หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Back Story : วิดีโอคลิปสร้างวิกฤติศาลรัฐธรรมนูญ

Back Story : วิดีโอคลิปสร้างวิกฤติศาลรัฐธรรมนูญ

 

http://www.matichon.co.th/online/2012/07/13412881531341288359l.jpgPhoto: หยุดกฎหมายล้างผิด หยุดทำผิดให้เป็นถูก หยุดอ้างอำนาจที่ไม่ได้มาจากปวงชน

เมื่อมีการยึดอำนาจของปวงชนก็จะมีการออกกฎหมายลบล้างความผิดของพวกที่ทำการยึดอำนาจ ซึ่งเป็นความผิดฐานกบฏที่มีโทษถึงประหารชีวิต เหมือนโจรที่ปล้นบ้าน แล้วประกาศว่าการปล้นบ้านไม่เป็นความผิด

ตามด้วยประกาศและคำสั่งของพวกที่ทำการยึดอำนาจของปวงชน และยังให้มีผลทางกฎหมาย แม้ว่าคณะรัฐประหารได้ลงจากอำนาจไปแล้ว เหมือนโจรบังคับให้เจ้าของบ้านต้องปฏิบัติตามคำสั่งของพวกโจรตลอดไป แม้ว่าพวกมันจะลงจากบ้านไปแล้ว

รวมถึงการอ้างอำนาจของตุลาการที่มีจากการเลือกกันเองของข้าราชการตุลาการที่มิได้ยึดโยงกับประชาชนแม้แต่น้อยที่ใช้อำนาจโดยไม่มีขอบเขต ทั้งๆที่ตุลาการมีหน้าที่เพียงแค่การพิจารณาคดีความตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายเท่านั้น แต่ไม่มีหน้าที่พิจารณาเรื่องทางการเมืองที่ขึ้นกับการตัดสินใจของประชาชน 
การที่ตุลาการเข้าแทรกแซงกำกับควบคุมเรื่องทางการเมือง ควบคุมการทำงานของสภาและรัฐบาล ก็เท่ากับเป็นการรวบอำนาจหรือปล้นอำนาจของปวงชนนั่นเอง เท่ากับว่ามีคนที่ไม่ใช่เจ้าของบ้านแต่มาอ้างสิทธิ์ตัดสินใจเรื่องภายในบ้านแทนเจ้าของบ้าน หรือกระทั่งจัดการขับไล่ ลงโทษหรือกลั่นแกล้งตัวแทนเจ้าของบ้าน

ประชาชนผู้เป็นเจ้าของบ้าน จงลุกขึ้นทวงสิทธิ์อันชอบธรรมของตน
จงร่วมกันปฏิเสธกฎหมายล้างผิดให้พวกกบฏที่ปล้นอำนาจของประชาชน
จงปฏิเสธบรรดาประกาศ คำสั่งและกฎหมายของโจรที่ปล้นอำนาจของพวกเรา
จงปฏิเสธตุลาการซึ่งไม่ใช่ตัวแทนของพวกเราแต่กลับมาทำลายและริดรอนอำนาจตัวแทนของพวกเรา

ประชาชนทั้งหลายจงรวมตัวกันเพื่อทวงสิทธิ์อันชอบธรรมของพวกเราคืนจากพวกโจรปล้นอำนาจทั้งหลาย ที่มาในหลากหลายรูปแบบ
เพื่อสร้างประเทศให้เป็นประชาธิปไตย เพื่อลูกหลานไทยทุกคน

(คลิกฟัง)http://news.voicetv.co.th/thailand/43986.html

ศาลรัฐธรรมนูญจะทำรัฐประหารหรือไม่?


ข้อ หาว่ารัฐบาลคิดจะ “ล้มล้างระบบ...และกษัตริย์” ผ่านการแก้รัฐธรรมนูญ เป็นความเพ้อฝันของนักการเมืองปัญญาอ่อน และเป็นข้อหาสามัญของพวกที่อยากทำรัฐประหารเพื่อล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการ เลือกตั้งหรือฆ่าประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตย มันเป็นวิธีที่เผด็จการทรามใช้ในไทย อียิปต์ และตุรกี 

ตาม หลักประชาธิปไตยรัฐสภามีอำนาจชอบธรรมในการร่างกฏหมาย ยิ่งกว่านั้นรัฐธรรมนูญปัจจุบันของไทยเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากเผด็จการทหาร ดังนั้นถ้าศาลรัฐธรรมนูญมีส่วนในการล้มล้างรัฐบาลและระบอบประชาธิปไตยด้วย การยุบพรรคเพื่อไทย มันจะเป็นเรื่องที่ขาดความชอบธรรมโดยสิ้นเชิง สมควรที่จะถอดถอนผู้ที่ดำรงตำแหน่งในศาล

คำ ถามว่าศาลจะก่อรัฐประหารหรือไม่เป็นเรื่องที่ตอบยาก และการเมืองเต็มไปด้วยอุบัติเหตุ ความขัดแย้ง และการกระทำของคนที่ไม่คิดไกล เราเดาไม่ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่เราสามารถชั่งน้ำหนักความเป็นไปได้ตามเงื่อนไขต่างๆ

