หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ 'อย่าให้ประชาชนทนไม่ไหว'

ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ 'อย่าให้ประชาชนทนไม่ไหว'
 
 

 
ศาสตราจารย์ธงชัย วินิจจะกูล แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เป็นหัวหน้าคณะตัวแทนประชาชนไทย เข้าพบอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC เพื่อเรียกร้องให้รับคดีปราบปรามประชาชนเมื่อเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553 ไว้ไต่สวนเบื้องต้น

แม้ ICC ยังไม่รับคดีนี้เพราะประเทศไทยยังไม่ลงนามเป็นภาคีในธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ แต่ธงชัยชี้ให้

(คลิกฟัง)

ยุบศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ

ยุบศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ

 

'วรเจตน์' เสนอยุบเลิกศาลรัฐธรรมนูญ

http://shows.voicetv.co.th/news-update 

 

15 ก.ค.55  ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะนิติราษฎร์จัดแถลงข้อเสนอทางวิชาการเรื่อง "การยุบเลิกศาลรัฐธรรมนูญ และการจัดตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ" โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมฟังจนล้นห้องประชุม LT1 


วรเจตน์ ภาคีรัตน์ กล่าวว่า คำวินิจฉัยมีข้อบกพร่องสำคัญในการตั้งประเด็น ประเด็นที่ศาลต้องพิจารณาคือการกระทำของรัฐสภาที่เป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญมี ผลในการล้มล้างการปกครองตามมาตรา 68 หรือไม่ ถ้าไม่มีผล ก็ต้องยกคำร้อง เพียงแค่นี้แล้วก็ไม่ต้องทำอะไรต่อ แต่ศาลกลับเอาประเด็นนี้ไปไว้ในประเด็นที่ 3 แล้วตั้งประเด็นที่ 2 มาแทรกกลาง โดยไม่มีผลและตรรกะเพียงพอ

เมื่อไม่ล้มล้างการปกครองก็สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระสามได้ เป็นประเด็นง่ายๆ ที่ไม่ต้องเรียนกฎหมาย ขอเพียงเป็นคนที่มีสติสัมปชัญญะก็เข้าใจได้ แต่ทำไมศาลถึงตั้งประเด็นและทำแบบนี้ ผมคิดว่าด้านหนึ่งศาลก็รู้ว่าตนเองไม่มีอำนาจวินิจฉัย

เมื่อศาลบอกว่าไม่ล้มล้างการปกครอง แล้วการลงมติวาระสามจะกลายเป็นการล้มล้างปกครอง เช่นนี้เป็นไปได้หรือ แต่ในประเทศนี้อะไรที่เป็นไปไม่ได้ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นอยากเรียนว่าโดยคำวินิจฉัยนั้น จริงๆ ไม่มีผลผูกพันอะไรกับรัฐสภาเลย ต่อให้ยอมรับว่ามีเขตอำนาจ ซึ่งจริงๆ ไม่ควรยอมรับแต่แรก เพราะถ้าลงมติวาระสามแต่แรกก็ไม่มีผลแล้ว เพราะจะไม่มีวัตถุแห่งการพิจารณา และแม้วันนี้จะมีการวินิจฉัยมาแบบนี้ ศาลก็บอกว่าไม่ใช่การล้มล้างการปกครองแล้วจะกลัวอะไร

มีคนบอกว่า ศาลวินิจฉัยแล้ว ผมถามว่าวินิจฉัยตรงไหน อีกอย่างการเขียนมาตรา 68 ก็เป็นปัญหา ถ้าถือตามตัวอักษรต้องสั่งระงับการกระทำ แต่คำวินิจฉัยนี้ก็ไม่มีการสั่งระงับการกระทำ จึงน่าสงสัยมากว่าเราฟังคำวินิจฉัยเรื่องเดียวกันหรือเปล่า ฉะนั้นถ้าเราดูภาพทั้งหมดจาการวินิจฉัยก็จะพบว่ามันมีปัญหา

