วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
พัทยา/ป่วน! แดงพัทยารวมตัวนับ 30 คน ไล่ด่า "ตั๊ก บงกช" ขณะถ่ายหนังต้องยกกองหนีกลางคัน
“ตั๊ก
บงกช” ยกกองถ่ายทำหนังที่เมืองพัทยา ถูกกลุ่มคนเสื้อแดงพัทยา
รวมตัวขับไล่ตามด่ายับ แค้นหลังโพสต์ข้อความซ้ำเติม อากง ลงในเฟซบุ๊ก
ทำเอากองถ่ายล่มกลางคัน
ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "อากง"
ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "อากง"
การเรียกร้อง 112 ต้องแรงขึ้น
http://www.youtube.com/watch?v=Nqd4C36md_0อากงตายแล้วอย่างไร้ความเป็นธรรม
http://www.youtube.com/watch?v=SwdPya2QlhI&feature=relmfuอากง ตายเพราะราชทัณฑ์
http://www.youtube.com/watch?v=gq-8Te97BFw&feature=relmfuคนดีต้องปล่อยคนที่โดนมาตรา 112
http://www.youtube.com/watch?v=QSQPtqSDseQ&feature=relmfuลิเกสยาม
ลิเกสยาม
“อากงSMS”คือตัวอย่างล่าสุดของสองมาตรฐานในระบบยุติธรรมไทย ในขณะที่นายสนธิ ลิ้มทองกุลได้ประกันตัวในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่อากงไม่ได้ประกันตัวในคดีเดียวกันจนเสียชีวิตในคุก เมื่อเทียบกับผู้ต้องหาคดีฆาตกรรมที่ร่ำรวยอย่าง“กำนันเป๊าะ”ซึ่งหลบหนีหลัง ได้รับประกันตัว ก็ยิ่งชัดเจนว่าคุกไทยมีไว้ขังคนจน
คณะกรรมการนอนหลับทับสิทธิมนุษยชน
ความล้าหลังของระบบยุติธรรมไทยโด่งดังในต่างประเทศทั้งจากการรายงานข่าว ของสำนักข่าวต่างชาติและจากภาพยนตร์ฮอลลีวูดมานานแล้ว อาทิ ข่าวคดีเพชรซาอุ ข่าวอาชญากรข้ามชาติอาศัยอยู่ในประเทศไทย ข่าวคดีนายราเกซ สักเสนา ภาพยนตร์ที่นำเสนอว่าผู้ต้องหาโดนหลอกให้รับสารภาพผิด[1] กรณีอากงเสียชีวิตในคุกด้วยคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็เป็นที่สนใจของหนังสือ พิมพ์ต่างชาติแม้กระทั่งหนังสือพิมพ์ธุรกิจอย่างไฟแนนเชียลไทม์ โดยรวมแล้วระบบยุติธรรมไทยวิวัฒนาการช้ากว่าบริการรถไฟของรฟท.หลายร้อยปี แม้ว่ารถไฟของรฟท.หวานเย็นเชื่องช้าแต่รถไฟชั้น 1 และชั้น 3 ก็ถึงปลายทางพร้อมกัน ส่วนระบบยุติธรรมไทยยังล้าหลังเท่ายุคกาลิเลโอเมื่อ 380 ปีที่แล้ว ในขณะที่องค์กรสิทธิมนุษยชนต่างชาติแถลงการณ์เรียกร้องความยุติธรรมให้อากง แต่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไทยนอนหลับทับสิทธิอยู่ที่ไหนไม่ปรากฎ
โครงสร้างคณะกรรมการสิทธิฯเองก็มีปัญหา คณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิฯมีจำนวน 7 คน ประกอบด้วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจำนวน 1 คน และบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกจำนวน 1 คน ทำหน้าที่สรรหาและคัดเลือกคณะกรรมการสิทธิฯจำนวน 7 คน ด้วยมติที่มีการลงคะแนนโดยเปิดเผยและมีคะแนนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ แล้วเสนอรายชื่อผู้ได้รับเลือกพร้อมความยินยอมของผู้นั้น ต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงข้างมาก โดยวิธีลงคะแนนลับ [2]
