หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

1 ปีรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

1 ปีรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

 

โดยสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ 

เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้ วันสุข ปีที่ 8 ฉบับที่ 373 ประจำวัน จันทร์ ที่ 20  สิงหาคม 2555

 

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ที่ผ่านมานี้ เป็นวันครบรอบ 1 ปีแห่งการรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งจากการประเมินของพรรคเพื่อไทย ถือว่า รัฐบาลประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง เช่น นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย ได้ยืนยันว่า รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีผลงานมากกว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ถึง 5 เท่า และนายกรัฐมนตรีก็ประสบความสำเร็จในด้านการสร้างความสัมพันธ์กับต่างประเทศ นโยบายที่หาเสียงไว้ก็ทำได้จริงถึงร้อยละ 90 ในขณะที่ฝ่ายต่อต้าน เช่น กลุ่มเอเอสทีวี ตีความว่าผลงานของรัฐบาลติดลบ มีเพียงนายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ให้คะแนนรัฐบาลยิ่งลักษณ์เต็มสิบ เพราะอธิบายว่า ไม่ได้คาดหมายอะไรจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์เลย เพราะถือว่า นายกรัฐมนตรีไม่มีความสามารถ ทำอะไรขึ้นมาก็ถือว่าเกินความคาดหมายทั้งนั้น

ประเด็นสำคัญคือ ในฐานะของฝ่ายประชาชนคนเสื้อแดง ควรที่จะประเมินรัฐบาลยิ่งลักษณ์อย่างไร

ก่อนอื่นเมื่อย้อนหลังกลับไปเวลาที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อปีก่อน ฝ่ายอำมาตยาธิปไตยจำใจต้องยอมรับ เพราะทางเลือกหลักของชนชั้นนำ คือ พรรคประชาธิปัตย์ร่วมกับพรรคภูมิใจไทยนั้น พ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง ประชาชนส่วนข้างมากในประเทศไทยให้ความนิยมกับพรรคเพื่อไทย และเห็นชอบกับคุณยิ่งลักษณ์ที่เป็นน้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มากยิ่งกว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะที่มีกรณีนองเลือดติดตัว ปัญหาเฉพาะหน้าที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องหาทางแก้ไขในขณะนั้น มีหลายประเด็นทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจ โดยปัญหาการเมืองที่สำคัญ ก็คือ ปัญหาประชาธิปไตยที่ไม่สมบูรณ์ ความไม่เป็นธรรม และการละเมิดสิทธิมนุษยชนของฝ่ายอำมาตย์ ที่เกิดขึ้นหลังการรัฐประหาร พ.ศ.2549 รัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องพยายามแก้ไขเยียวยา ในท่ามกลางที่กลไกรัฐแทบทั้งหมด คือ ศาล กองทัพ ระบบราชการ ยังอยู่ในอำนาจของฝ่ายอำมาตย์ทั้งสิ้น และยังมีกลไกของฝ่ายขบวนการเสื้อเหลือง และพรรคประชาธิปัตย์ ที่ยังคอยเหนี่ยวรั้งทำลาย ฝ่ายรัฐบาลยิ่งลักษณ์มีเพียงแต่เสียงประชาชนจำนวนมาก และขบวนการคนเสื้อแดงเท่านั้น ที่เป็นฝ่ายสนับสนุนสำคัญให้รัฐบาลก้าวไปข้างหน้า

เมื่อเข้าบริหารประเทศ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ประกาศนโยบายเร่งด่วน 16 ข้อ ที่จะลงมือทำในปีแรก เช่น การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ฟื้นฟูประชาธิปไตย เร่งรัดผลักดันการปฏิรูปการเมือง การแก้ปัญหายาเสพติด การป้องกันปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น การแก้ปัญหาสามจังหวัดภาคใต้ การเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน เพิ่มสวัสดิการต่างๆ เป็นต้น แต่ยังไม่ทันที่จะทำอะไร รัฐบาลก็เผชิญปัญหาเฉพาะหน้าทันที นั่นคือ การเกิดน้ำท่วมใหญ่ในภาคกลางและเขตกรุงเทพฯที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ พ.ศ.2485 เป็นต้นมา ซึ่งการแก้ปัญหาก็ยังไม่ราบรื่นนัก ถือว่ารัฐบาลมือใหม่ประสบความสำเร็จเพียงปานกลาง

