หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

19 กันยาประชาชนไทยรวมใจต้านรัฐประหาร 19-9-2011
http://speedhorse.blogsite.org/read.php?tid=347

สิ่งที่เวทีเสวนาครบรอบ 5 ปี รัฐประหาร 19 กันยาไม่ได้พูด

ชำนาญ จันทร์เรือง

ประเด็นที่สำคัญที่สุดที่ผมจะชี้ให้เห็นก็คือ การ “ฮั้ว” กัน ระหว่างกลุ่มอำนาจเก่ากับรัฐบาลที่ประชาชนเลือกเข้าไปบริหารประเทศ แต่ก่อนที่จะแสดงให้เห็นว่ามีการฮั้วกันอย่างไร นั้น ผมขอนำเอาคำจำกัดความที่เสาวลักษณ์ เชฎฐาวิวัฒนา (2539) ได้อธิบายความหมายของคำว่า “ฮั้ว” ในทางธุรกิจ ไว้ในคู่มือไขปริศนาดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับสิ่งที่ผมจะยกตัวอย่างต่อไป


การฮั้ว (Collusion) คือ การทำข้อตกลงในทางลับระหว่างบริษัทตั้งแต่สองบริษัทขึ้นไป ที่ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกันหรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อให้ทั้งสองบริษัทได้ประโยชน์มากกว่าบริษัทอื่นๆ หรือมากกว่าที่ควรจะได้รับ

ซึ่งพูดง่ายๆ ก็คือก็คือการแบ่งกันกินนั่นเอง เพราะเป็นการทำข้อตกลงในทางลับระหว่างบริษัทตั้งแต่สองบริษัทขึ้นไปที่ ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกันหรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อให้ทั้งสองบริษัทได้ประโยชน์มากกว่าบริษัทอื่นๆ หรือมากกว่าที่ควรจะได้รับ การฮั้วกันเกิดขึ้นในธุรกิจทุกระบบไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ และอาจจะถูกต้องตามกฎหมายหรือผิดกฏหมายก็ได้แล้วแต่การยอมรับของสังคม และข้อกฎหมายในประเทศแต่ละประเทศ เช่น การกำหนดราคาและปริมาณการผลิตน้ำมันร่วมกันของกลุ่มโอเปค เป็นต้น

ฉะนั้น เมื่อหันกลับมาพิจารณาถึงสถานการณ์ปัจจุบันในโอกาสครบรอบ 5 ปีของการรัฐประหาร 19 กันยาแล้วจะเห็นได้ว่า....

(อ่านต่อ)...http://www.prachatai.com/journal/2011/09/37020

คำถามถึง 'ขุนนางเอ็นจีโอ' ต่อกฎหมาย 'ภาคประชาชน' :วุฒิสมาชิกต้องมาจากการเลือกตั้งหรือไม่?


รัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับอำมาตยาธิปไตย กำหนดให้ประชาชนพร้อมรายชื่อ 10,000 ชื่อ ในการเสนอกฎหมายต่อรัฐสภา ซึ่งต่างจากรัฐธรรมนูญ2540 กำหนดให้ 50,000 ชื่อ เมื่อหักลบตัวเลขแล้วน้อยกว่าถึง 40,000 รายชื่อ ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ “ขุนนางเอ็นจีโอ” บางคน ใช้เป็นข้ออ้างให้กับ ”ภาคประชาชน” ส่วนหนึ่ง ให้พวกเขายอมรับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ช่วงมีการรณรงค์รับร่างรัฐธรรมนูญ2550 กัน และอ้างว่ามีความก้าวหน้ากว่ารัฐธรรมนูญ 2540

(อ่านต่อ).... http://www.prachatai.com/journal/2011/09/37002

สู้โว้ย กูไม่กลังมึง

http://www.youtube.com/watch?v=Inf_92udYXs&feature=player_embedded
เสวนา5ปีรัฐประหาร..ม/ช เมื่อ 21 กย 2554

ปฏิรูปการเมืองรอบใหม่ ไปให้พ้นจากระบอบอำมาตย์ 21 9 2011

http://www.youtube.com/watch?v=A6vi3FK59LA&feature=player_embedded
ทำไมกฏหมาย 112 ปฏิรูปไม่ได้ และต้องยกเลิก

