หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

แถลงการณ์วันสตรีสากล 8 มีนา 56

แถลงการณ์วันสตรีสากล 8 มีนา 56 


 

ประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางชนชั้นครั้งยิ่งใหญ่ของกรรมกรหญิงทั่วโลกได้มา บรรจบครบรอบอีกครั้งหนึ่ง นั้นก็คือวันที่ 8 มีนาที่เรียกกันว่าวันสตรีสากล  โดยเฉพาะกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า ที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ถูกนายทุนในระบบทุนนิยม กดขี่ขูดรีดทารุณ เห็นกำไรสำคัญกว่าชีวิตของความเป็นมนุษย์

กรรมกรหญิงและชายไม่ต่างอะไรกับทาส ทำงานวันละหลายชั่วโมงได้ค่าจ้างแรงงานเพียงน้อยนิด สภาพการทำงานในโรงงานเลวร้ายมีการเจ็บป่วยล้มตายไร้การเหลียวแล ทำให้กรรมกรทนไม่ได้กับระบบการกดขี่ขูดรีดจึงเกิดการลุกขึ้นสู้ โดยใช้วิธีการนัดหยุดงานและเดินขบวนในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 การต่อสู้ในครั้งนั้นได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากกรรมกรทั่วโลก สร้างความสั่นสะเทือนต่อทุนนิยมทั้งโลก และได้มีการเรียกร้องชั่วโมงการทำงานให้เหลือวันละ 8 ชั่วโมง พร้อมทั้งปรับปรุงสภาพการทำงานและสวัสดิการ รวมถึงสิทธิเสรีภาพประชาธิปไตยในการรวมตัว

วันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 มีผู้แทนสตรีจาก 18 ประเทศ ได้เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยม สมัยที่ 2 ที่จัดขึ้นที่เมืองโคเปนเฮเกน เสนอให้มีการทำงาน 8 ชั่วโมง ศึกษา 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง  ที่เรียกว่าระบบสามแปด  ค่าจ้างแรงงานระหว่างชายกับหญิงต้องเท่าเทียมกัน มีการคุ้มครองสิทธิกรรมกรหญิงและเด็ก  โดยเฉพาะนักต่อสู้สตรีที่สำคัญเธอชื่อ คลาร่า แซทกิน ซึ่งเป็นนักสังคมนิยมชาวเยอรมัน เธอเป็นผู้ยืนหยัดมาตลอดว่าการโค่นล้มทุนนิยมและการสร้างสังคมใหม่คือ สังคมนิยม  จะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดพลังแรงงานกรรมกรหญิงและชาย ถ้าพลังแรงงานกรรมกรหญิงยังถูกกดขี่ ขูดรีดอยู่ และไม่มีสิทธิใดๆ  และเธอก็ได้เผยแพร่ความคิดสังคมนิยมไปทุกหนทุกแห่งทั่วโลก

ระบบทุนนิยม ชนชั้นปกครองชอบสอนให้ประชาชน ผู้ใช้แรงงานเคารพค่านิยมครอบครัวอนุรักษ์นิยม แต่ระบบทุนนิยมทำให้ผู้หญิงออกไปทำงานในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งทำให้ผู้หญิงมีพัฒนาการความคิดที่ก้าวหน้า และระบบทุนนิยมได้สร้างเงื่อนไขให้ผู้หญิงออกมาต่อสู้เพื่อการปลดแอกตน เองอยู่เสมอ

สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ และองค์กรสมาชิกและพันมิตร ส่งเสริมให้ผู้หญิงออกไปทำงานและสร้างความมั่นใจในตนเอง และต้องการเห็นชายกับหญิงร่วมกันต่อสู้ในสหภาพแรงงานหรือขบวนการประชาธิปไตย เราสนับสนุนข้อเรียกร้องเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม เช่น สตรีมีสิทธิทำแท้งเมื่อไม่พร้อมมีบุตร ปล่อยนักโทษการเมืองทุกคน และสร้างรัฐสวัสดิการมาตรฐานเดียวตั้งแต่เกิดจนตาย


