หน้าเว็บ

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

80 ปี การปฏิวัติ 2475 "ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร" // นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มิถุนายน 55

80 ปี การปฏิวัติ 2475 "ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร" // นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มิถุนายน 55

 

 

 

(คลิกอ่าน) 

Open publication

 

ในเล่มพบกับ

แถลงการณ์ “องค์กรเลี้ยวซ้าย” ในวาระครบรอบ 80 ปี การปฏิวัติ ๒๔๗๕

โดย องค์กรเลี้ยวซ้าย

การปฏิวัติฝรั่งเศส

โดย C.H.

ละครตลกร้าย เรื่องการนำอาชญากรรัฐมาขึ้นศาล

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

Hunger Game ในโลกปัจจุบัน

โดย โคแบร

ยิ่งเลีย....ยิ่งล้าหลัง

โดย สมุดบันทึกสีแดง

อีกหนึ่งบาดแผลที่พวกนักขุดทอง ไม่อยากกล่าวถึงในพม่า

โดย ฮิปโป

รากฐานและรูปแบบของ “อำนาจ”

โดย ลั่นทมขาว
 
สังคมเป็นใหญ่ คือคำโกหกคำโต

โดย ครรชิต พัฒนโภคะ

จากกุข่าวรัฐประหาร กลายเป็นรัฐประหารโดยตุลาการ

โดย ยังดี โดมพระจันทร์
 
ว่าด้วยทุน เล่ม 2 บทที่ 1: วงจรของ “ทุนเงิน”

โดย กองบรรณาธิการ

(ที่มา)

Divas Cafe

Divas Cafe

 

แดงโห่ ปชป เฮ นักวิชาการซัด กระแสตีกลับเพื่อไทย Divas Cafe 13มิย55
http://youtu.be/vTCbQdANN1k

 

Goodbye Nasa ใครได้ ไทยเสีย Divas Cafe 27มิย55 

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=xe11w5TSbs8

The Daily Dose

The Daily Dose 


 

The Daily Dose 27มิย55

http://www.youtube.com/watch?v=DcLwMV_5GZ4&feature=plcp

Wake Up Thailand 27มิย55

Wake Up Thailand 27มิย55 

 



(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=wPMCKmGBz_0&feature=player_embedded

พลิกอดีต 2550 วิธีการแก้ไข ′รธน.′ แล้ว ′ปัญหา′ อยู่ที่ไหนกัน

พลิกอดีต 2550 วิธีการแก้ไข ′รธน.′ แล้ว ′ปัญหา′ อยู่ที่ไหนกัน

 

 

ร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 291 อยู่ระหว่างรอคอยการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

จะมีการไต่สวนในวันที่ 5-6 ก.ค.นี้

จากนั้น ศาลรัฐธรรมนูญ จะวินิจฉัยว่า เข้าข่ายความผิดมาตรา 68 แห่งรัฐธรรม นูญหรือไม่

เนื่อง จากมีผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรม นูญว่า ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มมาตรา 291 ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ไม่ใช่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ

จึง กล่าวหาว่า เป็นการล้มล้างการปก ครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือเป็นการกระทำ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครอง ด้วยวิธีการนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่

นับเป็นข้อหา ร้ายแรง จึงน่าสนใจว่า แล้วร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เดินทางผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งในวาระที่ 1

และด้วยเสียงข้างมากในการพิจารณารายมาตรา วาระที่ 2 ที่ประชุมรัฐสภามาได้อย่างไร

ที่มาของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม น่าจะมาจากอย่างน้อย 2 ทางด้วยกัน

หนึ่ง ในเชิงวิธีการ เป็นไปในแนวทางเดียวกับการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ที่เริ่มต้นด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2534 ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ มายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ทั้งฉบับ

(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1340781679&grpid=01&catid=&subcatid=

27 6 55 ข่าวค่ำDNN เชื่อ ICC จะพิจารณาคดีสลายการชุมนุม

27 6 55 ข่าวค่ำDNN เชื่อ ICC จะพิจารณาคดีสลายการชุมนุม




(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=s8aH4Co_Hww&feature=share

ขบวนการแรงงานเกาหลีใต้ยังคงยืนหยัดปกป้องประชาธิปไตยในประเทศไทย

ขบวนการแรงงานเกาหลีใต้ยังคงยืนหยัดปกป้องประชาธิปไตยในประเทศไทย

 