ใจ อึ๊งภากรณ์

เมื่อทหารก่อรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ทหารอ้างว่ากระทำเพื่อ ปฏิรูป และ ปกป้อง ระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รัฐประหารนี้ถือว่าเป็นการดึงสถาบันกษัตริย์เข้ามาในการให้ความชอบธรรมทางการเมืองของทหาร ก่อนหน้านั้นฝ่ายพันธมิตรฯ และคนอย่างหมอนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ก็เรียกร้องให้ประมุขใช้มาตรา ๗ เพื่อปลดนายกรัฐมนตรีทักษิณออกจากตำแหน่ง ซึ่งประมุขไม่ยอมทำ ต่อจากนั้นทั้งพันธมิตรฯ และรัฐบาลประชาธิปัตย์ก็อ้างถึงประมุขอย่างต่อเนื่อง พฤติกรรมแบบนี้ของทหาร พันธมิตรฯ ประชาธิปัตย์ หมอนิรันดร์และคนอื่นๆ เป็นตัวอย่างของการที่ฝ่ายเสื้อเหลืองดึงสถาบันกษัตริย์มาอ้างเพื่อผลประโยชน์ฝ่ายตนเองตลอดระยะเวลาที่มีวิกฤตการเมืองในไทย และสิ่งที่เป็นเครื่องมือประกอบที่สำคัญของฝ่ายเสื้อเหลืองคือกฏหมายหมิ่นฯ 112 

(อ่านต่อ...) http://redthaisocialist.com/2011-01-20-12-41-04/275--112--.html
หัวหน้า ปชป.กล่าวว่า แต่แน่นอนว่าใครร่วมชุมนุมแล้วมีความผิดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตนก็เคยบอกสมัยเป็นนายกฯว่าไม่ควรดำเนินคดี อย่างนี้ควรจะแยกแยะออกว่าอะไรเป็นคดีอาญาอะไรเป็นคดีการเมือง เมื่อถามว่า มองว่าข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่ง ชาติ (คอป.) กำลังถูกฝ่ายการเมืองใช้เป็นเครื่องมือล้างผิดให้กับคนเสื้อแดงแล้วหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า สิ่งที่ คอป.เสนอเป็นแค่หลักการ ซึ่งหากแยกแยะได้ว่าอะไรเป็นความผิดทางการเมือง อะไรต้องใช้มาตรการพิเศษ มันก็ไปได้ แต่ไม่ใช่ตีขลุมไปหมด

มติชนออนไลน์ http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... &subcatid=
-----------------------------------------------------------------------------------

มีใครเคยได้ยินไอ้เฮงซวยนี่พูดบ้างมั๊ย สมัยเป็นนายกฯ
มาร์คมันที่สุดของที่สุดจริงๆ สุดยอด โกหก ตอแหล ด้านๆ

อ้างอิง: http://thaipoliticalprisoners.wordpress.com/2011/09/20/wikileaks-abhisit-welcomes-the-coup/
บทความโพสต์เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

แปลโดย: ดวงจำปา

ห้าปีให้หลังจากการก่อการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2549,เคเบิ้ลของวิกิลีกค์ ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งแสดงให้เห็นโดยพรรคประชาธิปัตย์ ภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดูเหมือนว่่า มีคุณค่าต่อความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะในเนื้อหาของมันที่ เอกอัครราชฑูต ราล์ฟ บอยซ์ ได้รายงานเกี่ยวกับการประชุมที่เขาได้พบกับนายอภิสิทธิ์ ที่สำนักงานใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อคุยสนทนาในเรื่องของการเมืองและการก่อการรัฐประหาร

นาย อภิสิทธิ์ได้เริ่มขึ้นโดยการกล่าวยกย่องความมั่นใจใน “บุคลิกภาพ” ของหัวหน้าผู้ก่อการรัฐประหาร นั่นก็คือ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน โดยกล่าวว่า เขา “มี่ความมั่นใจว่า พลเอกสนธินั้น ไม่ได้ก่อการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน เพื่อที่จะนำให้ตัวเขาเองนั้น ขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจได้”