วันสตรีสากล ชนชั้นกรรมาชีพทั้งหลายจงเจริญ
8 มีนาคม 2556 

1.สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอการตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่ง ประเทศไทย (THE TEXTILE GARMENT AND LEATHER WORKERS FEDERATION OF THAILAND)(TWFT) 11/53 Siwanakorn Village Moo 8 Taibaan Sub-District, Muang District, Samutprakarn Province 10280 Thailand Tel & Fax (662) 02-3872429 Email: twft2524@gmail.com
2.โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย (Thai Labour Campaign)
3.องค์กรเลี้ยวซ้าย
4.องค์การแรงงานเพื่อประชาธิปไตย

8 มีนา วันสตรีสากล

8 มีนา วันสตรีสากล
 
 
คลาร่า เซทกิ้น (CLARE ZETKIN)
ค.ศ.1857 - 1933 (พ.ศ.240 - 2476)

ผู้กำเหนิด วันสตรีสากล
การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และสิทธิของผู้ใช้แรงงาน

ณ เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา กรรมกรสตรีในโรงงานทอผ้าได้ลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วงการเอาเปรียบ กดขี่ ขูดรีด ทารุณ จากนายจ้างที่เห็นผลผลิตสำคัญกว่าชีวิตคน ความเป็นอยู่ของแรงงานสตรีในเมืองชิคาโก ว่ากันว่าไม่ต่างอะไรจากทาสนิโกรในเงื้อมมือคนผิวขาว เพราะต้องทำงานวันละ 12-15 ชั่วโมง แต่ได้รับค่าแรงานเพียงน้อยนิดส่วนสตรีตั้งครรภ์มักถูกไล่ออก

ในที่สุดภายใต้การนำของ คลาร่า แซทคิน ผู้นำกรรมกรสตรีโรงงานทอผ้าชาวเยอรมันลุกฮือขึ้นสู้ด้วยการเดินขบวนนัดหยุด งานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 โดยเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานจากวันละ 12-15 ชั่วโมง ให้เหลือวันละ 8 ชัวโมงพร้อมทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการภาย ในโรงงาน และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย ในการเรียกร้องครั้งนี้ แม้จะมีหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ได้รับการสนับสนุนจากสตรีทั้งโลก และส่งผลให้วิถีการผลิตแบบทุนนิยมเริ่มสั่นคลอน

แต่อย่างไรก็ตามอีก 3 ปีต่อมา คือ ในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 ข้อเรียกร้องของเหล่าบรรดากรรมกรสตรีก็ประสบความสำเร็จ เมื่อตัวแทนสตรีจาก 18 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยม ครั้งท์กที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี โดยให้ลดเวลาทำงานให้เหลือเพียงวันละ 8 ชั่วโมง ศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และกำหนดให้ค่าแรงงานสตรีเท่าเทียยมกับค่าแรงงานชาย อีกทั้งยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย

นอกจากนั้นในการประชุมครั้งนั้น ยังได้มีการรับรองข้อเสนอของ คลาร่า แซทคิน ด้วยการประกาศให้วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันสตรีสากล

