หน้าเว็บ

วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ประยุทธ์ริเริ่มการใช้ "กษัตริย์ที่ไม่มีตัวตน”

ประยุทธ์ริเริ่มการใช้ "กษัตริย์ที่ไม่มีตัวตน”



 
โดย  ใจ อึ๊งภากรณ์


กษัตริย์ ไทยไม่เคยมีอำนาจสั่งการใคร และเป็นเครื่องมือเพื่อแสวงหาความชอบธรรมของทหารและข้าราชการกับนายทุนมา ตั้งแต่สมัยที่สฤษดิ์ส่งเสริมให้นายภูมิพลมีบทบาทในสังคม ตั้งแต่นั้นมากษัตริย์ไทยเป็นสิ่งประดิษฐ์ศักดิ์สิทธิ์ ยิ่งศักดิ์สิทธิ์เท่าไรก็ยิ่งใช้งานได้มากขึ้น ชนชั้นปกครองไทยใช้ความรุนแรงและการปราบปรามผู้ที่คิดต่าง เพื่อกล่อมเกลาให้พลเมืองต้องเชื่อว่ากษัตริย์มีอำนาจสูงสุดและแตะต้องไม่ ได้ แต่นายภูมิพลไม่เคยคิดอะไรเอง และไม่เคยกล้าตัดสินใจอะไรเลยเกี่ยวกับสังคม แค่นั่งกอบโกยความร่ำรวยและดูคนหมอบคลานต่อตนเองก็พอ เผด็จการ หรือประชาธิปไตย ใครมาใครไป นายภูมิพลให้พรหมด

แต่ ตอนนี้นายภูมิพลหมดสภาพ ดังนั้นเวลาประยุทธ์ทำรัฐประหารก็ไม่เอาใจใส่สร้างภาพว่าไปรับคำสั่งอะไร เวลาไป “รับ” รัฐธรรมนูญเผด็จการก็แค่ถ่ายรูปนายภูมิพลแตะกระดาษ

ขั้นตอนสูงสุดของการปั้นประดิษฐ์กษัตริย์ภายใต้เผด็จการประยุทธ์ตอนนี้คือ "กษัตริย์ที่ไม่มีตัวตน

ไม่ ต้องมีร่างจริงที่มีชีวิต มีแต่รูปก็พอ คล้ายๆ “พี่ใหญ่” ในหนังสือ 1984 ดังนั้นในอนาคตนายภูมิพลจะเป็นหรือตายไม่สำคัญ เอาภาพมาติดก็พอ ซึ่งผมอยากจะแนะนำ “ท่านผู้นำใหญ่” ว่าตอนนี้ไม่ต้องมีราชวงศ์เลยดีไหม? ไม่ต้องมีงบให้พวกนี้ ขายวังขายเครื่องบินขายรถ ปลดพวกประจบสอพลอออกไป ประหยัดเงินมหาศาล ใช้แต่รูปภาพรูปเดียวก็ได้ เอาไปขึ้นอินเตอร์เน็ดก็ได้ ยิ่งไม่มีค่าใช้จ่ายเลย จะได้เอาเงินไปสร้างรัฐสวัสดิการ....

(ที่มา)
http://redthaisocialist.com/2011-01-20-12-41-04/647-2014-08-27-07-14-56.html    

งานศพผิดวัดครั้งใหม่ (1)

งานศพผิดวัดครั้งใหม่ (1)

 

 
โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ 

ผมไม่คิดว่าคำสนทนาของท่านนายกรัฐมนตรีนอกตำแหน่งอานันท์ปันยารชุนกับคุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ควรค่าแก่การวิจารณ์ตอบโต้ เพราะคำพูดที่ขัดแย้งกันเองแต่ต้นจนปลายเช่นนั้นไม่มีสาระที่ควรได้รับความใส่ใจจากใคร อย่างไรก็ตาม ความเห็นที่เป็นพื้นฐานความคิดของข้อถกเถียงไร้สาระนั้นกลับน่าสนใจกว่า เพราะเป็นวิธีคิดพื้นฐานที่อยู่ปลายจมูกของคนไทยจำนวนหนึ่งมานานแล้ว และผมอยากตอบโต้วิธีคิดพื้นฐานเหล่านั้น จึงขอยกเอาคำกล่าวของคุณอานันท์มาเป็นจุดเชื่อมไปสู่วิธีคิดพื้นฐานดังกล่าว เพราะเป็นวิธีคิดที่ไม่ไกลไปกว่าปลายจมูกเหมือนกัน หากการเขียนทำให้เข้าใจผิดว่าล่วงเกินคุณอานันท์เป็นการส่วนตัว ก็ขออภัยไว้ด้วย เจตนามิได้เป็นเช่นนั้น

