หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2556

ปฏิญญาหน้าศาล อาทิตย์ที่ 31 มีนาคม 2556

ปฏิญญาหน้าศาล อาทิตย์ที่ 31 มีนาคม 2556 



 

เชิญร่วมเสวนาบาทวิถี ฟังการต่อสู้กับคดีประวัติศาสตร์ คดี "จับแพะเผาเซนทรัลเวิล" โดย ทนายอาคม รัตนพจนารถ และคดีประหลาด "ยิ่งจริง ยิ่งหมิ่น" โดย ทนายอานนท์ นำภา ผู้ทำคดีเหยื่อ 112 รายล่าสุด

และเชิญร่วมมอบกำลังใจรับแพะคดีเผา CTW "บายศรีสู่ขวัญรับเพื่อนสู่เสรี" พิเศษ พบกับวงไฟเย็น หน้าศาลอาญา ถนนรัชดา 13.00 เป็นต้นไป ติดต่อสอบถาม 0800861235  

ถ่ายทอดสดโดย ทีมงาน ม้าเร็ว สปีดฮอสทีวี 

สัมภาษณ์พิเศษ "นายใน"

สัมภาษณ์พิเศษ "นายใน"





คน ชั้นสูงเล่นชายรักชายมายาวนาน ส่วนหญิงรักหญิงก็เริ่มเป็นที่เผยออกมาจากวงในสู่ชั้นล่าง แต่พอคนข้างล่างเป็นพวกเนี่ยก็จะออกมาตำหนิว่าทำให้ประเทศเสื่อมเสีย


หัวโบราณได้มีโอกาสชวน ชานันท์ ยอดหงษ์ คุย
เกี่ยวกับหนังสือของเธอที่ชื่อ " 'นายใน' สมัยรัชกาลที่ 6"
ซึ่งกำลังจะ launch ในวันพรุ่งนี้ (30 มี.ค. 56)
และจากนี้ไป คือสิ่งที่เธอต้องการจะบอก จะเล่าให้เราฟัง


 
หัวโบราณ: ทำไมถึงต้องซื้อ/อ่านหนังสือเล่มนี้ ?
ชานันท์: สังคมโดยทั่วไป ตั้งแต่ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 มาแล้ว ก็ได้มีการเมาท์กัน นินทากันลับหลังอยู่แล้วว่า ร.6 มีพฤติกรรมทางเพศยังไง เจ้าของบ้านนรสิงห์เป็นใคร มีความสัมพันธ์กับ ร.6 ลึกซึ้งยังไง ทำไมในราชสำนักจึงมีผู้ชายเยอะจัง ทำไม ร.6 แต่งงานช้า ทำไมพระองค์จึงชอบเล่นละคร ฯลฯ ทว่าไม่มีการศึกษาเป็นกิจ เป็นการกล่าวกันปากต่อปากลอยๆ หนังสือเล่มนี้จึงศึกษาประเด็นที่มีคนเมาท์กันอยู่แล้ว มาหาข้อมูลเอกสารร่วมสมัย ตามระเบียบวิธีการศึกษา วิจัย เพื่อให้สิ่งที่เมาท์กันอยู่นี้ ได้รับการอธิบายในทางวิชาการ วิเคราะห์กับแนวคิดทฤษฎีเรื่องเพศ และประวัติศาสตร์สังคมในขณะนั้น 


หัวโบราณ: คิดว่างานศึกษานี้ ต่างจากที่ Peter Jackson เคยเสนอไว้ก่อนยังไง ?
ชานันท์: เรียกว่าเอา ความรู้จากอาจารย์ Peter Jackson มาอ้างอิงดีกว่า เพราะเคยอ่านผลงานเขาที่วิเคราะห์และตั้งข้อสังเกต เกี่ยวกับเรื่องเพศและพระราชสำนักไทยบ้าง
เอาเข้าจริง ฝรั่ง ชาวตะวันตก รู้เรื่องประวัติศาสตร์ไทยดียิ่งกว่าคนไทยด้วยกัน เหมือน “สลิ่ม” ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ดูข่าวในพระราช สำนัก พระราชประวัติ ร.6 ในหนังสือก็อ้างอิงมาจาก Absolute Dreams ของ Greene และ Chaiyo! ของ พวก Vella ซึ่ง 2 เล่มนี้ ถือว่าเป็น 2 เล่มเกี่ยวกับ รัชกาลที่ 6 ที่สำคัญมาก ถือว่า “คลาสสิค” ก็ว่าได้ ถ้าในโลกภาษาไทย อ่านของใครดี? ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องที่เลือกมาปรุงแต่งมาแล้ว เป็นประวัติศาสตร์นิพนธ์ เฉลิมพระเกียรติล้นเกินจนไม่ได้เห็นความเป็นมนุษย์ของรัชกาลที่ 6 เลย อย่างกับชาดก ปัญหาสังคมไทยในการศึกษาประวัติศาสตร์ คือเรารู้แต่พระราชประวัติ วีรกรรมวีรเวร เรารู้ว่าใครยิงปืนข้ามแม่น้ำสะโตง ใครคาบดาบปีนค่าย แต่ไม่รู้ประวัติศาสตร์ชุมชน/ประชาชน มันเป็นยังไง อันนี้คือปัญหาหนึ่ง อีกปัญหาหนึ่งก็คือพระราชประวัติที่นำเสนอ ก็ถูกเลือกนำเสนอเพียงประเด็นใดประเด็นหนึ่งซึ่งแบนมาก เหมือนตัวละครช่อง 7 แต่ไม่ได้มองความเป็นมนุษย์เลย เรามองข้ามความเป็นมนุษย์ไป อย่างเช่นเรื่อง รัชกาลที่ 5 เลิกไพร่ทาส ก็ไม่ได้มองกันว่าจริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องการช่วงชิงอำนาจจากขุนนาง