โดยพัชณีย์ คำหนัก
ผู้ประสานงานโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย


 
ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2555 ขบวนการแรงงานเกาหลีใต้ในนามสมาพันธ์แรงงานเกาหลี (Korean Confederation of Trade Unions-KCTU) และนักกิจกรรมแรงงานจากองค์กรต่างๆ ได้ออกมาประท้วงความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นกับเหยื่อของความขัดแย้งทางการ เมือง และความบกพร่องของกลไกรัฐด้านสิทธิมนุษยชนที่ไม่สามารถปกป้องคนเสื้อแดงที่ มีความคิดเห็นแตกต่างจากคณะผู้ทำการรัฐประหาร 2549    ซึ่งไม่ใช่เพียงครั้งเดียวที่ขบวนการแรงงานเกาหลีออกมาเรียกร้อง  เพราะแม้จะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ก็ยังคงต้องเรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบต่อปัญหาการละเมิดสิทธิ การปิดหู ปิดตา ปิดปากประชาชนด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพต่อไป
 
จดหมายที่ยื่นให้แก่สถานทูตไทยประจำประเทศเกาหลีใต้ ที่กรุงโซล มีข้อเรียกร้องหลัก 2 ข้อ ดังที่พาดหัวไว้  ส่วนเนื้อหาของจดหมายปรากฎด้านล่างสุดของรายงาน
 
ต่อจากนั้น ทางโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทยประชุมร่วมกับตัวแทนของ KCTU และองค์กรแนวร่วม ได้แก่ Workers Solidarity All Together (Korea), Korean House for International Solidarity, Asia Monitoring Resource Center (Hong Kong), Labour Action China (Hong Kong),  Sedane  Labour Resource Center (Indonesia)    โดยโครงการฯ ได้แลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในไทย โดยเฉพาะจากอำนาจตุลาการที่มีอคติต่อประชาชนที่คัดค้านฝ่ายอนุรักษ์จารีต   อำนาจที่เข้มแข็งของฝ่ายทหารที่กล้าใช้อาวุธสงครามยิงใส่ผู้ประท้วงเมื่อ เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553   และการรณรงค์แก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ  ไปจนถึงปัญหาของขบวนการแรงงานไทยที่แบ่งเป็นฝักฝ่ายคือ  ฝ่ายที่สนับสนุนการทำรัฐประหารเพื่อขจัดอดีตรัฐบาลไทยรักไทย  และฝ่ายที่คัดค้านการทำรัฐประหาร ต้องการรักษาระบบเลือกตั้งไว้  ซึ่งนำไปสู่การแตกแยกของขบวนการแรงงานไทย  อันส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาแรงงานในปัจจุบัน และการรวมกลุ่มจัดตั้งที่แรงงานยังอ่อนแอทางความคิด ผู้นำไม่เข้าใจหลักสิทธิมนุษยชน และไม่สามารถเล็งเห็นผลที่ตามมาจากเลือกข้างฝ่ายก่อการรัฐประหาร ฝ่ายเสื้อเหลือง โค่นล้มรัฐธรรมนูญ ระบบการเลือกตั้ง  การทำร้ายผู้ที่เห็นต่างจากผู้มีอำนาจรัฐ และการมีระบบยุติธรรมสองมาตรฐาน
 
ทางสหภาพแรงงานเกาหลี ได้เสนอแนะให้แรงงานไทยศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชนให้มากกว่านี้ ให้ทำความเข้าใจว่า สิทธิพลเมืองคืออะไร ความรุนแรงของรัฐส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้างอย่างไร 
 
ข้อสรุปที่ได้จากการประชุม คือ ขบวนการแรงงานเกาหลีจะสนับสนุนการรณรงค์เช่นนี้ต่อไป และจะสนับสนุนการทำงานของเครือข่ายญาติและผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรา 112 โดยจะติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และจะวางแผนการรณรงค์ร่วมกันในอนาคต

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41283