คลาร่า เซทกิ้น (CLARE ZETKIN) ผู้กำเนิด วันสตรีสากล การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และสิทธิของผู้ใช้แรงงาน ณ เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา กรรมกรสตรีในโรงงานทอผ้าได้ลุกฮอขึ้นเดินขบวนประท้วงการเอาเปรียบ กดขี่ ขูดรีด ทารุณ จากนายจ้างที่เห็นผลผลิตสำคัญกว่าชีวิตคน ความเป็นอยู่ของแรงงานสตรีในเมืองชิคาโก ว่ากันว่าไม่ต่างอะไรจากทาสนิโกรในเงื้อมมือคนผิวขาว เพราะต้องทำงานวันละ 12-15 ชั่วโมง แต่ได้รับค่าแรงานเพียงน้อยนิดวนสตรีตั้งครรภ์มักถูกไล่ออก ในที่สุดภายใต้การนำของ คลาร่า แซทคิน ผู้นำกรรมกรสตรีโรงงานทอผ้าชาวเยอรมันลุกฮือขึ้นสู้ด้วยการเดินขบวนนัดหยุด งานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 โดยเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานจากวันละ 12-15 ชั่วโมง ให้เหลือวันละ 8 ชัวโมงพร้อมทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการภาย ในโรงงาน และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย ในการเรียกร้องครั้งนี้ แม้จะมีหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ได้รับการสนับสนุนจากสตรีทั่วโลก และส่งผลให้วิถีการผลิตแบบทุนนิยมเริ่มสั่นคลอน แต่อย่างไรก็ตามอีก 3 ปีต่อมา คือ ในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 ข้อเรียกร้องของเหล่าบรรดากรรมกรสตรีก็ประสบความสำเร็จ เมื่อตัวแทนสตรีจาก 18 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมยม ครั้งท์กที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี โดยให้ลดเวลาทำงานให้เหลือเพียงวันละ 8 ชั่วโมง ศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และกำหนดให้ค่าแรงงานสตรีเท่าเทียมกับค่าแรงงานชาย อีกทั้งยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย นอกจากนั้นในการประชุมครั้งนั้น ยังได้มีการรับรองข้อเสนอของ คลาร่า แซทคิน ด้วยการประกาศให้วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันสตรีสากล

ผู้หญิงไทยควรแลไปข้างหน้าอย่างไร


ผู้หญิงไทยควรแลไปข้างหน้าอย่างไร


 
ในขณะที่หญิงส่วนใหญ่ในโรงงานเข้าใจดีว่าตนเอง ถูกกดขี่ทางเพศ แต่เขาไม่ได้มองว่าเพศเท่านั้นคือปัญหา สิ่งที่กังวลตลอดเวลาคือ ความมั่นคงในการทำงาน ค่าแรงที่ได้น้อยกว่าชาย หรือจะหาเงินส่งกลับไปที่บ้านนอกอย่างไร นี่คือสาเหตุสำคัญที่ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมในการในการเคลื่อนไหวเพื่อ ต่อสู้กับระบบทุนนิยม

โดย นุ่มนวล ยัพราช 

บทความนี้ตั้งใจเขียนขึ้นมาเพื่อที่จะเชิดชูบทบาทของการต่อสู้ทางชนชั้นของ พี่น้องกรรมาชีพและคนชั้นล่างในสังคม และต้องการเห็นความเท่าเทียมทางเพศอย่างสุดหัวใจ ในเมื่อมีความหวังที่อยากจะวาดเป็นเช่นนี้ คำถามต่อมาก็คือ ก้าวต่อไปเราควรจะทำอะไรดี โดยเฉพาะการรื้อฟื้นแนวทางการต่อสู้ของผู้หญิงเพื่อปลดปล่อยตนเอง ในนาทีนี้คำถามที่สำคัญที่สุดคือ เราสามารถปลดแอกตัวเองในระบบทุนนิยมได้หรือไม่ โครงสร้างทางสังคมโดยรวม หรือ ระบบพ่อเป็นใหญ่ อันไหนคือศัตรูอันดับหนึ่ง ????

อรุนดาที รอย นักเขียนและนักต่อสู้หญิงคนหนึ่งของอินเดียได้พูดตอนเปิดงาน W.S.F. (เวทีสมัชชาสังคมโลก) ครั้งที่ 4 ว่า

