หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

นายกฯกรีซวอนผู้ให้กู้ขยายเวลาบรรลุมาตรการรัดเข็ดขัดเป็น 4 ปี ชี้ต้องฟื้นภาวะศก.ถดถอยก่อน

นายกฯกรีซวอนผู้ให้กู้ขยายเวลาบรรลุมาตรการรัดเข็ดขัดเป็น 4 ปี ชี้ต้องฟื้นภาวะศก.ถดถอยก่อน

 

 

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 7 ก.ค.ว่า นายอันนิส ซามาราส นายกรัฐมนตรีกรีซคนหใม่ ได้เรียกร้องให้สถาบันและชาติที่ให้กู้เงินแก่กรีซ ให้เวลากรีซมากขึ้นในการดำเนินมาตรการรัดเข็มขัด เพื่อผ่อนคลายผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมกรีซ โดยเขาต้องการให้ผู้ให้เงินกู้แก่กรีซขยายเวลาสำหรับการบรรลุเงื่อนไขให้กู้ เงินที่กำหนดขีดเส้นตายไว้ที่ปี 2014 หรือ 2 ปี สำหรับการแก้ไขตัวเลขขาดดุลงบประมาณ ยืดไปเป็น 4 ปี ระบุว่า เนื่องจากปัญหาของกรีซขณะนี้ไม่ได้อยู่ในการนำมาปฎิรูปการเงินมาใช้ แต่อยู่ที่การหาทางในการยุติภาวะเศรษฐกิจถดถอยของประเทศ และว่า เป้าหมายของรัฐบาลเขาคือเพื่อรับประกันว่า กรีซจะยังคงอยู่ในกลุ่มยูโรโซนต่อไป

รายงานระบุว่า ขณะนี้บรรดาสถาบันและประเทศผู้ให้เงินกำลังตรวจสอบว่า กรีซได้ทำตามเงื่อนไขของข้อตกลงให้เงินกู้มูลค่า 130,000 ล้านดอลลาร์หรือไม่ โดยกรีซจะต้องความสร้างเชื่อมั่นให้แก่กลุ่ม ก่อนที่จะได้รับเงินกู้งวดใหม่เพื่อนำเงินไปชำระหนี้สินในงวดปัจจุบัน โดยก่อนหน้านี้ นายกฯกรีซ ได้สัญญาว่า เขาจะพิจารณาสำหรับมาตรการรัดเข็มขัดต่าง ๆ เช่น การตัดลดเงินเดือนข้าราชการ.การขึ้นภาษี และการปลดพนักงาน

 

(อ่านต่อ)http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1341641495&grpid=&catid=06&subcatid=0600

 

คำอธิบายสำหรับชาวมาร์คซิสต์คืออะไร
 

ระบบทุนนิยมเป็นระบบที่มีปัญหาในตัวของมันเองคือเศรษฐกิจมันจะไม่ขยายตัว ตลอดเวลา มันจะมีวิกฤติอยู่เป็นระยะ เช่น หลังสงครามโลกครั้งที่สอง จะมีช่วงที่เศรษฐกิจบูมเต็มที่ในยุค 1960 แต่พอเข้าสู่ยุค 1970 (พ.ศ.2513) เศรษฐกิจเริ่มมีวิกฤติ จากนั้นเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่สภาวะที่เกิดฟองสบู่แล้วก็แตกเป็นวงจรอุบาทว์

มาร์คซ์ อธิบายว่าระบบการแข่งขันในระบบทุนนิยมจะนำไปสู่การลงทุนและผลิตล้นเกินและ ก่อให้เกิดแนวโน้มการลดลงของอัตรากำไรซึ่งเป็นสาเหตุของวิกฤติ นายทุนเลือกแนวทางที่จะรักษาอัตรากำไรไว้ โดยการส่งเสริมให้บริษัทใหญ่กินบริษัทที่อ่อนแอกว่าแล้วตัดระดับการผลิตและ การจ้างงาน และอีกหนทางหนึ่งคือการตัดค่าแรงอย่างโหด ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา  (รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้สามารถอ่านได้ในเลี้ยวซ้ายฉบับอื่นๆ ซึ่งมีการอธิบายไว้อย่างเป็นระบบ) 


