ่นดิน ให้หันมาร่วมรณรงค์กับเรา เราไม่ต้องไปหวังพึ่งนักวิชาการที่ไม่ใช่เสื้อแดง เพราะพวกนี้ประกาศนานแล้วในงานเสวนาต่างๆ ว่าไม่อยากให้ยกเลิก 112 ไปหมด อย่างมากก็พูดว่าควร “ปฏิรูป” หรือ “ลดโทษ” ซึ่งเท่ากับปกป้องคงไว้กฏหมายที่กีดกันสิทธิเสรีภาพ
 
แต่ในขณะเดียวกัน เราต้อง “เข้าใจ” มวลชนเสื้อแดงส่วนใหญ่ เพราะเรื่อง 112 ล้อมรอบด้วยความกลัว หลายคนอาจคิดว่าเป็นการยกระดับการต่อสู้และเขาอาจไม่แน่ใจว่าเขาพร้อมหรือ ไม่ ส่วนแกนนำ นปช. แดงทั้งแผ่นดิน ซึ่งประกาศตัวอย่างซื่อสัตย์ว่าเป็นแนวปฏิรูปในโครงสร้าง อาจยังไม่พร้อมและอาจกลัวว่าจะโดนป้ายสีว่าเป็นพวก “ล้มเจ้า” ซึ่งเป็นข้ออ้างของอำมาตย์ไทยเพื่อเข่นฆ่าปราบปรามประชาชนมาตั้งแต่ ๖ ตุลาจนถึงวันนี้

สรุปแล้วเวลาเรารณรงค์เพื่อให้ยกเลิก 112 ในขบวนการเสื้อแดง เราต้องเป็นมิตรกับมวลชนที่อาจยังไม่เห็นด้วยกับเรา เราต้องใจเย็นในการอธิบายและชักชวน แต่เราต้องชักชวนอย่างต่อเนื่องให้มวลชนรากหญ้าของ นปช. แดงทั้งแผ่นดินหันมาต่อต้านกฏหมาย 112 ซึ่งเป็นวิธี สำคัญที่จะกดดันแกนนำให้เปลี่ยนใจด้วย และไม่แน่... เราอาจกดดันต่อไปสู่พรรคเพื่อไทยในอนาคตก็ได้ แต่เราหวังพึ่งพรรคเพื่อไทยไม่ได้อยู่ดี

ผู้ ที่สนใจแต่จะชี้หน้าด่าคนที่คิดต่างในแกนนำ นปช. หรือกล่าวหาคนเหล่านั้นว่า “ไม่แน่จริง (เหมือนกู)” หรือป้ายร้ายว่า “ถูกซื้อตัว” หรือ “มีสัญญาลับเรื่องการปรองดอง” เป็นผู้ที่สนใจแต่จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง และสนใจแต่จะแยกตัวปลีกตัวออกจากมวลชนผู้มีพลังจริงในการสร้างประชาธิปไตย เพื่อไปสร้าง “กองกำลังปฏิวัติแท้” ซึ่งไม่มีวันบรรลุอะไรได้ นักปฏิวัติอย่างเลนินกับมาร์คซ์ พูดเสมอว่าต้องทำงานกับมวลชนที่ยังไม่พร้อม เพื่อถกเถียงชักชวนให้เขาขยายความคิดและเปลี่ยนความคิด และเขาพูดอีกว่าเราไม่ควรโกหกมวลชนด้วยนิยายเท็จ
 
หลายคนทราบดีว่าเมื่อวันที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมา มีการ์ด นปช. จับสาวคนหนึ่งที่แจกใบปลิว แล้วส่งคนนี้ให้ตำรวจ ในด้านหนึ่งเราเข้าใจความหวาดกลัวของการ์ดหรือคนบนเวที แต่ไม่ว่าจะอย่างไรมันเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้น และไม่ควรเกิดขึ้นอีก แต่มีใครสักกี่คนในแวดวงไซเบอร์ที่ยอมรับว่า ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ออกมาพูดตรงๆ ว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น?

