หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

แห่ศพนปช.ไว้อาลัยรอบเมือง ครบรอบ 1 ปี 5 เดือน

ขอร่วมไว้อาลัยกับวีรชนคนเสื้อแดง ภาพของท่านจะไม่มีวันลบเลือนไปจากประวัติศาสตร์
ถึงแม้จะเป็นงานศพของประชาชนตัวเล็กๆ คนหนึ่ง แต่ยิ่งใหญ่สมเกียรติกับผู้ที่เสียสละชีวิตให้กับประชาธิปไตยของประชาชน


แด่คุณวสันต์ ภู่ทอง
มีชีวิตอย่างเสรีชน สู่สุคติอย่างเสรีชน

เมื่อ เวลา 12.00 น. วันที่ 10 ก.ย. ภายในวัดตำหรุ ต.บางปูใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ นายกลิ่น เทียนยิ้ม สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลแพรกษาใหม่ อ.เมืองสมุทรปราการ พร้อมกลุ่มคนเสื้อแดง กว่า 300 คน พร้อมด้วย รถจักรยานยนต์หลายร้อยคัน และรถยนต์กว่า 50 คัน ได้แห่ศพนายวสันต์ ภู่ทอง อายุ 39 ปี 1 ในกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติหรือ นปช. ซึ่งเสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายผู้ชุมนุมบริเวณสี่แยกคอกวัว เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2553 ที่ผ่านมา

โดย นายกลิ่น ซึ่งเป็นพี่ชายของนายวสันต์ ระบุว่า เนื่องจากวันนี้เป็นวันครบรอบ 1 ปี 5 เดือน การเสียชีวิตของนายวสันต์ ภู่ทอง จากเหตุการณ์สลายผู้ชุมนุม ตนจึงพร้อมด้วยแนวร่วมกลุ่มประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติหรือ นปช. ทั้งในสมุทรปราการ และจังหวัดใกล้เคียง มาร่วมขบวนแห่เพื่อไว้อาลัยกับการจากไปของน้องชายตน

โดยจะแห่ไปรอบๆ จังหวัดสมุทรปราการ เริ่มจากวัดตำหรุ ต.บางปูใหม่ ถ.ตำหรุ-คลองเก้า อ.เมือง ใช้เส้นทางถนนตำหรุ-คลองเก้า มุ่งหน้าไปยังคลองด่าน อ.บางบ่อ แล้ว ตัดเข้าการเคหะบางพลี ถนนเทพารักษ์ แล้ววนไปตัดเข้าสุมขุมวิท มุ่งสู่วัดตำรุ บางปู ไปตั้งศพที่บริเวณเมรุลอย ที่สร้างไว้ ที่ลานวัด และทำการสวดพระอภิธรรมต่อในช่วงค่ำของวันที่ 10 ก.ย.

ส่วน วันที่ 11 ก.ย. จะมีพิธีฌาปนกิจศพ ซึ่งตามกำหนดการ จะมีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย มาเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ส.ส.สมุทรปราการ และแกนนำกลุ่มนปช.เข้าร่วมงานด้วยต่อไป

http://www.youtube.com/watch?v=WrOoBhdTg8c&feature=player_embedded
ด่วน ! สัญญาณปรองดองถูกส่งออกมาชัดเจนแล้!!??

ฟื้นคุกนักโทษ..การเมือง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

รูปภาพ รูปภาพ


กระทรวงยุติธรรม ฟื้นคุกสันติบาล เพื่อควบคุมนักโทษการเมือง นักโทษคดีความมั่นคง และนักโทษต่างชาติที่รอส่งกลับประเทศที่สาม
http://bit.ly/qR5oj9

:goodidea: จะคอยดูว่าคุกนี้!!??

จะเอาไว้ใส่ไอ้พวกยึดสภา ปิดสนามบิน

หรือจะเป็นตะรุเตากลางกรุง

ขังนักโทษการเมือง ฝ่ายอำมาตย์ เผด็จการหรือฝ่ายประชาชน??