ทีนี้ถ้าค่าแรงน้อยพลังการบริโภคก็จะอ่อนแอ แล้วจะทำอย่างไร? เพราะจะทำให้วิกฤติหนักขึ้นและคนตกงานมากขึ้น แนวเสรีนิยมเลือกที่จะไม่เพิ่มค่าแรงให้สอดคล้องกับความต้องการของคนส่วน ใหญ่ และไม่เห็นด้วยกับการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มกำลังซื้อ แต่บ่อยครั้งจะเลือกส่งเสริมให้คนบริโภคผ่านการเป็นหนี้แทน


สหรัฐอเมริกา คือ ตัวอย่างอันยอดเยี่ยมในกรณีนี้ รัฐบาลสหรัฐในอดีตไม่เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำมากว่า 30 ปี และเลือกที่จะปล่อยเงินกู้ราคาถูกเข้าสู่ระบบแทนที่จะเพิ่มค่าแรงเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของกำลังจ่าย เช่น การเปิดโอกาสให้คนจนอเมริกามีสิทธิกู้เงินราคาถูกเพื่อมาซื้อบ้าน จากนั้นเกิดการเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์ เกิดฟองสบู่ และจากนั้นฟองสบู่ก็แตกเพราะคนจนใช้หนี้ไม่ได้  เรื่องมันไปกันใหญ่เมื่อนายทุนธนาคารพยายามสร้างกำไรในการเก็งกำไรจากหนี้ เสีย จนทุนธนาคารขนาดใหญ่ของอเมริกาล้มในปี 2008 (Lehman Brothers)[1] 


ธนาคารขนาดใหญ่ของยุโรปโดยเฉพาะจากเยอรมันและฝรั่งเศษได้รับผลกระทบ อย่างมหาศาลเพราะไปซื้อหนี้เน่าจากอเมริกา โดยมีความหวังว่าจะสร้างกำไรได้ ธนาคารเหล่านั้นเกือบจะล้มซึ่งทำให้รัฐบาลต่างๆ ในยุโรปต้องเข้าไปอุ้มและเอาใจเพื่อนนายทุนด้วยกันโดยปัดหนี้เสียเหล่านั้น ให้กลายเป็นหนี้สาธารณะ


หลังจากนั้นอ้างว่าต้องตัดบริการสาธารณะชนิดต่างๆ ลงอย่างเป็นระบบ รวมถึงเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วย เพื่อเอาเงินไปจ่ายหนี้ให้กับนายธนาคาร เพื่อดึงยอดหนี้ลงมา ในวิกฤติทางการเงินปัจจุบัน คนใช้หนี้กลายเป็นคนธรรมดาๆ ที่ไม่ได้สร้างปัญหาแต่อย่างใด ในขณะที่ตัวปัญหาแท้คือพวกนายธนาคาร หรือ พวกนักเก็งกำไร (hedge funds) ซึ่งสื่อกระแสหลักที่ยุโรปจะเรียกตลาดหุ้นของนายทุนว่า
“เดอะ มาเก็ท” เหมือน กับว่ามีตัวตนอิสระจากมนุษย์และผลประโยชน์ชนชั้น พวกนักเก็งกำไร ไม่เคยถูกลงโทษ และพวกนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อนักการเมืองกระแสหลักในยุโรป

หนี้สาธารณะมหาศาลของกลุ่มประเทศในสหาภาพยุโรป ทางใต้ เช่น กรีส สเปน อิตาลี่ ไอร์แลนด์ หรือโปรตุเกส มาจากการที่หลายฝ่ายต้องการหาเงินมาพัฒนาประเทศเพราะถูกกดดันให้เร่งพัฒนา เศรษฐกิจให้ได้มาตรฐานของกลุ่ม EU ทั้งรัฐและเอกชนกู้เงินจากธนาคารในเยอรมันและฝรั่งเศส

