หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2557

รำลึก พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รายงานเสวนา กองทัพ การเมือง ประชาธิปไตย

รำลึก พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รายงานเสวนา กองทัพ การเมือง ประชาธิปไตย





นักวิชาการ-ทหาร วิพากษ์ปฏิรูปการเมืองไทยต้องปฏิรูปกองทัพ ชี้กองทัพไทย อิงแอบสถาบันกษัตริย์ แทรกแซงการเมือง ขาดสำนึกประชาธิปไตยและขาดความเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของความเป็นพลเมือง 
 

"วันนี้กองทัพต้องปฏิรูปตั้งแต่การเรียน โดยเฉพาะการพัฒนาเรื่องการฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา ที่ถูกปลูกฝังกันมานาน บางครั้งไม่สนใจว่าเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่และไม่สามารถโต้แย้ง วัฒนธรรมดังกล่าวต้องเปลี่ยนด้วยการทำให้เป็นทหารอาชีพ

มี คนกล่าวไว้ว่าหากจะปฏิรูปการเมือง ถ้าไม่ปฏิรูปกองทัพจะไม่มีวันได้รับความสำเร็จเลย นั่นหมายความว่าทุกประเทศที่ต้องการพัฒนาไปสู่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริงต้อง ปฏิรูปกองทัพเสียก่อน"

พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย
กล่าวในงานเสวนา 'กองทัพ การเมือง ประชาธิปไตย' เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 54

(อ่านต่อ)

ฮ่องกง เผด็จการกับความเหลื่อมล้ำ

ฮ่องกง เผด็จการกับความเหลื่อมล้ำ



ภาพจาก South China Morning Post 
โดย ใจ อึ๊งภากรณ์ 


นักศึกษาฮ่องกงที่ออกมาประท้วงเพื่อประชาธิปไตย ออกมาประท้วงเรื่องความเหลื่อมล้ำและฐานะทางเศรษฐกิจด้วย เพราะทั้งๆ ที่จีนเคยประกาศว่าจีนกับฮ่องกงเป็น “ประเทศเดียว สองระบบ” แต่ในความเป็นจริงทุนนิยมจีนเริ่มเข้ามาครอบงำฮ่องกง และในขณะเดียวกันมีการพยายามปิดกั้นสิทธิเสรีภาพตามรูปแบบเผด็จการจีน อย่างไรก็ตามสื่อมวลชนและอินเตอร์เน็ดฮ่องกงยังมีเสรีภาพมากกว่าในจีนแผ่น ดินใหญ่

หลายคนมองว่า เหลียง ชุน หยิง ผู้ว่าการเกาะฮ่องกง เป็นแค่ตัวแทนของจีนแผ่นดินใหญ่ และบริหารฮ่องกงเพื่อผลประโยชน์กลุ่มทุนจีนและนายทุนจีน

ล่าสุดมีข่าวอื้อฉาวว่า เหลียง ชุน หยิง กอบโกย 50 ล้านดอลล่าฮ่องกงเข้ากระเป๋าตนเองจากข้อตกลงกับบริษัทออสเตรเลีย

ประยุทธ์ไปเยี่ยมเพื่อนแท้ที่พม่าเพราะที่อื่นต่างรังเกียจ

ประยุทธ์ไปเยี่ยมเพื่อนแท้ที่พม่าเพราะที่อื่นต่างรังเกียจ



Armored-personnel-carriers-participate-in-a-parade-during-the-68th-anniversary-celebrations-of-Armed-Forces-Day-in-Naypyidaw-Myanmar-Wednesday-March-27-2013.Members-of-Burmas-militar-006
โดย ใจ อึ๊งภากรณ์


ประเทศส่วนใหญ่ในโลกที่เป็นประชาธิปไตย รังเกียจและไม่อยากคบหัวหน้าเผด็จการไทย ประยุทธ์จึงจำเป็นต้องไปสร้างภาพน่าสมเพชว่าเป็น “รัฐบุรุษสากล” โดยการไปเยือนต่างประเทศได้ แต่ในความเป็นจริงรัฐบาลเพื่อนแท้ของเผด็จการมือเปื้อนเลือดประยุทธ์มีน้อย เหลือเกิน อันดับหนึ่งคือพม่า