ปัจจัยที่อาจทำให้ศาลไม่น่าจะล้มรัฐบาล

ทหาร คือกลุ่มคนที่มีอำนาจสูงในสังคมไทย ทักษิณและเพื่อไทยทำข้อตกลงกับทหารเรียบร้อยแล้ว ทหารทราบดีว่าจะไม่ถูกนำมาขึ้นศาลในฐานะที่ฆ่าเสื้อแดง และทหารทราบดีว่ารัฐบาลจะไม่แก้ 112 หรือปล่อยนักโทษ 112 หรือ แตะสิทธิพิเศษของทหาร และใครที่มีสมองก็คงเข้าใจด้วยว่าทักษิณและเพื่อไทยเชิดชูสถาบันกษัตริย์พอๆ กับทหาร ข้าราชการชั้นสูง และนายทุนอื่นๆ

ทหาร เข้าใจว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์มีความสามารถในการควบคุมเสื้อแดงผ่านแกนนำนปช. เพื่อไม่ให้เสื้อแดงออกมาชุมนุม รัฐบาลประชาธิปัตย์ หรือรัฐบาลแห่งชาติในรูปแบบที่ถูกมองว่าเป็นผลจากการทำรัฐประหารโดยศาล จะไม่สามารถควบคุมเสื้อแดงได้ และเสี่ยงกับการที่จะมีการชุมนุมใหญ่รอบใหม่

ถ้า รัฐบาลถูกล้มจะมีการหมุนนาฬิกากลับไปสู่สองปีก่อน และความปั่นป่วนของการเมืองไทย สภาพแบบนี้ไม่ตรงกับผลประโยชน์ของชนชั้นปกครองไทยรวมถึงทหาร

ละคร ร้ายของศาลอาจเป็นแค่การต่อรองกับเพื่อไทยและทักษิณ เพื่อให้เขารู้ว่าเขาจะไม่ได้อะไรดังใจง่ายๆ มันอาจไม่จบลงด้วยการล้มรัฐบาลก็ได้

ปัจจัยที่อาจนำไปสู่รัฐประหารของศาล

อำมาตย์ ไม่ใช่กลุ่มคนที่สามัคคีกันตลอด เต็มไปด้วยความขัดแย้งและการช่วงชิงผลประโยชน์กัน ทหารก็ขัดแย้งกันเองเรื่องผลประโยชน์ ศาลรัฐธรรมนูญอาจไม่ฟังทหาร และอาจลองรุกสู้แบบโง่ๆ เพื่อผลประโยชน์เฉพาะของเขา

ซีก ที่อยากรุกสู้อาจมั่นใจในตัวเองสูงเกินไปว่าจะชนะ โดยไม่พิจารณาผลระยะยาวจากการทำลายข้อตกลงระหว่างทหารกับทักษิณ ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียอำนาจของอำมาตย์ทั้งหมดในที่สุด และพวกนี้อาจไม่สนใจประเด็น “ความชอบธรรม” ในสายตาคนไทยและต่างประเทศ เขาอาจโง่ด้วย

ซีก ที่อยากรุกสู้อาจคาดการว่าการยุบพรรคเพื่อไทยจะไม่ล้มรัฐบาล เพราะอาจมีการฟื้นตัวในอีกรูปแบบหนึ่ง เขาอาจมองว่าเป็น “การสั่งสอน” ทักษิณและเพื่อไทยไม่ให้มั่นใจเกินไป แต่แนวแบบนี้เต็มไปด้วยความเสี่ยงสำหรับอำมาตย์ซีกนี้

เราควรทำอะไร?

เสื้อ แดงก้าวหน้าต้องปกป้องรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อรัฐบาลนั้นถูกข่มขู่ จากฝ่ายเผด็จการ แต่ในขณะเดียวกันเราต้องจัดตั้งอิสระและกล้าวิจารณ์รัฐบาลเมื่อรัฐบาลทำใน สิ่งที่ไม่ถูกต้อง อย่าลืมว่าทั้งฝ่ายอำมาตย์และเพื่อไทยอาจอยากให้มีบรรยากาศตึงเครียดใน เรื่องรัฐประหาร เพื่อกดดันให้เสื้อแดงก้าวหน้าสยบยอม เราต้องกล้าเสนอให้มีการปฏิรูปสังคมไทยอย่างถอนรากถอนโคนต่อไป เราต้องสนับสนุนข้อเสนอของคณะนิติราฎร์และร่วมรณรงค์ให้ปล่อยนักโทษการเมือง 112 พร้อมกับนำทหารและนักการเมืองมือเปื้อนเลือดมาขึ้นศาล

 

(ที่มา)http://redthaisocialist.com/2011-01-20-12-41-04/362-2012-07-02-17-58-06.html 

พอล โดโนแวน กับทิศทางเศรษฐกิจโลกท่ามกลางวิกฤตยูโรโซน

พอล โดโนแวน กับทิศทางเศรษฐกิจโลกท่ามกลางวิกฤตยูโรโซน

 

 