แต่พอระบบธนาคารพังและรัฐต่างๆ เข้าไปอุ้มจนเกิดหนี้สาธารณะ พวกปล่อยกู้เอกชนที่คุมตลาด จะมองว่ารัฐขาดประสิทธิภาพที่จะจ่ายหนี้ เลยมีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ซึ่งมีผลพวงคือหนี้สาธารณะยิ่งเพิ่มขึ้นอีก ในอดีตลักษณะการขยายตัวของเศรษฐในกลุ่มประเทศเหล่านี้เป็นการขยายตัวที่ สร้างฟองสบู่โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์


(อ่านต่อ)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/06/1.html 

อ่านสัญญาณ "คนแดนไกล" สั่งถอน "พ.ร.บ.ปรองดอง" วัดใจ "ถอย" หลอก ก่อน "ลุย" จริง?

อ่านสัญญาณ "คนแดนไกล" สั่งถอน "พ.ร.บ.ปรองดอง" วัดใจ "ถอย" หลอก ก่อน "ลุย" จริง?

 

 

เสียง เตือนจาก "วราเทพ รัตนากร" อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย (ทรท.) ถึงสถานการณ์การเมือง ภายหลังการเปิดประชุมสภา สมัยสามัญทั่วไป ในวันที่ 1 สิงหาคม ว่าจะยิ่งร้อนแรงมากขึ้นนั้น มีเหตุผลพื้นฐานมาจากการประเมินว่า เรื่องที่ถูกบรรจุค้างเอาไว้ในระเบียบวาระการประชุมสภา จะเป็น "ชนวน" เหตุสำคัญ ที่ทำให้บรรยากาศเข้มข้นขึ้น

ไม่ว่าจะเป็น "ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ...."

"ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ...."

รวม ไปถึง "ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2555" และการที่ "พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)" เตรียมที่จะเข้าชื่อยื่นให้เปิด "อภิปรายไม่ไว้วางใจ"

ล้วนแต่เป็นปัจจัยสำคัญ ที่อาจจะทำให้สถานการณ์ลุกลามบานปลายได้ถึงขั้นเกิด "คลื่นใต้น้ำ" ขนาดใหญ่ ที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครอง

ซึ่งก็ตรงกับ ที่ "แกนนำพรรคเพื่อไทย (พท.)" ส่วนใหญ่ประเมินเอาไว้ว่า ในบรรยากาศการเมือง ที่ต่างฝ่ายต่างเร่งเร้ากันอย่างเต็มที่เต็มกำลังนั้น การดันทุรังเดินหน้าใน "ประเด็นอ่อนไหว" และยากที่จะชี้แจงทำความเข้าใจกับ "กระแสสังคม" นั้น เป็นการกระทำที่ "สุ่มเสี่ยง" อย่างยิ่ง!

เฉพาะ เมื่อย้อนกลับไปดูที่ต้นสายปลายเหตุ ที่ทำให้ "อุณหภูมิการเมือง" ระอุมากขึ้น ก็จะเห็นได้ว่า ในจังหวะที่มีการผลักดัน "ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง" เข้าสู่การพิจารณาของ "สภาผู้แทนราษฎร" คือ "จุดเปลี่ยน" สำคัญที่ก่อให้เกิดกระแสต่อต้านทั้งในและนอกสภา

ที่สำคัญคือ การคัดค้าน "ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง" กลายเป็นชนวนเหตุ ที่ทำให้ "ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ" ที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของ "รัฐสภา" ในวาระที่ 3 ซึ่งถือเป็นขั้นตอนแทบจะสุดท้าย มีปัญหาตามไปด้วย


จึงไม่ แปลกที่ "สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์" ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้รับบทหนักในการผลักดันทั้ง "ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ" และ "ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง" เข้าสู่กระบวนการของสภา ในสมัยการประชุมที่ผ่านมา จะออกมาส่ง "สัญญาณ" ขอให้ "ทุกฝ่าย" ช่วยลดดีกรีของสถานการณ์

(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1341635365&grpid=01&catid&subcatid

ทำไมอดีตสหายทปท.ปกป้องศาลรธน.?

