วิเคราะห์ ...รบ.เลือกตั้ง VS. แต่งตั้ง แบบไหนเอื้อ"ปฏิรูป" เพื่อ"ประชาธิปไตย"
หลังจากกลุ่มผู้ชุมนุม กปปส.ประกาศล้มรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยระดมประชาชนออกมากดดัน กระทั่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ประกาศยุบสภา และเปิดให้มีการเลือกตั้งใหม่
ใช้เสียงส่วนใหญ่มาตัดสิน!
ทั้ง
นี้ มีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งทั่วไป คือ วันที่2 กุมภาพันธ์ 2557
และคณะกรรมการการเลือกตั้งเปิดให้พรรคการเมืองส่งผู้สมัคร
ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ ระหว่างวันที่ 23-27 ธันวาคม และเปิดรับสมัคร
ส.ส.ในระบบเขตระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2556-1 มกราคม 2557
ปรากฏว่ากลุ่ม กปปส.ยื่นข้อเสนอเพิ่มเติม คือ ให้เลื่อนการเลือกตั้งออกไป
เหตุผลที่ต้องเลื่อนการเลือกตั้งออกไป เพราะต้องการให้มีการปฏิรูปเกิดขึ้นในประเทศก่อนจะเลือกตั้ง
เหตุผล
ที่ให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง เพราะต้องการประหยัดงบประมาณ
คือไม่ต้องเลือกตั้ง 2 ครั้ง และไม่ต้องการให้ระบอบทักษิณวนกลับมาอีก
โดยเชื่อว่าการเลือกตั้งแบบเก่ามีการซื้อสิทธิขายเสียงกันโจ๋งครึ่ม
ข้อ
เรียกร้องดังกล่าวมีปัญหาทางด้านกฎหมาย เพราะเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาออกมาแล้ว
นักกฎหมายมองว่าเลื่อนไม่ได้ เนื่องจากไม่มีข้อบัญญัติใดให้เลื่อน
และหากเลื่อนออกไปเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีการเลือกตั้งภายใน 60 วัน
จะถือว่าการเลือกตั้งนั้นขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่?
ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนกลุ่ม กปปส.มองว่าสามารถเลื่อนเลือกตั้งได้โดยใช้เหตุ พิบัติภัย โดยให้รัฐบาลเสนอพระราชกฤษฎีกาเลื่อนการเลือกตั้งออกไป
เลื่อนออกไปเป็นเดือน เลื่อนออกไปเป็นปี
ส่วนกลุ่มก้อนทางการเมืองก็แตกแยกเป็น 2 ความคิด