กระบวนการสรรหาดังกล่าวแสดงว่าคณะกรรมการสิทธิฯอยู่ภายใต้อำนาจศาล ทั้งๆที่ตามหลักการประชาธิปไตยแล้วคณะกรรมการสิทธิฯต้องคานอำนาจศาลเพื่อ สร้างความก้าวหน้าให้ระบบยุติธรรม ด้วยเหตุนี้สำนักงานคณะกรรมการสิทธิฯจึงเหมือนหน่วยราชการที่ซ้ำซ้อนกับศาล สถานะองค์กรอิสระของสำนักงานดังกล่าวเป็นเพียงรูปลักษณ์ภายนอกหรือเรียกได้ ว่าเป็นองค์กรอิสระแบบไทยๆ โครงสร้างคณะกรรมการสิทธิฯคล้ายคลึงกับคณะลิเกที่มีพล็อตสะท้อนสังคมเจ้าขุน มูลนายในอดีต คณะกรรมการสิทธิฯเปรียบได้ดั่งฉากหนึ่งใน“ลิเกสยาม”
จริยธรรมในลิเกสยาม
องค์ประกอบสำคัญของ“ลิเกสยาม”คือการอ้างอิงจริยธรรม รัฐบาลสุรยุทธ์ปรับโครงสร้างคณะกรรมการสิทธิฯและบัญญัติประมวลจริยธรรม กรรมการสิทธิฯและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิฯเพื่อให้ดูเหมือน ว่าคณะกรรมการสิทธิฯมีประมวลจริยธรรมทัดเทียมกับองค์กรอิสระในประเทศที่ พัฒนาแล้ว[3] แต่สาระสำคัญทีสุดของประมวลจริยธรรมคือความศักดิ์สิทธิ์ของประมวลจริยธรรม ความศักดิ์สิทธิ์ของประมวลจริยธรรมเหมือนความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายตรงที่ ว่ามาจากการบังคับใช้ การอ้างอิงจริยธรรมโดยไม่บังคับใช้ไม่สามารถทำให้ประมวลจริยธรรม ศักดิ์สิทธิ์ ความเงียบของคณะกรรมการสิทธิฯต่อความเลือดเย็นในคดีอากงและคดีอื่นๆอีกมาก มายทำให้ประมวลจริยธรรมเป็นเพียงสคริปต์ลิเกสยาม
ส่วนบทความ“อากงปลงไม่ตก”ของโฆษกศาลยุติธรรมอ้างอิงจริยธรรมอย่างลึกซึ้ง กว่าประมวลจริยธรรมของคณะกรรมการสิทธิฯ[4] ถ้ากระบวนการยุติธรรมใช้การ"ปลง”เป็นบรรทัดฐานแทนการ“พิสูจน์”หลักฐาน ก็จะแปลว่าผู้พิพากษาคือนักบวชในชุดครุย และจะแปลว่าระบบยุติธรรมไทยในปัจจุบันคล้ายคลึงกับระบบยุติธรรมของคริสตจักร เมื่อ 380 ปีที่แล้วที่ปฏิเสธการพิสูจน์หลักฐานและพิพากษาให้กาลิเลโอโดนกักบริเวณจน ตาย
ในความเป็นจริงไทยไม่ใช่รัฐศาสนา แม้ไทยมีการถ่ายทอดพิธีกรรมทางศาสนา(เช่น พิธีกรรมวันพืชมงคล พีธีกรรมวันมาฆบูชา)ด้วยโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจเหมือนซาอุดิอาระเบียซึ่ง เป็นรัฐศาสนาที่ปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช แต่รัฐธรรมนูญไทยไม่กำหนดให้ศาสนาใดเป็นศาสนาประจำชาติและพลเมืองไทยนับถือ หลายศาสนา ดังนั้นการอ้างอิงหลักปฎิบัติของศาสนาใดศาสนาหนึ่งให้เป็นบรรทัดฐานของระบบ ยุติธรรมราวกับว่าไทยเป็นรัฐศาสนาแบบซาอุดิอาระเบียจึงเป็นเรื่องที่ขัดกับ สถานะของประเทศในปัจจุบัน
สายลมปฎิรูป
ข่าวอากงเสียชีวิตในคุกทำให้เกิดเสียงเรียกร้องให้ปฏิรูประบบยุติธรรม กล่าวคือ การปฎิรูปม.112 การปฎิรูปด้านสิทธิผู้ต้องหาและนักโทษซึ่งครอบคลุมถึงสิทธิในการรับบริการ สาธารณสุข ดิฉันเห็นด้วยกับข้อเสนอทั้งหมด ขอเสนอเพิ่มเติมว่าน่าจะลดอำนาจศาลในการสรรหาคณะกรรมการสิทธิฯ และน่าจะช่วยกันตามหาคณะกรรมการสิทธิฯ ไม่รู้ว่าป่านนี้คณะกรรมการสิทธิฯดำดินหายสาบสูญไปจากศตวรรษที่ 21 แล้วหรือยัง?