นอกจากการรณรงค์ให้ยกเลิก 112 จะแยกไม่ออกจากการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแล้ว เราควรเข้าใจอีกเรื่องหนึ่งคือ ผู้ที่ใช้และปกป้องกฏหมายนี้สุดหัวใจคือทหาร ทหารต้องการปกป้องกฏหมายนี้เพราะมันให้ความชอบธรรมในการแทรกแซงทางการเมือง ซึ่งปกติแล้วทหารไม่มีความชอบธรรมตรงนี้ การที่คดี 112 เพิ่ม ขึ้นอย่างรวดเร็วหลังรัฐประหาร ๑๙ กันยา เป็นเพราะนายทหารชั้นผู้ใหญ่สั่งมา และสั่งลูกน้องอย่างอภิสิทธิ์หรือนักการเมืองประชาธิปัตย์อื่นๆ อีกด้วย

ลองย้อนกลับไปพิจารณาพระราชดำรัสเดือนธันวาคมปี 2548 มีการตรัสว่าการที่คนบอกว่า... กษัตริย์ทำอะไรไม่ผิดนั้นเป็นการดูถูกกษัตริย์ เพราะทำไมกษัตริย์จึงจะทำผิดไม่ได้ เพราะแสดงให้เห็นว่าพวกเขามองกษัตริย์ไม่ใช่มนุษย์ .... สมมติ ว่าเราพูดอะไรผิด เพราะไม่ตระหนัก นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ทำผิดโดยไม่ตระหนัก และมาตระหนักว่ามันผิด มันไม่ดีที่จะทำผิดโดยตระหนักว่าทำผิด แต่บางครั้งก็ไม่ได้ตระหนัก ก็ต้องขอโทษ ถ้าพูดโดยไม่ตระหนัก การไม่ตระหนักคือการไม่ระวัง ภายหลังก็จะเสียใจ ... ถ้าถือคำวิพากษ์วิจารณ์ทั้งหมดว่าเป็นการหมิ่น พระเจ้าอยู่หัวก็จะเสียหาย

เราอาจตีความพระราชดำรัสนี้ได้หลายด้าน แต่สำหรับผม พออ่านแล้วชวนให้ผมเชื่อว่าคนที่ยังผลักดันการใช้กฏหมาย 112 คือทหาร เพื่อปกป้องทหารและพรรคพวกเอง

ด้วยเหตุนี้เราควรมองว่าอุปสรรค์สำคัญในการยกเลิกกฏหมาย 112 และการสร้างประชาธิปไตย คือกองทัพ ซึ่งแปลว่าเราต้องมีข้อเรียกร้องให้ปฏิรูปกองทัพอย่างถอนรากถอนโคนด้วย และเราต้องชักชวนให้มวลชนเสื้อแดงมาร่วมรณรงค์เรื่องกองทัพกับเรา

ในระยะสั้น

1.เราควรแจกใบปลิว และเก็บลายเซ็นในจดหมายเปิดผนึกเพื่อยกเลิกกฏหมาย 112 ในมวลชนเสื้อแดง นปช. แดงทั้งแผ่นดิน ในทุกโอกาส ทุกชุมชน
2. เราควรเปิดโปงและกดดันองค์กรต่างๆ เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ Amnesty International ที่เผิกเฉยกับนักโทษ 112 หรือถึงกับสนับสนุนการใช้กฏหมายนี้ เราควรไปยื่นหนังสือและยืนประท้วง
3. เราควรรณรงค์สนับสนุนและไม่ลืมนักโทษ 112 ทุกคน อย่างที่มีการทำมาหลายปีแล้วแต่ควรขยายไปสู่มวลชนจำนวนมากกว่านี้

(ที่มา)

รายการ The Daily Dose

รายการ The Daily Dose



 รายการ The Daily Dose ประจำวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555


รายการ The Daily Dose ประจำวันที่ 7 พ.ค. 2555

http://www.dailymotion.com/video/xqnjqz_yyyyyy-the-daily-dose-yyyyyy-yy-7-y-y-2555_news

รายการ The Daily Dose ประจำวันที่ 8 พ.ค. 2555

http://www.dailymotion.com/video/xqognx_yyyyyy-the-daily-dose-yyyyyy-yy-8-y-y-2555_news