นาย อภิสิทธิ์ได้อ้างว่า เขาเองนั้น “มีความวิตกกังวลมากกว่า กับกลุ่มที่มีความจงรักภักดีกับนายกฯ ทักษิณนั้น จะพยายามที่จะกลับหวนคืนเข้ามาสู่ชีวิตทางการเมืองอีก...” เขาเชื่อว่า การกระทำต่างๆ ของ ผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อนายกฯ ทักษิณ (ชินวัตร) นั้น จะ “นำความยุ่งยากมาให้กับ คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข (คปค) เพื่อที่จะฟื้นฟูเสรีภาพของประชาชนกลับมาได้อย่างเต็มภาคภูมิ” เขายังอ้างต่ออีกว่า ภรรยาของนายกฯ ทักษิณนั้น มีเงินสดอยู่กับเธอพร้อมแล้ว และ กลุ่มผู้จงรักภักดีต่อนายกฯ ทักษิณนั้น ได้ทำการเผาโรงเรียนหลายแห่งเมื่อสองสามวันก่อนหน้านี้

นายอภิสิทธิ์ ก็ยังต้องการให้ รัฐบาลเผด็จการทหารนั้น “ได้ดำเนินการฟ้องร้องตัวบุคคลที่ก่อการทุจริตคอรัปชั่นเมื่อสมัยรัฐบาล นายกฯ ทักษิณเป็นผู้นำของประเทศ เพื่อที่จะนำให้สถานการณ์เข้าไปสู่ความสงบอย่างพอเพียง ต่อการอนุญาติให้ฟื้นฟูเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มภาคภูมิ” เขาได้ถามว่า รัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกาให้ช่วยจัดส่ง “ข้อมูลกับ คปค มากขึ้นกว่าเก่าในเรื่องของความน่าสงสัยที่อาจจะได้เกิดขึ้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับ การซื้ออุปกรณ์จากบริษัท เจนเนอรัล อิเล็กตรีค เกี่ยวกับ อุปกรณ์ตรวจค้นวัตถุระเบิด CTX”

นายอภิสิทธิ์ยังได้พรรณาต่อไปแบบ “ลุยแหลก” ในเรื่องของความเป็นไปได้ที่ “องคมนตรีพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์นั้น อาจจะได้ถูกเสนอตัวให้เป็นผู้ทีถูกคัดเลือกอย่างเหมาะสมที่สุดต่อตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีชั่วคราว....” ถึงแม้ว่า เขาก็ชอบอีกหลายๆ คนด้วย รวมไปถึง อีกหลายๆ คนในพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมีความสามารถอย่างเก่งกล้า

ดู เหมือนกับว่า ตัวเอกอัครราชฑูตและนายอภิสิทธิ์นั้น ได้มีความเห็นพ้องต้องกันในเรื่อง ของ“ความสำคัญที่ คปค ได้ทำการเปลี่ยนผ่านอำนาจมาสู่รัฐบาลที่นำโดยฝ่ายพลเรือนอย่างเร็วที่สุด เท่าที่จะทำได้ และในการกระทำเช่นนี้ ก็เป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับสังคมนานาชาติที่ว่า สมาชิกในกลุ่มของ คปค เอง ไม่มีความตั้งใจที่จะคงเรืองอยู่ในอำนาจ” ในอีกความหมายหนึ่งก็คือ ได้ชักตัวพลเอกสุรยุทธขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งที่สนับสนุนโดยฝ่ายเผด็จการทหาร นั่นเอง

ปัญหาหนักเรื่องหนึ่งที่เป็นที่วิตกกังวลของนายอภิสิทธิ์ก็ คือ ข้อเท็จจริงที่ว่า พรรคไทยรักไทยที่ถูกขับไล่ออกไปนั้น อาจจะยังคงมีอำนาจอยู่ในทางการเมือง และเขาก็ห่วงว่า “พรรคไทยรักไทยจะชักจูงให้มีการใช้การลงประชามติในรัฐธรรมนูญฉบับหน้า เพื่อพยายามที่จะแสดงให้เห็นถึงการทำคะแนนนิยมด้วยการคัดค้านต่อการทำรัฐ ประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน เพื่อการฟื้นกลับคืนเข้ามาสู่แรงผลักดันทางการเมืองอีก....”