การที่ผู้นำไปเยือนประเทศอื่น ส่วนใหญ่เป็นการสร้างภาพที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่ดีเท่านั้น บางครั้งผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งอาจพาทีมผู้เชี่ยวชาญและนักลงทุนไปด้วย แต่เผด็จการไทยตอนนี้ทั้งขาดความชอบธรรมและขาดความสามารถ


แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ความใกล้ชิดระหว่างประยุทธ์กับเผด็จการทหารพม่า มาจากการที่ทั้งสองฝ่ายอยากออกแบบระบบ “ประชาธิปไตยจอมปลอม” ที่มีการเลือกตั้งแต่ไม่มีสิทธิเสรีภาพจริง คือไม่ว่าพรรคไหนจะชนะการเลือกตั้ง อำนาจแท้ยังอยู่ในมือทหาร แถมอาจมีการกีดกันไม่ให้นักการเมืองที่ประชาชนชื่นชมสามารถลงสมัครรับเลือก ตั้งด้วย ศาสตร์มารนี้ทหารพม่าชำนาญมาก ประยุทธ์ก็คงอยากไปแลกเปลี่ยนหาความรู้

ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ไม่ใช่แค่ความเห็นส่วนตัวผม แต่เป็นความเห็นของสื่อต่างประเทศมากมาย รวมถึงหนังสือพิมพ์ชั้นนำ “ไฟแนนเชียลไทมส์” ของนักลงทุนอังกฤษด้วย และเป็นความเห็นของสำนักข่าวรอยเตอร์อีกด้วย

สื่อต่างประเทศมองว่า ไม่ว่าประยุทธ์จะเซ็นข้อตกลงอะไรกับเผด็จการพม่า มันก็เป็นแค่นามธรรมที่ขาดรายละเอียด เพราะการสร้างภาพเป็นเรื่องหลัก

อีกประเด็นหนึ่งที่เป็นจุดร่วมของเผด็จการทหารไทย กับเผด็จการทหารพม่า คือเขาไม่แคร์เหี้ยอะไรกับพลเมืองของตนเอง ทหารพม่าอาจตั้งคำถามกับการที่ตำรวจไทยทำให้แรงงานพม่าเป็นแพะรับบาปในกรณี อาชญากรรมที่เกาะเต่า แต่มันเป็นแค่คำถามตามพิธีกรรมเท่านั้น เผด็จการทหารพม่าไม่สนใจปัญหาพลเมืองพม่าพอที่จะกระจายรายได้และสร้างงานให้ เขา เพื่อนบ้านพม่าจึงต้องข้ามมาฝั่งไทยเพื่อหางานเลี้ยงครอบครัว ในขณะเดียวกันพวกนายพลพม่าก็เสพสุขใช้จ่ายตามวิถีชีวิตเศรษฐี

ส่วนรัฐบาลประยุทธ์ก็พ้อมจะทำให้คนงานพม่าเป็นแพะรับบาป ขับไล้คนงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านออกไป และปล้นสิทธิเสรีภาพจากพลเมืองไทย พร้อมกับทำลายระบบสาธารณะสุขและรายได้ของแรงงานไทย

มิตรภาพระหว่างคนไทยกับคนพม่า หรือกับพลเมืองประเทศเพื่อนบ้านย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่น่ายกย่อง แต่มิตรภาพระหว่างทรราชไทยกับพม่าเป็นอุปสรรค์ต่อการสร้างสิทธืเสรีภาพ ประชาธิปไตยในไทยและในพม่า

ประเด็นสำคัญคือ พลเมืองไทยที่รักประชาธิปไตยจำนวนมากคงเข้าใจสิ่งที่ผมเขียนอยู่แล้ว แต่จะมีสื่อหรือองค์กรทางการเมืองไทยสักกี่แห่งที่กล้าพูดความจริงง่ายๆ แบบนี้

(ที่มา)
http://turnleftthai.wordpress.com/2014/99/ 

วาทะจุดประกาย

วาทะจุดประกาย


 

