หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

ข้ออ้างเรื่องอาวุธเคมีของสหรัฐฯ มีความชอบธรรมพอหรือไม่ในการโจมตีซีเรีย

ข้ออ้างเรื่องอาวุธเคมีของสหรัฐฯ มีความชอบธรรมพอหรือไม่ในการโจมตีซีเรีย

 

 
 
เกร็ดความรู้เรื่องอาวุธเคมี ตั้งแต่เรื่องฤทธิ์ของอาวุธ ประวัติศาสตร์ที่มีการใช้ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 จนกระทั่งมีสนธิสัญญาห้าม และถือเป็นครั้งแรกที่ทางการสหรัฐฯ รวมถึงประเทศอื่นๆ อ้างเรื่องอาวุธเคมีในการให้ความชอบธรรมต่อการโจมตี

บทความจากผู้สื่อข่าว ดานา ลีเบลสัน จากสำนักข่าวอิสระ Mother Jones ได้นำเสนอข้อมูลเรื่องอาวุธเคมี ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจโจมตีประเทศซีเรียของทางการสหรัฐฯ ที่ชวนให้ตั้งคำถามว่าการใช้อาวุธเคมีเป็นเหตุผลมากพอหรือไม่ที่ทำให้สหรัฐฯ มีความชอบธรรมในการโจมตี

โดยในบทความเริ่มต้นตั้งคำถามว่า นิยามของคำว่า 'อาวุธเคมี' คืออะไร ผู้เชี่ยวชาญได้จำแนกอาวุธเคมีตามผลที่เกิดทางชีววิทยา องค์การห้ามอาวุธเคมีระบุว่าอาวุธเคมี ได้แก่ ประเภทที่ส่งผลต่อระบบประสาท ส่งผลต่อการหายใจ กลุ่มออกฤทธิ์ทำให้เป็นแผลเช่นแก๊สมัสตาร์ด, ประเภทที่มีฤทธิ์ต่อเลือด, สารเคมีที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติทางจิต และสารเคมีที่ใช้ในการปราบจลาจลเช่นแก๊สน้ำตา นอกจากนี้ยังรวมถึงเอเย่นต์ ออเร้นจ์ (Agent Orange) หรือยาที่ทำให้ใบไม้ร่วงซึ่งทางการสหรัฐฯ เคยใช้ในสงครามเวียดนาม

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2013/09/48593 

อ่านหนัง‘เพลิงในเลือด’การผูกขาดตลาดยา อดีตรันทดสู่อนาคตสลัวยุคการค้าเสรี

อ่านหนัง‘เพลิงในเลือด’การผูกขาดตลาดยา อดีตรันทดสู่อนาคตสลัวยุคการค้าเสรี






“FIRE IN THE BLOOD” - Medicine, Monopoly and Malice หรือในชื่อไทย “เพลิงในเลือด – ยา การผูกขาด การปองร้าย” ถูกจัดฉายในโครงการ “หนังขายยา” ครั้งที่ 2 จัดขึ้นโดยหลายหน่วยงานที่รณรงค์เรื่องการเข้าถึงยา หลังจากเมื่อปี 2550 เคยมีการจัดฉายหนังขายยามาแล้วเรื่อง Dying for Drugs

เพลิงในเลือด กำกับโดย DYLAN MOHAN GRAY เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ถูกกล่าวถึงในเทศกาล Sundance Film ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 17 – 23 มกราคม ที่ Park City ในรัฐ Utah ประเทศสหรัฐฯ และถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Grierson British Documentary Award ที่ประเทศอังกฤษ สาขาภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม

ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้เปิดโปงเรื่องราวแวดวงอุตสาหกรรมผลิตยารักษาโรค ข้ามชาติ ที่ใช้สิทธิบัตรผูกขาดตลาด  สร้างเงื่อนไขทางการค้า ที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงยารักษาโรคเอดส์ในราคาที่เป็นธรรมในทวีปอัฟริกา และประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ทั่วโลกหลังจากปี 1996 เป็นต้นมา

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2013/09/48601

ภาษีของประชาชน ตรวจสอบได้ไหม?

ภาษีของประชาชน ตรวจสอบได้ไหม?





ภาษีของประชาชน ตรวจสอบได้ไหม?

1. เครื่องบินพระราชพาหนะขนาดกลาง และเครื่องบินรับ - ส่งบุคคลสำคัญ จำนวน 4 เครื่อง รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น พร้อมโรงเก็บเครื่องบินมาตรฐาน
จำนวน 2 โรง 381,450,000 บาท

2. เฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะ จำนวน 3 เครื่อง รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นและโรงจอดอากาศยาน 1,220,000,000 บาท

3. งบรายจ่ายอื่น

ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง 601,594,700 บาท