พอล โดโนแวน นักเศรษฐศาสตร์โลกของยูบีเอส เอจี วาณิชธนกิจ และบริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำ ได้บอกเล่าการวิเคราะห์ทิศทางเศรษฐกิจโลกท่ามกลางวิกฤตยูโรโซนว่าจะมุ่งหน้า ไปยังทิศทางไหน โดยระบุว่าการเติบโตของเขตเศรษฐกิจโลกในประเทศที่พัฒนาแล้วในปัจจุบัน หลักๆ ยังคงถือว่ามีเสถียรภาพ แต่เชื่อว่ากรีซจะผิดนัดชำระหนี้อีกอย่างน้อย 1 ครั้ง

โดโนแวนบอกว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของโลกเฉลี่ยแล้วคาดการณ์ว่าจะโต 3 เปอร์เซ็นต์ โดยในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก แม้เศรษฐกิจเมื่อปี 2011 ที่ผ่านมาจะมีอัตราการเติบโตเพียง 1.7 เปอร์เซ็นต์ แต่คาดว่าจะโตเพิ่มเป็น 2.1 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ และโตขึ้นอีกเป็น 2.6 เปอร์เซ็นต์ในปี 2013 โดยสถานการณ์ในปัจจุบันนั้น ภาคอสังหาริมทรัพย์ค่อนข้างมีเสถียรภาพ และยังคงมีการใช้จ่ายของผู้บริโภค แต่ก็ยังมีปัญหาคือมีจำนวนคนว่างงานมากขึ้น โดยข้อมูลตัวเลขล่าสุดที่กระทรวงแรงงานของสหรัฐอเมริกา เปิดเผยออกมาเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคมที่ผ่านมาระบุว่า มีการจ้างงานเพิ่มในเดือนมิถุนายนเพียง 80,000 ตำแหน่งเท่านั้น ทำให้อัตราว่างงานในปัจจุบันยังคงสูงถึง 8.2 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งธนาคารยังไม่ค่อยปล่อยกู้อีกด้วย 


(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1341799648&grpid=&catid=06&subcatid=0600

ปธน.อียิปต์ 'ชน' ศาล-กองทัพ ประกาศยกเลิก 'คำสั่งยุบสภา'

ปธน.อียิปต์ 'ชน' ศาล-กองทัพ ประกาศยกเลิก 'คำสั่งยุบสภา'

 

 

มูฮัมหมัด มอร์ซี ประธานาธิบดีอียิปต์คนใหม่จากพรรคภราดรภาพมุสลิม ออกประกาศเพื่อให้ 'คำสั่งยุบสภา' ของกองทัพสูงสุดเป็นโมฆะ หลังศาลฎีกาตัดสินยุบสภา เหตุไม่ชอบด้วยกฎหมาย 

เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 55 สำนักข่าวอัลจาซีรารายงานว่า ประธานาธิบดีคนใหม่ของอียิปต์ มูฮัมหมัด มอร์ซี จากพรรคภราดรภาพมุสลิม ได้ท้าทายศาลสูงสุดและกองทัพอียิปต์ โดยการสั่งให้รัฐสภาเริ่มเปิดการประชุมอีกครั้งหลังถูกยุบไปโดยคำสั่งของสภา กองทัพสูงสุด (SCAF) เพียงก่อนการเลือกตั้งสองวัน โดยอ้างว่าสภาได้รับเลือกเข้ามาโดยวิธีที่ขัดต่อกฎหมาย

คำสั่งดังกล่าวระบุว่า มอร์ซีตัดสินใจจะรื้อฟื้นสภาประชาชน ซึ่งได้รับการเลือกตั้งเข้ามาในต้นเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ขึ้นมาทำหน้าที่ออกกฎหมายอีกครั้ง

ทั้งนี้ ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา พรรคการเมืองของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมได้รับชัยชนะโดยได้ที่นั่งเกือบครึ่ง หนึ่งของสภา และมอร์ซีเอง ถึงแม้จะได้ลงจากตำแหน่งผู้นำพรรคแล้ว แต่ก็ยังเป็นสมาชิกของพรรคดังกล่าว

การออกคำสั่งของมอร์ซี ถูกมองว่าเป็นความพยายามที่จะรื้อฟื้นรัฐสภากลับมา โดยหลีกเลี่ยงการขัดแย้งโดยตรงกับศาลสูงสุด โดยแทนที่จะกล่าวถึงคำสั่งศาลโดยตรง ซึ่งระบุว่าสภาควรถูกยุบ เขาได้ยกเลิกคำสั่งของสภากองทัพสูงสุด ผู้ซึ่งในขณะนั้นเป็นผู้ถืออำนาจบริหารและปฏิบัติตามคำสั่งของศาล

ขั้วขัดแย้งระหว่างกองทัพและกลุ่มภราดรภาพมุสลิม

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา กลุ่มภราดรภาพมุสลิมโต้แย้งตลอดมาว่าคำสั่งศาลสูงสุดตัดสินโดยไม่ชอบธรรม และสภากองทัพสูงสุดเองก็ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะยุบสภา

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ไม่เป็นที่ชัดเจนนักว่า มอร์ซีได้หารือเรื่องนี้กับกองทัพหรือกลุ่มอำนาจอื่นๆ ก่อนจะออกคำสั่งนี้หรือไม่ โดยทางผู้นำระดับสูงของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมกล่าวว่าตนไม่ได้รับการปรึกษา หารือ ในขณะที่สภากองทัพสูงสุดได้จัด "การประชุมฉุกเฉิน" เพื่อหารือเรื่องนี้ และศาลสูงสุดก็นัดประชุมในวันจันทร์เพื่อตีความคำสั่งดังกล่าว

นอกจากนี้ คำสั่งของมอร์ซียังกำหนดให้มีการจัดการเลือกตั้ง 60 วันหลังการให้ความเห็นชอบลงประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่วงปลายปีนี้ โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมาจากการแต่งตั้งของสภาสมัยก่อนหน้านี้ ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ทั้งนี้ การชนะการเลือกตั้งของกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ได้ก่อให้เกิดความหวาดระแวงในหมู่ฆราวาสนิยม เสรีนิยม และชนกลุ่มน้อยศาสนาคริสต์ ที่ดูเหมือนจะพึงพอใจกับการยุบสภา โดยนักการเมืองฝ่ายฆราวาสนิยม รวมถึงโมฮัมเหม็ด เอลบาราได ได้วิพากษ์การตัดสินใจของมอร์ซีเมื่อคืนวันอาทิตย์ด้วย 

คำสั่งของศาลสูงสุดที่ให้ยุบสภา มีขึ้นเพียงหนึ่งวันก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบที่สอง ซึ่งมีผู้ลงสมัครคือ มอร์ซี และอาห์เหม็ด ชาฟีก อดีตนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลระบอบเก่าของฮอสนี มูบารัก 

ข้อครหาต่อศาลมีหนักขึ้น

คำสั่งศาลดังกล่าวตัดสินว่า การที่พรรคการเมืองได้ลงแข่งเพื่อชิงที่นั่งในสภาที่สงวนไว้สำหรับผู้สมัคร อิสระเป็นเรื่องที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ การตัดสินดังกล่าว นำมาซึ่งข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่า ศาลเป็นเครื่องมือของสภากองทัพ ซึ่งมุ่งที่จะจำกัดอำนาจของกลุ่มภราดรภาพมุสลิม

ข้อครหาดังกล่าวมีมากขึ้น โดยหลังจากที่ศาลมีคำสั่งยุบสภาเพียงสองวัน สภากองทัพสูงสุดก็ได้ออกคำสั่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อจำกัดอำนาจประธานาธิบดี และถ่ายโอนอำนาจบริหารจากรัฐสภาที่ถูกยุบมาให้ตนเอง 

คำสั่งของมอร์ซีไม่ได้ระบุชัดเจนว่า สภากองทัพสูงสุดจะสูญเสียอำนาจบริหารหรือไม่ หากรัฐสภาถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง

กลุ่มภราดรภาพมุสลิม กล่าวว่า การยุบสภา ควรผ่านการทำประชามติ

อนึ่ง รัฐธรรมนูญชั่วคราวของอียิปต์ซึ่งผ่านการประชามติหลังการโค่นล้มเผด็จการฮอส นี มูบารักในปี 2553 ไม่มีการให้อำนาจสถาบันทางการเมืองใดที่จะยุบสภาได้ และไม่มีกฎข้อบังคับระบุเกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าวด้วย ในขณะที่ประธานาธิบดีมีอำนาจที่จะเรียกเปิดประชุมสภา 

ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก Egypt's Morsi orders parliament to reconvene
http://www.aljazeera.com/news/middleeast/2012/07/201278153339685112.html


(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41457

Divas Cafe

Divas Cafe


แดงโห่ ปชป เฮ นักวิชาการซัด กระแสตีกลับเพื่อไทย Divas Cafe 13มิย55
http://youtu.be/vTCbQdANN1k

 

ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลเจ้าไม่ใช่ศาลราษฎร Divas Cafe 09กค55

http://www.youtube.com/watch?v=pivR-Fo__nw&feature=g-all-u

ศุกร์ 13 เพื่อไทย สยอง? (ภาคแรก)

ศุกร์ 13 เพื่อไทย สยอง? (ภาคแรก)

 

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
นักกฎหมายอิสระ
http://www.facebook.com/verapat


ผู้เขียนได้เข้า ฟังการไต่สวน ณ ศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 5-6 กรกฎาคม ที่ผ่านมา และได้บันทึกสีหน้า ท่าทาง และน้ำเสียงของศาลไปพร้อมกับเนื้อหาการไต่สวน ซึ่งมีประเด็นควรแก่การขบคิดก่อนศาลจะมีคำวินิจฉัยในวันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม ดังนี้