ดิฉันหวังว่าสายลมปฎิรูปจะไม่แผ่วเบาจนไปไม่พ้นลิเกสยาม
(ที่มา)
http://prachatai.com/journal/2012/05/40466
ใบตองแห้งออนแอร์ 12พฤษภาคม55
ใบตองแห้งออนแอร์ 12พฤษภาคม55
(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=twpSYZELwZg#!
ผู้ชนะทำไมต้องปรองดอง
http://www.youtube.com/watch?v=qdvXIpBW5VE
พี่สอนน้อง "โด่ง อรรถชัย" จดหมายถึง "ตั๊ก บงกช" กรณี "อากง" ดาราควรอยู่ข้างประชาชน
พี่สอนน้อง "โด่ง อรรถชัย" จดหมายถึง "ตั๊ก บงกช" กรณี "อากง" ดาราควรอยู่ข้างประชาชน
โด่ง-อรรถชัย
อนันตเมฆ
จากกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในกรณีที่ ในสังคมโซเชียล เน็ตเวิร์ก ในช่วงวันที่ 9 พฤษภาคมถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2555 มีการโพสต์รูปข้อความทางเฟซบุ๊ก ในชื่อ "บงกช คงมาลัย" ซึ่งไปตรงกับชื่อของนักแสดงนางเอกสาวชื่อดัง ตั๊ก - บงกช คงมาลัย ซึ่งเป็นข้อความที่แสดงความเห็นที่รุนแรงในกรณีการเสียชีวิตของ "อากง" (คลิกอ่านได้ในข่าวนี้ "แม่เล็ก"แจง"ตั๊กบงกช"โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุลูกสาวรัก"พ่อ"มาก ยอมตายเพื่อปกป้อง )
จากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เอง ในเพจ "Red Intelligence" ได้นำจดหมายของดารารุ่นพี่ "โด่ง-อรรถชัย อนันตเมฆ" เขียนถึงดาราสาว ซึ่งทางเพจได้อ้างว่า นำมาจากเฟซบุ๊ค Attachai Anantameak :Poppy มีข้อความดังนี้คือ
"จดหมายถึงตั๊ก จากพี่โด่ง อรรถชัย อนันตเมฆ ผ่านเฟซบุ๊ค Attachai Anantameak :Poppy
เรื่อง..... ตั๊กคงไม่รู้
ตั๊ก คงไม่เข้าใจเรื่องอากง มันไม่ใช่อย่างที่ตั๊กแสดงความคิดออกมา
ตั๊ก รู้ไหมว่าอากงไม่ใช่คนเสื้อแดง .... ??????
ตั๊กรู้ไหม ว่าอากงรักในหลวงเหมือนตั๊ก .....???????