ทำไมอดีตสหายทปท.ปกป้องศาลรธน.?

 
 โดย เกษียร เตชะพีระ

ทำไมอดีตสหายทปท.ปกป้องศาลรธน.?: ๑) ขอบเขตเนื้อหาการศึกษาทางการเมืองที่เป็นจริงในป่าของนักรบทปท.

สหายเข้าป่าใหม่ทุกคน ไม่ว่ามาจากภูมิหลังชนชั้นใด นักศึกษาจากเมือง หรือชาวนาชนบทด้อยโอกาสการศึกษา จะเข้าเรียนโรงเรี ยนการ เมืองการทหาร ซึ่งนอกจากฝึกเทคนิคการรบพื้นฐาน (วินัยและท่ารบพื้นฐาน ยิง คลาน หมอบ การใช้อาวุธปืน ระเบิด ฯลฯ) แล้ว ก็คือเรียน "ปฏิวัติ ๗ บท" ซึ่งก็คือข้อเสนอวิเคราะห์สังคมของพคท. และยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีปฏิวัติ เป็นความเข้าใจภาพรวมทางการเมืองกว้าง ๆ สำหรับเข้าร่วมการต่อสู้ด้วยอาวุธอย่างมีเป้าหมาย

การศึกษาหลังจากนั้นมีลักษณะค่อนข้างเป็นวาระโอกาสครั้งคราว และไม่ค่อยเป็นระบบ (แม้จะพยายาม) เพราะเงื่อนไขการทำงาน การเคลื่อนไหวและการรบแบบจรยุทธ์ในเขตป่าเขา เอกสารที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเรื่องเข็มมุ่ง ภาระหน้าที่และเทคนิควิธีการทำงานเฉพาะในเขตงานของตน ค่อนข้าง practical & local & specific ไม่ใช่อะไรที่ conceptual, theoretical & general

หนังสือที่มีให้อ่านก็เป็นพวกคติพจน์, สรรนิพนธ์ประธานเหมาเจ๋อตง (ไม่มากเล่ม ไม่มากคนที่อ่าน), และเรื่องเล่าเรื่องดีคนดีของนักปฏิวัติจีน เช่น หนังสือชุด "คนใหม่แห่งลัทธิคอมมิวนิสต์ที่หล่อเลี้ยงด้วยความคิดเหมาเจ๋อตง", หลิวหูหลาน เป็นต้น มีวารสารประจำถิ่นเล่าข่าวคราวสถานการณ์บ้านเมืองตามแนวทางของพรรคที่ออก อากาศทางสปท.เป็นหลัก และเรื่องสั้น บทกวี บ้าง, บางแห่งอาจมีห้องสมุดหนังสือซ้ายจากในเมืองก่อน ๖ ตุลาฯ ๑๙ แต่ก็มีปัญหาด้านการกระจายให้ยืมที่ลำบากห่างไกล

หากสหายได้รับเข้าเป็นสมาชิก ย. (สันนิบาตเยาวชนประชาธิปไตยประชาชนแห่งประเทศไทย องค์กรเยาวชนแขนขวาของพรรค) หรือ ส. (พคท.) ก็จะได้รับการศึกษาจากเอกสารภายในที่เข้มข้นขึ้น แต่จากประสบการณ์ของผม เอกสารเหล่านี้มีเพดานไม่สูง เป็นคู่มืออบรมทำความเข้าใจลักษณะ แนวทาง อุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่แปลเป็นไทย แล้วเอามาให้เราอ่าน โดยอนุโลมว่าพรรคไทยก็คล้ายกัน จนผมเคยตั้งข้อสังเกตเชิงวิจารณ์กับจัดตั้งผู้รับผิดชอบวงศึกษาว่าน่าจะเอา เอกสารของพรรคไทยเราเองมาอ่านศึกษา แทนที่จะเอาของพรรคจีนมา

