หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

คอมมิวนิสต์ปะทะทุนนิยม ชาวเยอรมันฝั่งตอ.โหยหาอดีต แห่ทำบัตรเครดิตรูป "คาร์ล มาร์กซ์"

คอมมิวนิสต์ปะทะทุนนิยม ชาวเยอรมันฝั่งตอ.โหยหาอดีต แห่ทำบัตรเครดิตรูป "คาร์ล มาร์กซ์" 

 

 
สองทศวรรษหลังจากการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน ชาวเยอรมันตะวันออกบางคนได้กลับมาใกล้ชิดกับภาพลักษณ์ของ "คาร์ล มาร์กซ์" อีกคราหนึ่ง เพียงแต่คราวนี้ ใบหน้าของมาร์กซ์ ผู้ทำนายถึงจุดจบของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและชัยชนะของคอมมิวนิสม์ กำลังปรากฏอยู่บนเครดิตการ์ดในกระเป๋าสตางค์ของประชาชนเหล่านั้น

รอยเตอร์สรายงานว่าลูกค้าจำนวนมากกว่า1 ใน 3 ของธนาคารชปาร์คัสเซอร์ ในเมืองเคมนิทซ์ ต่างพากันมาทำบัตรเครดิตการ์ดที่มีใบหน้าของคาร์ล มาร์กซ์ ปรากฏอยู่ โดยสายตาของมาร์กซ์บนบัตรเดรดิตคล้ายกำลังจ้องมองไปยังโลโก้มาสเตอร์การ์ด ซึ่งดำรงอยู่เคียงข้างกัน

ก่อนหน้าการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน ชาวเมืองเคมนิทซ์ ซึ่งขณะนั้นใช้ชื่อเมืองว่า คาร์ล มาร์กซ์ สตัดท์ และประชากรทั่วประเทศเยอรมนีตะวันออก จะได้พบกับใบหน้าของมาร์กซ์บนธนบัตรมูลค่า 100 มาร์ค

ย้อนไปไกลกว่านั้นหลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เคมนิทซ์ได้ถูกบูรณะปรับปรุงให้เป็นเมืองต้นแบบของลัทธิสังคมนิยม โดยมีอนุสาวรีย์คาร์ล มาร์กซ์ ที่สูงถึง 7 เมตร ตั้งตระหง่านอยู่ใจกลางเมือง ภายหลังจุดจบของลัทธิคอมมิวนิสม์ เมืองเคมนิทซ์ก็ประสบกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ กระทั่งประชากรในเมืองต้องอพยพย้ายถิ่นฐานออกไปราว 20 เปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ชาวเยอรมันฝั่งตะวันออก ได้เริ่มมีอารมณ์ความรู้สึกโหยหาอดีต ซึ่งแม้พลเมืองในยุคกำแพงเบอร์ลินจะมีเสรีภาพน้อยกว่าในปัจจุบัน แต่พวกเขาก็ได้รับประกันสิทธิในการมีงานทำและสิทธิประกันสังคมจากรัฐ

กระแสความคิดเช่นนั้นยังลามไปถึงเพื่อนร่วมชาติในอีกฟากฝั่งเมื่อมี ลูกค้าจากฝั่งตะวันตกของประเทศจำนวนไม่น้อยได้ติดต่อเพื่อขอเปิดบัญชีใน เมืองเคมนิทซ์กับธนาคารชปาร์คัสเซอร์เพราะต้องการจะได้รับบัตรเครดิตรูปคา ร์ล มาร์กซ์

จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเมื่อปี ค.ศ.2008 ชาวเยอรมันฝั่งตะวันออกราว 52 เปอร์เซ็นต์ เชื่อว่าระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีไม่เหมาะสมกับพวกตน และ 43 เปอร์เซ็นต์ของพวกเขาต้องการได้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมกลับคืนมา
 

(อ่านต่อ) 

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1339848246&grpid=03&catid=06&subcatid=0600

ประจำสถานีรบ! สถานการณ์การต่อสู้ในการเมืองไทย

ประจำสถานีรบ! สถานการณ์การต่อสู้ในการเมืองไทย

 

 
โดยสุรชาติ บำรุงสุข 

 

"สังคม ไทยในปัจจุบันเป็นสังคมที่ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล เนื่องจากการเป็นฝักเป็นฝ่ายทางการเมือง ไม่สามารถจะพูดคุยกันแบบผู้ดีบนหลักของวิชาการโดยมีข้อมูลและหลักฐานเพื่อ ให้เกิดภูมิปัญญา เมื่อต่างฝ่ายต่างมีนโนทัศน์ที่ไม่เหมือนกัน แม้จะใช้ภาษาเดียวกันคือภาษาไทยในการสื่อสาร ก็ไม่สามารถที่จะตกลงกันได้ และมักจะลงเอยด้วยการถกเถียงโดยใช้อารมณ์อย่างรุนแรง"

ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน

ราชบัณฑิต

29 กันยายน 2554



ท่าน ทั้งหลายที่ติดตามและสนใจการเมืองไทย คงพอคาดเดาได้ไม่ยากนักว่า ความพยายามในการก่อให้เกิดการปรองดองขึ้นในการเมืองไทยนั้น ดูจะเป็นสิ่งที่ไม่สัมฤทธิผลเท่าใดนัก

ยิ่งเมื่อเกิดเหตุในรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างกฎหมายปรองดองก็ยิ่งเห็นได้ชัดเจนว่า ความพยายามที่จะทำให้การเมืองไทยกลับสู่ "ภาวะปกติ" หลังจากการรัฐประหาร 2549 และหลังความขัดแย้งใหญ่ในการเมืองไทย เป็นสิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้แต่อย่างใด

หรือบางทีเราอาจจะต้องยอมรับความเป็นจริงอันเจ็บปวดประการสำคัญว่า ความขัดแย้งในการเมืองไทยได้เดินผ่านโอกาสของความปรองดองไปแล้ว

และ จากปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ "เปิดเกม" การเมืองในรัฐสภาแบบที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนของพรรคฝ่ายค้านนั้น ดูจะให้คำตอบอย่างชัดเจนว่า โอกาสของการปรองดองน่าจะจบสิ้นแล้วในสังคมการเมืองไทย!

ถ้าข้อสังเกต ดังกล่าวข้างต้นเป็นสมมติฐานที่ถูกต้องแล้ว สิ่งที่รออยู่ข้างหน้าในการเมืองไทยก็คงจะหนีไม่พ้น "ความขัดแย้งใหญ่" ในสังคมไทย

ถ้าแนวโน้มเช่นนี้เป็นจริง เราก็คงกล่าวได้ว่า การเมืองไทยกำลังเดินเข้าสู่ "สถานการณ์สู้รบ" นั่นเอง



การ ต่อสู้ทางการเมืองในรัฐสภา แม้จะเป็นไปในลักษณะของการสร้างเกมการต่อสู้ในลักษณะของการชิงไหวชิงพริบ จนถึงมาตรการสำคัญของฝ่ายค้านในการบุก "ยื้อยุดจับตัว" ประธานรัฐสภาในวันแรก และตามมาในวันที่สองด้วยการ "ปา" เอกสารใส่ประธานรัฐสภา

แต่อย่างน้อยเราก็คงพอคาดหวังได้ในระดับหนึ่ง ว่า ถ้าการต่อสู้นี้ยังคงถูกจำกัดอยู่ในกรอบของรัฐสภาแต่เพียงอย่างเดียว สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างมากที่สุดก็เป็นเพียงการทะเลาะวิวาทของบรรดา สมาชิกผู้ทรงเกียรติในรัฐสภา ซึ่งก็อาจจะไม่แตกต่างกับสิ่งที่เราเคยพบเห็นได้จากภาพข่าวในกรณีของปัญหา ความขัดแย้งในรัฐสภาไต้หวันหรือเกาหลีใต้ เป็นต้น

และอย่างน้อยเราก็ อาจจะพอเบาใจได้อยู่บ้างว่า ตราบเท่าที่ ส.ส. วิวาทกันในรัฐสภา ก็ยังดีกว่าพวกเขาลากเกมให้ปัญหาความขัดแย้งนี้ไปสู่การเมืองบนถนน และอาจจะจบลงด้วยการปิดเกมแบบ "รถถัง"

ดังนั้น ไม่ว่าการเมืองจะขัดแย้งกันเท่าใดก็ตาม แต่ตราบเท่าที่เรื่องทั้งหมดถูกตีกรอบไว้ด้วยกระบวนการทางรัฐสภา แม้จะมีการยื้อยุดหรือขว้างปากันบ้าง ก็อาจจะต้องยอมรับว่าเรื่องราวทั้งหมดก็ยังอยู่ในรัฐสภา แม้จะต้องเสียภาพลักษณ์แห่ง "สถาบันอันทรงเกียรติ" ของบรรดาสมาชิกผู้แทนราษฎรไป ผู้คนอาจจะรู้สึกแย่กับภาพลบที่พวกเขากระทำกันในรัฐสภา

แต่ทั้งหลายทั้งปวงก็ยังอยู่ในรัฐสภาเท่านั้นเอง

สิ่งที่น่ากังวลใจก็คือ การต่อสู้ของพรรคฝ่ายค้านในรัฐสภาอาจจะไม่ได้มุ่งประสงค์ให้ปัญหาอยู่ในสภาเท่านั้น

หาก แต่การกระทำที่เกิดขึ้นเป็นเสมือนการเปิดการรุกทางการเมืองใน "แนวรบรัฐสภา" ด้วยการใช้วิธีการต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดความชะงักงันของกระบวนการทางรัฐสภา