นาย อภิสิทธิ์ดูเหมือนมีความรู้สึกว่า พรรคของเขานั้นได้เริ่มตีคะแนนสร้างความนิยมให้ขึ้นมาเทียบกับพรรคไทย โดยอ้างว่า ได้มี ‘การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่’ ในทัศนคติของทางฝ่ายสาธาณะชนที่มีต่อพรรคประชาธิปัตย์ โดยการเพิ่มพูนต่อความเห็นที่ว่า มีนโยบายและความคิดที่มีความหมายสำคัญต่อประชาชน รวมไปถึงการเอาใจใส่ดูแลคนยากคนจน และ ตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างทันท่วงที” เขาก็ยังกล่าวอ้างต่อไปว่า พรรคของเขานั้นจะทำคะแนนนิยม ขึ้นมาในทางภาคเหนือและภาคกลาง และอาจจะถึงกับแบ่งครึ่งในคะแนนเสียงของทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย เวปของ PPT เองก็ยังสงสัยอยู่ว่า เขามี่ความคิดเห็นอย่างแน่ชัดเแบบนี้หรือเปล่าในปี พ.ศ. 2554?

เอกอัครราชฑูตได้แสดงความคิดเห็นต่อไปว่า:

นาย อภิสิทธิ์เองก็ดูเหมือนกับประชาชนในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ซึ่งเห็นว่า การกระทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายนนั้น เป็นขั้นตอนที่จำเป็นในการกำจัดนายกฯ ทักษิณออกไปนอกประเทศ เขาดูเหมือนกับว่าไม่ได้มีปัญหาความยุ่งยากใจอย่างเฉพาะเจาะจงในการควบคุม จำกัดต่อสถานการณ์ในเรื่องเสรีภาพของพลเมืองและกิจกรรมของพรรคการเมืองในขณะ นี้ แต่เขาก็หวังอย่างเห็นได้ชัดว่า เรื่องเหล่านี้ ควรที่จะมีการผ่อนผันลงมาในอนาคตอันใกล้นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้า คปค เอง มีความสามารถจัดการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีชั่วคราวเสียก่อน ซึ่งเป็นผู้มีความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ในเรื่องความมั่นคงของประเทศ และสามารถจำกัดอิทธิพลที่ยังเกาะกุมอยู่โดยฝ่ายผู้จงรักภักดีกับนายกฯ ทักษิณ

เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมกกว่า ซึ่งเห็นได้ชัด ก็คือ นายอภิสิทธิ์นั้น ได้ยินดีปรีดาต่อการกระทำรัฐประหารว่าเป็นวิธีที่สะดวกที่สุด เพื่อจะนำตัวเขาเอง ใกล้เข้ามากว่าเก่าอีกหนึ่งขั้นต่อตำแหน่งของการเป็นนายกรัฐมนตรี โดยการทำให้คู่แข่งทางการเมืองของเขานั้นได้อ่อนแอลง หรืออาจจะถึงกับทำลายมันลงไปด้วย

เรื่องที่กล่าวมาแล้วทุกอย่าง ไม่ได้มีความแปลกใจอะไรเลย ถ้าท่านผู้อ่านได้ย้อนกลับไปถึง การแสดงความคิดเห็นของนายอภิสิทธิ์ที่ให้กับทางฝ่ายสื่อมวลชนในสมัยของการ กระทำรัฐประหาร การลำดับเหตุการณ์รายละเอียดนั้น เข้าชุดกันได้เป็นอย่างดีเยี่ยม นายอภิสิทธิ์เองก็ได้แสดงตัวเขาเองให้เห็นมาอย่างยาวนานแล้วว่า ตัวเขานั้น ไม่ใช่ผู้ที่มีความเชื่อมั่นต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (เหมือนตามที่เขาได้ใช้ชื่อของพรรคว่า “ประชาธิปไตย”) เลยแม้แต่เพียงนิดเดียว
กรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เสนออะไรเกี่ยวกับ 112?