 

The Daily Dose ประจำวันที่ 9 พ.ค. 2555

http://www.dailymotion.com/video/xqpald_yyyyyy-the-daily-dose-yyyyyy-yy-9-y-y-2555_news 

 

The Daily Dose ประจำวันที่ 10 พ.ค. 2555

http://www.dailymotion.com/video/xqq9ia_yyyyyy-the-daily-dose-yyyyyy-yy-10-y-y-2555_news


The Daily Dose ประจำวันที่ 11พค55

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=Iaas-6Es3lo 

รายการ Wake up Thailand

รายการ Wake up Thailand 


Posted Image 

 

Wake up Thailand ประจำวันที่ 7 พฤษภาคม 55

 


http://www.dailymotion.com/video/xqnd72_yyyyyy-wake-up-thailand-yyyyyy-yy-7-yyyyyyy-55_news

Wake up Thailand :  ประจำอังคารที่ 8 พ.ค. 55

 

(ความปลอดภัยแรงงาน 19 ปี ไม่เปลี่ยนแปลง)

http://www.dailymotion.com/video/xqo15b_wake-up-thailand-yyyyyyyyy-yyyyyyy-19-y-yy-yyy-yyyyyy_news



Wake up Thailand ประจำวันพุธที่ 9 พ.ค. 55

 

(น้ำผึ้งหยดเดียวหรือตายอย่างเงียบๆ) 

http://www.dailymotion.com/video/xqox4c_wake-up-thailand-y-yy-yyyyyy-yyyy-yyyyyy-yyyy-yyy_news

  

Wake up Thailand ประจำวันพฤหัสบดีที่ 10 พ.ค. 55



(อากง เหยื่อที่มากกว่าสีเสื้อ)
 
http://www.youtube.com/watch?v=NJQjHgFLKJ4


Wake up Thailand ประจำวันศุกร์ที่ 11 พ.ค.55

(เปลี่ยนประเทศ กล้า ๆ หน่อย)

http://www.youtube.com/watch?v=-QZPPRED0jo&feature=relmfu 

ครก.112 แถลงการณ์ไว้อาลัยอากง-เตรียมจัดงานสรุปการรณรงค์แก้112 27 พ.ค.นี้

ครก.112 แถลงการณ์ไว้อาลัยอากง-เตรียมจัดงานสรุปการรณรงค์แก้112 27 พ.ค.นี้

 


(11 พ.ค.55) คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา112 (ครก.112) ออกแถลงการณ์ไว้อาลัยต่อการจากไปของนายอำพล หรือ "อากง" ซึ่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา

"เราไม่ได้คาดหวังว่าผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโศกนาฏกรรมของครอบครัวนาย อำพลทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม จะสำนึกผิดในกรรมที่ตนได้กระทำไว้ แต่เราหวังว่าประชาชนที่ได้ติดตามคดีของนายอำพลอย่างต่อเนื่อง  และตระหนักถึงปัญหาของมาตรา 112 จะช่วยกันทำให้กฎหมายที่อยุติธรรมนี้ยุติการทำร้ายประชาชนเสียที แม้ว่าจะต้องใช้เวลานานก็ตาม" ครก.112 ระบุ

ทั้งนี้ ครก.112 ชี้แจงด้วยว่า การรณรงค์เพื่อรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อเสนอ “ร่างแก้ไขประมวลอาญา มาตรา 112 ของคณะนิติราษฎร์” ได้ครบกำหนด 112 วัน เมื่อวันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมา ในขณะนี้ ทาง ครก.112  ได้รับรายชื่อมากกว่าหนึ่งหมื่นแล้ว อันเป็นจำนวนขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด โดยจะแจ้งจำนวนที่แน่ชัดอีกครั้งในวันที่ 27 พ.ค.นี้ เนื่องจากยังมีเอกสารจำนวนมากที่ยังไม่ได้ตรวจนับ และประชาชนยังทยอยส่งรายชื่อเข้ามาอย่างสม่ำเสมอ โดย ครก.112 กำหนดให้มีการจัดงาน “บันทึก 112 วัน แก้ไข ม.112” ในวันอาทิตย์ที่ 27 พ.ค.นี้ เพื่อสรุปและปิดการรณรงค์การรวบรายชื่อเพื่อแก้ไขมาตรา 112

