การจัดตั้งพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายของชนชั้นกรรมาชีพ
พรรคจะต้องเป็นแหล่งรวมของประสบการณ์และทฤษฎีการ
ต่อสู้ แหล่งรวมของนักเคลื่อนไหวไฟแรง
และเป็นเครื่องมือในการประสานงานและปลุกระดมการต่อสู้ในหมู่กรรมาชีพและคนจน
พรรคเปรียบเสมือน “ลูกสูบ” ไอน้ำ และ “คลังความรู้ของกรรมาชีพ”
เรียบเรียงโดย เรด ชิป(Red ship)
หากถามว่าพรรคการเมืองปัจจุบันเป็นตัวแทนของชนชั้นใด คำตอบคือ “พรรคนายทุน”
ไม่มีพรรคใดเลยที่ต่อสู้บนจุดยืนผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง
บางนโยบายอาจจะเอื้อต่อการลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
ก็เป็นเพียงการสร้างภาพ หรือผลประโยชน์เฉพาะหน้าเพียงช่วงสั้นๆ
นั่นหมายความว่าเรามีแต่พรรคฝ่ายขวาที่เสนอแนวทางทุนนิยมเสรี
และฝ่ายขวาจัดที่เป็นเครือข่ายอำมาตยาธิปไตย หลักใหญ่ 3
ประการในการสร้างพรรคสังคมนิยมของกรรมาชีพ
ซึ่งต่างกับพรรคแบบนายทุนอย่างสิ้นเชิง คือ
พรรคของกรรมาชีพต้องยึดถือผลประโยชน์ทางชนชั้น โดยยึดกรรมาชีพและคนจนเป็นหลัก ต้องไม่เสนอให้มีการสร้างแนวร่วมระหว่างกรรมาชีพกับศัตรูอย่างนายทุนอย่าง ที่ พ.ค.ท. (พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย) เคยเสนอไว้ และพ่ายแพ้ไปในที่สุด หรืออย่างพรรคเพื่อไทยที่เสนอแนวนโยบายประชานิยม
พรรคสังคมนิยมต้องไม่หลงคล้อยตามกระแส “เพื่อชาติ” ซึ่งในรูปธรรมแปลว่า “เพื่อนายทุนและอนุรักษ์ระบบเดิมๆ” พรรคจึงต้องเป็นตัวแทนผู้ใช้แรงงานทั้งมวลในการเรียกร้องอัตราค่าจ้างขั้น ต่ำที่สูงกว่าปัจจุบัน การที่พรรคเพื่อไทยกำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท แต่ประวิงเวลาหลังจากเป็นรัฐบาลเกือบปีครึ่ง ถือเป็นการหลอกลวง เพราะค่าครองชีพสูงขึ้นตลอด ค่าเงินบาทก็ลดลงโดยตลอด
ประการที่สองพรรคจะต้องมีประชาธิปไตยภายใน ไม่ใช่เป็นพรรคของ “ผู้ใหญ่” คนใดคนหนึ่ง ดังนั้นต้องมีโครงสร้างและระเบียบที่ชัดเจนเพื่อให้สมาชิกธรรมดาร่วมกันเป็น ผู้ควบคุมนโยบาย ควบคุมผู้นำ และกำกับการทำงานของผู้แทนพรรคในสภาได้ตลอดเวลา ตรงนี้นอกจากจะต่างกับพรรคนายทุนแล้วจะต่างกับพรรคเผด็จการสตาลิน-เหมาแบบ พ.ค.ท. ด้วย
เราควรเข้าใจว่าขั้นตอนของการตั้งพรรคไม่เกี่ยวอะไรเลยกับ “การไปเชิญผู้มีชื่อเสียงคนโน้นคนนี้มาเป็นหัวหน้า”
ประการที่สามพรรคสังคมนิยมของกรรมาชีพต้องอาศัยเงินทุนที่เก็บจากสมาชิกใน อัตราก้าวหน้า คือสมาชิกที่มีเงินเดือนสูงจ่ายมาก ส่วนสมาชิกที่มีรายได้น้อยจ่ายน้อย แต่ทุกคนต้องจ่ายค่าสมาชิกเพื่อให้พรรคเป็นพรรคแท้ของคนจน ไม่ใช่ไปพึ่งเงินทุนจากที่อื่น หรือจากกลุ่มทุนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และตกเป็นเครื่องมือของใครคนใดคนหนึ่ง
