เจาะข่าวตื้น 124 : หย่อมความวิปริตสูงหลังเลือกตั้งฯ (full version)
(คลิกกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=R2KX2HWZ6Hw&feature=youtu.be
สาเหตุที่จะทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะได้นั้น คือการบิดเบือน หลักกฏหมายรัฐธรรมนูญ
ผมอนุญาตตอบปัญหาเรื่องการเลือกตั้งวันที่ ๒ ก.พ. ที่ผ่านมาว่าเป็นโมฆะหรือไม่แบบรวดเร็วเพราะได้สัญญาเอาไว้กับทุกท่านเมื่อวานนี้ อย่างไรก็ดี รายละเอียดของคำอธิบายตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญแบบสมบูรณ์นั้นจะอยู่ในบทความที่ผมกำลังเขียนอยู่ครับผม
๑. การเลือกตั้งวันที่ ๒ ก.พ. เป็นโมฆะหรือไม่?
ตอบ ไม่เป็นโมฆะ
๒. มีการกล่าวว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่มีการจัดภายในวันเดียวอันเป็นการขัดแย้งกับ ม.๑๐๘ ของรัฐธรรมนูญใช่หรือไม่?
ตอบ ไม่ขัดแย้งกับ ม.๑๐๘ แต่อย่างใด ทั้งนี้เนื่องจากหลังการยุบสภามีการตราพระราชกฤษฎีกา "กำหนดวันเลือกตั้ง" เป็นวันที่ ๒ ก.พ. อันถือเป็นการกำหนดให้มีการเลือกตั้งเพียงวันเดียวตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ หาได้มีการกำหนดไว้หลายวันในพระราชกฤษฎีกาไม่ จึงสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแล้ว ส่วนกรณีของการดำเนินการจัดการเลือกตั้งที่ไม่สำเร็จเพราะเหตุอื่นๆ นั้นเป็นคนละเรื่อง
ตอบประเด็นทางกฎหมายของ 'อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ’ และผู้ร่วมบิดเบือนกฎหมายสู่การโมฆะล้มเลือกตั้งทุกท่าน
๑. อภิสิทธิ์ กล่าวว่า "ผอ.ศรส. ก็ยังพยายามระบุว่าจะจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายใน ๑๘๐ วัน ไม่ทราบว่าใช้ข้อกฎหมายใด"
ตอบ: รัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๙๓ วรรคหก บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีเหตุการณ์ใด ๆ ทำให้การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใดมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ถึงห้าร้อยคน...ต้องดำเนินการให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ครบตามจำนวนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน..."
๒. อภิสิทธิ์ กล่าวว่า "จะยื่นศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ ๓ ก.พ. ตามมาตรา ๖๘ กรณี รัฐบาลพยายามแสวงหาอำนาจ และให้ได้มาซึ่งอำนาจโดยมิชอบ โดยไม่ใช่วิถีทางของรัฐธรรมนูญ พยายามจัดการเลือกตั้งทั้งที่ว่าไม่เป็นไปโดยสุจริตเที่ยงธรรม”
ตอบ: ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๖๘ เป็นเรื่องการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครองให้ได้อำนาจโดยวิถีทางนอกรัฐธรรมนูญ แต่การจัดการเลือกตั้งเป็นการเข้าสู่อำนาจรัฐโดยวิถีทางตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญทุกประการ การเลือกตั้งจะเป็นการเข้าสู่อำนาจโดยวิถีทางนอกรัฐธรรมนูญได้อย่างไร หากมีการทุจริตการเลือกตั้ง คุณอภิสิทธิ์ จะต้องจับให้ได้ว่าใครทุจริต ทุจริตอย่างไร แล้วไปฟ้องศาลครับ เป็นความรับผิดเฉพาะบุคคล แต่ถ้าไม่ดำเนินคดีทุจริตการเลือกตั้ง แล้วมาโวยวายเช่นนี้ ต้องสันนิษฐานว่าผู้ถูกกล่าวหายังเป็นผู้บริสุทธิ์ครับจนกว่าศาลจะพิพากษาว่ากระทำผิดจริง ทั้งนี้บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญฯ
กลุ่มจับตาองค์กร(ไม่)อิสระ ยื่น จม.ค้านคำร้องให้การเลือกตั้งทั่วไปเป็นโมฆะ
อย่ายอมให้เสียงคนไทยไร้ค่า หยุดทุกความพยายามล้มเลือกตั้งให้เป็นโมฆะ!
7 กุมภาพันธ์ 2557 ช่วงบ่าย ตัวแทนกลุ่มจับตาองค์กร(ไม่)อิสระ
ในฐานะตัวแทนประชาชนผู้ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 20 ล้านเสียง นำโดย นส.อรุษา
ปัญญากลดแก้ว อ่านจดหมายเปิดผนึก
พร้อมนำรายชื่อหลายพันคน เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกถึงศาลรัฐธรรมนูญ
คัดค้านคำร้องขอให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ บ่ายวันนี้
โดยมีผู้อำนวยการกลุ่มงานบริหารทั่วไปของศาลรัฐธรรมนูญ นางอรรถพร
เลาหสุรโยธิน เป็นผู้รับเรื่อง
กลุ่มจับตาองค์กร(ไม่)อิสระ
เป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นโดยตัวแทนของประชาชนจากหลากหลายอาชีพ
ที่ต้องการทำหน้าที่ในการตรวจสอบการทำงานขององค์กรอิสระทั้งหลาย
ซึงที่ผ่านมาไม่ค่อยทำหน้าที่ที่เป็นกลาง ละเลยไม่ปฏิับัติหน้าที่
ซึ่งได้กลายเป็นตัวปัญหาทางการเมืองเสียเอง
โดยกลุ่มจะเป็นสื่อกลางให้กับประชาชนที่ต้องการร่วมกันเป็นพลังในการสะท้อน
ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อองค์กรเหล่านี้ อันได้แก่ กกต. กสม และปปช.
ไปยังสาธารณะ
กลุ่มจับตาองค์กร(ไม่)อิสระ
เป็นเครือข่ายของประชาชนที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ไม่แสวงหากำไร
หรือผลประโยชน์ทางการเมือง และเห็นว่าหากจะมีการปฏิรูปประเทศไทย
หน่วยงานที่ควรแก่การถูกปฎิรูปมากที่สุดคือองค์กร (ไม่) อิสระทั้งหลาย
(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2014/02/51685