1. ศาลไต่สวนเพียงสองวัน ‘หยาบสั้น’ ไปหรือไม่ ?
แม้ผู้เขียนจะเป็น ‘ฝ่ายผู้ดู’ แต่ก็รู้สึกอึดอัดแทนทั้ง ‘ฝ่ายผู้ร้อง’ (ที่ต้องการยับยั้งการแก้รัฐธรรมนูญ) และ ‘ฝ่ายผู้ถูกร้อง’ (ที่ต้องการเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญ) ซึ่งต่างมีประเด็นที่จะอธิบายซักถามจำนวนมาก แต่กลับถูกบีบคั้นโดยกรอบเวลาที่ศาลกำหนด



ปกติคดีส่วนตัวธรรมดาระหว่างคนสองคน ยังนำสืบพยานกันได้หลายนัดหลายวัน มาคดีนี้มีคู่ความฝ่ายละหลายราย และอาจมีผลรุนแรงถึงขั้นยุบพรรคการเมืองที่มีประชาชนสนับสนุนจำนวนมาก แล้วเหตุใดศาลจึงรวบรัดไต่สวนพยานเพียงสองวัน และใช้เวลาเพียง ‘วันเดียว’ ในการทำคำวินิจฉัยหลังกำหนดแถลงปิดคดี ?

แม้ศาลมีอำนาจควบคุมการไต่สวนให้มีประสิทธิภาพ (ซึ่งหลายจังหวะศาลทำได้ดี) แต่ศาลก็พึงระลึกว่า ‘ระบบไต่สวน’ ไม่ได้แปลว่าศาลจะรวบรัดเวลาได้เสมอ ตรงกันข้าม การที่ศาลแสวงหาข้อเท็จจริงได้เอง กลับทำให้ศาลต้อง ‘ซักถามสนทนา’ ถึงประเด็นที่แสวงหามา เพื่อให้คู่ความได้ทราบและชี้แจงอย่างเต็มที่ การไต่สวนจึงไม่ได้สำคัญที่ ‘การฟัง’ ของศาล หรือ ‘การอ่าน’ เอกสารในสำนวนก่อนหรือหลังวันไต่สวนเท่านั้น

 แต่ปรากฏว่าตลอดสองวัน ‘ศาลซักถามน้อยมาก’ และดูไม่จดประเด็นเสียด้วย หากศาลถามได้มากและโยงเข้าเนื้อหาสำนวนได้ แสดงว่าศาลทำการบ้านอ่านสำนวนมาล่วงหน้า และจดคำตอบสำคัญโดยไม่ต้องรอถอดเทป แต่คดีนี้ก็มีจังหวะที่ศาลเองดูไม่แน่ใจว่ามีเรื่องใดซ้ำกับเอกสาร ปล่อยให้พยานต้องบอกว่าตอบไปแล้วในเอกสาร 

ความรวบรัดที่ว่านำไปสู่ ‘สิ่งที่ไม่คาดนึก’ คือ มีจังหวะที่ตุลาการเอียงตัวไปโต้เถียงกันสั้นๆ ภาพที่เห็นเข้าใจได้ว่า ตุลาการท่านหนึ่งประสงค์ให้พยานได้ถูกซักเพิ่มในประเด็นที่ตนสนใจ แต่ตุลาการอีกสองท่านส่ายหน้าว่าต้องพอแล้ว   ซ้ำร้าย บางท่านยังพิงหลังหลับตาเป็นระยะ ขณะที่บางท่านลุกไปนอกห้องนานพอสมควร (แต่บางท่านก็ไม่ได้ลุกออกไปเลย)


 ‘ภาพน่าตะลึง’ อีกภาพ คือ วิธีการและจังหวะที่ประธานศาลใช้ถาม ‘นายโภคิน พลกุล’ ขณะ กำลังพูดเสร็จ แทนที่จะถามพยานตามปกติ กลับโต้เถียงประหนึ่งถามค้านพยานและสรุปความเบ็ดเสร็จเสียเอง และในขณะที่พยานมีมารยาทพอที่จะไม่เถียงศาลต่อ ก็มีเจ้าหน้าที่นำเอกสารมาให้พยานลงชื่อจนรวบรัดให้ต้องลุกไปจากเก้าอี้ (ชมคลิปได้ที่ http://bit.ly/VPCONS)

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41446

The Daily Dose 09กค55

The Daily Dose 09กค55 


 

Wake Up Thailand 09กค55

http://www.youtube.com/watch?v=98aw6Za7Hhg

The Daily Dose

The Daily Dose

The Daily Dose 09กค55

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=AIAE7jdgcWg

ฮิตเลอร์และวาทกรรมต้านประชาธิปไตย

ฮิตเลอร์และวาทกรรมต้านประชาธิปไตย

โดยสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ

 

หลักการสำคัญอย่างหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยในทุกประเทศคือ การปกครองโดยเสียงข้างมากในกรอบเวลาที่ชัดเจน หมายถึงการที่พรรคการเมืองที่ชนะเลือกตั้งโดยได้เสียงในสภามากที่สุดจะได้ สิทธิในการจัดตั้งรัฐบาล และดำเนินนโยบายบริหารประเทศ แต่ในสังคมไทย มักจะมีการผลิตวาทกรรมต่อต้านประชาธิปไตย โดยอ้างกันว่า ประชาธิปไตยที่เป็นอยู่คือเสียงข้างมากลากไป และที่มักจะใช้ยกตัวอย่างกันเสมอก็คือ การเลือกตั้งในเยอรมนี ที่นำมาซึ่งการครองอำนาจของฮิตเลอร์