เพราะ กลุ่มการเมืองปีกอนุรักษนิยม-จารีตนิยมที่ใช้พรรคฝ่ายค้านเป็นกลไกของการขับ เคลื่อนในรัฐสภาต่างก็ตระหนักดีว่า หากปล่อยให้รัฐสภาเดินไปตามครรลองที่ใช้วิธีการลงเสียงแล้ว พวกเขาก็ต้องพ่ายแพ้อย่างแน่นอน

ดังจะเห็นชัดเจนถึงคะแนนเสียง ระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลกับพรรคฝ่ายค้านที่แตกต่างกัน จนมองไม่เห็นว่า กลุ่มอนุรักษนิยมจะชนะการลงเสียงในรัฐสภาได้อย่างไร

ในอีกด้านหนึ่งก็เห็นได้ชัดเจนเช่นกันว่า แม้การกระทำดังกล่าวจะก่อให้เกิดความเสียหายทางการเมืองแก่พรรคฝ่ายค้านเอง

แต่ พวกเขาก็ดูจะประเมินแล้วว่า ความเสียหายดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ด้วยการสร้างวาทกรรมเพื่อสื่อสารออกไปสู่ กลุ่มผู้สนับสนุนและกลุ่มเป็นกลาง
 

 

(อ่านต่อ)

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1339855527&grpid=03&catid=&subcatid= 

"แปลกดี ที่ปชช.คนเดินดิน แต่เป็นเสื้อแดง ...เห็นความสำคัญของการแก้ กติกากลางให้เป็นประชาธิปไตย"

"แปลกดี ที่ปชช.คนเดินดิน แต่เป็นเสื้อแดง ...เห็นความสำคัญของการแก้ กติกากลางให้เป็นประชาธิปไตย"


เจาะข่าวตื้น 60 : ตำรวจไทยจอดับ

เจาะข่าวตื้น 60 : ตำรวจไทยจอดับ



เจาะข่าวตื้น 51 : เจาะข้าวแพงแกงร้อน

(คลิกฟัง) 
http://www.youtube.com/watch?v=vspGiYdyrsA

Status: เหวง โตจิราการ แฉขบวนการหากินกับผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย

Status: เหวง โตจิราการ แฉขบวนการหากินกับผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย

 




แกนนำ นปช. สส.พรรคเพื่อไทย อดีตกรรมการสำรอง พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย บอกเล่าถึงที่มาของการออกเคลื่อนไหวปกป้องตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ของกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย

เพื่อนๆครับ ผมขอพูดอะไรหน่อยเกี่ยวกับ ผรท.นะครับ ที่จริง ผรท.(ผู้ร่วมพัฒนาชาติ ไทย)เป็นตราบาปของพคท.(พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย) ที่พวกชนชั้่นปกครองปฏิกิริยามอบให้  กล่าวคือในภาวะที่ พคท.เพลี่ยงพล้ำอย่างรุนแรง ชนชั้นปฏิกิริยาฉลาดพอที่จะใช้่นโยบายหลอกลวงเพื่อแยกสลายกองกำลังของพคท. โดยให้คำมั่นสัญญาในการตอบแทนผลประโยชน์ทางวัตถุให้กับ ผรท.เพียงแค่พอมีชีวิตอยู่ได้ คือ ให้ควาย5ตัวที่ดิน5ไร่บ้านเล็กๆหนึ่งหลัง(อาจจะมีเงินจำนวนหนึ่งไม่เกินสอง หมื่น)

แต่พวกปกครองปฏิกิริยาไม่จริงใจใน"การให้"ดังกล่าว พวกมันจึงให้ผรท.จำนวนน้อยมาก ส่วนที่เหลือ ปล่อยปละละเลยทิ้งๆขว้างๆมาโดยตลอด และอาศัยบางส่วนงานของกองทัพภาค2มาดำเนินการหลอกลวงด้วยคำมั่นสัญญาลมๆแล้งๆ มาโดยตลอด อาจจะให้บ้างคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ไม่ถึง10%ของจำนวนที่ให้ตามสัญญาและจำนวนคน ที่ได้ 

จากนั้ืนก็ปล่อยทิ้งไว้อย่างเหี้ยมโหด เพราะพวกเขา"เป็นฝ่ายชนะขาด ให้พวกคุณมีชีวิตอยู่โดยไม่จับติดคุกก็ดีเท่าไรแล้ว"พอมีความขัดแย้งทางการ เมืองแหลมคม พวกมันก็เอาเหยื่อมาล่อ ผรท.อีก อย่างเช่น พลเอก.สุรยุทธ์ จุฬานนท์ สิ่งแรกที่ทำหลังรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็คือไปหา ผรท.ที่อิสานเหนือก่อนแล้วค่อยไปหาที่อิสานใต้และภาคเหนือ เพื่อให้คำมั่นสัญญาลมๆแล้งๆอีกเช่นเคย อาจจะให้ผลประโยชน์ทางเงินทองสิ่งของบ้างแต่ก็เล็กน้อยมาก เพื่อแยกสลายผรท.ไม่ให้เป็นพวก"เสื้อแดง"