วิกิลีกส์เผย "ไมโครซอฟท์" สนับสนุนเผด็จการตูนิเซีย "เซ็นเซอร์-ดักฟังเน็ต" 
รูปภาพ

วิ กิลีกส์เผย ไมโครซอฟท์จัดอบรมไอทีให้กับอดีตรัฐบาลเผด็จการตูนิเซีย ซึ่งความรู้จากการอบรมถูกนำไปใช้ติดตามและจับกุมนักกิจกรรมออนไลน์ที่ต่อ ต้านรัฐบาล ทั้งนี้หลังการตกลงดังกล่าวรัฐบาลตูนิเซียได้ซื้อซอฟต์แวร์จากไมโครซอฟท์ 12,000 ชุด องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนเรียกร้องให้มีมาตรการจัดการกับธุรกิจที่สนับ สนุนการละเมิดสิทธิมนุษยชน


เอกสารที่อ้างว่าเป็นโทรเลขของสถาน ทูตสหรัฐระบุว่า ไมโครซอฟท์ บริษัทซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่จากสหรัฐอเมริกา ได้จัดโครงการฝึกอบรมให้กับของอดีตรัฐบาลเผด็จการตูนิเซีย (ซึ่งเพิ่งถูกโค่นล้มไป) เพื่อแลกกับการที่รัฐบาลตูนิเซียจะยกเลิกนโยบายใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส โดยต่อมารัฐบาลตูนิเซียได้ใช้ความรู้จากการอบรมดังกล่าว ในการสร้างเว็บไซต์ปลอมเพื่อหลอกเอารหัสผ่านจากนักข่าว บล็อกเกอร์ และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง


ข้อตกลงระหว่างไมโครซอฟท์และรัฐบาล ตูนิเซีย ซึ่งลงนามในปี ค.ศ. 2006 ระบุถึงความร่วมมือในเรื่อง รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ความมั่นคงไซเบอร์ สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และการพัฒนาความสามารถสำหรับโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ของตูนิเซีย โดยไมโครซอฟท์จะตั้งศูนย์นวัตกรรมไมโครซอฟท์ในตูนิเซีย เพื่อพัฒนาการผลิตซอฟต์แวร์ในท้องถิ่น


"โดยผ่านโครงการอาชญากรรม ไซเบอร์ ไมโครซอฟท์จะอบรมเจ้าหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมและกระทรวงมหาดไทย ถึงการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อต่อสู้กับอาชญากรรม ในส่วนหนึ่งของโครงการนี้ ไมโครซอฟท์จะเปิดเผยซอร์สโค้ดต้นฉบับของซอฟต์แวร์ของตนให้กับรัฐบาล ตูนิเซีย" โทรเลขฉบับดังกล่าวระบุ


ผู้เขียนโทรเลขดังกล่าว ยังให้ความเห็นต่อไปว่า "ในทางทฤษฎีแล้ว การเพิ่มความสามารถในการบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาลตูนิเซียนั้นเป็นเรื่องดี แต่เมื่อพิจารณาการที่รัฐบาลตูนิเซียแทรกแซงอินเทอร์เน็ตอย่างหนัก ทำให้มีคำถามว่าโครงการนี้จะเพิ่มความสามารถของรัฐบาลตูนิเซียในการจับตาดู พลเมืองของตัวเองหรือไม่" และจบด้วยความเห็นที่ว่า "ในตอนสุดท้ายแล้ว ผลประโยชน์ที่ไมโครซอฟท์จะได้รับ จะมีมากกว่าราคาที่จ่ายไปมาก"