การปฏิรูปครั้งนี้เป็นการปฏิรูปของชนชั้นนำ ไม่ใช่การปฏิรูปที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขว้าง เพราะตั้งแต่คัดเลือก เสนอชื่อ ประชาชนแทบไม่มีส่วนร่วม และจากนี้อีก 1 ปีข้างหน้า ก็ยังไม่เห็นกระบวนการใดที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมได้

ความรุนแรงในการเลือกตั้งของไทย

ความรุนแรงในการเลือกตั้งของไทย



  
ประจักษ์ ก้องกีรติ : ความรุนแรงในการเลือกตั้งของไทย
https://www.youtube.com/watch?v=IcvjIh7dnMs 
 
เมือวันที่ 6 ต.ค.2557 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานสัมมนาวิชาการในหัวข้อ ‘ความรุนแรงในการเลือกตั้งของไทย: ว่าด้วยอุปสงค์ อุปทาน และตลาดของความรุนแรง’ โดยเชิญ ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาเป็นผู้บรรยาย

เผด็จการ! เตรียมออก พ.ร.บ. ควบคุมการชุมนุม

เผด็จการ! เตรียมออก พ.ร.บ. ควบคุมการชุมนุม


 

ประยุทธ์เตรียมดัน พรบ การชุมนุมฯควบคุมม็อบต้าน อ้างต้องยอมรับกติกา แล้วรัฐประหารไม่ละเมิดกติการึ? กลัวคนมาล้มจนตัวสั่นสินะ


‘บิ๊กตู่’ ลั่นต้องมี พ.ร.บ.ควบคุมการชุมนุม คนไทยต้องยอมรับกติกา ไม่เช่นนั้นประเทศวุ่นวาย

สูตรเลือกนายก! ยิ่งห่างไกลประชาธิปไตย

สูตรเลือกนายก! ยิ่งห่างไกลประชาธิปไตย


 
ชัยอนันต์ นักคิดผู้หวังล้มล้างประชาธิปไตย จุดไอเดียเลือกนายกฯอย่างไร ห่างไกลประชาธิปไตยมากที่สุ


มือกฎหมายรัฐบาล วิษณุ เครืองาม แพลมแนวปฏิรูปประเทศวันก่อน

บอกลายแทงยกเครื่องประเทศไทย

อยากเห็นรัฐบาลที่เข้มแข็ง ในอดีตมีรัฐบาลอ่อนแอ สภาเข้มแข็ง หรือมีรัฐบาลเข้มแข็ง แต่ดันมีสภาอ่อนแอ

พร้อมกับฟันธง แบบคนวงใน ′ผมเชื่อว่าหลังมีรัฐธรรมนูญใหม่ จะมีรัฐบาลเข้มแข็ง เป็นรัฐบาลที่แยกอำนาจจากสภา...′

โมเดลรัฐบาลเข้มแข็ง แยกจากสภา มีหลายรูปแบบ

ที่มองข้ามไม่ได้เด็ดขาดคือสูตรของกลุ่ม ชัยอนันต์ สมุทวณิช

ตอนนี้จัดโปรขายไอเดีย จุดพลุ ′ที่มา′ นายกฯแบบใหม่อย่างคึกคัก

อาจารย์ภูมิใจเสนอ ให้มีที่มาจากเลือกตั้งทางอ้อมอีกสไตล์-ไม่ยึดโยงสภา

สูตรที่ว่านี้ก็คือ

ให้เลือกตั้ง กรรมการเลือกนายกฯจากทั้งประเทศขึ้นมาก่อนลำดับแรก 5 คน

จากนั้น อรหันต์ทั้ง 5 นั่งล้อมวง เลือกนายกรัฐมนตรี

คงเป็นอีกวิธี แก้เกม เลือกตั้งกี่ครั้ง ′พรรคใหญ่′ หน้าเก่า ก็ชนะ!นั่นแหละ


(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1412850743 

กฎอัยการศึก สยามประเทศไทย: ใครได้ ใครเสีย ???

กฎอัยการศึก สยามประเทศไทย: ใครได้ ใครเสีย ???