วรเจตนต์กล่าวต่อว่า เวลาที่เราเสนอเรื่องนี้ เราไม่ได้พูถึงการวินิจฉัยนี้ ไม่ใช่เรื่องคนไม่ได้อย่างใจแล้วออกมาเสนอยุบศาลรัฐธรรมนูญ โดยส่วนตัวได้ติดตามการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่หลังรัฐประหารเป็นต้นมา มีคำวินิจฉัยหลายเรื่องเป็นปัญหาจริงๆ คดีปราสาทพระวิหารที่พูดเรื่องหนังสือสัญญาที่มีผลเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของไทย ศาลก็เติมคำว่า “อาจจะ” แล้วคำว่า “อาจ” นั้นมีหรือในรัฐธรรมนูญ รวมไปถึงคดีทำกับข้าว ถ้าลองย้อนกลับไปดูคดีนี้วินิจฉัยเรื่องความเป็นลูกจ้างก็เอาพจนานุกรมมาดู เป็นความหมายของลูกจ้างอีกแบบไม่ใช่ตามกฎหมายแรงงาน ถ้าอย่างนั้นทุกคนรวมทั้งศาลรัฐธรรมนูญ ด้วยเวลาไปนั่งบรรยายรับสตางค์ก็เป็นลูกจ้างทั้งหมด แต่ผลสุดท้ายการตีความในคำวินิจฉัยนั้นก็ใช้กับคุณสมัครคนเดียวไม่ใช้กับคน อื่นในโลกอีกเลย ในวันที่ยุบพรรคพลังประชาชน มีการแถลงปิดคดี ศาลขึ้นนั่งอ่านคำวินิจฉัยเลย แล้วอ่านอย่างมีข้อผิดพลาดด้วย ถามว่าประชาชนไม่มีสิทธิตรวจสอบเลยหรือว่าทำถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องก็ต้องหาวิธี

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41566

เสวนา: ยุบศาล รธน. และจัดตั้ง 'คณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ'

เสวนา: ยุบศาล รธน. และจัดตั้ง 'คณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ'

 


เสนอยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งตุลาการพิทักษ์รัฐธรรมนูญแทน ทำหน้าที่พิทักษ์ประชาธิปไตยและนิติรัฐ  รักษาความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ โดยการใช้อำนาจนั้นต้องคำนึงถึงอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย หลักการแบ่งแยกอำนาจ และหลักการประกันสิทธิและเสรีภาพ

15 ก.ค. 2555 นักวิชาการกลุ่ม “นิติราษฎร์” จัดการเสวนาหัวข้อ “การยุบเลิกศาลรัฐธรรมนูญ และการจัดตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ” ที่ห้อง LT1 คณะนิติศาสตร์ มธ. โดยมีผู้เข้าร่วมฟังการเสวนาจำนวนมาก ทำให้ต้องขยายการถ่ายทอดไปยังห้อง LT.2

จันทจิรา เอี่ยมมยุรา ได้อ่านเอกสาร อธิาบยว่าคณะนิติราษฎร์เห็นว่าศาลรธน. เป็นองค์กรที่รธน. สร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่รักษาความเป็นกฎหมายสูงสุดของรธน. แต่ศาลรัฐธรรมนูญ ได้ใช้อำนาจไปในทางทีเป็นปรปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ โดยขยายแดนอำนาจของตนออกไปกลายเป็นองค์กรที่อยู่เหนือรัฐสภา ทำลายหลักนิติรัฐ และประชาธิปไตย

เหตุการณ์วันที่ 13 ก.ค. ที่ผ่านมาไม่ใช่เหตุการณ์ครั้งแรก แต่ศาลรธน. ได้ทำลายหลักประชาธิปไตยหลายครั้ง โดยการเพิ่มเติมคำที่ไม่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญเข้าไปในการพิจารณา เช่นกรณีเขาพระวิหาร หรือการพิพากษาให้อดีตนายกรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเป็นพิธีกรรายการ ทำอาหาร และล่าสุด ผิดพลาดอย่างชัดแจ้งมีผลขยายอำนจของตนเองเกินกว่าที่รธน. บญญัติให้และมีผลเป็นการยับยั้งการแก้ไขเพิ่มเติมรธน. ซึ่งเป็นอำนาจของรัฐสภา