จาก การประเมินสถานการณ์เสรีภาพทั่วโลก "Freedom in the World" โดยองค์กรฟรีดอมเฮาส์ในปี ค.ศ.2011 ตูนิเซียถูกจัดเป็นประเทศที่ "ไม่เสรี" การประเมินระบุว่ารัฐบาลอดีตประธานาธิบดีไซเน่ เอล-อะบีดีน เบน อาลี ควบคุมการเลือกตั้งอย่างหนัก และรัฐบาลได้คุกคามและจับกุมบล็อกเกอร์ นักข่าว และฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ต่อมาเมื่อต้นปี ค.ศ.2011 ระบอบของ เบน อาลี ถูกโค่นล้ม และกลายเป็นจุดกำเนิดของการปฏิวัติต่อเนื่องในหลายประเทศตะวันออกกลาง ที่เรียกว่า "Arab Spring" หรือ "ฤดูใบไม้ผลิอาหรับ"


เมื่อต้น เดือนกันยายนนี้ องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (RSF) ได้ออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกดำเนินมาตรการแทรงแซงทางการเงินกับองค์กรธุรกิจ ที่สนับสนุนรัฐบาลเผด็จการในการปราบปรามประชาชนของตัวเอง ในแถลงการณ์ดังกล่าวระบุชื่อบริษัทต่าง ๆ ในประเทศตะวันตก (สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, ฟินแลนด์, และฝรั่งเศส) ซึ่งรวมถึงบริษัทเทคโนโลยีและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในประเทศลิเบีย, บาห์เรน, ซีเรีย, จีน และไทย ในการดักฟังและติดตามจับกุมฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง


(กรณีที่ เกี่ยวข้องกับประเทศไทยนั้น เป็นกรณีที่บริษัทเน็ตเฟิร์ม บริษัทสัญชาติแคนาดาซึ่งให้บริการให้เช่าพื้นที่เว็บอยู่ในแคลิฟอร์เนีย ได้ให้ข้อมูลหมายเลขไอพีและที่อยู่อีเมลของผู้ใช้เน็ตรายหนึ่งแก่กรมสอบสวน คดีพิเศษ -ดีเอสไอ- ของไทย ซึ่งนำไปสู่การจับกุมและคุมขัง การให้ข้อมูลส่วนตัวนี้ผิดกฎหมายของทั้งสหรัฐอเมริกาและแคนาดา)


ใน แถลงการณ์ดังกล่าว ยังได้ระบุถึงคำพูดของประธานบริษัทไมโครซอฟท์สาขารัสเซีย ที่กล่าวว่าไมโครซอฟท์รัสเซียนั้นพร้อมที่จะมอบซอร์สโค้ดรหัสโปรแกรมของสไก ป์ (Skype) ให้กับหน่วยงานความมั่นคงของรัสเซีย ไมโครซอฟท์เข้าซื้อกิจการสไกป์เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยซอฟต์แวร์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือสื่อสารที่เป็นที่นิยมของผู้ใช้อินเทอร์ เน็ตทั่วไป รวมถึงนักเคลื่อนไหวทางการเมือง


ไมโครซอฟท์เป็น สมาชิกของพันธมิตร โกลบอลเน็ตเวิร์กอินิชิเอทีฟ (Global Network Initiative) หรือ GNI ซึ่งเป็นการรวมตัวของบริษัทเอกชน กองทุนการเงิน และองค์กรปกป้องสิทธิเสรีภาพ เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพอินเทอร์เน็ต ปัจจุบัน GNI มีสมาชิกจากทั่วโลก 30 ราย สมาชิกอื่น ๆ ได้แก่ กูเกิล, ยาฮู!, อิเล็กทรอนิกส์ฟรอนเทียร์ฟาวเดชั่น (EFF), ฮิวแมนไรท์วอช, และคณะกรรมการคุ้มครองสื่อ (Committee to Protect Journalists) เป็นต้น การที่ไมโครซอฟท์เป็นสมาชิก GNI นี้ ทำให้องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนคาดหวังให้ไมโครซอฟท์แสดงบทบาทผู้นำในการ คุ้มครองสิทธิมนุษยชน