 

(อ่านต่อ)

http://www.prachatai.com/journal/2012/05/40467

การปรองดองของยิ่งลักษณ์ได้แต่ปกป้องอำนาจอำมาตย์

การปรองของยิ่งลักษณ์ ได้แต่ปกป้องอำนาจอำมาตย์



แกนนำ นปช. อาจพูดจานามธรรมเรื่องการไม่ทอดทิ้งวีรชนและการช่วยนักโทษ และอาจมีการเสนอปฏิรูปรัฐธรรมนูญเล็กๆ น้อยๆ แต่ในรูปธรรมบทบาทหลักของ นปช. คือการสลายขบวนการและระงับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแท้ และไม่มีการรณรงค์ให้แก้หรือยกเลิก 112 โดย นปช. แต่อย่างใด

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

สองปีหลังจากที่ทหารฆ่าประชาชนเสื้อแดงที่ผ่านฟ้าและราชประสงค์ และ 9 เดือนหลังชัยชนะในการเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทย เราเห็นได้ชัดว่าเพื่อไทย นายกยิ่งลักษณ์ และอดีตนายกทักษิณ ปรองดองกับทหารมือเปื้อนเลือดบนซากศพคนเสื้อแดง พร้อมกับหันหลังให้กับนักโทษการเมือง ไม่ว่าใครจะแก้ตัวต่างๆ นาๆ ให้รัฐบาล แต่ผมขอยืนยันตรงนี้

ทั้งๆ ที่เสื้อแดงจำนวนมากเลือกรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่รัฐบาลตอบแทนด้วยความกระตือรือร้นในแสดงความเป็นมิตรกับอาชญากรอย่าง ประยุทธ์ และอนุพงษ์ และแทนที่จะนำฆาตกรมาขึ้นศาล มีการเลื่อนขั้นและเอาใจทหารมือเปื้อนเลือดแทน นักการเมืองอย่างอภิสิทธิ์และสุเทพก็ลอยนวลเช่นกัน แต่ในกรณีหลังมีการเล่นละครในสภาเพื่อสร้างภาพว่าอยู่คนละข้าง ในความเป็นจริงทั้งสองพรรคการเมืองนี้ไม่ได้อยู่ข้างประชาชน แต่อยู่ข้างอำมาตย์

การที่รัฐบาลเพื่อไทย นำโดยรัฐมนตรีที่มีภาพอื้อฉาวอย่างเฉลิม หรือขี้ข้าเสื้อเหลืองอย่างอนุดิษฐ์ เน้นการเร่งใช้กฎหมายเผด็จการ 112 มากขึ้นตั้งแต่ชนะการเลือกตั้ง อาจเป็นความพยายามของพรรคเพื่อไทยและทักษิณที่จะพิสูจน์ “ความจงรักภักดี”

แต่ที่สำคัญกว่านั้น เป็นการพิสูจน์ว่าเพื่อไทย ยิ่งลักษณ์ และทักษิณ พร้อมจะคลานและถ่อมตัวต่อกองทัพ และพร้อมจะให้กองทัพมีอำนาจพิเศษนอกรัฐธรรมนูญในการกำหนดสังคมการเมืองไทย เพราะกฎหมาย 112 มีความสำคัญที่สุดในการปกป้องทหาร เพื่อให้ทหารสามารถอ้างความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์ในทุกอย่างที่ทหารทำ ไม่ว่าจะเป็นการทำรัฐประหาร หรือฆ่าประชาชน


กฎหมายเผด็จการ 112 ถูกใช้ในการทำลายสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก และทำลายประชาธิปไตยมานาน