จากพฤติการณ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าศาลรธน. คณะนี้ได้ทำลายหลักนิติรัฐและประชาธิปไตยโดยสินเชิง วัตถุประสงค์ของรธน. ไม่อาจะบรรลุได้และถูกทำลายไปโดยศาลรธน. นั้นเอง

และการได้มาซึ่งตลก. ในศาลนั้นขาดความเป็นประชาธิปไตยไม่มีการยึดโยงกับประชาชน ซึ่เงป็นสาระสำคัญของศาลรัฐธรรมนูญในประเทศเสรีประชาธิปไตยทั่วโลก

นอกจากนั้นการถอดถอนตัวบุคคลที่เป็นตลก. ก็ทำได้ยาก เพราะต้องใช้คะแนนเสียง 3 ใน 5 ของสมาชิกวุฒิสภาขณะนั้น

โดยเหตุนี้เสนอให้มีการแก้ไขรธน. เพื่อยุบเลิกศาลรธน. และจัดตั้งคณะตลก. พิทักษ์รัฐธรรมนูญขึ้นจนกว่าจะมีการแก้ไขรธน. ฉบับที่สมบูรณ์ที่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง

แนวทางคือการเสนอชื่อประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 รายชื่อ เพื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41567 

ย้อนอดีต14 ก.ค.พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) ฝูงชนในกรุงปารีสบุกโจมตีคุกบาสตีย์ ในเหตุการณ์การปฏิวัติฝรั่งเศส

ย้อนอดีต14 ก.ค.พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789)
ฝูงชนในกรุงปารีสบุกโจมตีคุกบาสตีย์ ในเหตุการณ์การปฏิวัติฝรั่งเศส








"เกิดขบถขึ้นรึ"
พระเจ้าหลุยส์ที่16 ทรงมีพระราชดำรัสถามมหาดเล็


"หามิได้พระเจ้าค่ะ มันคือการปฏิวัติ"
มหาดเล็กตอบ

14 ก.ค.พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789)
ฝูงชนในกรุงปารีสบุกโจมตีคุกบาสตีย์ ในเหตุการณ์การปฏิวัติฝรั่งเศส

เพื่อปลดปล่อย นักโทษ การเมือง ให้เป็นอิสระ อันคุกบาสติลย์นี้ถือว่าเป็นเครื่องหมายของการบีบบังคับและความอยุติธรรม ซึ่งเกิดจากการปกครอง โดยกษัตริย์ จึงประกาศวันที่ได้รับการปลดปล่อยนี้ให้เป็น วันชาติของฝรั่งเศส (La Fête Nationale)





"ไม่มีขนมปังก็กินเค้กแทนซะสิ"
"Let them eat cake!" (Qu'ils mangent de la brioche.)

พระนางมารี อ็องตัวแน็ต
ตอบเมื่อประชาชนผู้ยากไร้ที่ตะโกนว่า "พวกเราหิว พวกเราต้องการขนมปัง.."

Marie Antoinette (November 2, 1755 – October 16, 1793)
เจ้าหญิงแห่งฮังการีและโบฮีเมีย อาร์ชดัชเชสแห่งออสเตรีย อดีตพระราชินีแห่งฝรั่งเศส และนาวาร์ (แคว้นบาสก์ในปัจจุบัน) (พ.ศ. 2317 – พ.ศ. 2336) รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า มารี-อ็องตัวแน็ตแห่งออสเตรีย พระนางถูกประหารด้วยกิโยตินระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส

Source : http://en.wikiquote.org/wiki/Marie_Antoinette

คลิปสารคดี: The French Revolution ทางช่อง History
 
เมื่อวานวันชาติฝรั่งเศสมีการฉลองสาธารณรัฐ

ประชาชนชาวฝรั่งเศสจะร่วมกันรำลึกถึง การก่อตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศส เป็นวันที่เปรียบเสมือนกับรากเหง้าประวัติศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง วัน Bastille 14 กรกฏาคม คุก Bastille ที่คุมขังนักโทษทางการเมืองถูกทำลายโดยพลังประชาชน เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ ของการสิ้นสุดการปกครองแบบราชาธิปไตยในประเทศฝรั่งเศส และเริ่มต้นศักราชของการปกครองแบบสาธารณรัฐเป็นครั้งแรก มีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1789 บรรดาเหล่าขุนนางในระบอบการปกครอง แบบราชาธิปไตยเปิดประชุมสภาขุนนางทันทีที่ พวกเขาได้ข่าวว่า บรรดาชนชั้นกรรมมาชีพ ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของสังคมฝรั่งเศสใน สมัยนั้น เรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้เป็นระบอบสาธารณรัฐ รวมทั้งให้มีการ ร่างรัฐธรรมนูญและก่อตั้งรัฐสภาแห่งชาติ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1789