ถึงแม้ว่าพรรคจะมีทุนน้อย แต่สิ่งที่ทำให้ได้เปรียบพรรคนายทุนคือการเป็นพรรคของมวลชนจริง การดึงคนมาสนับสนุนพรรคจึงทำภายใต้นโยบายที่ชัดเจน ผู้สนับสนุนพรรค นอกจากเข้าร่วมภายใต้นโยบายของพรรคแล้ว ยังได้รับการส่งเสริมให้นำตนเอง และมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายด้วย
พรรคของกรรมาชีพต้องยึดถือผลประโยชน์ทางชนชั้น โดยยึดกรรมาชีพและคนจนเป็นหลัก ต้องไม่เสนอให้มีการสร้างแนวร่วมระหว่างกรรมาชีพกับศัตรูอย่างนายทุนอย่าง ที่ พ.ค.ท. (พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย) เคยเสนอไว้ และพ่ายแพ้ไปในที่สุด หรืออย่างพรรคเพื่อไทยที่เสนอแนวนโยบายประชานิยม
พรรคสังคมนิยมต้องไม่หลงคล้อยตามกระแส “เพื่อชาติ” ซึ่งในรูปธรรมแปลว่า “เพื่อนายทุนและอนุรักษ์ระบบเดิมๆ” พรรคจึงต้องเป็นตัวแทนผู้ใช้แรงงานทั้งมวลในการเรียกร้องอัตราค่าจ้างขั้น ต่ำที่สูงกว่าปัจจุบัน การที่พรรคเพื่อไทยกำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท แต่ประวิงเวลาหลังจากเป็นรัฐบาลเกือบปีครึ่ง ถือเป็นการหลอกลวง เพราะค่าครองชีพสูงขึ้นตลอด ค่าเงินบาทก็ลดลงโดยตลอด
ประการที่สองพรรคจะต้องมีประชาธิปไตยภายใน ไม่ใช่เป็นพรรคของ “ผู้ใหญ่” คนใดคนหนึ่ง ดังนั้นต้องมีโครงสร้างและระเบียบที่ชัดเจนเพื่อให้สมาชิกธรรมดาร่วมกันเป็น ผู้ควบคุมนโยบาย ควบคุมผู้นำ และกำกับการทำงานของผู้แทนพรรคในสภาได้ตลอดเวลา ตรงนี้นอกจากจะต่างกับพรรคนายทุนแล้วจะต่างกับพรรคเผด็จการสตาลิน-เหมาแบบ พ.ค.ท. ด้วย
เราควรเข้าใจว่าขั้นตอนของการตั้งพรรคไม่เกี่ยวอะไรเลยกับ “การไปเชิญผู้มีชื่อเสียงคนโน้นคนนี้มาเป็นหัวหน้า”
ประการที่สามพรรคสังคมนิยมของกรรมาชีพต้องอาศัยเงินทุนที่เก็บจากสมาชิกใน อัตราก้าวหน้า คือสมาชิกที่มีเงินเดือนสูงจ่ายมาก ส่วนสมาชิกที่มีรายได้น้อยจ่ายน้อย แต่ทุกคนต้องจ่ายค่าสมาชิกเพื่อให้พรรคเป็นพรรคแท้ของคนจน ไม่ใช่ไปพึ่งเงินทุนจากที่อื่น หรือจากกลุ่มทุนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และตกเป็นเครื่องมือของใครคนใดคนหนึ่ง
ถึงแม้ว่าพรรคจะมีทุนน้อย แต่สิ่งที่ทำให้ได้เปรียบพรรคนายทุนคือการเป็นพรรคของมวลชนจริง การดึงคนมาสนับสนุนพรรคจึงทำภายใต้นโยบายที่ชัดเจน ผู้สนับสนุนพรรค นอกจากเข้าร่วมภายใต้นโยบายของพรรคแล้ว ยังได้รับการส่งเสริมให้นำตนเอง และมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายด้วย