ทุกวันนี้นักโทษ 112 จำนวนมากติดคุกอยู่ในสภาพย่ำแย่ คนอย่างคุณสมยศไม่ได้รับการประกันทั้งๆ ที่ยังไม่มีการตัดสินคดี และคนอย่าง อ.สุรชัยหรืออากง ถูกกดดันด้วยอายุและสุขภาพ ให้ “สารภาพผิด” เพื่อหวังได้รับอภัยโทษในอนาคต แต่รัฐบาลตั้งหน้าตั้งตาปฏิเสธที่จะแก้กฎหมายชั่วอันนี้

นักการเมืองเพื่อไทยอาจอ้าง “ภัยจากรัฐประหาร” เพื่อให้ความชอบธรรมกับการปรองดองแบบยอมจำนน แต่ในทางปฏิบัตินโยบายการปรองดองของรัฐบาลมีผลในการปกป้องอำนาจทหารที่จะทำ รัฐประหารอีกในอนาคต ซึ่งคล้ายๆ กับสถานการณ์ในพม่าทุกวันนี้

นอกจากปัญหา 112 และการไม่ยอมนำฆาตกรมาขึ้นศาลแล้ว ยังไม่มีมาตรการอะไรที่มีความหมายในการปล่อยนักโทษการเมืองเสื้อแดงนอกจาก การตั้งคุกพิเศษ อีกสาเหตุหนึ่งที่รัฐบาลเพื่อไทยไม่ยอมนำทหารและคนอย่างอภิสิทธิ์มาขึ้นศาล ก็อาจเพราะกลัวว่า อาจจะมีคนที่รักความเป็นธรรม เรียกร้องให้นำทักษิณและทหารมาขึ้นศาลในฐานะที่ฆ่าประชาชนมือเปล่าที่ตากใบ ด้วย

ทักษิณคงอยากจะปรองดองแบบจับมือกับอำมาตย์ เพื่อหวังกลับประเทศไทยในอนาคตอันใกล้ ในขณะเดียวกันมีการยกฟ้อง จักรภพ เพ็ญแข ในคดี 112 ซึ่งอาจเป็นการ
“เอาใจ” ทักษิณ เพราะคุณจักรภพเคยใกล้ชิดกับทักษิณ แต่นั้นไม่ได้พิสูจน์ว่าคุณจักรภพต้องการปรองดองแบบนี้กับอำมาตย์ เราคงต้องถามเจ้าตัวเอง 

การโยนเงินให้ผู้ที่ได้ผลกระทบจากความขัดแย้งทางการเมือง ไม่ใช่การปรองดองหรือการเยียวยาที่แท้จริง มันเหมือนการโยนเงินให้ครอบครัวคนจนโดยเศรษฐี หลังจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะชีวิตวีรชนประชาธิปไตย ตั้งค่าเป็นเงินทองไม่ได้ และยิ่งกว่านั้นเงินนี้มาจากภาษีประชาชนคนจนเอง ไม่ได้เป็นการจ่ายค่าชดเชยโดยทหารฆาตกรจากกระเป๋าตนเองแต่อย่างใด

การโยนเงินให้ครอบครัวพลเรือนที่ถูกทหารฆ่าในภาคใต้ก็ไม่ได้นำไปสู่การแก้ ปัญหาสงครามกลางเมืองในภาคใต้แต่อย่างใดอีกด้วย เราจะปล่อยให้พวกนั้นซื้อความสงบด้วยเงินของเราเองแบบนี้หรือ?


แกนนำ นปช. อาจพูดจานามธรรมเรื่องการไม่ทอดทิ้งวีรชนและการช่วยนักโทษ และอาจมีการเสนอปฏิรูปรัฐธรรมนูญเล็กๆ น้อยๆ แต่ในรูปธรรมบทบาทหลักของ นปช. คือการสลายขบวนการและระงับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแท้ และไม่มีการรณรงค์ให้แก้หรือยกเลิก 112 โดย นปช. แต่อย่างใด