คุณอานันท์แสดงความฉงนว่าคนไทยรักฝรั่งเสียเหลือเกิน ทั้งๆ ที่ "ฝรั่งไม่ใช่พ่อใช่แม่" ของเรา ยังไม่ทันขาดคำดีคุณอานันท์ก็ยกความเห็นของศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดท่านหนึ่ง ซึ่งเขียนบทความซึ่งคุณอานันท์เชื่อว่านักการเมืองฝรั่งไม่เคยอ่าน ฝรั่งคนนั้นคิดว่าการรัฐประหารมีทั้งดีและเลว เกณฑ์สำหรับใช้วัดก็คือ หากรัฐประหารเพื่อทำให้ประชาธิปไตยเจริญเติบโตขึ้นก็ถือว่าดี หากเป็นการรัฐประหารที่ทำลายประชาธิปไตยก็ถือว่าไม่ดี แล้วท่านก็ยกตัวอย่างรัฐประหารที่ดีคือในกรณีของโปรตุเกศ, กรีก, และตุรกี กับอีกเกณฑ์หนึ่งคือ รัฐประหารแล้วกลับสู่ประชาธิปไตยได้เร็วช้าเพียงไร

ด้วยความอนุเคราะห์ของเพื่อนนักรัฐศาสตร์สองท่าน (อาจารย์เวียงรัตน์ เนติโพธิ์ และ อาจารย์ประจักษ์ ก้องกีรติ) จึงทำให้สามารถหมายได้ว่าข้อเขียนฝรั่งที่คุณอานันท์อ้างถึงนั้นคือ Ozan O. Varol, "The Democratic Coup d Etat," ในวารสาร Harvard International Law Journal, 53/2, 2012 ผู้เขียนไม่ได้เป็นศาสตราจารย์ฮาร์วาร์ด แต่เป็นรองศาสตราจารย์ที่วิทยาลัยกฎหมายแห่งหนึ่งในชิคาโก (ที่พูดนี่เป็นเรื่องของข้อเท็จจริง มิได้หมายความว่าศาสตราจารย์ฮาร์วาร์ดเท่านั้นที่พูดอะไรไม่เคยผิด)

ผม ไม่แน่ใจว่าคุณอานันท์ได้อ่านบทความนี้เองหรือไม่หรือได้อ่านละเอียดหรือไม่ การรัฐประหารที่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นการรัฐประหารเชิงประชาธิปไตยนั้นต้อง ประกอบด้วยคุณสมบัติ 7 ประการ เช่น ต้องล้มล้างระบอบเผด็จการ, ตอบสนองต่อเสียงคัดค้านต่อต้านรัฐบาลนั้น, ผู้นำของระบอบเผด็จการปฏิเสธที่จะลงจากอำนาจ, กองทัพได้รับความเคารพนับถือจากประชาชน ฯลฯ

ถ้าคุณอานันท์ได้อ่านอย่างละเอียดพอสมควร ก็หมายความว่า คุณอานันท์เชื่อตามที่กลุ่ม กปปส.อ้างว่า รัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์เป็นรัฐบาลเผด็จการ ไม่ได้รับการต้อนรับจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ปฏิเสธที่จะลงจากตำแหน่งแม้ได้ประกาศยุบสภาไปแล้ว เพียงเท่านี้ก็ทำให้วิจารณญาณด้านการเมืองของคุณอานันท์เป็นที่พึงระแวงสงสัยอย่างยิ่ง ว่ายังมีความเที่ยงธรรมอยู่หรือไม่