 
 


Martial Law in Thailand: Good or Bad ?
กฎอัยการศึก สยามประเทศไทย: ใครได้ ใครเสีย ??? (thx to PT)

"ในช่วงเวลาที่ประกาศกฎอัยการศึก
อายุราชการจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
ดังนั้น หากการประกาศกฎอัยการศึกคราวนี้ใช้เวลานาน 1 ปี
ข้าราชการทุกคนจะมีอายุราชการเพิ่มขึ้นอีก 1 ปี
(คำนวณเมื่อเกษียณอายุราชการ หรือออกจากราชการ
เพื่อคิดคำนวณเบี้ยหวัด บำเน็จบำนาญ
และประโยชน์อื่นที่จะได้รับจากทางราชการ)

ด้วยเหตุนี้ ในสมัยสฤษดิ์/ถนอม
ซึ่งมีการประกาศกฎอัยการศึกนานถึง 10 ปี
จึงทำให้ข้าราชการจำนวนหนึ่ง มีอายุราชการเพิ่มขึ้นอีก 10 ปี
และมีสิทธิได้รับเงินบำนาญ เท่ากับเงินเดือน ที่ตนรับอยู่ในเวลาที่เกษียณอายุนั้น"

กล่าวโดยย่อ กฏอัยการศึก เป็นที่ชื่นชอบของ
บรรดา "อมาตยเสนาธิปไตย" และ "รัฐข้าราชการ" ครับ
เพราะ "ได้" เงินภาษีอากรเพิ่ม ไม่ต้อง "เสีย" เหมือน ไพร่ประชามหาชน ทั่วๆ ไป ครับ


cK@MartialLawWhoGetsWhatWhenWhy?
อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

ฝีมือ 4 ประสานนักกฏหมาย ผู้วางโครงสร้างอำนาจให้เผด็จการ

ฝีมือ 4 ประสานนักกฏหมาย ผู้วางโครงสร้างอำนาจให้เผด็จการ
 

"มีชัย ฤชุพันธุ์" ใน คสช. "วิษณุ เครืองาม" ในรัฐบาล "พรเพชร วิชิตชลชัย" ใน สนช.และ "บวรศักดิ์ อุวรรณโณ" ใน สนช.


เป้าหมายและวิธีการจัดการอนาคตของประเทศ เริ่มปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมตามเสียงกระซิบกระซาบในแวดวงสนทนาทางการเมืองขึ้นเรื่อยๆ

มีการบอกเล่ากันว่า อนาคตของการปกครองประเทศจะเป็น "ประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์" 

เป็นการออกแบบให้อำนาจรวมศูนย์อยู่ในคนกลุ่มหนึ่งที่น่าจะเชื่อมั่นได้ว่าจะปกปักรักษาคุณค่าของสังคมไทยแบบดั้งเดิมไว้ 

ภาพที่เป็นรูปธรรมคร่าวๆ คือ "ศูนย์อำนาจ" จะอยู่ที่กับ "ข้าราชการที่มีกลุ่มนำทางความคิดชัดเจน" ผสานกับ "เครือข่ายของกลุ่มทุนเก่าแก่ที่เคยเกื้อหนุนและเป็นรากฐานให้กันและกันมา" อาจะมีกลุ่มใหม่ๆ เข้ามาบ้าง แต่จะเป็น "กลุ่มที่มีสายสัมพันธ์ในทางที่เชื่อมั่นได้ยืนหยัดอยู่กับการสืบทอดอำนาจแบบเดียวกัน" 

เป็นกลุ่มคนที่ได้รับการตีตราว่าเป็นคนดี 

ขณะ เดียวกันจะต้องเป็นการปกครองที่มีมาตรการกีดกัน กลุ่มคนบางกลุ่มที่ขัดขวางอำนาจแบบรวมศูนย์นี้ออกไป ประชาธิปไตยแบบกระจายอำนาจไปให้ใครต่อใครที่ไม่น่าไว้วางใจในหัวนอนปลายตีน และที่มาที่ไป จะเกิดขึ้นอีกไม่ได้

ประชาธิปไตยของประเทศไทยจะต้องเอื้อต่อการเปิด ทางให้คนที่อยู่ในกลุ่มที่ได้รับการตราแล้วว่าเป็นกลุ่มคนดีเข้ามามีอำนาจ ปกครองส่วนคนที่อยู่นอกวงของคนดีจะต้องถูกกันออกไปจนกว่าจะพิสูจน์แล้วว่ามี คุณสมบัติที่จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในกลุ่มที่ตราของคนดี