ในขณะที่เพื่อไทย ทหาร  ปรองดองกันเพื่อรักษาสถานภาพของอำมาตย์ และขณะที่คณะกรรมการปรองดองของรัฐสภามีประธานที่เคยทำรัฐประหารเพื่อล้มล้าง ระบบประชาธิปไตย แสงสว่างแห่งความหวังอยู่ที่คณะนิติราษฎร์ที่ต้องการลบผลพวงรัฐประหาร และอยู่ที่ขบวนการเพื่อปฏิรูป 112 คนก้าวหน้าทุกคนควรช่วยกันสร้างขบวนการมวลชนเพื่อผลักดันสิ่งเหล่านี้
 

เพราะถ้าเราไม่เคลื่อนไหว การปรองดองก็จะเป็นแค่การปกป้องอำมาตย์บนซากศพวีรชน 

(ที่มา)

http://turnleftthai.blogspot.com/2012/04/blog-post_09.html 

"ยิ่งลักษณ์" ยันไม่มีนโยบายแก้ ม.112

"ยิ่งลักษณ์" ยันไม่มีนโยบายแก้ ม.112

  

ภาระเร่งด่วนของรัฐบาลคือการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ส่วน "ธิดา" เรียกร้องให้รัฐบาลปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ผู้ต้องหาคดีการเมืองต้องได้รับการประกันตัวเพื่อสู้คดี


ต่อกรณีการเสียชีวิตของนายอำพล (สงวนนามสกุล) หรือ "อากง SMS" ผู้ต้องขังเนื่องจากข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากการส่งข้อความสั้นไปยังเลขานุการส่วนตัวนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีนั้น ล่าสุดเมื่อวันนี้ (11 พ.ค.) นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ตอนหนึ่งกล่าวว่า รัฐบาลและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม ต้องทบทวนและแก้ปัญาอย่างเร่งด่วน ก่อนที่เหตุการณ์จะเสียหายมากไปกว่านี้ ในระบบยุติธรรมของไทยการตั้งข้อกล่าวหารุนแรงแล้วไม่ให้ประกันตัว จนเกิดกรณีของอากงนั้นได้ฟ้องกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด ดังนั้นรัฐและองค์กรยุติธรรมที่เกี่ยวข้องขอให้ทบทวนและปฏิรูปกระบวนการ ยุติธรรมไทยทั้งหมดก่อนที่จะเสียหายมากไปกว่านี้ และเรียกร้องให้ผู้ถูกคุมขังในคดีการเมืองได้รับการประกันตัว เพื่อออกมาต่อสู้คดี

ขณะเดียวกันสำนักข่าวแห่งชาติ รายงานคำให้สัมภาษณ์วันนี้ (11 พ.ค.) ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งแถลงข่าวหลังเป็นประธานการประชุมคณะหัวหน้าส่วนราชการ ระดับปลัดกระทรวง ที่สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ และการประชุมศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาค่าครองชีพ โดยตอนหนึ่งผู้สื่อข่าวถาม น.ส.ยิ่งลักษณ์เรื่องการแก้ไขประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 112 หรือกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า รัฐบาลได้ประกาศชัดเจนว่าไม่มีนโยบายจะแก้ไขกฎหมายมาตรานี้ ขณะที่ภาระเร่งของรัฐบาลคือ การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/05/40469

เปิดใจ ‘เพื่อนอากง-นักโทษการเมืองแดน 8’ กับคำถามถึงทุกฝ่าย

เปิดใจ ‘เพื่อนอากง-นักโทษการเมืองแดน 8’ กับคำถามถึงทุกฝ่าย

 

 

10 พ.ค.55 รายงานข่าวแจ้งว่า ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร คนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งได้เดินทางไปเยี่ยมผู้ต้องขังมาตรา 112 อีกราว 10 คนที่ยังถูกคุมขัง โดยธันย์ฐวุฒิ (ขอสงวนนามสกุล) ผู้ต้องขังคดีหมิ่นฯ ที่อยู่แดน 8 และเป็นผู้ใกล้ชิดกับนายอำพล (อากง) แจ้งว่า ในวันนี้ผู้ต้องขังในแดน 8 ได้พากันใช้ผ้าดำติดเข็มกลัดที่แขนเสื้อเพื่อไว้ทุกข์ให้อากง เนื่องจากอากงเป็นชายชราที่นักโทษอื่นๆ รัก