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41097 

[คลิป] สัมภาษณ์ดุลยภาค ปรีชารัชช: จับตารัฐยะไข่ จุดวาบไฟการเมืองโลก

[คลิป] สัมภาษณ์ดุลยภาค ปรีชารัชช: จับตารัฐยะไข่ จุดวาบไฟการเมืองโลก

 

หนุ่มมุสลิมโรฮิงยาผู้อพยพหนีภัยศึกศาสนาจากรัฐยะไข่ของพม่า ยกมือไหว้ร่ำไห้
ขณะพาล...
 

จับตารัฐยะไข่ จุดวาบไฟการเมืองโลก

http://www.youtube.com/watch?v=2A7CNaPekn0&feature=player_embedded 


เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. ที่ผ่านมา ประชาไท สัมภาษณ์ อ.ดุลยภาค ปรีชารัชช อาจารย์ประจำโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และพิธีกรรายการ ASEAN Weekly ทางเว็บไซต์ประชาไท ต่อกรณีสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างชาวโรฮิงยาและชาวอาระกัน ในรัฐอาระกัน ทางตะวันตกของพม่า 

นอกจากการกล่าวถึงปัจจัยที่สำคัญของรัฐอาระกันที่ทำให้ความขัดแย้งดำรง ทั้งเรื่องความแตกต่างทางเชื่อชาติ สภาพพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ที่เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติส่งไปยังจีนและอินเดีย รวมทั้งเป็นพื้นที่ล่อแหลมต่อความมั่นคงในสายตาของกองทัพพม่า โดยก่อนหน้านี้มีการย้ายที่ตั้งกองบัญชาการทางทหารภาคตะวันตก ที่อยู่ในรัฐอาระกัน จากเมืองชายทะเลซิตตเหว่ เข้าไปยังเมืองอานที่อยู่ตอนในแผ่นดิน

(อ่านค่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41095 


รายงานเสวนา: รัฐไทย-ชายแดนใต้ ภายใต้ พรก.ฉุกเฉิน ในมุมมองฝ่ายประชาธิปไตย

รายงานเสวนา: รัฐไทย-ชายแดนใต้ ภายใต้ พรก.ฉุกเฉิน ในมุมมองฝ่ายประชาธิปไตย

 



เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.55 ที่ผ่านมา ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ถนนราชดำเนิน  สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.) และสหพันธ์นิสิตนักศึกษาชายแดนใต้(สนนตชต.) ได้จัดเสวนาหัวข้อ "รัฐไทย-ชายแดนใต้ ภายใต้พรก.ฉุกเฉิน ในมุมมองฝ่าย ประชาธิปไตย" โดยมีวิทยากรประกอบด้วย รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะอักษร ศาสตร์ จุฬาฯ นายศราวุฒิ ประทุมราช นักสิทธิมนุษยชน จามาล กีไร ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนนิสิตนักศึกษา พิทักษ์ประชาชน (คพช.) นางสาวจิตรา คชเดช นักเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อความ เป็นธรรมและประชาธิปไตย และนายพรชัย ยวนยี เลขาธิการ สนนท. ดำเนินรายการโดย นายศุภชัย เมืองรัก นศ.กลุ่มกล้าคิด ม.รามคำแหง

 
“..มัน สะท้อนความไม่เข้าในระดับกรอบความคิด มันสะท้อในการไม่รู้จักวิธีการจัดการความแตกต่าง คุณคิดไม่เหมือนผลบังคับให้คุณคิด คุณต้องคิดเหมือนผม ถ้าคุณไม่นับถือเหมือนผมไปอยู่ประเทศอื่น หรือถ้าคุณไม่นับถือเหมือนผมติดคุก กรอบความคิดของชนชั้นนำที่มีความคิดแบบนี้จะไปจัดการปัญหาอะไร 3 จว.ชายแดนภาคใต้ รัฐไทยจัดการไม่เป็น จัดการเป็นคือปราบ อันนี้คือที่มาของการประกาศภาวะฉุกเฉินใน 3 จว.ชายแดนภาคใต้ อันนี้คือที่มาของการเอากองกำลังทหารไปตั้งเต็มไปหมด..”

รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะอักษร ศาสตร์ จุฬาฯ 

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41085

บทความแปล: รัฐประหารที่พลาดไป?

บทความแปล: รัฐประหารที่พลาดไป?

 

โดยดวงจำปา      




บทความโพสต์อยู่ที่: A coup missed?