การปฎิวัติฝรั่งเศล

การปฏิวัติฝรั่งเศสไม่ได้จบลงเร็วๆ มีการเดินหน้าบ้าง ถอยหลังบ้าง ผลของการปฏิวัติเปิดทางให้มีการพัฒนาระบบทุนนิยมเต็มใบ และผู้ที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดคือนายทุนใหญ่ซึ่งไม่เคยมีความกล้าหาญที่ จะนำการปฏิวัติแต่แรก

โดย C. H.
 

ในปี ค.ศ. 1789 กษัตริย์หลุยส์ที่ 16 เรียกให้มีการประชุมของ “สามสภา” (สภาพระ สภาขุนนาง และสภาสามัญชน) เพื่อหาทางเก็บภาษีเพิ่มเพื่อจ่ายหนี้ของรัฐบาล แต่ผู้แทนของสภาสามัญชน ซึ่งประกอบไปด้วยคนระดับกลางๆ ไม่ยอมก้มหัวให้พวกชั้นสูง และเมื่อกษัตริย์สั่งให้ปิดการประชุม เขาก็ย้ายไปประชุมในสนามเทนนิสและประกาศตั้งเป็น “สภาแห่งชาติ” พวกคนชั้นกลางในระยะแรกมองว่าต้องแค่ “ปฏิรูป” การปกครองโดยคงไว้ระบบกษัตริย์ พวกนี้ขัดขวางการขยายสิทธิในการเลือกตั้งไปสู่คนธรรมดาระดับล่างด้วย 

เริ่ม มีการก่อตั้งสมาคมต่างๆ เพื่อถกเถียงแลกเปลี่ยนการเมือง เช่น สมาคม จัคโคบิน ซึ่งมีผู้นำสำคัญชื่อ โรบสเบียร์ แต่ท่ามกลางวิกฤตการเมืองและความขัดแย้ง พวกคนจนในเมือง (sans-culottes) กับเกษตกรยากจน ไม่ได้เพิกเฉย มีการร่วมตัวกันและปลุกระดมมวลชนระดับล่างให้ออกมาต่อสู้ โดยเฉพาะเมื่อมีข่าวว่ากษัตริย์จะทำรัฐประหารเพื่อปราบปรามสภาแห่งชาติ ในโอกาสนั้นมวลชนชั้นล่างบุกเข้าไปยึดป้อม บาสเตียล ที่เป็นคุกและคลังแสงอาวุธ

หลังจากนั้นไม่นาน มวลชนสตรีจากย่านยากจนในเมืองปารีส ซึ่งไม่พอใจกับปัญหาข้าวของขาดแคลนและราคาแพง ออกมาเดินขบวนและชักชวนให้ผู้ชายติดอาวุธสองหมื่นคน ร่วมกันเดินไปที่วังแวร์ไซ เพื่อจับกษัตริย์และลากกลับมาที่ปารีส ในปี 1791 ความไม่พอใจของคนชั้นล่างกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มขึ้น และขณะที่คนจำนวนมากเข้าแถวเพื่อลงชื่อเรียกร้องให้ตั้งสาธารณรัฐ “กองกำลังแห่งชาติ” ภายใต้การนำของคนชั้นกลางก็กราดยิงประชาชนตายไปห้าสิบศพ