"พวกชนชั้นปกครองหรือพวกกลุ่มทุนก็ได้พยายามสร้างโลกใบใหม่มาเพื่อควบคุม คนในสังคม โลกใบใหม่ของกลุ่มทุนสร้างได้โดย อาวุธนิวเคลียร์ สงคราม การขูดรีด การเปิดเสรีทางการค้า การแปรรูป พวกนี้มันได้สร้างระเบียบวินัยขึ้นมาเพื่อบังคับคนส่วนใหญ่อย่างเป็นระบบ ประเด็นสำคัญที่ทำไมเราถึงต้องมาถกเถียงเรื่องจักรวรรดินิยมเพราะว่า การรุกรานของจักรวรรดินิยมเหมือนประเด็นของการถูกข่มขืน มันเป็นความรุนแรงต่อคนในสังคมไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ยากจะที่ยอมรับได้ ปัจจุบันทุกประเทศได้รับผลกระทบจากเสรีนิยม ความไร้เสรีภาพ ความหิวโหย ความรุนแรง ดังนั้น เพื่อสร้างโลกใบใหม่แค่ของพวกเราแค่พูดคุยกันมันไม่พอ มันต้องมีการต่อสู้ที่เป็นเอกภาพที่เท่าเทียมกับเอกภาพที่กลุ่มทุนสร้างขึ้น มา กลุ่มทุนทำให้วิถีชีวิตของคนเหมือนอยู่ในคุก พวกเราดำรงชีวิตเหมือนอยู่ในค่ายกักกัน แต่สำหรับกลุ่มทุนแล้วตลาดทุกพื้นที่ของโลกเปิดกว้างตลอดเวลา ดังนั้นพวกเราทุกคนน่าจะตั้งต้นเฉลิมฉลองชัยชนะของยุคใหม่…..ได้แล้ว เมื่อขบวนการการเมืองภาคประชาชนสามารถล้มการประชุมของ WTO ได้ที่ แคนคูน ก้าวต่อไปของพวกคือเริ่มสะสมชัยชนะ ทุกกลุ่มทุกหมู่เหล่าต้องมาร่วมกันต่อสู้ภายใต้ร่มต้านโลกาภิวัตน์ของกลุ่ม ทุน” 

เพื่อที่จะก้าวต่อไปข้างหน้า การพิจารณารูปแบบการต่อสู้ที่เป็นอยู่ในสังคมเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ทั้งในแง่ของการพยายามหาจุดอ่อนจุดแข็งจากบทเรียนที่เรามี และในลักษณะข้อถกเถียงที่เกิดขึ้นในขบวนการ เพราะข้อถกเถียงต่าง ๆ จะสะท้อนระดับการต่อสู้นั้น ๆ การถกเถียงปัญหาที่เป็นประเด็นข้องเกี่ยวกับผู้หญิงในสังคมไทย สามารถแบ่งออกเป็นสองรูปแบบคร่าว ๆ รูปแบบแรกประเด็นข้อถกเถียงสำหรับผู้หญิงจะมีความเกี่ยวพันอยู่กับเรื่อง เศรษฐกิจ เช่น เรื่องค่าแรงไม่พอใช้ ปัญหาที่เกิดจากการถูกเอารัดเอาเปรียบของนายจ้าง กระบวนการกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้มีลักษณะของการแบ่งแยกทางเพศ แต่จะมีลักษณะร่วมทางชนชั้น กลุ่ม N.G.O. ที่รักความเป็นธรรมค่อนข้างจะมีบทบาทตรงนี้ แต่รูปแบบการทำงานมักเน้นการช่วยเหลือเฉพาะด้าน ซึ่งออกมาในรูปของแนวสังคมสงเคราะห์ บางครั้งอาจใช้กรอบของแนวของเสรีนิยมที่ไม่ต้องการให้รัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง คือชุมชนทำแทน หรืออาจเน้นการช่วยเหลือเฉพาะหน้า นี่คือลักษณะรวม ๆ ของภาพขบวนการการเมืองภาคประชาชน

(อ่านต่อ) 
http://turnleftthai.blogspot.dk/2013/03/blog-post_8.html  

คุยกับ 4 สาวสวม กกน. ‘ธราย อาร์ม’ รณรงค์ปล่อย สมยศ- นักโทษการเมือง

คุยกับ 4 สาวสวม กกน. ‘ธราย อาร์ม’ รณรงค์ปล่อย สมยศ- นักโทษการเมือง

 