โพสต์บทความที่
: บทความแปล: รัฐประหารที่พลาดไป?


บทความแปลโดย: ดวงจำปา

คุณจิม เทเล่อร์ จากมหาวิทยาลัยอเดเลียด ในประเทศออสเตรเลีย ได้ส่งบทความมาให้กับเวปไซค์ของ PPT ซึ่งเป็นแง่มุมความคิดเห็นอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ บทความของคุณจิม มีดังต่อไปนี้



การรัฐประหารโดยฝ่ายกองทัพในวันที่ 1 มิถุนายนนั้น เกือบจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่?

ลองให้ท่านผู้อ่านคิดดูว่า การก่อการรัฐประหารได้ถูกเลิกล้มลงไปจริงหรือ? ทุกๆ ท่านเบื่อเต็มทีหรือยังเกี่ยวกับข่าวลือในเรื่องการรัฐประหาร? ในระยะเวลาสองสามปีที่ผ่านมา เราได้ประมาณการณ์อย่างบ่อยครั้งว่าจะมีการก่อการรัฐประหารเกิดขึ้น ซึ่งมีรากฐานมาจากข่าวลือ, การเสียดสี และการคาดคะเน เรื่องท้ายสุด (ที่เพิ่งผ่านมาในรอบนี้) ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับว่า การก่อการรัฐประหารน่าจะเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ซึ่งมีการเตรียมการเมื่อตอนปลายเดือนพฤษภาคมที่จังหวัดอยุธยา ในเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงฉลองพระองค์ด้วยเครื่องแบบทหารเต็มยศ และไปรับมอบที่ดินจำนวน 7 ไร่ที่ทุ่งมะขามหย่อง ซึ่ง “อุทิศ”ให้โดยนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม

ไม่ใช่ว่า เราควรจะเชื่อมากนักถึงสัญญาณหรือสัญญลักษณ์ในการกระทำนั้นๆ การจัดการวางแผนก่อการรัฐประหารนั้น พลเรือเอกธนศักดิ์ ปฏิมาประกร ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกองทัพไทย ได้ถูกคัดเลือกให้เป็นหัวหน้าคณะก่อการ พลตำรวจเอกวสิษฐ เดชกุญชร ซึ่งเป็นอดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ ได้ออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน และกล่าวอย่างคลุมเครือว่า ในสถานการณ์อันตึงเครียดที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเตรียมพร้อมที่จะนำทัพต่อสู้กับ
“ศึกสงคราม” ... ศึกสงครามไหนกันครับ? การรุกรานของพม่าบนผืนแผ่นดินที่ตำนานได้กล่าวว่า สมเด็จพระศรีสุริโยทัยได้ทรงสิ้นพระชนม์ในการปกป้องพระสวามีของพระองค์อย่าง นั้นหรือ?

พลเอกดาวพงษ์ (รัตนสุวรรณ) ได้ขออาสาทำการช่วยเหลือพลเรือเอกธนศักดิ์และเตรียมพร้อมที่จะทำการเสี่ยงใน เรื่องนี้ เนื่องจาก ตัวเขาได้ถูกเชื่อกันว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการสังหารฆาตกรรมหมู่เมื่อ เดือนเมษายนและพฤษภาคม พ.ศ. 2553 อย่างแน่ชัด และตัวเขาจะสูญเสียทุกอย่างถ้าตนเองได้ถูกเรียกขึ้นมาให้การสอบสวนต่อราย ละเอียด ถ้าสมมติว่า การกระทำรัฐประหารเกิดประสบผลสำเร็จขึ้นมา มันจะเป็นหนทางที่จะทำให้เขาหลุดพ้นจากข้อกล่าวหาต่างๆ ที่กล่าวมาเบื้องต้นได้ อย่างไรก็ตาม พวกเขาได้รับคำสั่งมาจากบางแห่งที่มีอำนาจเหนือกว่าและพวกเขามีทางเลือกน้อย มากต่อการปฎิเสธ – ไม่ใช่ว่าเพราะพวกเขาต้องการให้เป็นแบบนั้น พลเอกประยุทธ (จันทร์โอชา) มีการเสี่ยงทุกอย่างต่อเรื่องนี้ เพราะเขายังมีชีวิตราชการอยู่อีกหลายปีและเริ่มมีความกระชับใกล้ชิดกับพรรค เพื่อไทยด้วย ตัวเขาไม่ต้องการที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องต่อการปฎิบัติการอันเสี่ยงต่ออาชีพ ของเขาแบบนี้ ในวันเดียวกันที่จังหวัดอยุธยา เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินีได้ทรงประทับอยู่นั้น ได้มีการประชุมเกิดขึ้นโดยบรรดานายทหารระดับสูงของกองทัพที่พระตำหนักสิริยา ลัยโดยไม่ไกลจากเมืองที่ทรงประทับอยู่มากนัก สถานที่แห่งนี้ ได้ถูกกำหนดให้เป็น “วอร์รูม” หรือ “ห้องวางแผนก่อการ” หลังจากที่พระองค์ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปที่จังหวัดอยุธยาเพียงหนึ่งวัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานพระราชดำรัสต่อคณะผู้พิพากษาศาล ปกครอง ในขณะที่สมเด็จพระราชินีได้ทรงเลี้ยงพระกระยาหารต่อนายทหารของฝ่ายกองทัพ
คณะผู้วางแผนการก่อการรัฐประหารได้ถูกสั่ง (โดยใครบางคน?) ว่า ต้องกระทำการรัฐประหารให้สำเร็จเสร็จสิ้นก่อนวันที่ 24 มิถุนายน เมื่อช่วงวันที่ 30 พฤษภาคมถึงวันที่ 1 มิถุนายน จึงเป็นช่วงวิกฤติมากๆ ของพรรคเพื่อไทย

มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ทางฝ่ายกองทัพบกได้ส่งทหารแนวหน้าเข้ามาแฝงตัวอยู่กับ “ชุมชน” (รอบๆ กรุงเทพมหานคร) เพื่อทำการสอบถามกับประชาชนทั่วๆ ไปว่า พวกเขาจะรู้สึกอย่างไรถ้าทางฝ่ายกองทัพบกจะเป็นผู้ผดุงรักษาประเทศแทนที่จะ เป็นพวกนักการเมือง เรื่องนี้เกิดขึ้นจากการทะเลาะกันอย่างอึกทึกโดยการวางแผนของพรรคประชา ธิปัตย์ในรัฐสภาเกี่ยวกับเรื่อง พระราชบัญญัติการปรองดองและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว พรรคเพื่อไทย มีความสนใจเพียงการแก้ไขในหนึ่งมาตราคือ มาตรา 291 ซึ่งเกี่ยวกับการแก้ไขและจัดตั้งคณะกรรมการสภาร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น) จากนั้น
ได้มีการสั่ง ศาลรัฐธรรมนูญ (โดยใครก็ไม่ทราบ?) ให้ปฎิบัติการเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม นี่เป็นแผนการส่วนหนึ่งที่ได้ถูกวางแผนต่อเนื่องกันมาอย่างดี โดยกลุ่มอำมาตย์ ซึ่งแทรกแทรงแฝงตัวอยู่ในตำแหน่งที่สำคัญๆ หลายแห่งในอำนาจทางยุทธศาสตร์ ซึ่งสามารถทำการสร้างความลดความน่าเชื่อถือให้กับรัฐบาลได้ ซึ่งเป็นเรื่องตรงข้ามกับทฤษฎีที่ อาจารย์สมศักดิ์ (เจียมธีรสกุล) ได้เขียนไว้ในเรื่อง เสวนาปฏิญญาหน้าศาล แนะเพื่อไทย-นปช.ต้องคิดใหม่ทำใหม่ ว่า มีระบอบอำมาตย์อยู่ 5 ระดับซึ่งปฎิบัติการกันอย่างอิสระนั้น มันคือเครื่องจักรใหญ่ๆ ชิ้นซึ่งมีการบำรุงรักษาอย่างดีเยี่ยมนั่นเอง

แผนการก่อการรัฐประหารที่ได้เตรียมไว้ตอนแรกเมื่อวันที่ 1 มิถุนายนนั้น เกิดรั่วออกมา และดังนั้น ฝ่ายอำมาตย์จะต้องใช้อำนาจที่มีอยู่จากศาลรัฐธรรมนูญเข้ามาปฎิบัติการอย่าง โดยทันท่วงที
ในวันนั้น พลเอกประยุทธ ได้เรียกประชุมหัวหน้านายทหารและประกาศต่อสื่อมวลชนว่าจะมีข่าวสำคัญในตอน บ่ายเวลา 13:00 นาฬิกา แท้จริงแล้ว ทางฝ่ายกองทัพบกมีแผนการที่จะจับตัวนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ที่กรมทหารราบที่ 11 นางสนองพระโอษฐ์ของสมเด็จพระราชินี คือ ท่านผู้หญิงจรุง จิตต์ ทีขะระ และ ตัวแทนของพรรคประชาธิปัตย์ คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้เดินทางไปที่กรมทหารราบที่ 11 เพื่อเจรจากับทางฝ่ายกองทัพบก การจับกุมนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ สามารถทำลายล้างรัฐบาลและป้องกันไม่ให้เธอได้หนีออกจากนอกประเทศในฐานะหัว หน้าของฝ่ายรัฐบาล เพื่อจะก่อตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นอย่างถูกต้องตามกฎหมายสากลได้ (ถ้าเป็นเช่นนั้น ตัวเธอจะกลายเป็นตัวประกันเพื่อการต่อรองกับนายกฯ ทักษิณ) และในวันนั้นเอง ก็เป็นวันที่ขบวนม๊อบและม๊อบเสื้อหลากสีของทางฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตยกับ ดร. ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ได้ปิดกั้นทางเข้ารัฐสภาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย ได้มีสัญญาณถูกส่งออกไปถึงนายกฯ ยิ่งลักษณ์เกี่ยวกับเจตนารมณ์ของการวางแผนก่อการรัฐประหาร และจากนั้น เธอได้เลิกล้มการนัดหมายพบปะบุคคลต่างๆ ทั้งหมดในเวลานั้น

