หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

ทำไมจึงต้องรำลึก 35 ปี 6 ตุลา
 
 
 ยังดี โดมพระจันทร์

                  ในบันทึกอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์  ฉบับเต็มนั้นชื่อว่า “ความรุนแรงและรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519”  มีความยาวถึงสิบหน้ากระดาษ ถ่ายทอดทุกสิ่งที่สังคมไทยตั้งคำถามกับเหตุการณ์นี้ มีการแจกแจงถึงเจตนาตลอดจนวิธีการของพวกที่รวมตัวกันวางแผนก่ออาชญากรรมรัฐ ดังนี้

                 “......... เจตนาที่จะทำลายล้างพลังนักศึกษา และประชาชนที่ใฝ่เสรีภาพนั้นมีอยู่นานแล้ว ในเดือนตุลาคม  2516  เมื่อ มีเหตุทำให้เปลี่ยนระบบการปกครองมาเป็นรูปประชาธิปไตยนั้น ได้มีผู้กล่าวว่า ถ้าฆ่านักศึกษาประชาชนได้สักหมื่นสองหมื่นคนบ้านเมืองจะสงบราบคาบ และได้สืบเจตนานี้ต่อมาจนถึงทุกวันนี้ ในการเลือกตั้งเมษายน 2519 ได้มีการปิดประกาศและโฆษณาจากพรรคhttp://www.blogger.com/post-edit.g?blogID=6132680428620896545&postID=4412541234070204510การเมืองบางพรรคว่า “สังคมนิยมทุกชนิดเป็นคอมมิวนิสต์” และกิตติวุฒโฑภิกขุ ยังได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า “การฆ่าคอมมิวนิสต์นั้นไม่เป็นบาป” ถึงแม้ในกันยายน–ตุลาคม 2519 เอง ก็ยังมีผู้กล่าวว่าการฆ่าคนที่มาชุมนุมประท้วงจอมพลถนอม กิตติขจร สัก 30,000 คน ก็เป็นการลงทุนที่ถูก

                ผู้ที่สูญเสียอำนาจทางการเมืองในเดือนตุลาคม 2516 ได้แก่ทหารและตำรวจบางกลุ่ม  ผู้ที่เกรงว่าในระบบประชาธิปไตยจะสูญเสียอำนาจทางเศรษฐกิจไป  ได้แก่ พวกนายทุนเจ้าของที่ดินบางกลุ่ม และผู้ที่ไม่ประสงค์จะเห็นระบบประชาธิปไตยในประเทศไทย กลุ่มเหล่านี้ได้พยายามอยู่ตลอดเวลาที่จะทำลายล้างพลังต่างๆ ที่เป็นปรปักษ์แก่ตนเองด้วยวิธีต่างๆ.............”

อ่านต่อ....
http://www.prachatai.com/journal/2011/09/37146 

ความหมายสุดท้ายของการรำลึกที่สำคัญ และจะคงความสำคัญไปอีกยาวนาน คือ
เราจะต่อต้านเผด็จการกันอย่างไร?
เราจะสร้างสรรค์ประชาธิปไตยประชาชนอย่างไร?
และเราจะต้องมารำลึกถึงวีรชนคนตายกันอีกกี่ครั้งกี่หน
คำตอบไม่ได้อยู่ในสายลม
สายลมฝ่ายขวาอาจพัดแรง แต่สายลมแห่งการต่อสู้ก็กำลังกระพือโหม จากตะวันออกสู่ตะวันตก จากเหนือจรดใต้ ประชาชนทั่วโลกกำลังต่อสู้กับระบบ ระบอบเก่าๆ  และร่วมกันปลดแอกสู่สังคมใหม่

 
ทุกๆ ปีเมื่อมีการจัดงานรำลึก งานด้านศิลปะ ดนตรี บทกวี ละคร นาฏลีลาและการแสดงรูปแบบต่างๆ ล้วนเป็นผลิตผลทางวัฒนธรรมที่ผลิดอกออกผลท่ามกลางการต่อสู้ เวทีอาจจะไม่ใหญ่ไม่โต แต่เปี่ยมด้วยพลัง ศรัทธา ความมุ่งมั่นของเหล่านักรบ ทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่  ที่พร้อมจะแปรเจตนารมณ์ของเหล่าวีรชนให้เป็นจริง....
.............................................................................................................


 สัปดาห์รำลึก 35 ปี 6 ตุลา
ระหว่างวันที่ 1-14 ตุลาคม 2554 
จัดโดย องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์)
โครงการกำแพงประวัติศาสตร์:ธรรมศาสตร์กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
และเครือข่ายเดือนตุลา
ร่วมกับ กลุ่มประชาคมจุฬาเพื่อประชาชน(CCP)
กลุ่มประชาคมธรรมศาสตร์คัดค้านอำนาจนอกระบบ(TCAD)
กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย(LLTD)
กลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์(LKS)
กลุ่มประชาคมมหิดลเสรีเพื่อประชาธิปไตย(FMCD)
--------------