การพูดคุยกับสหายต่างเขตงานต่างภาคและการอ่านบันทึกจากในป่าจำนวนหนึ่งของผม ได้ภาพประทับใจออกมาคล้ายกัน ไม่ต่างจากนี้ (แม้แต่ในสถานีวิทยุเสียงประชาชนแห่งประเทศไทยที่คุนหมิง ยูนนาน เมื่อผู้ปฏิบัติงานเป็นคนอ่านข่าว/จัดรายการของสถานี เสนอขอศึกษาเรื่อง "ทุน" ของมาร์กซ ทางจัดตั้งยังบอกว่ายากไป ไม่จำเป็นเลย) ซึ่งแปลว่าเนื้อหาการศึกษาของทปท.เตรียมให้คุณเป็นทหารจรยุทธ์ในเขตงานเพื่อ ทำงานมวลชนและทำการรบเฉพาะถิ่นด้วยความเข้าใจในเป้าหมายและลักษณะพื้นฐานของ การปฏิวัติ ไม่ได้เตรียมให้คุณเป็นนักวิเคราะห์เข้าใจสถานการณ์และสภาพการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจการเมืองที่สลับซับซ้อนและเคลื่อนไหวพลวัตไม่หยุดนิ่งแต่อย่างใด
 


ทำไมอดีตสหายทปท.ปกป้องศาลรธน.?: ๒) การจำกัดข่าวสารที่ได้รับในป่าทั้งโดยภาววิสัยและวินัยกองทัพของนักรบทปท.

สหายทปท.ระดับผู้บังคับหน่วยงานมวลชนแนวหน้าคนหนึ่งซึ่งเป็นอดีตนิสิตจุฬาฯหนีเข้าป่าตอน ๖ ตุลาฯ ๒๕๑๙ และเมื่อเจอกันโดยบังเอิญบนรถเมล์สาย ๕๓ ครั้งล่าสุดหลายปีก่อน เขาทำงานอยู่ในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการ เคยเล่าให้ผมฟังครั้งพบกันในป่าว่า

มีครั้งหนึ่งเขาเคยไปรับข้าวของจากมวลชนมา เมื่อกลับถึงทับ เห็นกระดาษหนังสือพิมพ์รายวันที่มวลชนใช้ห่อข้าวของเหล่านั้น ก็เลยแกะเอาออกมานั่งอ่านอยู่ ปรากฏว่าหัวหน้าหน่วยซึ่งเป็นสหายชาวนาเดินผ่านมาพบเข้า ได้ใช้มือตะปบหนังสือพิมพ์หลุดไปจากมือเขา แล้วบอกว่าอ่านไม่ได้ ผิดวินัย ผู้อ่านข่าวสารจากภายนอกต้องได้รับมอบหมายจากจัดตั้งเท่านั้น

เขาถามผมด้วยความสะทกสะท้อนและขัดเคืองใจว่าถ้าหากแค่อ่านข่าว นสพ.ก็จะถูกฝ่ายรัฐบาลปฏิกิริยาครอบงำความคิดจิตใจและจุดยืนปฏิวัติเสื่อมแล้ว พวกเราซึ่งเป็นนักศึกษาอยู่ในเมือง อ่านนสพ.เหล่านี้มาทั้งชีวิต กลายเป็นนักปฏิวัติมาได้อย่างไร? และถ้าเราอ่านนสพ.แล้วยังมีความคิดจิตใจปฏิวัติได้ ทำไมจึงไม่ให้เราอ่านในป่า?

(เรื่องนี้รวมไปถึงการมีวิทยุติดตัว ด้วย จะเปิดฟังได้เฉพาะสถานีปฏิวัติ เช่น สปท., วิทยุปักกิ่ง นอกเหนือจากนี้ เช่น บีบีซี, วีโอเอพากย์ไทย, ข่าวสมหญิง ยิ่งยศ ฯลฯ เฉพาะระดับหัวหน้าหน่วยหรือจัดตั้งเท่านั้นที่จะฟังได้ ผมเองได้ฟังเพราะทำงานหน่วยข่าว มีหน้าที่พิเศษในการมอนิเตอร์ข่าวในและต่างปท.ทั่วไป กระนั้นเวลาสหายสังเกตว่าผมไม่ฟังแต่ข่าว หากยังทะลึ่งฟังรายการสารคดี เรื่องสั้น ฯลฯ ของ BBC, VOA ในพากย์ภาษาอังกฤษด้วย ก็จะถูกตักเตือนห้ามปรามในวงวิจารณ์ อย่างน้อยก็ด้วยเหตุผลว่าเพื่อประหยัดถ่านไฟฉายซึ่งหามาได้ยากในป่า ฯลฯ)