พรรคประชาธิปัตย์ได้นำตัวแทนใน “ส่วนภูมิภาคของตน” ขึ้นมาจากจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เพื่อช่วย พลตรีจำลอง (ศรีเมือง) , กลุ่มสันติอโศก และ ฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในการล้อมกรอบรัฐสภา ทางฝ่ายกองทัพอากาศยังได้ถูกเรียกเพื่อเตรียมพร้อมต่อการรัฐประหาร ในขณะที่หน่วยพลร่มพิเศษของทางฝ่ายตำรวจไทยนั้นได้ทำการปฏิญาณถึงการให้การ สนับสนุนต่อทางฝ่ายรัฐบาล และทางฝ่ายแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช) ถ้ามีการใช้ความรุนแรงเกิดขึ้น


แท้ที่จริงแล้ว
พระราชบัญญัติการปรองดองฉบับแรกของ พลเอกสนธิ “บัง” บุญยรัตกลินซึ่งเป็นหัวหน้าคณะก่อการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2549 นั้น เป็น อุบายที่ชาญฉลาดในตอนช่วงต้นๆ เพื่อทำการทำลายชื่อเสียงของพรรคเพื่อไทย และ รวมชื่อของ นายกฯ ทักษิณ เพื่อการนิรโทษกรรม ตลอดจนบุคคลต่างๆ ที่มีความรับผิดชอบต่อการฆาตกรรมหมู่ในปี พ.ศ. 2553 เข้าไปด้วย ในเวลานั้น พลเอกเปรม (ติณสูลานนท์)ได้ทำการติดต่อนายกฯ ยิ่งลักษณ์เข้าไปเจรจา เพื่อก่อให้เกิดความประทับใจถึงความร่วมคิดสร้างสรรค์กัน แล้วมันก็เกิดขึ้นอย่างนั้นจริงๆ ! จากนั้น นายกฯ ทักษิณได้ถูกบอกให้เลิกสนับสนุนคนเสื้อแดงเสีย เนื่องจากตนเองได้มีข้อตกลงชิ้นใหม่กับทางฝ่ายอำมาตย์แล้ว เขาคิดว่าตนเองจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน ไม่เพียงแต่ตนเองและกับครอบครัว แต่ยังครอบคลุมไปถึง ความสำเร็จเสร็จสิ้นต่อกระบวนการปฎิรูปของพรรคเพื่อไทย ในการต่อรองกับฝ่ายชนชั้นสูง ซึ่งดูเหมือนว่าสามารถรับฟังกันได้ ในการสนทนากับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง (ดังนั้น ความรู้สึกของฝ่ายประชาชนเสื้อแดง จึงมีความตรอมใจจากสิ่งที่นายกฯ ทักษิณกล่าวไว้ในการชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่เมืองทองธานี หลังจากที่ตระหนักแล้ว (ถ้าเขายังไม่รู้สึกนึกคิดมาก่อน) ว่า เขานั่นเองที่เป็นผู้ถูกหลอกลวงอย่างเต็มที่ทีเดียวจากการกระทำของฝ่ายอำมาตย์)

