หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ถึง ‘พี่เสกที่นับถือ’: “ใครถอยและใครทน พิสูจน์ได้เมื่อภัยมา”

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ถึง ‘พี่เสกที่นับถือ’: “ใครถอยและใครทน พิสูจน์ได้เมื่อภัยมา”

 


 

หมายเหตุ: ชื่อบทความเดิม ’ “ใครถอยและใครทน พิสูจน์ได้เมื่อภัยมา”: ตอบจดหมายกรณี นิติราษฎร์-ครก.112 ของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล



เรียน พี่เสก ที่นับถือ
ผมอ่านจดหมายชี้แจงกรณี “นิติราษฎร์-ครก.112” ของพี่เสกด้วยความรู้สึกเศร้าใจมากกว่าอย่างอื่น ความจริง ผมว่า พี่เสก คง “ชรา” แล้วอย่างที่พี่เสกพูดถึงตัวเองในจดหมายจริงๆ จึงตัดสินทำอะไรที่ไม่ควรทำเช่นนี้ ที่ในระยะยาวมีแต่จะเป็นการลดทอนชื่อเสียงเกียรติภูมิและฐานะทางประวัติ ศาสตร์ของพี่เสกลงไปอีก

ก่อนอื่น ใครที่ได้อ่านจดหมายของพี่เสกฉบับนี้ ก็ยากจะหลีกเลี่ยงอดคิดไม่ได้ว่า ที่พี่เสกเพิ่งมาออกจดหมายฉบับนี้ – สองสัปดาห์หลังจากมีการประกาศชื่อผู้ร่วมลงนามสนับสนุนร่างแก้ไข 112 ของ นิติราษฎร์ (ซึ่งรวมชื่อพี่เสกอยู่ด้วย) ก็เพราะหลายวันที่ผ่านมา มีกระแสโจมตี “นิติราษฎร์” อย่างหนัก ซึ่งนับเป็นเรื่องน่าเสียใจว่า “เสกสรรค์ ประเสริฐกุล” ผู้เคยนำมวลชนลุกขึ้นสู้อย่างกล้าหาญไม่ถอย เมื่อ 40 ปีก่อน (ในท่ามกลางเพื่อนรุ่นเดียวกันหลายคนที่หวั่นไหวกับการขู่ของอำนาจทหารฟัส ซิสต์) กลายมาเป็นคน “ใจเสาะ” อ่อนไหวง่ายกับกระแสโจมตี ที่ทั้งหมด มีแต่เสียงคำรามแบบป่าเถื่อน ไม่มีร่องรอยของภูมิปัญญาอยู่เลยนี้ ไปได้เสียแล้ว

ความจริง กระแสโจมตีในขณะนี้ พุ่งเป้าไปที่นิติราษฎร์เท่านั้น เรียกว่าไม่มีการกล่าวถึงคนอื่นๆที่ร่วมลงนามเลย อย่าว่าแต่พี่เสกเลย แม้แต่คนที่ใกล้ชิดหรือมีท่าทีสนับสนุนนิติราษฏร์มากกว่าพี่เสกหลายเท่า เช่น อาจารย์ชาญวิทย์ หรือ อาจารย์นิธิ (ที่พูดในงานเปิดตัวด้วย) ก็ยังเรียกว่าไปไม่ถึง ก็แล้วทำไมพี่เสกจะต้อง “ร้อนตัว” ออกจดหมายมาชี้แจงแบบนี้เล่า?

ผมเชื่อว่า ทุกคนตระหนักดีว่า ในการรณรงค์ที่ใช้รูปแบบร่วมลงชื่อกันมากๆ เป็นร้อยคนขึ้นไปเช่นนี้ แต่ละคนย่อมอาจจะมีเหตุผลเฉพาะของตัวเอง และไม่จำเป็นต้องคิดเหมือนกับคนที่เป็นผู้ริเริ่มทั้งหมด แต่อย่างน้อย ในฐานะที่แต่ละคนเป็นผู้ใหญ่มีวุฒิภาวะและวิจารณญาณกันแล้ว (อย่าว่า “ชรา” แล้ว อย่างพี่เสก) การลงชื่อ หรือยอมให้ชื่อของตัวเองรวมเข้าไปด้วย ย่อมมาจากการต้องเห็นด้วยกับข้อเสนอเช่นนั้น ไม่ว่าจะมีเหตุผลหรือมุมมองเฉพาะของตัวเองอย่างไร ดังนั้น จะว่าไปแล้ว ก็ไม่เห็นจะมีความจำเป็นที่แต่ละคนจะต้องออกมาชี้แจงเลย ยิ่งในเมื่อกระแสโจมตีในกรณีนี้ หาได้พุ่งเป้าไปที่ใครโดยเฉพาะ (นอกจากนิติราษฎร์) ที่แน่ๆ ผมก็ไม่เห็นกระแสโจมตีนี้ ไปแตะถึงตัวพี่เสกเลย