 
ในที่นี้จึงจะขออธิบายก่อนว่า ในระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก มีการเลือกตั้งกันมาแล้วมากมาย แต่ก็ไม่ได้นำมาซึ่งการครองอำนาจแบบฮิตเลอร์ หรืออธิบายให้ชัดเจนขึ้นก็คือ การเกิดของระบอบแบบนาซีของฮิตเลอร์นั้นเป็นกรณีพิเศษที่ไม่ได้เกิดขึ้นทั่ว ไป และสิ่งที่มักจะมองข้ามไป คือ บริบทหรือสถานการณ์ที่นำมาซึ่งระบอบเช่นนั้น
 
อด็อฟ ฮิตเลอร์เกิดในออสเตรียเมื่อ ค.ศ.๑๘๘๙ เขาเป็นผู้ที่มีแนวคิดชาตินิยมเยอรมันแบบขวาจัด ในวัยหนุ่มของเขา ได้เป็นทหารในกองทัพเยอรมนีไปรบในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และได้รับเหรียญกล้าหาญ ต่อมา ฮิตเลอร์เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ไม่พอใจที่เยอรมนียอมแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตรใน ค.ศ.๑๙๑๙ โดยเห็นว่าเยอรมนีไม่ได้พ่ายแพ้ในสมรภูมิรบ แต่ถูกหักหลังจากฝ่ายพลเรือนและพวกสังคมนิยม ดังนั้น ฮิตเลอร์ยิ่งยอมรับไม่ได้กับสัญญาแวร์ซาย ที่ทำให้เยอรมนีต้องรับผิดชอบในสงครามแต่ผู้เดียว ต้องเสียดินแดน เสียอาณานิคม เสียค่าปฏิกรรมสงคราม และต้องถูกกระทำจนสิ้นสภาพมหาอำนาจ
 
ใน ค.ศ.๑๙๒๑ เขาได้เป็นหัวหน้าพรรคสังคมชาตินิยม หรือ พรรคนาซี ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่มีแนวทางขวาจัดที่สุด ที่มุ่งจะพื้นอำนาจเยอรมนี ต่อมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.๑๙๒๓ เขาพยายามก่อรัฐประหารในเมืองมิวนิคที่รู้จักกันว่า กบฏโรงเบียร์ แต่ล้มเหลว ฮิตเลอร์ถูกจำคุกเป็นเวลาหนึ่งปี ซึ่งในระหว่างนั้นเองที่เขาเขียนบันทึกความทรงจำเป็นหนังสือชื่อ ไมน์คัมพฟ์(การต่อสู้ของข้าพเจ้า) หลังได้รับการปล่อยตัวเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ.๑๙๒๔ เขาได้รับเสียงสนับสนุนมากขึ้นจากความมั่นคงในการโจมตีสนธิสัญญาแวร์ซาย และต่อต้านคอมมิวนิสต์ และจากการที่เขาเป็นนักพูดที่มีวาทศิลป์และจูงใจคน และหนังสือของเขาก็กลายเป็นหนังสือขายดี แต่กระนั้นในการเลือกตั้ง พรรคของเขาก็ยังได้คะแนนนิยมไม่มากนัก เช่น การเลือกตั้ง ค.ศ.๑๙๒๔ พรรคนาซีได้เสียง ๓ % ต่อมา เลือกตั้งใน ค.ศ.๑๙๒๘ พรรคนาซีเหลือ ๒.๖ % แต่พรรคนาซีมีลักษณะพิเศษคือ มีการจัดตั้งกองกำลังฝ่ายขวาของพรรคด้วย
 

การเมืองในเสื้อแดง โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

การเมืองในเสื้อแดง โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

 

 

"ปัจจัย เดียวที่จะรักษาขบวนการเสื้อแดงไว้ได้ คือปัจจัยภายนอก เช่นหากเกิดรัฐประหารขึ้น, ยุบพรรคเพื่อไทย, หรืองดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา, หรือตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ฯลฯ"
..................................

การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงเป็นการเคลื่อนไหวมวลชนที่ใหญ่สุด เท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ไทย ครอบคลุมผู้คนกว้างขวาง ทั้งในเขตเมืองและชนบท ด้วยจุดมุ่งหมายทางการเมืองที่แตกต่างกัน อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ความหลากหลายของจุดมุ่งหมายทางการเมือง เป็นทั้งพลังและเป็นทั้งความอ่อนแอ ในส่วนที่เป็นพลังอาจเห็นได้จาก เมื่อกลุ่มคนที่ถูกเรียกว่า "แกนนำ" ถูกจับกุมคุมขัง มวลชนถูกล้อมปราบอย่างป่าเถื่อน แต่ชั่วเพียงไม่นานก็เกิด "แกนนอน" และการรวมตัวเคลื่อนไหวอย่างคึกคักและต่อเนื่องยิ่งกว่าเดิม ขบวนการฟื้นกลับมาใหม่ในเวลาไม่นาน