แผนการขั้นต่อไปของทางฝ่ายรัฐบาล ก็ไม่มีทางเลือกใดๆ แล้วนอกเสียจากว่า เดินหน้าและผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่ 12 มิถุนายน หรือไม่ ก็จะต้องรอจนกระทั่งการปิดวาระการประชุมของรัฐสภา ทางรัฐบาลจะต้องเป็นฝ่ายเริ่มในการปฎิรูปตัวรัฐธรรมนูญและทำการสับเปลี่ยน แก้ไของค์กรอิสระทั้งหมด (เป็นต้นว่า ศาลยุติธรรม, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ, คณะกรรมการการเลือกตั้ง) ที่ได้ถูกก่อตั้งขึ้นมาจากการทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้โดยฝ่ายอำมาตย์ชั้นสูง และโดยฝ่ายกองทัพ เพื่อที่จะทำการโค่นล้มนายกฯ ทักษิณลงมา และ ทำการยับยั้งต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งกำลังเริ่มผุดขึ้นมาโดยการ ปฎิรูปสังคมและเศรษฐกิจ เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่
ฝ่ายอำมาตย์ ไม่มีความประสงค์ที่จะให้มันเกิดขึ้นมาได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 เมื่อคณะราษฎร์ได้ยึดอำนาจจากพวกเขาออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระหว่างช่วงของเศรษฐกิจที่ทันสมัยนั้น ปัญหาของประเทศไทยอาจจะเป็นเพราะว่า สถาบันทางการเมืองหลายแห่งภายในประเทศไทย ไม่อนุญาต (โดยพวกรอยัลลิสต์) ให้เกิดการเจริญเติบโต และดังนั้น ต้องรักษาความตึงเครียดของการปราศจากเสถียรภาพไว้ เพื่อที่ทางฝ่ายกองทัพสามารถนำตัวเองเข้ามาแทรกแทรงได้อยู่อย่างเสมอและ สร้างความสมเหตุสมผลในการรวบอำนาจเข้ามา เพื่อที่จะควบคุมสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ในการอ้างความชอบธรรมของทางฝ่ายกองทัพบกนั้น จะมีการอ้างอิงถึงเรื่องอำนาจที่สูงกว่าอำนาจของสถาบันที่มาจากการเลือกตั้ง อยู่อย่างเสมอ

ถ้าพรรคเพื่อไทยไม่ปฎิบัติตามคำสั่งของทางฝ่ายศาลรัฐธรรมนูญ สิ่งที่จะเกิดต่อมาอย่างแน่นอนคือการอ้างอิงถึงมาตรา 216 วรรค 5 ซึ่งกล่าวว่า ผลการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญทุกอย่างเป็นที่สิ้นสุดและทางฝ่ายรัฐสภาจะต้อง ปฎิบัติตามคำพิพากษาของศาล ถ้าไม่ยอมรับปฎิบัติตามคำพิพากษาของศาลแล้ว จะมีการกล่าวต่อว่า ทางพรรคไม่เคารพกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศและผลพวงจากการกระทำเหล่านี้จะตาม มาทีหลัง ในสถานการณ์เช่นนี้ ตามมาพร้อมกับการคาดหวังในคำตัดสินครั้งสุดท้ายที่ถือว่าเป็นที่สิ้นสุดใน คดีของปราสาทเขาพระวิหารโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จะได้เห็นกลุ่มขวาจัด (คลั่งชาติ) เป็นตัวประกอบทั้งภายในและภายนอกรัฐสภา ด้วยการออกมาโจมตีรัฐบาลทันทีว่า ได้ทำการ “ขายประเทศชาติ” และ ในช่วงจังหวะนั้นเอง จะก่อให้เกิดช่องว่างที่ทางฝ่ายกองทัพเข้ามาปฎิบัติการควบคุมในที่สุด --- ซึ่งเป็นการก่อการรัฐประหารครั้งหน้าและครั้งสุดท้าย ซึ่งจะนำฝ่ายทหารจาก
กลุ่มเผด็จการฟาสซิสเข้ามาแทน

จิม เทลเล่อร์


วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555



-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ความคิดเห็นของผู้แปล
:

เรื่องนี้ เมื่อท่านอ่านแล้ว กรุณาใช้วิจารณญาณด้วยว่า มีความเป็นไปได้สูงแค่ไหน คุณจิม ได้ข้อมูลในเชิงลึกจากบุคคลที่มีความใกล้ชิดทางการเมืองและทางการทหาร ฉะนั้น ขอพิจารณาด้วยว่า มีข้อเท็จจริงประการใด ดิฉันเพียงแต่เสนอข้อคิดของคุณจิมให้ท่านทราบเท่านั้นเอง


ดิฉันคิดว่า ถ้าผู้นำทางกองทัพ ยังคิดว่า การก่อการรัฐประหารนั้น เป็นผลดีต่อประเทศชาติ ก็ควรจะเตรียมตัวรับกับกองทัพของประชาชนในคราวต่อไป เพราะประชาชนคงจะไม่ยอมในเรื่องเหล่านี้แน่ๆ โดยเฉพาะการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ


ไม่ทราบเหมือนกันว่า ทำไม จะต้องให้เกิดก่อนวันที่ 24 มิถุนายน 2555 ด้วย หรือว่า ไม่ต้องการให้ประชาชนทำการฉลองครบรอบ 80 ปี (2475) ของการปฎิวัติครั้งแรกของประเทศ ?


เรื่องสุดท้ายที่ควรจะวัง คือ การปลุกม๊อบคลั่งชาติในเรื่องการตัดสินจากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเกี่ยว กับคดีเขาพระวิหาร ซึ่งพวกนี้กำลังก่อการกระทำให้กลายเป็นเรื่องลุกลามขึ้นมา


Doungchampa Spence
r
Doungchampa Spencer - https://www.facebook.com/doungchampa