การปฏิวัติโปรตุเกสและขบวนการทหารในปี 1974
มกราคม 1975 มีการลุกฮือของคนระดับล่างมากขึ้น
มีการยึดโรงงาน เกษตรกรยึดที่ดินทางใต้ นักเรียนนัดหยุดงานในโรงเรียน
และทหารระดับล่างออกชนบทเพื่อให้การศึกษากับประชาชน
ดังนั้นในเดือนมีนาคมฝ่ายขวาและนายทุนพยายามก่อรัฐประหารอีกครั้ง แต่ถูก
COPCON และคนงานจัดการจนล้มเหลว
โดย อ.ใจ อึ๊งภากรณ์
นักวิชาการเสื้อเหลืองชื่อ สุรพงษ์ ชัยนาม เคยโกหกว่ารัฐประหาร ๑๙ กันยา
๒๕๔๙ คล้ายๆ กับการปฏิวัติโปรตุเกสและขบวนการทหารในปี 1974
การที่เขาสามารถพูดแบบนี้ได้ก็เพราะคนไทยจำนวนมากในตอนนั้นไม่ทราบประวัติ
ศาสตร์การปฏิวัติโปรตุเกส
ในปี 1974 โปรตุเกสเป็นประเทศที่ด้อยพัฒนาที่สุดในยุโรปตะวันออก รัฐบาลเป็นเผด็จการฟาสซิสต์ และโปรตุเกสยังมีเมืองขึ้นในอัฟริกาและเอเชีย เช่น แองโกลา โมแซมบี๊ก และทีมอร์ตะวันออกเป็นต้น ในขณะเดียวกันบริษัทข้ามชาติเริ่มเข้ามาลงทุนในประเทศ เพื่อฉวยโอกาสใช้แรงงานราคาถูก มีการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมต่อเรือ และการสื่อสาร ซึ่งทำให้ชนชั้นกรรมาชีพขยายตัวในลักษณะคู่ขนาน แต่มีการกระจุกอยู่ในส่วนกลางของประเทศในขณะที่ทางเหนือมีเกษตรกรยากจนจำนวน มาก
การพยายามปกป้องอาณานิคมในอัฟริกาจากขบวนการกู้ชาติที่จับอาวุธ กลายเป็นการทุ่มเททรัพยากรซึ่งขัดแย้งกับทิศทางการพัฒนาทุนนิยมและ อุตสาหกรรมภายในโปรตุเกส และแม้แต่นายพลระดับสูงซึ่งมีจุดยืนทางการเมืองปฏิกิริยาฝ่ายขวา ก็มองว่าประเทศต้องเปลี่ยน คนหนึ่งคือนายพล สปินโนลา ซึ่งเขียนหนังสือที่เสนอให้มีการปฏิรูปไปสู่ประชาธิปไตย การพัฒนาเศรษฐกิจ และการถอนตัวออกจากอาณานิคม ที่สำคัญคือกองทัพทั้งหมด และโดยเฉพาะผู้บังคับบัญชาระดับล่าง ไม่พอใจกับสงครามในอัฟริกาและสภาพความเป็นอยู่ของสังคมโปรตุเกส จึงมีการสร้าง “ขบวนการทหาร” (MFA) และวางแผนทำรัฐประหารในเดือนเมษายน 1974 โดยหัวหอกหลักในรัฐประหารครั้งนั้นคือกองพลวิศวกรภายใต้ ออร์เทโล คาวาลโย
ในระยะแรก ออร์เทโล คาวาลโย ไม่ได้มีจุดยืนก้าวหน้าเพราะเคยหลงไหลในเผด็จการฟาสซิสต์ แต่สถานการณ์เริ่มกดดันให้เขาเปลี่ยนความคิด
ในปี 1974 โปรตุเกสเป็นประเทศที่ด้อยพัฒนาที่สุดในยุโรปตะวันออก รัฐบาลเป็นเผด็จการฟาสซิสต์ และโปรตุเกสยังมีเมืองขึ้นในอัฟริกาและเอเชีย เช่น แองโกลา โมแซมบี๊ก และทีมอร์ตะวันออกเป็นต้น ในขณะเดียวกันบริษัทข้ามชาติเริ่มเข้ามาลงทุนในประเทศ เพื่อฉวยโอกาสใช้แรงงานราคาถูก มีการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมต่อเรือ และการสื่อสาร ซึ่งทำให้ชนชั้นกรรมาชีพขยายตัวในลักษณะคู่ขนาน แต่มีการกระจุกอยู่ในส่วนกลางของประเทศในขณะที่ทางเหนือมีเกษตรกรยากจนจำนวน มาก
การพยายามปกป้องอาณานิคมในอัฟริกาจากขบวนการกู้ชาติที่จับอาวุธ กลายเป็นการทุ่มเททรัพยากรซึ่งขัดแย้งกับทิศทางการพัฒนาทุนนิยมและ อุตสาหกรรมภายในโปรตุเกส และแม้แต่นายพลระดับสูงซึ่งมีจุดยืนทางการเมืองปฏิกิริยาฝ่ายขวา ก็มองว่าประเทศต้องเปลี่ยน คนหนึ่งคือนายพล สปินโนลา ซึ่งเขียนหนังสือที่เสนอให้มีการปฏิรูปไปสู่ประชาธิปไตย การพัฒนาเศรษฐกิจ และการถอนตัวออกจากอาณานิคม ที่สำคัญคือกองทัพทั้งหมด และโดยเฉพาะผู้บังคับบัญชาระดับล่าง ไม่พอใจกับสงครามในอัฟริกาและสภาพความเป็นอยู่ของสังคมโปรตุเกส จึงมีการสร้าง “ขบวนการทหาร” (MFA) และวางแผนทำรัฐประหารในเดือนเมษายน 1974 โดยหัวหอกหลักในรัฐประหารครั้งนั้นคือกองพลวิศวกรภายใต้ ออร์เทโล คาวาลโย
ในระยะแรก ออร์เทโล คาวาลโย ไม่ได้มีจุดยืนก้าวหน้าเพราะเคยหลงไหลในเผด็จการฟาสซิสต์ แต่สถานการณ์เริ่มกดดันให้เขาเปลี่ยนความคิด