คดีมาตรา 112 กำลังถูกเข็นให้ไปขึ้นศาลทหาร

คดีมาตรา 112 กำลังถูกเข็นให้ไปขึ้นศาลทหาร




คดีมาตรา 112 กำลังถูกเข็นให้ไปขึ้นศาลทหาร
http://ilaw.or.th/node/3213 


การที่เขาดันให้ 112 ไปขึ้นศาลทหารมันสะท้อนธาตุแท้ของกฎหมายนี้ คดีนี้ นักโทษคดีนี้ว่าทั้งหมดเป็น กฎหมายเล่นงานคนเห็นต่างทางการเมือง เป็นคดีการเมือง และนักโทษคดีนี้คือนักโทษการเมือง  การมีนักโทษการเมืองเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจก็สะท้อนว่า ระบอบการเมืองที่มีอยู่ไม่ยอมรับความเห็นต่างทางการเมือง และถอยห่างออกจากหลักการประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมไปทุกวันๆ

คืนความจริงกับปิยบุตร : เสรีภาพที่ถูกคุกคาม

คืนความจริงกับปิยบุตร : เสรีภาพที่ถูกคุกคาม


 
เสรีภาพที่ถูกคุกคาม

ตอนที่ 3 ปัจจุบันและอนาคตการเมืองไทย ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2557 (ชั่วคราว)

ตอนที่2 ว่าด้วยการเปลี่ยนผ่านรัฐธรรมนูญ บทเรียนจากต่างประเทศ
https://www.youtube.com/watch?v=70kQOY7CqRU 

ตอนที่ 1 ว่าด้วย เนติบริกรในประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญร่วมสมัยของไทย
https://www.youtube.com/watch?v=J8r9Kbs838c  


26 ส.ค.2557 เฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘คืนความจริง’ เผยแพร่บทสนทนากับ ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 21 ส.ค.ที่ผ่านมา วิเคราะห์การคุกคามเสรีภาพของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) โดยเฉพาะผลกระทบของเสรีภาพทางวิชาการ จากการณีที่ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถูกดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.

โดยก่อนหน้านี้มีการเผยแพร่บทสนทนากับปิยบุตร ตอนที่ 1 ว่าด้วย เนติบริกรในประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญร่วมสมัยของไทย  ตอนที่ 2 ว่าด้วย การเปลี่ยนผ่านรัฐธรรมนูญ บทเรียนจากต่างประเทศ และ ตอน 3 ปัจจุบันและอนาคตการเมืองไทย ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2557 (ชั่วคราว) (ชมตอนที่ 2 และ 3)

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2014/08/55232 

ลัทธิอุบาทว์!

ลัทธิอุบาทว์!
 






กราบไหว้รูปภาพด้วยความงมงาย จัดฉากสถาปนาตนเองเป็นผู้นำประเทศ ราวกับเอาลิเกมาเล่นกันนอกโรง มีที่เดียวในโลกเท่านั้นที่่เขาทำกันแบบนี้

เผด็จการประยุทธ์ เราจะสร้างประชาธิปไตยได้อย่างไร?

เผด็จการประยุทธ์ เราจะสร้างประชาธิปไตยได้อย่างไร?

 


news_img_431955_1
โดย ใจ  อึ๊งภากรณ์


(สรุปจากการประชุมคนไทยรักประชาธิปไตยที่ประเทศเดนมาร์ก)


ปรากฏการณ์ล่าสุดในไทยคือการแต่งตั้งตนเองเป็นนายกของประยุทธ์มือเปื้อน เลือด ประยุทธ์มั่นใจในตนเอง ว่าสมุนใน “สภาทหาร” จะเลือกเขา จนประยุทธ์ไม่สนใจไปร่วมประชุมด้วย

เผด็จการของประยุทธ์ทั้งโหดร้ายและโง่ โหดร้ายเพราะขัง ทรมาน และใช้ 112 ไล่จับคนที่คิดต่าง โง่เพราะหน้าด้านปกครองเดี่ยว และสร้างภาพหน้าสมเพชว่าคืนความสุขให้ประชาชน

เผด็จการนี้ทำให้นึกถึงยุคเผด็จการก่อน 14 ตุลา นักเขียนชื่อดัง วัฒน์  วรรลยางกูร มองว่า “คสช คือเศษสวะตกค้างจากสงครามเย็น” และ สุธาชัย  ยิ้มประเสริฐ ชี้แจงว่า การรวบอำนาจของประยุทธ์ ใช้วิธีการที่ไม่มีการใช้มาตั้งแต่ยุคเผด็จการถนอม