“สำหรับผม ผมทำอะไรไม่ได้มากเพื่ออากง ได้แค่เพียงโกนหัว และติดแถบดำไว้ทุกข์” ธันย์ฐวุฒิกล่าว

เขาระบุว่า รู้สึกตกใจมากที่อากงจากไปอย่างกะทันหัน เนื่องจากแม้อากงจะมีอาการปวดท้องแต่ก็ไม่ถึงกับน่ากังวล โดยอากงเริ่มปวดท้องหนักตั้งแต่วันที่ 23 เม.ย. จากนั้นในวันรุ่งขึ้นได้ไปหน่วยพยาบาลภายในเรือนจำ แต่ไม่ได้รับการตรวจรักษา เพียงแต่รับยามารับประทาน เมื่อไม่หายจึงไปหาใหม่ในวันที่ 30 เม.ย. ก็ได้รับยามาทานอีก ซึ่งก็ยังคงไม่หายและอาการทรุดลง จึงมีการประสานเพื่อขอส่งตัวไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ในวันที่ 4 พ.ค.

“OPD  โรงพยาบาลข้างใน พวกหมอพยาบาลในนี้มองนักโทษแบบไม่มีค่าเลย คิดว่าไปอยู่ที่นู่น [โรงพยาบาลราชทัณฑ์] จะแตกต่างจากในนี้ ปรากฏว่าเหมือนส่งแกไปตาย...เท่าที่ได้ข่าวจากคนที่ร่วมห้องกับแกที่โรง พยาบาลบอกว่าแกนอนร้องไห้ แกกังวลเรื่องท้อง” ธันย์ฐวุฒิกล่าว

เขายังกล่าวอีกว่า หลังจากอากงจากไป ผู้ต้องขังก็คาดหวังว่ารัฐบาลจะสามารถทำอะไรกับเรื่องผู้ต้องขังได้มากกว่า นี้ ทั้งผู้ต้องขังมาตรา 112 และคดีการเมืองอื่นๆ ทั้งนี้ ผู้ต้องขังคดี 112 ค่อนข้างมีแนวทางที่แน่ชัดแล้ว แต่นักโทษคดีการเมืองที่เรือนจำหลักสี่ยังไม่มีความแน่ชัดในทางคดีแต่อย่าง ใด

“คนตายไปแล้วเพิ่งมาเสียใจกัน ที่ผ่านมาเขาเคยมาเยี่ยมไหม ดีแต่ตีกันมาตรา 112 ออกไป บอกว่าไม่ใช่นักโทษการเมือง คดี 112 ไม่ใช่การเมืองตรงไหน เป็นเรื่องความคิดทางการเมืองล้วนๆ อันที่จริง พวกผมเป็นผลพวงจากแกนนำทั้งนั้น เราอาจจะโง่ที่เลือกเดินทางนี้” ธันย์ฐวุฒิกล่าวพร้อมตั้งคำถามกับ นปช.ว่า ทำไมจึงช่วยเหลือแต่แกนนำ

“ สำหรับรัฐบาล ถ้าวันนี้เขาไม่ช่วยก็ขอให้สังคมข้างนอกพิจารณาเอา แต่ผมเสนอให้ใช้ปทุมธานีโมเดล เพราะคะแนนเสียงเป็นของพวกเรา ประชาชนข้างนอกควรตาสว่างกับพวกเดียวกันเองด้วย” เขากล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้ ธันย์ฐวุฒิ ถูกล่าวหาว่าเป็นผู้ออกแบบเว็บไซต์ นปช. ยูเอสเอ แต่เขาต่อสู้ว่าเพียงรับจ้างออกแบบ ศาลพิพากษาจำคุกเขา 13 ปี เมื่อวันที่ 15 มี.ค.54 ขณะนี้เขาและผู้ต้องขังคดี 112 คนอื่นๆ ยกเว้นสมยศ พฤกษาเกษมสุข ได้ถอนอุทธรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ

รายละเอียดคดีธันย์ฐวุฒิอ่านได้ที่ http://freedom.ilaw.or.th/th/case/19 

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/05/40443