16295_481506331897428_1215852190_n 

เมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมามีการรณรงค์เล็กๆ ของสาวๆกลุ่มหนึ่งที่ลุกขึ้นมาถ่ายภาพในชุ ดที่ท่อนล่างมีเพียงกางเกงใน “ธราย อาร์ม” ซึ่งเป็นกางเกงในที่ผลิตโดยอดีตคนงานไทรอั มพ์ฯ ที่ถูกเลิกจ้างแล้วมาตั้งเป็นสหกรณ์คนงาน โดยสาวๆ กลุ่มดังกล่าวสวม กกน.เหล่านั้น ถ่ายภาพพร้อมข้อความ “No 112” “Free Somyot” และนักโทษการเมือง ที่เรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และนักโทษการเมืองคนอื่นๆ ที่ถูกคุมขังด้วยความผิดตามประมวลกฎหมายอา ญา มาตรา 112 หรือหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ รวมทั้งคดีที่เกี่ยวเนื่องจากการชุมนุม โดยใช่เฟซบุ๊กแฟนเพจ “สำนักพิมพ์หมูหลุม” เป็นช่องทางในการเผยแพร่ 

อย่างไรก็ตามการรณรงค์ของพวกเธอก็ถูกตั้ง คำถามอยู่พอสมควรทั้งความเหมาะสมและการสื่ อความที่หลายคนอาจไม่เข้าใจนัยยะของการรณร งค์ ทั้งนี้ ประกายไฟ ได้มีโอกาสคุยกับสาวๆ ที่กลุ่มดังกล่าวเพื่อทำความเข้าใจแอ็คชั่ นนี้ เช่น ทำไมต้องสวม กกน.ธรายอาร์ม ในการถ่ายรณรงค์ ทำไมต้องถ่ายแนวเซ็กส์ซี่ คิดว่าเหมาะสม ทำไมเหมือนทำเล่นๆ เป็นต้น

(อ่านต่อ)

ฮูโก ชาเวส

ฮูโก ชาเวส


http://4.bp.blogspot.com/-jfDjcw4HOfY/UTcAtJBvGKI/AAAAAAAAB4g/LrYE7AJ059E/s1600/chaez.jpg 
หลังจากที่ ชาเวส จากโลกนี้ไป เครื่องชี้วัดว่าเขาเปลี่ยนสังคมเวนเนสเวลาได้อย่างจริงจังหรือไม่ คือความสามารถของมวลชนและพรรคสังคมนิยมที่จะนำการเมืองต่อไป และสร้างสังคมใหม่ โดยไม่พึ่งพาวีรบุรุษคนเดียว

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

ฮูโก ชาเวส ซึ่งพึ่งเสียชีวิตไป ประกาศตัวเป็น “นักสังคมนิยม” แต่เราต้องประเมินว่าเขาสร้างพรรค และสามารถปลุกระดมให้ประชาชนยึดอำนาจ เพื่อปกครองตนเองและเป็นใหญ่ในแผ่นดินแค่ไหน อย่างไรก็ตามเราปฏิเสธไม่ได้ว่าเขาเป็นผู้นำที่ให้ความหวังมากมายกับคนจนใน ลาตินอเมริกาและที่อื่น

ต้นกำเนิดของรัฐบาล ฮูโก ชาเวส

เวเนสเวลา เป็นประเทศในลาตินอเมริกาที่ร่ำรวยเพราะมีน้ำมัน แต่ในอดีตผลประโยชน์ตกอยู่กับอำมาตย์อภิสิทธิ์ชนไม่กี่คน โดยมีการเอาใจกรรมการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจน้ำมัน ซึ่งได้ส่วนแบ่งบ้าง รัฐวิสาหกิจน้ำมันนี้เดิมเสมือน “รัฐอิสระ” ที่ให้ประโยชน์กับคนส่วนน้อย โดยเกือบจะไม่จ่ายเงินเข้าคลังของรัฐเลย นอกจากนี้มีการ “จัดการ” ระบบเลือกตั้งให้พรรคของพวกอภิสิทธิ์ชนชนะเสมอ และสื่อทั้งหมดอยู่ในมือของกลุ่มนายทุนผู้มีอำนาจอีกด้วย ผลคือประชาชนที่เหลือยากจนและอาศัยอยู่ในสลัม

