สิทธิ(ที่จะมีชีวิตใน)เมือง ท่ามกลางสงครามการผลิตพื้นที่
โดย อ.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์
ในห้วงเวลาของการนับถอยหลังไปสู่การ "ปิดกรุงเทพฯ" ในวันที่
13 มกราคม ที่จะมาถึงนี้
ผมก็อยากจะมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์เรื่องราวของการปิดกรุงเทพฯในหลายมิติ
สักหน่อยที่แตกต่างไปจาก "คำอธิบายที่เป็นทางการ"
ของฝ่ายผู้รณรงค์การปิดกรุงเทพฯเอง
ในมิติแรก
การปิดกรุงเทพฯนั้นก็เป็นเรื่องของ "สงครามของความภักดี" ว่าตกลงจะภักดีกับ
"รัฐบาล" หรือ ระบอบทักษิณ ในด้านหนึ่ง หรือจะภักดีกับ "ระบอบสุเทพ"
หรือคำอื่นๆ เช่น มวลมหาประชาชน และ การปฏิวัตินกหวีด
การรณรงค์ใน
เรื่องนี้ในทางหนึ่งอ้างว่าเป็นเรื่องที่กระทำได้
หากเป็นเรื่องของการอ้างสิทธิตามรัฐธรรมนูญ
และจะต้องเข้าสู่การตีความจากองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
รวมทั้งยังมีการอ้างว่าได้รับการรับรองคุณภาพของความเป็นสันติวิธีจากบรรดา
นักสันติวิธีบางท่าน ไม่ว่าที่ผ่านมาจะตายกันไปกี่ศพ บาดเจ็บไปแล้วกี่ราย
หรือจะมีความรุนแรงที่กระทบจิตใจไปแล้วเท่าไหร่ก็ตาม
ที่สำคัญก็คือ
เมื่อสังคมไทยอยู่ในตรรกะที่ว่าผู้ชนะคือผู้กำหนดเกมส์ การกระทำใดๆ
ที่จะนำไปสู่ชัยชนะก็จะทำให้มีแรงผลักดันในส่วนลึกว่าจงมุ่งมั่นที่จะกระทำ
ให้สำเร็จเถิด (วาทกรรมแบบทุบหม้อข้าว หรือ สู้ไม่ถอย
ก็น่าจะมาจากเรื่องแบบนี้นี่แหละครับ)
คำถามเรื่องของสงครามความ
ภักดีนี้เป็นเรื่องที่ "ยิ่งใหญ่" จริงๆ ตามการกล่าวอ้างหรือไม่?
หรือว่าคำถามนี้ถูกทำให้ใหญ่ขึ้นทั้งที่ฐานคิดในเรื่องนี้เป็นเรื่องที่อาจ
ไม่ได้ใหญ่ขนาดนั้น?
กล่าวคือเรื่องการปิดกรุงเทพฯนั้นเป็นเรื่องของ
ความยิ่งใหญ่ของการปิดกั้นหรือเชิญชวนด้วยเสียงนกหวีดและ(เสาธง)
ให้เลิกให้ความร่วมมือกับรัฐบาล
ทั้งที่เป็นอยู่คือสถานการณ์ของการเลือกตั้งที่รัฐบาลเป็นเพียงผู้
รักษาการณ์? ดังนั้น
จึงเป็นเรื่องที่ยากอยู่ว่าการเชิญชวนให้เลิกภักดีต่อรัฐบาล
และหันมาภักดีกับการปฏิวัตินกหวีดนั้นจะเป็นไปได้อย่างไร
เพราะในขณะนี้สิ่งที่เผชิญหน้ากับระบอบการปฏิวัตินกหวีดหรือระบอบสุเทพนั้น
คือการเลือกตั้งที่อยู่ในมือขององค์กรอิสระและระบอบรัฐธรรมนูญ?(หรือนี่คือ
เหตุผลจริงของการพยายามจูงใจให้องค์กรตามรัฐธรรมนูญตัดสินไปในแนวทางที่พวก
เขาต้องการไม่ว่าการตีความและตัดสินนั้นจะละเมิดเขตอำนาจขององค์กรตัวเองมาก
ขึ้นทุกวันๆ?)
พูดง่ายๆก็คือเรากำลังเผชิญหน้ากันระหว่าง
"มวลมหาประชาชน"
ที่เรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามแนวทางที่ตนต้องการที่ถูกต้องหนึ่ง
เดียว กับ "ประชาชน"
ที่เข้าสู่การเลือกตั้งเพื่อกำหนดชีวิตของพวกเขาท่ามกลางความหลากหลายทาง
ความคิดที่สามารถสะท้อนออกมาในระดับหนึ่งจากสัดส่วนและกระบวนการเข้าสู่
อำนาจตามรัฐธรรมนูญ?
จริงหรือที่การปิดกรุงเทพฯ
นั้นจะสามารถส่งสารว่าจะเกิดปรากฏการณ์"รัฐล้มเหลว" ในความหมายของ
"รัฐบาลล้มเหลว" ทั้งที่สิ่งที่อาจจะเปิดขึ้นก็คือกระบวนการ
"รัฐธรรมนูญและระบอบรัฐธรรมนูญล้มเหลว" หรือเปล่า? และถ้าใช่ก็หมายถึง
"ระบอบองค์กรอิสระล้มเหลว" มิใช่หรือ?
ประการต่อมา
การปิดกรุงเทพฯแล้วถามว่าประชาจะภักดีต่อระบอบสุเทพ หรือรัฐบาล
นั้นอาจเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยาก หากนึกถึงพื้นที่เล็กๆ
สักแห่งในระดับตำบล ทั้งในแง่ตำบลชนบท หรือ ตำบลในเมือง
ที่มีผู้มีอิทธิพลส่งลูกสมุนลงไปถามหาค่าคุ้มครองจากประชาชนและผู้ประกอบการ
ที่ใช้ชีวิตตามปกติ
ที่ฝ่ายผู้มีอิทธิพลมองว่าเป็นการภักดีต่อเจ้าหน้าที่รัฐ
และไม่ภักดีต่อฝ่ายของตน ดังนั้น
การแสดงออกถึงความภักดีที่มีต่อฝ่ายของตนนั้นย่อมจะต้องถูกกระทำขึ้นง่ายๆ
เช่นไปทำให้ชีวิตปกตินั้นเกิดขึ้นไม่ได้