ในสภาพระบอบควบคุมข่าวสารเช่นนี้ ย่อมไม่มีทางเข้าถึงข้อมูลวัตถุดิบ แหล่งคิดเปรียบเทียบเชิงวิเคราะห์วิจารณ์สถานการณ์ปัจจุบันสด ๆ ใหม่ ๆ ให้สหายทปท.ทั่วไปได้เสพรับขบคิดเลยระหว่างทำงานปฏิวัติสู้รบในเขตป่าเขา สิ่งพิมพ์ประเภทนสพ.นิตยสารข่าวต่าง ๆ จำกัดวงคนอ่านเฉพาะจัดตั้งฝ่ายนำ, หน่วยข่าวที่ได้รับมอบหมาย เท่านั้น แม้แต่ผมเอง นาน ๆ ครั้งจึงจะได้อ่าน เพราะได้มายากและเข้าถึงยาก (จำได้ว่าพี่ธเนศ อาภรณ์สุวรรณซึ่งเข้าป่าทางใต้เล่าว่า เขาได้อ่าน Far Eastern Economic Review ก็เพราะอาศัยหยิบยืมจากสหายคอมมิวนิสต์มลายามา ขณะที่ทางพรรคไทยไม่มีให้)

ความคับแคบและระแวงระวังทางความคิดทฤษฎีข้อมูลของพคท.มีในระดับที่ว่า ครั้งหนึ่ง เมื่อผมฟังการอ่านช้าให้จดแถลงการณ์ครบรอบการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์มลายาจากสถานีวิทยุพากย์ภาษาอังกฤษ The Voice of the Malayan Revolution ของเขาได้ และถอดความเรียบเรียงเป็นภาษาไทยเพื่อเสนอเผยแพร่ผ่านทางนิตยสารธงชัยของทางภาคอีสานใต้ ในฐานะที่พคม.ก็เป็นพรรคพี่น้องของพคท.และเป็นเหมาอิสต์ด้วยกัน ปรากฏว่าทางจัดตั้งฝ่ายนำด้านทฤษฎีและโฆษณายังปฏิเสธไม่ให้ทำเล

ดังนั้นภาพความเข้าใจว่านักรบทปท.เข้มข้นทางความคิดวิเคราะห์เชิงทฤษฎีข่าวสารข้อมูลแบบมาร์กซิสต์-เหมาอิสต์ ไม่น่าจะพลิกเปลี่ยนความคิดอุดมการณ์ทางการเมืองได้ขนาดนี้นั้น อาจตั้งอยู่บนภาพอุดมคติที่เหนือจริงเกินไป

พท.น้อมรับคำตัดสินศาล รธน.

พท.น้อมรับคำตัดสินศาล รธน.





 
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรค พท. แถลงถึงกรณีศาลรัฐธรรมนูญนัดฟังคำวินิจฉัยการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 291 หรือไม่ ในวันที่ 13 กรกฎาคม นี้ ว่า คณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทยได้ขอให้ส.ส.ไปทำความเข้าใจกับประชาชนใน พื้นที่ว่า หากผลการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญออกมาเป็นอย่างไร จะยอมรับความจริงด้วยหลักการและเหตุผล โดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทยได้วิเคราะห์พฤติกรรมการซักค้านของฝ่าย ผู้ร้องพบว่า บางคำถามไม่ใช่หลักวิชาการ หลักกฎหมาย เป็นเจตคติแบบริษยา และมีธง เช่น นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) ที่พยายามตั้งคำถามโยงไปถึงพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาจเป็นคุณกับเราก็ได้ อย่างไรก็ตาม เราไม่อยากคาดหวังผลว่าจะออกมาเป็นอย่างไร เพราะที่ผ่านมาก็คาดผิดมาตลอด เพียงแต่หวังความเป็นธรรมจากศาลเท่านั้น
 