พอถึงปี ค.ศ.1989 ประชาชนทนไม่ไหว มีการลุกฮือครั้งใหญ่ในเมืองหลวง คาราคัส เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม ซึ่งเหตุการณ์นี้เรียกว่า “การลุกฮือ คาราคาโซ (Caracazo)” ปรากฏว่ารัฐบาลอำมาตย์ฆ่าประชาชนตาย 2000 คนเพื่อปราบปรามอย่างเลือดเย็น

ฮูโก ชาเวส เป็นสมาชิกกลุ่มนายทหารหนุ่มที่ไม่พอใจกับระบบการปกครองของอำมาตย์ พวกเขาต้องการพัฒนาสังคมและการนำรายได้จากน้ำมันมาสร้างความเป็นธรรม เขามองด้วยว่าจักรวรรดินิยมสหรัฐมีอิทธิพลในประเทศเขามากเกินไป ในปี1992 ชาเวส จึงพยายามทำรัฐประหารล้มรัฐบาล แต่ไม่สำเร็จ เลยติดคุกสองปี แต่ประชาชนที่เจ็บปวดจากการปราบปรามของรัฐบาลในปี 1989 หันมาสนใจชาเวส
   
ในปี1998 ชาเวสลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี และชนะด้วย 58% ของคะแนนทั้งหมด หนึ่งปีหลังจากนั้น เขาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น มีกลไกตรวจสอบนักการเมือง มีการเพิ่มงบประมาณรัฐให้โรงเรียนและลดบทบาทสถาบันศาสนาคริสต์ที่เคยสนับ สนุนอำมาตย์ สตรีมีสิทธิเลือกทำแท้ง มีมาตราเพื่อปฏิรูปสื่อและปฏิรูปอุตสาหกรรมน้ำมัน ปรากฏว่า 71%ของประชาชนสนับสนุนรัฐธรรมนูญใหม่ฉบับนี้

ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม

ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม


 
เราชาวมาร์คซิสต์ขอฟันธงว่าถ้ายังมีอาจารย์คนไหน ในไทยที่สอนเรื่อง “ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่” โดยคิดว่าทฤษฏีนี้ยังใช้ได้ อาจารย์คนนั้นต้อง โง่ ปิดหูปิดตาตนเองถึงโลกจริง หรือขี้เกียจศึกษาโลกจริงเพื่อท่องสูตรเดิมเป็นวันๆ

โดย ลั่นทมขาว

“ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม” คือกลุ่มคนที่มารวมตัวกันทางการเมืองเพื่อรณรงค์ในประเด็นเฉพาะหน้า ส่วนใหญ่จะเป็นประเด็นเดียวหรือกลุ่มประเด็นที่ใกล้เคียงกัน ตัวอย่างที่ดีคือขบวนการเสื้อแดง สมัชชาคนจน ขบวนการ 99% ในสหรัฐอเมริกา ขบวนการเพื่อสิทธิทางเพศ ขบวนการสมานฉันท์กับปาเลสไตน์ หรือ ขบวนการต้านสงครามในตะวันตก
   
โดยสรุปแล้วขบวนการเสื้อแดงรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในไทย สมัชชาคนจนรณรงค์เรื่องปัญหาชีวิตเกษตรกรยากจนโดยเฉพาะที่ดินที่ถูกน้ำท่วม จากเขื่อน ขบวนการ 99% เป็นขบวนการประท้วงต่อต้านกลุ่มทุนใหญ่และเศรษฐีในสหรัฐที่มีส่วนในการสร้าง วิกฤตเศรษฐกิจโลก แต่กลับผลักดันให้คนธรรมดาส่วนใหญ่ 99% ต้องรับภาระด้วยการตกงานหรือโดนลดค่าจ้าง