อันที่จริง การถูกล้อมปราบในเมษายน-พฤษภาคม 2553 กลับเป็นโอกาสให้ขบวนการเสื้อแดงได้เรียนรู้การเคลื่อนไหวทางการเมืองได้อีก หลายรูปแบบ จนในที่สุดแม้ขาดการจัดองค์กรที่มีประสิทธิภาพ ก็สามารถเลือกพรรคเพื่อไทยขึ้นมาเป็นรัฐบาลได้ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น

ขบวน การเสื้อแดงเพิ่งเกิดขึ้นหลังรัฐประหารเกือบ 2 ปี ในระหว่างที่ พธม.ยึดทำเนียบรัฐบาลอยู่นั้น ในวันที่ 2 กันยายน 2551 ฝ่ายต่อต้านการรัฐประหาร กลุ่มที่มีคุณเนวิน ชิดชอบ เป็นผู้นำ ได้วางแผนยกกำลังไปล้อมทำเนียบ เพื่อตัดการส่งเสบียงอาหารให้ฝ่ายเสื้อเหลือง แต่แผนการนี้ไม่ได้แจ้งให้ผู้นำกลุ่มต่อต้านรัฐประหารอื่นๆ ทราบ ผลจึงเป็นความล้มเหลวไม่เป็นท่า เพราะเกิดการปะทะกันระหว่างคนสองกลุ่ม จนเป็นผลให้ผู้ประท้วงของ นปช.เสียชีวิตไปหนึ่งคน เกิดความตึงเครียดภายในของกลุ่ม นปช.


จากความล้มเหลวครั้งนี้ ในที่สุดก็ปรับเปลี่ยนยุทธวิธี คือหันมาสู่การชุมนุมด้วยมวลชนจำนวนมหาศาล ซึ่งสวมเสื้อแดงพร้อมกัน และชุมนุมตามโรงคอนเสิร์ตใหญ่ๆ หรือสนามกีฬา นับจากนั้นจึงเกิดอัตลักษณ์ขบวนการคนเสื้อแดงอันเป็นที่รู้จักของทุกฝ่าย ขึ้น


นับจากเมื่อเกิดขบวนการเสื้อแดงในปลายปี 2551 การเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดงครั้งใหญ่คือ การขับไล่รัฐบาลอภิสิทธิ์ที่มาจากค่ายทหารในสงกรานต์เลือด 2552 (เพิ่ง 8 เดือนหลังรวมตัวเป็นเสื้อแดง) และการประท้วงใหญ่ที่สะพานผ่านฟ้าฯ-ราชประสงค์ใน 2553 (20 เดือนหลังรวมตัว) แม้ว่าประสบความล้มเหลวจนบาดเจ็บล้มตายกันมากทั้งสองครั้ง แต่ก็แสดงให้เห็นการขยายตัวอย่างรวดเร็วของขบวนการไปทั่วประเทศ ในขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นความอ่อนประสบการณ์ในการดำเนินการทางการเมืองไป พร้อมกัน เพราะประสบการณ์ทางการเมืองของคนเสื้อแดงส่วนใหญ่ คือการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง (ซึ่งการตัดสินใจของเขาก็มักถูกผู้มีอำนาจล้มล้างไปเสมอ) และการประท้วงบนท้องถนน


(อ่านต่อ)

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1341805539&grpid=&catid=02&subcatid=0200 

ศึกษา การเมือง กรณี วีซ่า ′ทักษิณ′ ยอกย้อน กินตัว

ศึกษา การเมือง กรณี วีซ่า ′ทักษิณ′ ยอกย้อน กินตัว

 




ไม่ว่ากระทรวงต่างประเทศสหรัฐจะแถลงหรือไม่

ไม่ว่าสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำกรุงเทพจะแถลงหรือไม่

แต่กรณีวีซ่าเข้าสหรัฐของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็แจ่มชัด

เป็นความแจ่มชัดเหมือนกับวีซ่าเข้าญี่ปุ่น เป็นความแจ่มชัดเหมือนกับวีซ่าเข้าจีน เป็นความแจ่มชัดเหมือนกับวีซ่าเข้าสหราชอาณาจักร

แทบไม่ต้องระบุถึงวีซ่าเข้าสหภาพยุโรป

น่าเห็นใจ นายกษิต ภิรมย์ อย่างยิ่งที่รับทราบกระบวนการเหล่านี้ก็ต่อเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางไปยังประเทศนั้นๆ แล้ว

กระนั้น ก็น่าแปลกใจในความหงุดหงิด

เป็นความหงุดหงิดต่อสหรัฐ ขณะที่เกือบไม่เคยเห็นปรากฏการณ์เช่นนี้ของ นายกษิต ภิรมย์ ต่อจีน ต่อสหราชอาณาจักร

หรือแม้กระทั่งต่อหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน

น่า เห็นใจเพราะว่า ณ วันนี้ นายกษิต ภิรมย์ คือ "อดีต" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แต่น่าแปลกใจที่ ณ วันนี้ นายกษิต ภิรมย์ ก็ทำเหมือนกับไม่เข้าใจว่าเป็นเรื่องอันใด