แม้อินเทอร์เน็ตจะเป็นสื่อที่ไร้พรมแดน แต่ในปัจจุบัน การติดตามจับกุมผู้ก่อ "อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์" (ซึ่งรวมไปถึงการเผยแพร่ข้อมูลที่ขัดแย้งกับรัฐบาล) สามารถทำได้ผ่านกลไกและมาตรการระดับนานาชาติหลายส่วน ทั้งข้อตกลงการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ความร่วมมือระดับนานาชาติในเรื่องของความมั่นคงทางไซเบอร์ (เช่น ความร่วมมือแบบพหุภาคี IMPACT) กลไกตำรวจสากล (อินเทอร์โพล) และกฎหมายอินเทอร์เน็ตในหลายประเทศที่ระบุว่า ไม่ว่าการกระทำบนอินเทอร์เน็ตนั้นจะเกิดขึ้นในทางกายภาพที่ใดในโลก ก็จะมีความผิดตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ อยู่ดี เช่น มาตรา 17 ของพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ของประเทศไทยที่ระบุว่า :


ผู้ใดกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ


(1) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ


(2) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร


อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ยังไม่มีกลไกและมาตรการระดับนานาชาติใด ๆ ที่ชัดเจน ที่จะบังคับเอาผิดกับบริษัทเอกชนที่สนับสนุนรัฐบาลในอีกประเทศในการก่อ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์หรือการละเมิดสิทธิมนุษยชน ด้วยเหตุนี้องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนจึงเรียกร้องว่ารัฐบาลทั้งหลายจำเป็น ต้องมีมาตรการร่วมกัน ในการหยุดยั้งอาชญากรรมที่สนับสนุนโดยบริษัทเอกชน เพื่อปกป้องอินเทอร์เน็ตและผู้ใช้อินเทอร์เน็ต


ในปี 2554 ประเทศไทยถูกฟรีดอมเฮาส์จัดเป็นประเทศ "กึ่งเสรี" โดยมีแนวโน้มที่แย่ลง (Freedom in the World 2011) และมีสถานการณ์สื่อมวลชนอยู่ในระดับ "ไม่เสรี" (Freedom of the Press 2011) เช่นเดียวกับสถานการณ์อินเทอร์เน็ตที่ "ไม่เสรี" เช่นกัน (Freedom on the Net 2011) ซึ่งประเด็นหลักอันหนึ่งที่ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มไม่เสรีในการจัด อันดับต่าง ๆ หลายสำนัก ก็คือการใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์และกฎหมายอื่น ๆ ในการจับกุมผู้ใช้เน็ตที่คิดเห็นต่างจากรัฐ



ก่อนหน้านี้ วิกิลีกส์ก็ได้เปิดเผยรายงานของกงสุลสหรัฐประจำเชียงใหม่ ที่พูดคุยกับกลุ่มธุรกิจของสหรัฐฯ ในเชียงใหม่เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2554 โดยระบุว่าผู้บริหารของไมโครซอฟท์ไทยกังวลต่อแนวทางการสนับสนุนซอฟต์แวร์โอ เพนซอร์สของรัฐบาลไทย



ที่มา: Companies that cooperate with dictatorships must be sanctioned, Reporters Without Borders, 2 ก.ย. 2554; Wikileaks: Microsoft aided former Tunisian regime, ZDNet, 5 ก.ย. 2554; ผ่าน Slashdot; อ่านโทรเลขฉบับเต็ม: Microsoft Inks Agreement With GOT
การล่าแม่มด "คนคิดต่าง" 2010 บนโลกไซเบอร์
โดย : ศาลวัต บุญศรี