(ที่บ้านอากงมีหลักฐานมากมาย ที่พี่เห็นในภาพอาจมากกว่าที่บ้านตั๊กซะด้วยซ้ำ)
ตั๊กรู้ไหมว่า อีมี่ โทรศัพท์ มือถือ ที่ใช้เป็นหลักฐานมัดอากงนั้น มันปลอมได้ (มาบุญครองทำซ้ำขายมากมาย)
ตั๊กรู้ไหมว่า อากงส่งเอสเอ็มเอสหมิ่นดังกล่าวไปยังเลขาอภิสิทธิ์
ตั๊กคิดไหมว่า หากใครสักคนต้องการส่งข้อความหมิ่นเพื่อให้เกิด ความเสียหายแก่สถาบัน เขาจะส่งไปยังเลขา "ส่วนตัว" นายกเพื่ออะไร
ตั๊ก.... แล้วตั๊กคิดว่า เบอร์โทรศัพท์ ของเลขา "ส่วนตัว" ของนายกนี่มันหามาส่งกันง่ายๆ หรือ แม้แต่ในศาลก็ยังไม่ได้พิสูจน์ว่าอากง รู้เบอร์นายสมเกียรติ "เลขาส่วนตัว" นายกนั่นได้อย่างไร
ตั๊กรู้ไหมว่า กระบวนการพิจารณาของศาลไทย เป็นระบบกล่าวหา...
ตั๊กรู้ไหม ว่า จากระบบกฎหมายดังกล่าว หากตั๊กตกที่นั่งเดียวกับอากง ตั๊กก็คงลำบาก
ตั๊กรู้ไหมว่า หากศาลยังไม่ตัดสินถึงที่สุด ตามกฎหมายยังถือว่า อากงบริสุทธิ์ และ อากงติดคุกอยู่ในฐานะคนบริสุทธิ์ จนตาย (ยังมีคนที่ติดอยู่ในคุกในสภาพนี้อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะคนไม่มีวาสนา)
ตั๊กรู้ไหม ว่า การรับสารภาพของอากง เป็นสิ่งที่ทนายแนะนำ เพราะ จะทำให้ติดคุกน้อยกว่าการยืนหยัดต่อสู้ความจริง
ตั๊กเข้าใจเรื่องการประกันตัวไหม รู้เรื่อง เขาให้กำนันเป๊าะ วัฒนา อัศวเหม ประกันตัว ไหม
กระบวนการยุติธรรมไทยปัจจุบัน ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐมาก เปิดช่องให้ ผู้มีอำนาจ ผู้มีวาสนา ผู้ถือกฎหมาย เจ้าหน้าที่รัฐ มากมาย ด้วยคำว่า ดุลยพินิจ
ซึ่งบ่อยครั้ง ดุลยพินิจ ทางราชการ กับ ดุลยพินิจ ของประชาชนไม่ตรงกัน
ในกรณีของอากง ศาลใช้ดุลยพินิจ ว่า กลัวอากงหลบหนี จึงไม่ให้ประกัน ในขณะเวลาเดียวกัน สนธิ ลิ้มทองกุล ศาลให้ประกัน ทั้งที่อัตราโทษ 85 ปี มากกว่า อากง ถึง 70 ปี (อากงโทษจำคุก 15 ปี)
เราคงไม่ตำหนิดุลยพินิจของศาล .... (เพราะห้ามวิจารณ์)
แต่ถามจริงๆ ในดุลยพินิจของตั๊ก ใครมันจะอยากหนีมากกว่ากัน ระหว่างคนที่มีโทษจำคุก 85 ปี กับ 15 ปี
และถ้าหาก เหตุการณ์นี้ ตกมาที่ตั๊กและญาติมิตรในอนาคต ตั๊กจะทำอย่างไร
แท้จริง ประเด็นของอากง มันเกี่ยวข้องกับคำถามที่ว่า "อากงผิดจริงหรือไม่" ไม่ใช่ เรื่อง "หมิ่นสถาบัน" อย่างที่ตั๊กเข้าใจ
ตั๊กรู้ไหมว่าการเมืองมันเป็นเรื่องสกปรก
ตั๊กเคยรู้หรือไม่ว่าตลอดเวลามีคนใช้สถาบันเป็นเครื่องมือทางการเมือง ในการใส่ร้ายฝ่ายตรงกันข้าม