ในปัจจุบันจำนวนคนไทยที่รักประชาธิปไตย ที่ต้องเดินทางออกนอกประเทศมีจำนวนสูงมาก ปรากฏการณ์นี้ไม่เคยมีมานานแล้ว ครั้งก่อนจะเป็นช่วงยุค 6 ตุลา

คสช. มีแผนทำอะไร? แน่นอนพวกมันและพวกประจบสอพลอที่คอยฉวยโอกาสเลียเผด็จการ ไม่มีวันปฏิรูประบบการเมืองไทยให้มีประชาธิปไตยมากขึ้นได้ พวกนี้เป็นพวกมือเปื้อนเลือดที่ก่อรัฐประหารและปิดกั้นเสรีภาพ แต่ฝูงนักวิชาการเลื้อยคลาน มักเห่าหอนว่านี่คือการ ”ปฏิรูป”

ขัอสังเกตคดี 112 หลังรัฐประหาร


ขัอสังเกตคดี 112 หลังรัฐประหาร


 

ประชาไท รายงาน เมื่อ 20 สค. 57 ว่า หลังการรัฐประหารมีผู้ถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ทั้งหมด 15 คน อันที่จริง ยังมีผู้หลบหนีไม่รายงานตัวอีกจำนวนหนึ่ง ถ้ายึดตามรายงานของไทยรัฐ วันที่ 25 กค. 57 มีจำนวน 55 คน  ในจำนวนนั้นส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่เคยถูกดำเนินคดี 112 มาก่อนแล้วแต่ได้รับการอภัยโทษแล้วหรือไม่ก็คดีสิ้นสุดแล้ว อีกส่วนหนึ่งคาดว่าอาจจะถูกดำเนินคดี 112 หากคนเหล่านี้มารายงานตัว ก็อาจจะทำให้จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีเพิ่มขึ้นอีก

การดำเนินคดี 112 ในขณะนี้ยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงปัญหาของกฎหมายข้อนี้ที่คาราคาซังมาเนิ่นนานอยู่แล้วหลายประการด้วยกันดังนี้

หนึ่ง ผู้ถูกกล่าวหาส่วนใหญ่ไม่ได้รับการประกันตัว มีเพียงผู้มีชื่อเสียง 2 คนจาก 15 คน (ตามรายงานของประชาไท) เท่านั้นที่ได้รับการประกันตัว ทั้งนี้อาจเพราะเพื่อลดความกดดัน หากแต่ส่วนใหญ่เป็นคนที่ไม่มีชื่อเสียง ไม่เป็นที่รู้จัก หรือมีอาชีพที่ไม่มั่นคง จึงแทบไม่เป็นข่าว ไม่มีใครรับรู้ และไม่มีหลักประกันอย่างเป็นทางการ เช่น นักศึกษามหาวิทยาลัยต่างจังหวัด ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เป็นเกษตรกร นี่สะท้อนความยุติธรรมที่วางอยู่บนความเหลื่อมล้ำของสังคม

สอง ผู้ถูกกล่าวหาส่วนใหญ่ถูกตีตราว่าเป็นคนผิด ก่อนที่จะมีการดำเนินคดี ข้อนี้เห็นได้ชัดจากกรณีของผู้ต้องหารายล่าสุด ที่ถูกปฏิเสธไม่ให้ประกันตัวเนื่องจาก "การกระทำความผิดของผู้ต้องหากับพวก..." ซึ่งเป็นเสมือนการตัดสินไปก่อนแล้วว่าผู้ต้องหา "กระทำความผิด" ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ดำเนินคดี นี่แสดงให้เห็นถึงทัศนคติของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ไม่ให้ความยุติธรรมกับผู้ต้องหาก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

สาม มีแนวโน้มที่การดำเนินคดีจะไม่โปร่งใส และอาจจะไม่ได้รับความยุติธรรมยิ่งขึ้น เนื่องจากมีการประกาศใช้ศาลทหาร และผู้ถูกดำเนินคดีบางรายถูกดำเนินคดีโดยศาลทหาร ข้อนี้ยิ่งทำให้ผู้ถูกเรียกตัวจำนวนมากลังเลที่จะเข้ารายงานตัว