นายจิรายุกล่าวว่า ส่วนที่นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ นายนุรักษ์ มาประณีต นายสุพจน์ ไข่มุกด์ ขอถอนตัวออกจากการเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดี แต่องค์คณะไม่ยินยอมนั้น พท.ไม่ติดใจ แต่จะจดและจำสิ่งที่ทั้งสามคนพูดไว้ตอนเป็นคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐ ธรรมนูญปี 2550 โดยจะดูคำวินิจฉัยเป็นรายบุคคลว่า มีความเห็นอย่างไรต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 และขอเรียกร้องให้นักกฎหมายทั่วประเทศออกให้ความเห็นถึงการแก้ไขมาตรา 291 ว่ามีความชอบหรือไม่ชอบอย่างไร ส่วนคลิปเสียงนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรที่หลุดออกมานั้น แสดงให้เห็นว่า แม้พท.มีเสียงข้างมาก แต่หนทางใดที่จะทำให้เกิดความขัดแย้งน้อยที่สุด เราก็จะทำ ซึ่งการชะลอการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และร่างพ.ร.บ.ปรองดองก็น่าจะถูกใจปชป.แล้ว ไม่น่าจะออกมาโวยวายอะไรอีก
 
นายจิรายุกล่าวว่า ส่วนที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี ปชป.ระบุว่า พท.พยายามออกมาริดลอนความน่าเชื่อถือของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้น อยากทราบว่า นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการปชป. ไปอยู่ไหน ให้นายสุเทพมาพูดแทนทุกวัน แสดงว่า เกิดการขบเกลียวในปชป.จริง ทราบว่า มีสามก๊กคือ ก๊กหัวหน้าพรรค ก๊กอดีตหัวหน้าพรรค และก๊กอดีตเลขาธิการพรรคที่ลาออกไปแล้ว อยากให้นายสุเทพไปเคลียร์กับเลขาธิการพรรค อย่ามาเสี้ยม ขอให้นายสุเทพไปซื้อน้ำขิงกินเพื่อลดลมความอยากเป็นรัฐบาล
 

(ที่มา)
http://news.voicetv.co.th/thailand/43941.html 

"ศาลเจ้า" ไม่ใช่ "ศาลราษฎร"

"ศาลเจ้า" ไม่ใช่ "ศาลราษฎร"


http://www.matichon.co.th/online/2012/07/13412881531341288359l.jpgPhoto: หยุดกฎหมายล้างผิด หยุดทำผิดให้เป็นถูก หยุดอ้างอำนาจที่ไม่ได้มาจากปวงชน

เมื่อมีการยึดอำนาจของปวงชนก็จะมีการออกกฎหมายลบล้างความผิดของพวกที่ทำการยึดอำนาจ ซึ่งเป็นความผิดฐานกบฏที่มีโทษถึงประหารชีวิต เหมือนโจรที่ปล้นบ้าน แล้วประกาศว่าการปล้นบ้านไม่เป็นความผิด

ตามด้วยประกาศและคำสั่งของพวกที่ทำการยึดอำนาจของปวงชน และยังให้มีผลทางกฎหมาย แม้ว่าคณะรัฐประหารได้ลงจากอำนาจไปแล้ว เหมือนโจรบังคับให้เจ้าของบ้านต้องปฏิบัติตามคำสั่งของพวกโจรตลอดไป แม้ว่าพวกมันจะลงจากบ้านไปแล้ว