ขบวนการเรียกร้องสิทธิทางเพศมีหลายขบวนการ เช่นกลุ่มสิทธิสตรี และกลุ่มเรียกร้องสิทธิให้คนที่รักเพศเดียวกันเป็นต้น (GLBT) ขบวนการสมานฉันท์กับปาเลสไตน์เป็นขบวนการทั่วโลกที่พยายามสนับสนุนการต่อสู้ ปลดปล่อยตนเองของชาวปาเลสไตน์ที่กำลังถูกพวกไซออนนิสต์ในอิสราเอลกดขี่เข่น ฆ่าอยู่ทุกวัน และขบวนการต้านสงครามในตะวันตกเป็นขบวนการที่ออกมาเมื่อมหาอำนาจจักรวรรดิ นิยมทำสงคราม โดยเฉพาะในตะวันออกกลางเป็นต้น
   
แม้แต่กลุ่มพิทักษ์สยาม ก็เป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมชนิดหนึ่ง ซึ่งพิสูจน์ว่าเป้าหมายในการเคลื่อนไหวอาจไม่ก้าวหน้าเลยก็ได้
   
เมื่อประมาณสิบห้าปีก่อนจะมีนักวิชาการฝ่ายขวาในตะวันตก ที่ได้กำลังใจจากการจบลงของสงครามเย็นท่ามกลางความพ่ายแพ้ล่มสลายของรัฐ เผด็จการสตาลิน พวกนี้จะเสนอว่าหลังสงครามเย็น มีสิ่งที่เรียกว่า “ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่” (New Social Movements)และนักวิชาการไทยหลายคนที่เอนเอียงไปตามทิศทางลม เช่น ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร และนักวิชาการสายเอ็นจีโอไทย ก็พากันเห่อแนวคิดนี้
ความเชื่อหลักของแนว “ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่” คือการประกาศว่าชนชั้นเป็นเรื่องหมดยุค ดังนั้นเขาจะเสนอว่าขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในยุคปัจจุบันไม่เกี่ยวกับชน ชั้น ไม่มีข้อเรียกร้องที่สังกัดประโยชน์ชนชั้นใด เน้นเรื่องวัฒนธรรมแทนการเมือง เน้นสันติวิธี และไม่มีข้อเรียกร้องให้ล้มรัฐหรือเปลี่ยนระบอบ อีกทั้งไม่สังกัดพรรคการเมืองอีกด้วย ตัวอย่างที่เขามักจะยกมาเสนอคือขบวนการปกป้องสิ่งแวดล้อมหรือขบวนการปกป้อง วิถีชีวิตคนพื้นเมือง
   
เราชาวมาร์คซิสต์ขอฟันธงว่าถ้ายังมีอาจารย์คนไหนในไทยที่สอนเรื่อง “ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่” โดยคิดว่าทฤษฏีนี้ยังใช้ได้ อาจารย์คนนั้นต้อง โง่ ปิดหูปิดตาตนเองถึงโลกจริง หรือขี้เกียจศึกษาโลกจริงเพื่อท่องสูตรเดิมเป็นวันๆ
   