สี่ ถูกใช้เพื่อกลั่นแกล้งทางการเมือง แนวโน้มดังกล่าวสอดคล้องกับการดำเนินคดีที่ผ่านมา และในกรณีหลังการรัฐประหาร แนวโน้มนี้ยิ่งเด่นชัดขึ้นว่าผู้ถูกดำเนินคดีส่วนใหญ่ หรืออาจจะทั้งหมด ล้วนเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของฝ่ายการเมืองที่ขัดแย้งกับผู้มี อำนาจในปัจจุบัน หรือเป็นฝ่ายที่ต่อต้านอำนาจของคณะรัฐประหาร คณะรัฐประหารจึงใช้คดี 112 เพื่อหวังผลสืบเนื่องจากการดำเนินคดี กล่าวคือเพื่อลดการต่อต้านคณะรัฐประหาร ด้วยการข่มขู่ว่าจะดำเนินคดี 112

หากแนวโน้มยังคงเป็นเช่นนี้ การดำเนินคดีกับผู้ต้องหาคดี 112 ก็จะกลายเป็นเครื่องมือในการควบคุมทางการเมืองที่คนกลุ่มหนึ่ง ชนชั้นหนึ่ง ใช้อย่างลำเอียงต่อคนอีกกลุ่มหนึ่ง อีกชนชั้นหนึ่ง ตลอดจนสะท้อนปัญหาความยุติธรรม ความเหลื่อมล้ำของสังคม ปัญหาการกระบวนการยุติธรรมและทัศนคติของเจ้าหน้าที่รัฐ และเหนืออื่นใดคือ ปัญหาการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนอยู่ต่อไป

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2014/08/55158

นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในวิพากษ์ ค่านิยม 12 ประการ ของ คสช.

นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในวิพากษ์ ค่านิยม 12 ประการ ของ คสช.



"ถ้ารักชาติแบบคุณ ผมไม่เอาด้วย เพราะชาติของคุณไม่ยอมรับความเสมอภาคของคน หัวใจของชาติในทัศนะของผมคือคนทุกคนต้องเท่ากัน" 

นิธิ เอียวศรีวงศ์
ในวิพากษ์ ค่านิยม 12 ประการ ของ คสช.
http://www.youtube.com/watch?v=gozjhlMZbks

"ถ้ารักชาติแบบคุณ ผมไม่เอาด้วย เพราะชาติของคุณไม่ยอมรับความเสมอภาคของคน หัวใจของชาติในทัศนะของผมคือคนทุกคนต้องเท่ากัน"

นิธิ เอียวศรีวงศ์
ในวิพากษ์ ค่านิยม 12 ประการ ของ คสช.
http://www.youtube.com/watch?v=gozjhlMZbks


Agree with Nidhi...........
คำว่า "ชาติ" หรือ "ประชาชาติ" ที่แปลมาจาก คำว่า Nation นั้น
เป็นคำ "เก่า" ที่เอามาใช้ในความหมาย "ใหม่"

สมัยสมบูรณาญาสิทธิราช รัชกาลทีี่ 6
เคยแปลเพียงว่า "ชาติ" อย่างกรณี
League of Nations ก็แปลว่า "สันนิบาตชาติ"

แต่เสด็จในกรมนราฯ (อดีตอธิการฯ มธ ที่ไม่เคยทะเลาะกับ นศ เรื่อง "เสรีภาพ")
สมัย "พยายามเป็นประชาธิปไตย"
แปลคำว่า United Nations ว่า "สหประชาชาติ"
คือเติมคำว่า "ประชา" เข้าไป
ดังนั้น "ชาติ" ในความหมายนี้ ก็มี "ประชาชน" ด้วย

ต่างจากความหมายสมัยรัชกาลที่ 6 สมบูรณาญาสิทธิราช
ที่ "ขาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์"
หาได้มี ตำแหน่งแห่งที่ให้ "ประชาชน" ไม่
"ชาติ" น่าจะหมายเพียง country หรือ "ประเทศ"

คำถาม คือ ประชาชน ในระบอบเก่า อยู่ตรงไหน
ปัญหาดังกล่าว
จึงทำให้มีการต่อด้วย "และรัฐธรรมนูญ" ของ "คณะราษฎร"
หรือ "และประชาชน" ของ "คสช" ใช่หรือไม่ ???

cK@ประชาชนอยู่ที่ไหน???