ในทางยุทธศาสตร์ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในฐานะที่เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ไทย ได้สร้างมิติใหม่ทางการเมืองทีเดียว โดยการเปลี่ยนธรรมเนียมการปฏิบัติ ใช้วิธีการสร้างภาพให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำประเทศที่ทำงานเฉพาะด้านบริหาร ไม่เที่ยวจ้อหรือ”ดีแต่พูด”เกินความจำเป็น ไม่มีการตอบโต้หรือปะทะทางการเมืองกับใคร ฝ่ายต่อต้านและศัตรูจะวิจารณ์ในลักษณะไหนก็วางเฉย ไม่เป็นคนดำเนินนโยบายการเมือง เรื่องที่เป็นประเด็นปัญหาทางการเมือง ให้รองนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ เป็นผู้ดำเนินการ ผลจากการดำเนินการเช่นนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จไม่น้อย เพราะนายกรัฐมนตรีก็ยังสามารถรักษาภาพลักษณ์อันดีไว้ได้ ไม่ค่อยแปดเปื้อน และยังได้รับความนิยมค่อนข้างสูง รัฐบาลก็ยังดูมีเสถียรภาพ ราวกับว่าจะสามารถอยู่ได้ครบวาระ 4 ปี

โยกย้าย นายทหาร ทำไม ต้องถึง องคมนตรี ละเอียด เปราะบาง

โยกย้าย นายทหาร ทำไม ต้องถึง องคมนตรี ละเอียด เปราะบาง

 

 
 
การที่ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม จะทำหนังสือลงวันที่ 24 สิงหาคม เพื่อขอเข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

สามารถเข้าใจได้

เข้าใจได้ว่าเมื่อ ปลัดกระทรวงกลาโหม มีความเห็นต่างไปจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม การทำหนังสือขอหารือและชี้แจงข้อเท็จจริงต่อนายกรัฐมนตรี เป็นเรื่องที่ดำเนินไปตามกระบวนการในระบบราชการ

อย่างน้อย ปลัดกระทรวงกลาโหม ก็ยังมีความหวังว่า นายกรัฐมนตรี จะสามารถเป็นที่พึ่งพิงได้ในท่ามกลางความขัดแย้ง

เป็นไปตามระบบ เป็นไปตามโครงสร้างของการบังคับบัญชา

แต่ การที่ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ เดินทางเข้าพบ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และฝากบัญชีรายชื่อโยกย้ายและแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลของสำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหมไปให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นเรื่องที่ยากจะทำความเข้าใจได้อย่างปกติ ธรรมดา

แม้ว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ จะเคยเป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่า พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ จะเคยเป็นนายกรัฐมนตรี

แต่ก็เป็นอดีตไปแล้ว

มอง จากมุมของสังคมไทยซึ่งยังยึดโยงอยู่กับระบบเครือข่าย ระบบอุปถัมภ์ การเคลื่อนไหวของ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ อาจเป็นเรื่องปกติ ธรรมดา

ใครๆ ก็ทำกัน

ใน ยุคที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ก็เคยมีข้าราชการในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เดินทางเข้าบ้านสี่เสา เทเวศร์ มาแล้ว

นั่นเป็นสถานการณ์ก่อนรัฐประหารเดือนกันยายน 2549

จึง มิได้เป็นเรื่องนอกเหนือความคาดหมายที่ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ จะเดินทางเข้าพบ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เพื่อเชื่อมประสานไปยัง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์

คำถามอยู่ที่ว่าเชื่อมประสานอย่างไร

คำตอบ 1 เชื่อมประสานเพราะว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เคยเป็นผู้บังคับบัญชามาก่อนกระนั้นหรือ

อย่างน้อย 2 ท่านนี้ก็เคยเป็น ผบ.ทบ. เคยเป็นนายกรัฐมนตรี

อย่างน้อย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็เคยเป็น ผบ.ทหารสูงสุด และ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ก็เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

แต่ที่ควรระมัดเป็นอย่างยิ่งก็คือ ตำแหน่งในปัจจุบันของทั้ง 2 คืออะไร

(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1346043956&grpid=01&catid=&subcatid= 

บรรยากาศงานฌาปนกิจศพ 'อากง' 26 สิงหา

บรรยากาศงานฌาปนกิจศพ 'อากง' 26 สิงหา



 
(ชมคลิป)


26 ส.ค.55 ที่วัดลาดพร้าว มีงานฌาปนกิจศพนายอำพล หรือ อากง ผู้ต้องขังมาตรา 112 ที่เสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมตัว มีประชาชนมาร่วมงานนับพันคน ภายในงานมีการปล่อยนกพิราบ 112 ตัวเพื่อเป็นสัญลักษณ์การปลดปล่อยนักโทษทางการเมือง มีการอ่านบทกวี และกล่าวไว้อาลัยจากตัวแทนประชาชนกลุ่มต่างๆ ทั้งเครือข่ายวิทยุชุมชน, แกนนำ นปช., ตัวแทนกระทรวงยุติธรรม, นักวิชาการ, กวี ฯลฯ ท่ามกลางฝนที่ตกพรำตลอดช่วงบ่าย จากนั้นในเวลาประมาณ 17.00 น.จึงมีการทอดผ้าบังสุกุล ให้ประชาชนวางดอกไม้จันทน์ และดำเนินการฌาปนกิจ ทั้งนี้ ภายในงานมีการแจกหนังสือที่ระลึกงานฌาปนกิจชื่อ รักเอย โดยรสมาลิน (ภรรยา)

(คลิกชมภาพ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/08/42295