ใจ อึ๊งภากรณ์

ดูเอกสารเต็มได้ที่นี่  http://www.prachatai.com/journal/2011/09/37011
 

คอป. มีความเห็นว่าแม้รัฐบาลมีหน้าที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อคุ้มครอง สถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพสักการะสูงสุดของปวงชน ชาวไทยไม่ให้ถูกจาบจ้วงล่วงละเมิดด้วยพฤติกรรมและการกระทำที่ไม่เหมาะ สม....(แต่ควรระวังภาพพจน์ประเทศไทย ฯลฯ)



คอป. เห็นว่ารัฐบาลต้องดำเนินการทุกวิถีทาง  โดย คำนึงถึงเป้าหมายสุดท้าย คือการปกป้องเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้อยู่ในสถานะที่ สามารถดำรงพระเกียรติยศได้อย่างสูงสุดเป็นสำคัญ โดยควรดำเนินการอย่างเด็ดขาดและเคร่งครัดต่อผู้ที่จาบจ้วงล่วงละเมิดที่มี เจตนาร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพสักการะและหวงแหนของปวงชน ชาวไทย



ประเด็น ที่อัยการต้องพิจารณาคือแนวทางใดระหว่างการสั่งฟ้องคดีหรือการสั่งไม่ฟ้อง คดีจะเป็นผลประโยชน์สูงสุดในการปกป้องและถวายพระเกียรติยศที่เหมาะสมแด่ สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสำคัญ..... อันเป็นแนวทางที่ใช้กันอยู่ในประเทศที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น (เรื่องเนเธอร์แลนด์เป็นคำโกหก) 
"รายงานของ คอป. พยายามสร้างความชอบธรรมโดยการอ้างถึงประเทศเนเธอร์แลนด์ แต่ไม่กล่าวถึงสิทธิเสรีภาพที่ประชาชนประเทศนั้นมีการวิจารณ์และคัดค้านระบบกษัตริย์เลย เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศหนึ่งที่ไม่กีดกันการดำรงตำแหน่งกษัตริยของสตรี อดีตราชินีจูลิอานาของเนเธอร์แลนด์ มักจะขี่จักรยานตามเมืองและขอใหประชาชนเรียกเขาว่า “นาง” เหมือนคนสามัญ ในปี 1953 ขณะที่มีพายุร้ายแรงและน้ำท่วม นางจูลีอานา ลุยน้ำและเดินย่ำโคลนเพื่อแจกจ่ายถุงยังชีพให้ประชาชน และในปี 1980 เขาลาออกจากตำแหน่งกษัตริย์เพราะอายุมาก คำถามคือศาสตราจารย์ คณิต ณ นคร อยากให้ประเทศไทยมีประมุขเหมือนประเทศเนเธอร์แลนด์หรือไม่?"


มีการเสนอว่าผู้ถูกกล่าวหาควรได้รับการประกันตัว

สิ่งที่ คอป. ไม่พูดเลย


1. ว่าคดี 112 ไม่ควรดำเนินการในรูปแบบคดีลับ สื่อมวลชนควรมีสิทธิ์รายงานรายละเอียดทั้งหมด 


2. ถ้าสิ่งที่ผู้ถูกกล่าวหาพูดหรือเขียนเป็นความจริง ต้องถือว่าไม่มีคดี ต้องยกฟ้อง ซึ่งในปัจจุบันไม่ได้เป็นอย่างนั้น


3. พลเมืองไทยทุกคนควรมีสิทธิ์แสดงความเห็นทางการเมืองอย่างอิสระ รวมถึงการเสนอระบบสาธารณรัฐ


4. กฏหมายหมิ่นประมาททั่วไป เพียงพอสำหรับการปกป้องกษัตริย์จากการใส่ร้ายเท็จ ดังนั้นควรยกเลิกกฏหมาย 112 อย่างที่มีการเลิกใช้กันในทุกประชาธิปไตยของยุโรปที่มีกษัตริย์