รวมถึงการอ้างอำนาจของตุลาการที่มีจากการเลือกกันเองของข้าราชการตุลาการที่มิได้ยึดโยงกับประชาชนแม้แต่น้อยที่ใช้อำนาจโดยไม่มีขอบเขต ทั้งๆที่ตุลาการมีหน้าที่เพียงแค่การพิจารณาคดีความตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายเท่านั้น แต่ไม่มีหน้าที่พิจารณาเรื่องทางการเมืองที่ขึ้นกับการตัดสินใจของประชาชน 
การที่ตุลาการเข้าแทรกแซงกำกับควบคุมเรื่องทางการเมือง ควบคุมการทำงานของสภาและรัฐบาล ก็เท่ากับเป็นการรวบอำนาจหรือปล้นอำนาจของปวงชนนั่นเอง เท่ากับว่ามีคนที่ไม่ใช่เจ้าของบ้านแต่มาอ้างสิทธิ์ตัดสินใจเรื่องภายในบ้านแทนเจ้าของบ้าน หรือกระทั่งจัดการขับไล่ ลงโทษหรือกลั่นแกล้งตัวแทนเจ้าของบ้าน

ประชาชนผู้เป็นเจ้าของบ้าน จงลุกขึ้นทวงสิทธิ์อันชอบธรรมของตน
จงร่วมกันปฏิเสธกฎหมายล้างผิดให้พวกกบฏที่ปล้นอำนาจของประชาชน
จงปฏิเสธบรรดาประกาศ คำสั่งและกฎหมายของโจรที่ปล้นอำนาจของพวกเรา
จงปฏิเสธตุลาการซึ่งไม่ใช่ตัวแทนของพวกเราแต่กลับมาทำลายและริดรอนอำนาจตัวแทนของพวกเรา

ประชาชนทั้งหลายจงรวมตัวกันเพื่อทวงสิทธิ์อันชอบธรรมของพวกเราคืนจากพวกโจรปล้นอำนาจทั้งหลาย ที่มาในหลากหลายรูปแบบ
เพื่อสร้างประเทศให้เป็นประชาธิปไตย เพื่อลูกหลานไทยทุกคน


 
 
 

นิธิ เอียวศรีวงศ์ วิเคราะห์ความศักดิ์ศิทธิ์และบทบาทที่ไม่เกื้อหนุนระบอบประชาธิปไตยของศาลไทยว่า ก่อนสมัย ร.5 ศาลไม่เคยศักดิ์สิทธิ์เป็นที่นับถือของใครมาก่อน แต่ความศักดิ์สิทธิ์เพิ่งถูกสร้างขึ้นในภายหลัง และยังพยายามสร้างสืบมาจนถึงปัจจุบัน โดยกลุ่มคนที่เป็นตุลาการ ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นหลังการปฏิรูปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของ ร.5 ซึ่ง "ความศักดิ์สิทธิ์" ของฝ่ายตุลาการนี้ มันถูกผูกโยงไว้กับอำนาจของกษัตริย์เหมือนกับสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มันจึงเป็นความศักดิ์สิทธิ์ที่คลุมเครือในระบอบประชาธิปไตย อ่านบทความส่วนหนึ่งได้ดังนี้

"แต่ความศักดิ์สิทธิ์ของฝ่ายตุลาการ เป็นความศักดิ์สิทธิ์ที่ผูกไว้กับสถาบันพระมหากษัตริย์เหมือนกับสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จึงเป็นความศักดิ์สิทธิ์ที่คลุมเครือในระบอบประชาธิปไตย เพราะพระมหากษัตริย์ที่เป็นฐานของความศักดิ์สิทธิ์นั้น คือพระมหากษัตริย์ในระบอบอื่น ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย"

ศาลมักอ้างเสมอว่า พิจารณาพิพากษาคดี "ในพระปรมาภิไธย" ซึ่งแปลว่าอะไรไม่ชัดนักระหว่างผู้พิพากษาเป็นเพียง "ข้าหลวง" ที่โปรดให้มาทำหน้าที่แทน หรือพระปรมาภิไธยในฐานะที่เป็นตัวแทนของอำนาจอธิปไตยของปวงชน พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ "The People" ในศาลอเมริกัน หรือ "The Crown" ในศาลอังกฤษ เช่นเดียวกับพระบรมฉายาลักษณ์ที่ติดไว้ในห้องพิจารณาคดีของศาลทุกแห่ง หมายถึงองค์พระมหากษัตริย์หรือบุคลาธิษฐาน