หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

"การเมือง"ปี 56 "เดือด"ข้ามศักราช สัญญาณจาก"ป๋าเปรม"

"การเมือง"ปี 56 "เดือด"ข้ามศักราช สัญญาณจาก"ป๋าเปรม"

 



สัปดาห์สุดท้ายปี 2555 การเมืองไทยยังร้อนฉ่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ โดย นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดี ประชุมพนักงานสอบสวนคดี 99 ศพกันอีกครั้ง

ครั้งนี้เป็นการประชุมเพื่อดำเนินคดีข้อหาพยายาม ฆ่า มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 เป็นเจ้าทุกข์ กล่าวหาศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. เป็นผู้กระทำ

ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบ

เท่ากับว่า นอกจากคดี "ร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล" แล้ว ข้อหา "พยายามฆ่า" ยังเป็นอีกกระทงหนึ่งที่ นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ถูกกล่าวหา

และ นับจากนี้เป็นต้นไป ผู้ได้รับบาดเจ็บจะทยอยกันเข้าแจ้งความดำเนินคดี โดยพนักงานสอบสวนมีทีท่าจะดำเนินการเป็นรายคดีซึ่งตามกระแสข่าวที่สะพัด กรมสอบสวนคดีพิเศษรับสำนวนจากตำรวจมาแล้ว

เบื้องต้นระบุว่า มีรายชื่อผู้ได้รับบาดเจ็บในสำนวน 700 ราย ขณะที่มีคำยืนยันว่า ผู้ได้รับบาดเจ็บในช่วงเวลาดังกล่าวพุ่งสูงถึง 2,000 ราย

คดีนี้ย่อมสร้างความร้อนฉ่าให้ฟากฝั่งพรรคประชาธิปัตย์

สำหรับฝ่ายรัฐบาล เรื่องสุดฮอตต้องเร่งดำเนินการ คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ล่าสุดมีการตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติ เพื่อหาทางออกในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ทั้ง นี้หลังจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า หากแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ที่เปิดให้เลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทั้งหมด อาจเข้าข่ายล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับเดิม

โทษฐานล้มล้างรัฐธรรมนูญนั้นสาหัส...ถึงยุบพรรค

มีคำแนะนำว่า การดำเนินการใดๆ กับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน สมควรแก้เป็นรายมาตรา และทำประชามติ

ผลจากคำวินิจฉัยทำให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ต้องสะดุดลงที่วาระ 3 เพราะเกิดข้อสงสัยตามมาหลายประการ โดยเฉพาะการทำประชามติ
  
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1356842726&grpid=01&catid=&subcatid=

สัมภาษณ์ วรดุลย์ ตุลารักษ์ ก่อนค่าแรง 300 ทั้งแผ่นดิน(1 ม.ค.นี้)

สัมภาษณ์ วรดุลย์ ตุลารักษ์ ก่อนค่าแรง 300 ทั้งแผ่นดิน(1 ม.ค.นี้)

 

 


นับตั้งแต่พรรคเพื่อไทยได้ชูนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ทั่วประเทศ ในช่วงเลือกตั้งปีที่แล้ว ได้สร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง โดยพรรคประชาธิปัตย์ในช่วงหาเสียงและหลังจากพรรคเพื่อไทยได้รับการเลือกตั้ง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ได้ออกมากล่าวว่านโยบายนี่จะทำให้คนตกงาน[1] แต่หลังจากนั้นในวันที่รัฐบาลแถลงนโยบายต่อสภานายอภิสิทธิ์[2] ก็ได้ลุกขึ้นอภิปรายทวงนโยบายนี้ โดยอ้างว่า “ท่านได้สร้างความคาดหวังไว้แล้ว ท่านต้องทำ และ ทำทันทีอย่างที่ได้ประกาศไว้" และ ล่าสุด(29 ธ.ค.)นายอภิสิทธิ์[3]  ก็ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลออกระบบการดูชดเชยอุตสหกรรมที่ตกอยู่ภายใต้ความ เสียงจากนโยบายนี้  และยังมองว่ารัฐดำเนินการไปน้อยและไม่ได้ศึกษาถึงผลกระทบที่แตกต่างด้วย

อย่างไรก็ตามการขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศก็เข้าใกล้ความจริงมากแล้ว ซึ่งก่อนหน้านั้นได้มีการขึ้นใน 7 จังหวัดนำร่อง และเมื่อวันที่ 30 พ.ย.ที่ผ่านมาก็ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วว่าให้จังหวัดที่เหลือมี การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ในวันที่ 1 ม.ค.56 นี้ จึงยิ่งก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในส่วนที่สนับสนุนและคัดค้าน โดยเฉพาะบรรดาภาคธุรกิจที่ออกมาขู่ว่าจะมีการย้ายฐานการผลิตปิดโรงงาน เป็นต้น แน่นอนว่านโยบายที่จะมีการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท นี้ไม่ได้เป็นเพียงการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างขั้นต่ำที่ก้าวกระโดดเท่านั้น ยังหมายรวมถึงการขึ้นเท่ากันทั่วประเทศ ที่จากเดิมมีการแบ่งโซนค่าจ้าง สิ่งนี้จะคาดการณ์ได้ว่าย่อมส่งผลต่อโครงสร้างตลาดแรงงานและระบบเศรษฐกิจใน อนาคตอย่างแน่นอน ดังนั้น ก่อนจะถึงวัน ดี-เดย์ 1 ม.ค.นี้ ทางประชาไท จึงได้สัมภาษณ์คุณวรดุลย์ ตุลารักษ์ นักวิจัยด้านเศรษฐกิจและแรงงาน เพื่อพิจารณ์นโยบายนี้ และมองไปข้างหน้าประเทศไทยหลัง 300 บาททั้งแผ่นดินว่าหน้าตาจะเป็นอย่างไร

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/12/44448