การ ปราบปรามของฝ่ายชนชั้นกลางที่สองจิตสองใจเกี่ยวกับระบบกษัตริย์ไม่ได้ผล มีการลุกฮือรวมตัวกันของคนจนในเมืองและคนชั้นกลางที่ต้องการปฏิวัติอย่างถอน รากถอนโคน แกนนำตอนนี้กลายเป็นคนอย่าง โรบสเบียร์ และในที่สุดสภาใหม่ ที่ได้รับการเลือกตั้งจากพลเมืองชายทุกคน ก็ประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศสผ่านการยกเลิกและประหารชีวิตกษัตริย์ และการยกเลิกระบบฟิวเดิล 

การปฏิวัติฝรั่งเศสไม่ได้จบลงเร็วๆ มีการเดินหน้าบ้าง ถอยหลังบ้าง ผลของการปฏิวัติเปิดทางให้มีการพัฒนาระบบทุนนิยมเต็มใบ และผู้ที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดคือนายทุนใหญ่ซึ่งไม่เคยมีความกล้าหาญที่ จะนำการปฏิวัติแต่แรก พวกนายทุนจัดการกับคนก้าวหน้าอย่างโรบสเบียร์ แล้วจึงหันไปพึ่งเผด็จการกองทัพภายใต้การนำของนายทหารหนุ่มชื่อ นโปเลียน โบนาพาร์ท


(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/07/blog-post_10.html

รำลึก_ปฏิวัติฝรั่งเศส Jul 14,1789 .flv

http://www.youtube.com/watch?v=JUpLXzv0aME&feature=related 

นิติราษฎร์แถลงข่าว 15ก.ค.55

นิติราษฎร์แถลงข่าว 15ก.ค.55

 



นิติราษฎร์จัดแถลงข่าว 15ก.ค.55ช่วง1

http://www.youtube.com/watch?v=WMkib-k5n6M&feature=related 

นิติราษฎร์จัดแถลงข่าว 15ก.ค.55ช่วง2

http://www.youtube.com/watch?v=5LAE-aee9Yc&feature=related 

นิติราษฎร์จัดแถลงข่าว 15ก.ค.55ช่วง3

http://www.youtube.com/watch?v=gn6Ddq7e78Y&feature=related

นิติราษฎร์จัดแถลงข่าว 15ก.ค.55ช่วง4

http://www.youtube.com/watch?v=MndjMRa47RE&feature=related

นิติราษฎร์จัดแถลงข่าว 15ก.ค.55ช่วง5

http://www.youtube.com/watch?v=L7fiqlaoVys&feature=related 

นิติราษฎร์จัดแถลงข่าว 15ก.ค.55ช่วง6

http://www.youtube.com/watch?v=QOzMEOmnRDY&feature=related

นิติราษฎร์จัดแถลงข่าว 15ก.ค.55ช่วง7

http://www.youtube.com/watch?v=V8YlX4d2ie8&feature=related

นิติราษฎร์จัดแถลงข่าว 15ก.ค.55ช่วง9

http://www.youtube.com/watch?v=kdE0a-tFXuE&feature=related

นิติราษฎร์จัดแถลงข่าว 15ก.ค.55ช่วง10

http://www.youtube.com/watch?v=idQQJmJGbl0&feature=related 

นิติราษฎร์จัดแถลงข่าว 15ก.ค.55ช่วง11

http://www.youtube.com/watch?v=TK6xycyg4cI&feature=related











 

นิธิ เอียวศรีวงศ์ มองการเมืองไทยวุ่นแน่

นิธิ เอียวศรีวงศ์ มองการเมืองไทยวุ่นแน่





 

VoiceNews ประจำวันที่ 14 กรกฎาคม 2555 (22.00 น.)
- นิธิ เอียวศรีวงศ์ชี้การเมืองไทยวุ่น
- อ.สมศักดิ์ชี้ฝ่ายกษัตริย์นิยมชนะในเกมแก้ รธน.
- ฉลอง 223 ปีวันชาติฝรั่งเศส
 
นิธิ เอียวศรีวงศ์ชี้การเมืองไทยวุ่น
นิธิ เอียวศรีวงศ์ ชี้หลังจากนี้การเมืองไทยวุ่นแน่ และพรรคเพื่อไทย จะมีคะแนนนิยมลดลง ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของผู้มีอำนาจในประเทศ
 