มีการตั้ง กลุ่มทางการเมืองขึ้นเป็นจำนวนมากตามอุดมการณ์ และความคิดเห็นทางการเมืองของตน อย่าง
กลุ่มเสื้อหลากสี ที่ทุกท่านคงได้เห็นผ่านสื่อในระยะที่ผ่าน กลุ่มหนึ่ง ชื่อ Social sanction ซึ่งประกาศตัว
ชัดเจนในการที่กำจัดนักการเมืองที่คอร์รัปชัน และผู้ที่คิดทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์
โดยใช้วิธีการทางสังคมแทนกฎหมาย ณ ขณะนี้ มีสมาชิกอยู่ราว 5,500 คน

วิธีการปฏิบัติ ของสมาชิกและผู้ดูแลในเพจ Social Sanction
นี้ จะทำการบันทึกภาพหน้าจอของ

ผู้ใช้ เฟซบุ๊ค ที่พิมพ์เนื้อหาในเชิงวิพากษ์ วิจารณ์สถาบัน รวมถึงมีความคิดเอียงไปทาง "แดง" แล้วนำมา
โพสต์ พร้อมบรรยายสรรพคุณตั้งแต่ชื่อ ที่อยู่ ที่ทำงาน พฤติกรรม บุคลิก พร้อมกับเรียกร้องให้สมาชิกใน
เพจ ใช้กระบวนการทางสังคมกดดันให้ผู้ใช้เฟซบุ๊ค ที่ถูกบันทึกภาพมารู้สึกผิด

หากเป็นผู้มีชื่อเสียง ทีมงานเรียกร้องให้สมาชิกไม่อุดหนุนงานของคนคนนั้น

หากเป็นคนธรรมดา นอกจากร่วมรุมด่าและประณามในเว็บแล้ว ก็เชิญชวนให้ส่ง sms อีเมล รวมถึงโทรศัพท์
ไปด่า ตัดออกจากสังคม จนถึงขั้นกดดันบริษัทให้ไล่ออก และส่งเรื่องให้ DSI ราวกับ "ฟัก" ในคำพิพากษา

งานของ ชาติ กอบจิตติ มิปาน

สมาชิกทั้งหลายมีความกระตือรือร้นมากในการเสาะแสวงหาผู้คิดต่างเอามา
"เสียบประจาน" (คำนี้ถูกใช้ใน
กลุ่มจริงๆ) บางวันหากไม่มีการเสียบประจานจะมีสมาชิกบางคนบ่น และกระตุ้นให้ค้นหา

มีผู้คนได้รับผลกระทบจากเพจนี้จำนวนมาก
พฤติกรรมของเพจ Social Sanction นี้

เชื่อว่า บรรดาสมาชิกล้วนแล้วแต่คิดว่าสิ่งที่ตนทำนั้นทำถูกแล้ว บนสมมติฐานเบื้องต้นที่ว่า หากกฎหมายทำ
อะไรไม่ได้ เราก็ใช้บทลงโทษทางสังคมเล่นงานเสียเลย ยิ่งเป็นประเด็นที่เกี่ยวสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เปราะ
บางด้วยแล้ว หลายคนเห็นว่าการกระทำเช่นนี้ เพื่อแลกกับการปกป้องสถาบันมิใช่เรื่องผิดแม้แต่น้อย

เชื่อว่า สมาชิกในกลุ่มนั้น มีความรู้สึกนึกคิดมิได้ต่างจาก

รูปภาพ

ประชาชนที่มามุงดูเหตุการณ์ล้อมปราบที่ธรรมศาสตร์

แต่อย่างใด พวกเขาล้วนเชื่อมั่นในสิ่งที่ตนเชื่อมา และมองผู้คิดต่างกลายเป็นคนอื่น ประกอบกับเปลี่ยนสื่อที่
ใช้เป็นสื่ออินเทอร์เน็ต ที่คุณสมบัติในการสื่อสารเร็วมาก แต่ยากในการตรวจสอบความเท็จจริง บวกกับการที่
คนใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ มักเชื่อว่าในโลกไซเบอร์นั้น การปลอมตัวเป็นเรื่องธรรมดา จะตามหาตัวจริง ว่า
อยู่ที่ไหนนั้นเป็นเรื่องยาก (ซึ่งความคิดนี้ความจริงแล้วผิด) ส่งผลให้คนกล้าแสดงความคิดเห็นที่รุนแรงกันมาก
ขึ้น สะท้อนแรงขับความก้าวร้าวบนรอยยิ้มที่สนุกสนาน เมื่อเห็นคนที่คิดต่างได้รับความทุกข์ระทม