ตั๊กเคยได้ยิน เรื่อง ที่คนตะโกนในโรงหนัง ว่า "ปรีดี ฆ่าในหลวง" ไหม (ไปหาอ่านได้ตามเว็บไซต์ต่างๆ พิมพ์ในกูเกิ้ลก็น่าจะมี)
ตั๊กคิดว่าพวกที่ใช้สถาบันเป็นเครื่องมือ กับ อากง ใครเป็นภัยต่อในหลวงมากกว่ากัน ถ้ารักในหลวง ตั๊กควรทำอย่างไร
ตั๊ก - บงกช
คงมาลัย
สุดท้าย อยากให้ตั๊กรู้ว่า คนที่ออกมาต่อสู้เรื่องอากง ไม่ได้มีแต่คนเสื้อแดง แต่มีนักวิชาการ อาจารย์ มากมาย ที่ไม่ใช่คนเสื้อแดง ตั๊กรู้ไหมว่าพวกเขาไม่ได้มาต่อสู้พียงเพื่ออากง แต่เขามาต่อสู้เพื่อ ตั๊ก และ ครอบครัวด้วย
แท้จริงพวกเขามาต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิของคนไทย ต่อสู้เพื่อมนุษย์ทุกคนที่อาจไม่ได้รับความเป็นธรรมจากระบบกฎหมายไทยที่ยังมีข้อบกพร่อง จนอาจเป็นเครื่องมือของใครต่อใครที่มีอำนาจ ซึ่งในที่สุด เมื่อสังคมมีกระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรม ทุกคนก็จะได้รับประโยชน์ แม้แต่ตั๊ก ครอบครัวของตั๊ก ลูกของตั๊กในอนาคต สามีตั๊ก คนที่ตั๊กรัก แม้แต่คนเสื้อทุกสี ก็จะได้รับประโยชน์ จากการต่อสู้ของพวกเขาในครั้งนี้
อยากให้ตั๊กได้รู้ว่า ตั๊กคือคนหนึ่งที่พวกเขาออกมาต่อสู้เพื่อ ....
พี่รู้จักตั๊ก เชื่อว่าแท้จริงแล้ว ตั๊กมีจิตใจที่ดี ตรงไปตรงมา และ เป็นคนรากหญ้า เชื่อว่าที่ตั๊กโพสต์ออกมาแบบนั้น ก็เพราะ ตั๊กไม่รู้ ดังนั้น ตั๊กต้องขจัดความไม่รู้ ความไม่เข้าใจ โดยด่วน
ตั๊กไม่ใช่คนโง่ แต่ที่ตั๊กไม่รู้ พี่วิเคราะห์ว่าเพราะตั๊ก "ไม่ฟัง"
และ การไม่ฟังอาจเกิดจาก "อคติ"
เราเป็นดารา มีชีวิต มีอาชีพวันนี้ได้ แท้จริงก็เพราะประชาชน
เราเป็นคนของประชาชน ต้องรักประชาชน ประชาชนทุกคน มีบุญคุณกับตั๊ก "ไม่เว้นแม้แต่อากง"
พี่เชื่อว่า ในช่วงชีวิตอากง อากงและครอบครัว ต้องเคยสนับสนุนตั๊กบ้าง ไม่มาก ก็ น้อย
น้าทอม ดันดี เคยพูดว่า "ข้าวชามน้ำจอก ที่ชาวบ้านให้เรากิน เราอย่าลืมบุญคณ"
แค่ขจัดอคติที่มีกับประชาชน รับฟังพวกเขาบ้าง แค่นี้ก็ดีมากแล้ว
หวังว่าตั๊กคงได้อ่านที่พี่เขียน และทบทวนสิ่งที่ตัวเองคิดให้ดี เชื่อพี่ รักประชาชน กตัญญูต่อประชาชน รับใช้ประชาชน อยู่ข้างประชาชน แล้วจะเจริญอย่างมีเสรีภาพ ครับ
พี่โด่ง"
(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1336719482&grpid=00&catid=03&subcatid=0305
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)