หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

จำนำข้าวสไตล์ทักษิณ

จำนำข้าวสไตล์ทักษิณ

 

 

โดย อ.เกษียร เตชะพีระ


นโยบายจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์-ทักษิณ ผมรับได้ในทางการเมือง เป็นการใช้อำนาจรัฐและเงินงบประมาณรัฐแทรกแซงขนานใหญ่เข้าไปในตลาดข้าว ทำให้รัฐกลายเป็นผู้ซื้อรายใหญ่สุด เป้าหมายเพื่อ "เกลี่ย" ผลประโยชน์การค้าข้าวที่เคยจัดสรรแบ่งกันแต่เดิมในหมู่กลุ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเสียใหม่ โดยให้ประโยชน์กับชาวนาบางกลุ่มมากขึ้น ซึ่งก็ย่อมมีผู้เสียประโยชน์ ไม่พอใจและพยายามต่อต้านคัดค้าน เช่น ผู้ส่งออกข้าว เป็นต้น ต้นทุน/ผลได้การเมืองเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องชั่งวัดน้ำหนักทางสังคมและรัฐบาลคงต้องจ่าย/ได้คะแนนในทางการเมือง

นั่นแปลว่าข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการ ด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม ในแง่เศรษฐกิจและการบริหารจัดการ นโยบายจำนำข้าวแบบที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำ มีจุดอ่อนอยู่ และเสี่ยงสูง (แบบฉบับทักษิณ) คือเครื่องมือแทรกแซงได้แก่เงินงบประมาณส่วนรวม และก้อนโต ไม่น่าจะทำได้ต่อเนื่องยาวนาน เมื่อทำแล้ว กระทบทำให้ตลาดข้าวเปลี่ยน "ระเบียบเก่า" ทรุดโทรมไป ขณะที่ "ระเบียบใหม่" ยังไม่ลงตัวและอาจไม่ยืนนาน กล่าว คือ มีจุดอ่อนรั่วไหลเยอะ ต้นทุนจะสูงกว่าที่ควรจะเป็น และการยืนนานของนโยบายนี้ไม่แน่ไม่นอนว่ารัฐจะทนควักกระเป้าแทรกแซงเพื่อ "เกลี่ย" ผลประโยชน์ใหม่ไปอีกนานเท่าไร


(อ่านต่อ)

ถอดบทเรียนจากเหตุปัจจัยของการปฏิวัติและรัฐประหาร

ถอดบทเรียนจากเหตุปัจจัยของการปฏิวัติและรัฐประหาร

 

โดย ชำนาญ จันทร์เรือง

 

ปรากฏการณ์ลุกขึ้นมารวมพลขององค์กรพิทักษ์สยามและภาคีเครือข่ายเมื่อวัน ที่ 24 พฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านแล้วจบลงอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่ถึง 9 ชั่วโมง ได้เกิดคำถามและคำตอบขึ้นอย่างมากมายว่าเกิดอะไรขึ้น และทำไมถึงจบลงตามประสา “หวยออกแล้ว” เช่น เกิดการแตกแยกภายในบ้าง จำนวนคนมาน้อยเกินไปบ้าง ฯลฯ แต่ล้วนแล้วเป็นเหตุผลในด้านข้อมูลประเภทการให้ความเห็นเสียมากกว่า ซึ่งคนที่จะตอบได้ดีที่สุด คือแกนนำที่ประกาศยุติการชุมนุมนั่นเองว่า เกิดอะไรขึ้น

เหตุการณ์การรวมตัวขององค์กรดังกล่าวในระยะเริ่มแรกเป็นลักษณะของการรวมตัวในลักษณะของการที่ต้อง “ปฏิวัติ” ด้วย การประกาศแช่แข็งประเทศ แต่เมื่อถูกต่อต้านมากจึงผ่อนคลายลงเป็นเพียง“รัฐประหาร” ด้วยการที่จะขับไล่รัฐบาล ด้วยการแช่แข็งนักการเมือง ซึ่งไม่มีในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จึงถือได้ว่าเป็นการรัฐประหารอีกในรูปแบบหนึ่ง เช่นเดียวกับพระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้เคยทำรัฐประหารเงียบมาแล้วในอดีตด้วยการประกาศงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราและปิดสภาผู้แทนราษฎร

การปฏิวัติ (revolution) หมายถึง การใช้ความรุนแรงทางการเมืองเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างเบ็ดเสร็จ โดยมีวัตถุประสงค์อยู่ที่การเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครอง อุดมการณ์ทางการเมือง วัฒนธรรม วิถีชีวิต ระบบเศรษฐกิจ ความเชื่อทางศาสนา และระบบสังคมโดยรวม

การปฏิวัติเป็นความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อยครั้งนัก เพราะจะต้องโค่นล้มลงทั้งระบบ ซึ่งหากสภาพสังคมไม่สุกงอมเต็มที่ หรือสภาพสังคมยังไม่พร้อมแล้ว การปฏิวัติจะเป็นไปได้ยากมาก ตัวอย่างของการปฏิวัติที่ผ่านมา ก็คือการปฏิวัติฝรั่งเศส การปฏิวัติรัสเซีย การปฏิวัติจีน และการปฏิวัติเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 ของไทยเราที่เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหา กษัตริย์มีพระราชอำนาจเต็มในการปกครองประเทศ มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นต้น

สาเหตุของการปฏิวัติ

1.สังคมอยู่ในสภาวะที่ขาดสมดุล การปฏิวัติจะไม่เกิดในสภาพที่สังคมที่มั่นคง เรียบง่าย เป็นปกติ แต่มักเกิดในสังคมที่ได้รับความกดดันรอบด้านหรือสังคมที่กำลังเผชิญหน้ากับ การเปลี่ยนแปลง โดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้กระทบต่อสังคมอย่างใหญ่หลวง จนเกินกว่าที่อำนาจรัฐสามารถบังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ในภาวะหลังสงครามของฝรั่งเศสและอำนาจรัฐที่อ่อนแอลงของพระมหากษัตริย์ในขณะ นั้น


2.ผู้นำต้องเสียอำนาจและความชอบธรรม ผู้นำมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการปฏิวัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมที่ผู้นำไม่สามารถบริหารประเทศได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทำให้ผู้นำไม่สามารถระดมความจงรักภักดีจากผู้ใต้บังคับบัญชาและประชาชนได้ อีกต่อไป

3.การแพร่หลายของอุดมการณ์ปฏิวัติ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ สำคัญที่สุดของการปฏิวัติ เพราะถือว่าเป็นตัวเร่ง (catalyze) ของกระบวนการปฏิวัติ โดยกลุ่มคนที่ไม่พอใจรวมตัวกัน มีอุดมการณ์เป็นตัวชี้นำ และทำให้ประชาชนเห็นว่า หากโค่นล้มระบอบเก่าไป จะสามารถสถาปนาระบอบใหม่ซึ่งให้ความยุติธรรมในสังคม หากได้ผู้นำในลักษณะนี้แล้ว จะทำให้อุดมการณ์ปฏิวัติได้รับการยอมรับจากคนส่วนใหญ่และทำให้การปฏิวัติ ประสบความสำเร็จ

ซึ่งทั้ง 3 เหตุข้างต้นนี้ องค์กรพิทักษ์สยามและภาคีเครือข่ายประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงตั้งแต่แรก จนต้องลดเป้าหมายจากการปฏิวัติเพื่อแช่แข็งประเทศไปสู่เพียงการรัฐประหาร เพื่อแช่แข็งนักการการเมืองด้วยการล้มรัฐบาลนั่นเอง