ในประการแรกขบวนการปกป้องสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันออกมาในรูปแบบขบวนการต้านโลกร้อน ในที่สุดจะปะทะกับผลประโยชน์กลุ่มทุนใหญ่ที่ไม่ต้องการลงทุนเพื่อลดการผลิต ก๊าซคาร์บอนไดออคไซด์ เพราะมันไปลดกำไรกลุ่มทุน อันนี้เห็นชัดจากความคิดพวกนายทุนและนักการเมืองนายทุนในสหรัฐที่ปฏิเสธ ปัญหาโลกร้อน ดังนั้นมันเป็นเรื่องผลประโยชน์ชนชั้นอย่างชัดเจน
ปัญหาคนพื้นเมืองก็เป็นปัญหาจากการรวมศูนย์อำนาจในรัฐทุนนิยม ซึ่งชนชั้นนายทุนคุม แล้วขบวนการเสื้อแดง สมัชชาคนจน 99% ก็มักสังกัดชนชั้นระดับล่าง ไม่ว่าจะเป็นกรรมาชีพ หรือเกษตรกรคนจน การต้านหรือสนับสนุนสงครามจักรวรรดินิยม หรือการต้านหรือสนับสนุนอิสราเอล ก็ล้วนแต่เป็นจุดยืนทางชนชั้นที่ขัดแย้งกัน และพรรคการเมืองมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการเหล่านี้ ยิ่งกว่านั้น “ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม” ที่ใหญ่ที่สุดและยั่งยืนที่สุดตามประเทศต่างๆ ในโลก คือสหภาพแรงงาน ซึ่งแน่นอนสังกัดชนชั้นกรรมาชีพ
   
นักมาร์คซิสต์สนใจขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมมาก ไม่ใช่ว่าเรามองว่าไม่ต้องมี หรือหลงคิดว่ามีแค่พรรคปฏิวัติสังคมนิยมก็พอ เพราะพรรคปฏิวัติสังคมนิยมของเราเป็นจุดรวมศูนย์คนที่ก้าวหน้าที่สุดที่มี ความคิดทางการเมืองสังคมนิยม แต่พรรคต้องเชื่อมโยงตลอดเวลากับมวลชนในสหภาพแรงงาน ขบวนการต้านกลุ่มทุน ขบวนการสิทธิทางเพศ หรือขบวนการเพื่อประชาธิปไตย เนื่องจากการเปลี่ยนระบบอาศัยทั้งพรรคและมวลชนนอกพรรค ดังนั้นเมื่อมีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเกิดขึ้น เราต้องมีส่วนในการสร้างมัน และกระโดดเข้าไปทำงานร่วม ถ้าเป้าหมายและข้อเรียกร้องเป็นเป้าหมายก้าวหน้าที่ผลักดันผลประโยชน์ กรรมาชีพและคนจน
   
แต่พวกอนาธิปไตยมักมองว่ามีแค่ขบวนการเคลื่อนไหว ทางสังคมก็พอ ไม่ควรมีพรรค ปัญหาโลกจริงคือ ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมมีมวลชนก็จริง และพลังของมันอยู่ตรงนั้น แต่ภายในขบวนการมีความคิดทางการเมืองที่แตกต่างกัน ซึ่งนำไปสู่การช่วงชิงการนำทางความคิดในที่สุด 

ตัวอย่างที่ดีคือเสื้อแดง ซึ่ง นปช.และพรรคเพื่อไทยเสนอให้เสื้อแดงเป็นแค่กองเชียร์ให้รัฐบาลเพื่อไทย ในขณะที่รัฐบาลหักหลังวีรชน การที่เสื้อแดงก้าวหน้ามีความยากลำบากในการช่วงชิงการนำทางความคิดจากแกนนำ นปช. ก็เพราะไม่มีพรรคของตนเองที่จะเป็นศูนย์รวมนักสังคมนิยมเพื่อเผฃิญหน้ากับ พรรคเพื่อไทย อีกปัญหาหนึ่งคือขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมมักจะขึ้นๆ ลงๆ และไม่ค่อยมีเสถียรภาพยาวนาน ยกเว้นกรณีสหภาพแรงงาน ดังนั้นเมื่อประเด็นเฉพาะหน้าหมดความสำคัญลงขบวนการเคลื่อนไหวก็จะหายไป ไม่เหมือนพรรคการเมืองสังคมนิยมที่พยายามเสนอชุดความคิดภาพใหญ่เกี่ยวกับการ เมือง เศรษฐกิจ และสังคมอย่างสม่ำเสมอ



(ที่มา) 
http://turnleftthai.blogspot.dk/2013/03/blog-post.html