หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

[คลิป]หลากมุมมองต่อบทบาททางการเมืองของขบวนการแรงงานไทย

[คลิป]หลากมุมมองต่อบทบาททางการเมืองของขบวนการแรงงานไทย

 

http://voicelabour.org/wp-content/uploads/2012/02/42.jpg

 

20100617 seminar on political stance of labour movement [highlighted]

http://www.youtube.com/watch?v=ilgqfTBsi5Y&feature=player_embedded 


(17 มิ.ย.55) สัมมนาเรื่อง “บทบาททางการเมืองที่ควรจะเป็นของขบวนการแรงงานไทยในสถานการณ์ทาง การเมืองปัจจุบัน” ในโอกาสรำลึก 21 ปี การสูญหายของทนง โพธิ์อ่าน ผู้นำแรงงานที่ถูกอุ้มหายในยุค รสช. จัดโดย มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ดำเนินรายการ โดย ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการแรงงาน ผู้ร่วมอภิปราย ประกอบด้วย

ไพโรจน์ พลเพชร คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายแรงงาน

สาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิ
สาหกิจสัมพันธ์

พรมมา ภูมิพันธ์ ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานอุ
ตสาหกรรมเบอร์ล่า

ชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลู
กสภาแรงงานแห่งประเทศไทย

ยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่
งประเทศไทย 

เปรมศักดิ์ เพียยุระ อดีตประธานคณะกรรมาธิ
การการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร

วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์
แรง
งานไทย

จิตรา คชเดช สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ

 

(ที่มา)

http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41120

นิธิชี้ต้องกระจายอำนาจลดความเหลื่อมล้ำปรับตัวอยู่ร่วมประชาคมโลก

นิธิชี้ต้องกระจายอำนาจลดความเหลื่อมล้ำปรับตัวอยู่ร่วมประชาคมโลก

 




(18 มิ.ย.55) นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ "แผ่นดินเดียวกันแต่เหมือนอยู่คนละโลก: การปฏิรูปประเทศไทยเพื่อการอยู่ร่วม โลกเดียวกับคนอื่น จินตนาการสู่อนาคต" ในการประชุมสังคมวิทยาระดับชาติ ครั้งที่ 4 ที่ รร.มิราเคิลแกรนด์ โดยตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อพูดถึงความสัมพันธ์กับโลกข้างนอก คนไทยมักมองในเชิงการแข่งขัน เช่น เมื่อจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มักมองว่าเราจะแข่งขันกับประเทศสมาชิกได้อย่างไร ทั้งที่ส่วนตัวมองว่า AEC เกิดขึ้นเพื่อให้เราร่วมมือกันเพื่อให้เป็นตลาดที่ใหญ่โตพอที่คนอื่นจะเข้ามาลงทุนต่อ ซึ่งวิธีการมองโลกในลักษณะการแข่งขันดังกล่าวเข้าใจว่าน่าจะมากับวัฒนธรรมอเมริกัน ที่รู้สึกว่าเราต้องเป็นที่หนึ่ง อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงความสัมพันธ์กับคนในประเทศ เรามักนึกถึงความเป็นธรรม

นิธิกล่าวว่า สิ่งที่เป็นปัญหาพื้นฐานที่สุดและมีมานานพอสมควรในไทย คือ ความเหลื่อมล้ำ  ซึ่งเกิดจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่าง รัฐ ทุนและสังคม ที่ขาดความสมดุลต่อกัน โดยอำนาจบางกลุ่ม เช่น รัฐ หรือทุน มีอำนาจในการบริหารจัดการทรัพยากรสูง จนสังคมไม่สามารถถ่วงดุลและตรวจสอบได้ โดยทรัพยากรในที่นี้มีความหมายกว้าง กินความถึงทรัพยากรทางธรรมชาติ ทางเศรษฐกิจ ทางการเมืองและสังคม 

ความเหลื่อมล้ำดังกล่าวเห็นได้จากคำพิพากษาที่ปรับชาวสวนชาวไร่ที่บุกเบิกที่ ซึ่งอ้างว่าไม่ใช่ที่ของเขา ด้วยข้อหาทำให้โลกร้อน เป็นแสนเป็นล้านบาท ท่ามกลางรถยนต์-โรงงานที่ปล่อยควันพิษ แต่ไม่มีใครโดนปรับ ทำให้คนที่จนที่สุดในสังคมกลับเป็นผู้รับผิดชอบโลกร้อนในสังคมเรา รวมถึงตัวเลขแสดงความเหลื่อมล้ำทาง เศรษฐกิจจำนวนมาก แม้แต่งบประมาณบริการของรัฐ เช่น การศึกษา กลุ่ม 20% บนสุดเข้าถึงมากกว่า 10% ขณะที่กลุ่มล่างสุด เข้าถึงน้อยกว่า 10% 

นิธิ กล่าวว่า การจะเปลี่ยนการบริหารจัดการทรัพยากรเสียใหม่ ต้องทำให้อำนาจของการบริหารจัดการกระจายไปยังคนกลุ่มต่างๆ ให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลและประนีประนอมกันเอง โดยการกระจายการบริหารจัดการในเชิงการปกครองให้ลงสู่ท้องถิ่นมากขึ้น จะเป็นกุญแจแรกในการจัดการทรัพยากรด้านอื่นๆ ตามมา อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาพบว่ามีปัญหา คือ อำนาจที่กระจายไปตกกับชนชั้นนำจำนวนน้อยในท้องถิ่น จึงต้องออกแบบความสัมพันธ์เชิงอำนาจในท้องถิ่นใหม่ ให้มีสถาบัน-องค์กรอื่นเข้ามาต่อรองอำนาจได้ รวมถึงต้องให้พลังทางการเงินกับท้องถิ่นมากขึ้น เพื่อจัดการบริหารทรัพยากรในท้องถิ่นเอง 

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41122