การเมือง

ทุกอย่างล้วนเป็นเรื่องการเมือง และเป็นการเมืองอันอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์เน็ต-เน็ต ไม่มีเรื่องอื่นเจือปน

ที่ห้าม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้าก็เป็นเรื่องการเมือง

เพราะ ท่าทีของรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เพราะท่าทีของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นบุคคลอันตราย

ที่ให้วีซ่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้าก็เป็นเรื่องการเมือง

เพราะท่าทีของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ถือว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นอันตรายอีกแล้ว

เหตุผลว่าด้วย "การเมือง" จึงเหมือนเหรียญ 2 ด้าน

หาก เป็นเหรียญอันเริ่มจากจุดของรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 ย่อมเห็นอย่างหนึ่ง หากเป็นเหรียญอันเริ่มจากพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน ซึ่งต่อเนื่องมายังพรรคเพื่อไทย ย่อมเห็นอีกอย่างหนึ่ง

เป็นการเมืองคนละด้าน เป็นการเมืองคนละมุม

ต่าง ประเทศจึงต้องอนุมัติไปตามแต่เหตุผลที่รัฐบาลอันชอบด้วยกฎหมายจะเสนอไปให้ เหตุผลของรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงต่างจากเหตุผลของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1341820828&grpid=01&catid=&subcatid= 

สหภาพแรงงานเซ็กส์เวิร์คเกอร์ฝรั่งเศสประท้วงแนวคิดลงโทษผู้ซื้อบริการทางเพศ

สหภาพแรงงานเซ็กส์เวิร์คเกอร์ฝรั่งเศสประท้วงแนวคิดลงโทษผู้ซื้อบริการทางเพศ




Protest for France sex workers _ euronews_ world news-07-07-2012

http://www.youtube.com/watch?v=OKRZal79XV4 


เซ็กส์เวิร์คเกอร์ในฝรั่งเศสประท้วงแนวคิดของรัฐมนตรีสิทธิสตรีของฝรั่งเศส หลังจากเสนอนโยบายสะกัดการเติมโตของอุตสาหกรรมค้าเซ็กส์ ด้วยแนวคิดลงโทษผู้ที่จ่ายเงินซื้อบริการทางเพศ
 
เมื่อวันที่ 7 ก.ค. 55 ที่ผ่านมากลุ่มชนชาวฝรั่งเศสรวมทั้งผู้ประกอบอาชีพขายบริการทางเพศรวมตัวกัน ประท้วงแนวคิดของ Najat Vallaud-Belkacem รัฐมนตรีสิทธิสตรีของฝรั่งเศสหลังจากเสนอนโยบายสะกัดการเติมโตของอุตสาหกรรม ค้าเซ็กส์ ด้วยแนวคิดลงโทษผู้ที่จ่ายเงินซื้อบริการทางเพศ เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
 
Morgane Merteiul เลขาธิการทั่วไปของสหภาพแรงงานเซ็กส์เวิร์คเกอร์ ระบุว่า Vallaud-Belkacem ควรไปทำการบ้านศึกษาดูก่อนว่าอาชีพขายบริการนั้นเป็นอย่างไรและการต่อต้าน การบังคับใช้แรงงานก็ถือเป็นหลักการเดียวกับการให้สิทธิเสรีภาพแก่ผู้ที่ เต็มใจจะทำงานแบบนี้
 
มูลนิธิ Scelles ประมาณการว่าในฝรั่งเศสมีผู้ประกอบอาชีพขายบริการทางเพศ 18,000-20,000 คนในปี ค.ศ. 2012 ถึงแม้ว่าอาชีพนี้จะไม่ผิดกฎหมาย แต่ก็มีการห้ามให้มีลักษณะตัวกลางในการจัดหาหญิงค้าบริการให้ผู้ซื้อ มีการห้ามการบังคับให้ค้าประเวณี และการเชื้อเชิญให้ซื้อบริการทางเพศในที่สาธารณะ
 
แต่ปัจจุบันเริ่มมีผู้สนับสนุนให้มีกฎหมายจำกัดการค้าบริการทางเพศ เนื่องจากปัจจุบันมีคนขายบริการเดินหาลูกค้าตามที่สาธารณะ และเกิดกลุ่มมาเฟียที่ลักลอบนำหญิงขายบริการจากเอเชีย, แอฟริกา และประเทศยุโรปอื่นๆ เข้ามาในฝรั่งเศส
 
แต่ทั้งนี้กลุ่มผู้ขายบริการทางเพศกลับมองว่าหากมีกฎหมายจำกัดการค้า บริการทางเพศขึ้นมาจริง ยิ่งจะทำให้กลุ่มมาเฟียก่ออาชญากรรมแบบนี้เพิ่มมากขึ้น
 
ที่มาข่าว:

Protest for France sex workers (7-7-2012)
http://www.euronews.com/2012/07/07/protest-for-france-sex-workers/

Hundreds protest anti-prostitution plans in Paris (7-7-2012)
http://uk.reuters.com/article/2012/07/07/uk-france-prostitution-idUKBRE8660GP20120707

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41445