อ.สมศักดิ์ชี้ฝ่ายกษัตริย์นิยมชนะในเกมแก้ รธน.
ด้านสมศักดิ์  เจียมธีรสกุล ระบุหากมองเรื่องผลแพ้ชนะ เกมแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้ ฝ่ายกษัตริย์นิยมคือผู้ชนะที่แท้จริง และถือเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ 
 
ฉลอง 223 ปีวันชาติฝรั่งเศส
223 ปี วันชาติฝรั่งเศส ประธานาธิบดี ขอให้ชาวฝรั่งเศสสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ย้ำนี่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการสร้างคุณค่าให้แก่ประเทศ

(คลิกฟัง)
http://shows.voicetv.co.th/voice-news/44683.html

ใบตองแห้งออนแอร์ 14กค55

ใบตองแห้งออนแอร์ 14กค55





จากข้อกล่าวหาตลก ไร้สาระ แม้ศาลยกคำร้อง แต่ศาลก็ได้สถาปนาอำนาจตัวเองไว้เหนือรัฐธรรมนูญ เหนือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมจะใช้อำนาจตามมาตรา 68 ระงับยับยั้งหรือวินิจฉัยว่ารัฐบาลและรัฐสภามีความผิด ตัดสิทธิ ยุบพรรค ได้ทุกเมื่อ

วิกฤติที่คิดว่าคลี่คลายแล้วจึงไม่ใช่หรอกครับ แต่กลายเป็นวางสนุ้กไว้ พร้อมสยองขวัญได้ทุกวัน ไม่จำกัดเฉพาะศุกร์ 13 - ใบตองแห้ง Blogger VoiceTV 14 ก.ค. 55


(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=-gUq809EZEU&feature=share 

14 7 55 ข่าวเที่ยงDNN สัมภาษณ์สดทางโทรศัพท์ รศ สมชาย ปรีชาศิลปะกุล 'แนวทางการแก้ รธน

14 7 55 ข่าวเที่ยงDNN สัมภาษณ์สดทางโทรศัพท์ รศ สมชาย ปรีชาศิลปะกุล 'แนวทางการแก้ รธน 

 

 
 


(คลิกฟัง)
www.youtube.com/watch?v=W4p9CMvAKRI&feature=share

เบื้องหลังทักษิณเจรจา "อำมาตย์แดง" เกมบีบรัฐบาลลูกไก่ในกำมือ

เบื้องหลังทักษิณเจรจา "อำมาตย์แดง" เกมบีบรัฐบาลลูกไก่ในกำมือ

 

 
 
 
การเคลื่อนไหวทั้งบนดินและใต้ดินของเครือข่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังมีจุดมุ่งหมาย 2 ปลายทาง

ทาง แรก ใช้เครือข่ายฝ่าย "แดงอำมาตย์" เจรจากับกลุ่มอำมาตย์ ด้วยการเปิดทางให้รัฐบาล "ยิ่งลักษณ์" และฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อไทยบริหารได้อย่างราบรื่น ไม่ติดล็อกขั้นตอนกฎหมาย

ทาง ที่สอง ใช้แนวร่วมมวลชน "เสื้อแดง" เคลื่อนไหวกดดันฝ่ายอำมาตย์ ให้ "ถอย" ห่างไปจากโครงสร้างอำนาจ ทั้งในฝ่ายองค์กรอิสระ และฝ่ายตุลาการ

ทั้ง 2 ปลายทาง เพื่อเป้าหมายเปิดทางตรงให้ "น.ส.ยิ่งลักษณ์" ทะลุถึงเป้าหมายการเป็นนายกรัฐมนตรีอย่างราบรื่น ครบวาระ เพื่อเป้าหมายทางอ้อมให้ พ.ต.ท.ทักษิณได้รับการคลี่คลายทางคดี และได้เริ่มต้นชีวิตทางการเมือง มีอำนาจอีกหน

การพาดพิงอ้างถึงการ เจรจาระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณกับกลุ่มคน ที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ใช้สรรพนามว่า "ข้างบน" หรือ "พวกเขา" จึงไม่ใช่ไม่มีที่มา


คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
 
(ที่มา)
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1342331991&grpid=09&catid=16&subcatid=1600