การแสดง ความคิดเห็นทางการเมืองเป็นเสรีภาพที่จะกระทำได้ ส่วนกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้น ผู้เขียนมี

ทัศนะว่า ใครที่หมิ่นก็ต้องได้รับผลตามกฎหมาย (ไม่ว่าไปดูหมิ่นคนธรรมดาหรือพระราชวงศ์ ก็ต้องได้รับผลจาก
ความผิดนั้นเหมือนกัน) แต่รับไม่ได้ต่อพฤติกรรมการตั้งตนเป็น ศาลเตี้ยพิพากษาความผิด ของคนอื่น จาก
บรรทัดฐานความคิดของตน แถมบรรทัดฐานเหล่านั้น ยังบิดเบี้ยวเต็มเปี่ยมด้วยอคติ เพราะปราศจากการศึกษา
ในเชิงวิชาการ

ผู้เขียนเชื่อในนิติรัฐและกฎหมายอันเที่ยงธรรม (หากยังไม่เที่ยงนักก็ต้องช่วยกันปรับให้สมบูรณ์) บ้านเมืองมีขื่อ

มีแป มิใช่ตัดสินความผิดคนโดยใช้บรรทัดฐานของตนเอง มิอย่างนี้แล้วสังคมไทยก็ยิ่งถอยลงๆ สู่โลกแห่ง
อนาธิปไตยเข้าไปทุกที

ล่าสุดเพจ Social Sanction นี้ได้ถูกลบไปโดยเว็บเฟซบุ๊ค
หลังจากมีการร้องเรียนจำนวนมาก ทว่าก็มีความ
พยายามของกลุ่มผู้ดูแลในการสร้างหน้าเว็บใหม่ แต่ยังคงอุดมการณ์เดิมขึ้นเรื่อยๆ ถึงขนาดมีการสร้างหลายหน้า
เว็บ เพื่อ "ลับ ลวง พราง" มิให้ผู้ที่มิใช่สมาชิกทราบว่าเพจไหนแน่ที่เป็นของจริง

ปรากฏการณ์ต่อเนื่องจากเพจ
Social Sanction ได้ก่อให้เกิดการสร้าง กลุ่มใหม่ๆ เพื่อแสดงความคิดเห็นทาง
การเมืองอย่างสุดโต่งมากขึ้น ล่าสุดผู้เขียนเองสะเทือนใจมากที่เห็นเพจ "กลุ่มเสพศพคนเสื้อแดง" ที่ตั้งขึ้นมา
เพื่อแสดงความยินดีที่ได้เห็นคนเสื้อแดงต้องเสียชีวิต มีการโพสต์ รูปศพที่เสียชีวิตพร้อมกับด่าทอว่าสมควรแล้ว
กับสิ่งที่ได้รับ ถือเป็นเรื่องที่เสียสติและไร้มนุษยธรรมอย่างมากที่คนคนหนึ่ง พึงทำต่อคนที่ไม่เคยรู้จักแม้แต่หน้า
กัน ไม่เคยมีความแค้นต่อกันเลยแม้แต่น้อย

นี่คือ สิ่งที่ผู้เขียนได้พบเห็นจริงแล้ว อยากนำมาเล่าสู่กันฟัง ท่านผู้อ่านที่มีมิตรสหายหรือลูกหลานชอบเล่น

อินเทอร์เน็ตโปรดเฝ้าระวัง เรื่องนี้ให้ดี ความน่ากลัวของโลกไซเบอร์ มิใช่มีเพียงที่ท่านเคยรู้เท่านั้นแล้ว