แต่ตอนนี้ พี่เสกกลับรู้สึกว่าจำเป็นต้อง “ชี้แจงจุดยืนของตัวเองให้กระจ่าง” โดยอ้างว่า ที่ลงชื่อไปนั้น “เนื่องจากถูกขอร้องโดยผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ และผมเองก็ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นข้อเสนอที่อยู่ในกรอบของการปฏิรูป กฎหมาย มีเนื้อหากลางๆ ออกไปในแนวมนุษยธรรม และที่สำคัญคือยังคงไว้ซึ่งจุดหมายในการพิทักษ์รักษาสถาบันสำคัญของชาติ”

ก่อนอื่น ผมขอตั้งข้อสังเกตว่า หลังๆ ดูๆ พี่เสกจะชอบ “ออกตัว” เวลาทำอะไรที่มีลักษณะเป็นประเด็นถกเถียง (controversial) ในลักษณะนี้คือ “ถูกผู้ใหญ่ขอร้อง” คราวที่พี่เสกไปรับตำแหน่งในคณะกรรมการปฏิรูป ก็บอกว่า “หนึ่ง-ผมเกรงใจท่านอดีตนายกฯ อานันท์ ปันยารชุน ที่อุตส่าห์เชิญผมไปร่วมงาน” (ใน คำสัมภาษณ์นิตยสาร “ค คน”) พี่เสกก็แก่มากแล้ว ทำไมจะต้องคอย “ออกตัว” (แก้ตัว) ในลักษณะนี้ให้เด็กๆ อายุคราวหลานหลายคนที่เขาร่วมลงชื่อครั้งนี้รู้สึกสมเพชด้วยเล่า? พวกเขาเด็กปานนั้น ยังไม่เห็นมีใครเคยบอกว่าที่ทำไปเพราะคนเป็นผู้ใหญ่กว่าขอให้ทำเลย

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/01/38965

"จิตภัสร์" ปลุกคนต้านข้อเสนอแก้112 "เสกสรรค์" ปัดไม่เกี่ยว "นิติราษฎร์" และจม.จาก "สมศักดิ์ เจียมฯ"

"จิตภัสร์" ปลุกคนต้านข้อเสนอแก้112 "เสกสรรค์" ปัดไม่เกี่ยว "นิติราษฎร์" และจม.จาก "สมศักดิ์ เจียมฯ"










น.ส.จิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ในวันเสาร์ที่ 28 มกราคมนี้ เวลา 12.00 น. ขอเชิญชวนคนรุ่นใหม่ และผู้มีใจรักในสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้มารวมตัวกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่ออ่านแถลงการณ์แสดงความจงรักภักดีต่อสถาบัน และรณรงค์ต่อต้านการเคลื่อนไหวของกลุ่มนิติราษฎร์ ที่เสนอให้แก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ถือว่าเป็นเรื่องที่กระทบต่อสถาบัน โดยในการรวมตัวกันครั้งนี้ได้เชิญชวนผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวด้วย และได้รับเสียงตอบรับในการเข้าร่วมจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักเรียนโรงเรียนจิตรลดา กลุ่มเฟซบุ๊กเรารักในหลวง รวมทั้งยังมี นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มเสื้อหลากสี เข้าร่วมด้วย ซึ่งตนและกลุ่มคนรุ่นใหม่จะร่วมลงชื่อกับกลุ่มเสื้อหลากสีในการคัดค้านการ แก้ไขมาตรา 112 ด้วย โดยการดำเนินการครั้งนี้ถือเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับพรรคประชาธิปัตย์

"เสกสรรค์" รับหนุนข้อเสนอปฏิรูปกม.หมิ่น แต่ไม่ใช่แกนนำครก.112-ไม่เกี่ยวข้องนิติราษฎร์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล นักวิชาการและนักเขียนอาวุโส หนึ่งในปัญญาชน 112 คนแรก ผู้ร่วมลงนามสนับสนุนร่างแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ของคณะนิติราษฎร์ ที่รณรงค์โดยคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 ได้เขียนจดหมายชี้แจงจุดยืนของตนเอง ซึ่งมีเนื้อหาว่า

(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1327646365&grpid=01&catid=&subcatid=

ทำอย่างไรต่อการปรองดองของเพื่อไทย กับอำมาตย์

ทำอย่างไรต่อการปรองดองของเพื่อไทย กับอำมาตย์

 

โดย ลั่นทมขาว


การ “ปรองดอง” ระหว่างอำมาตย์กับฝ่ายแกนนำขบวนการประชาชน ที่เคยพยายามสู้เพื่อล้มอำมาตย์ไม่ใช่สิ่งใหม่ หลังวิกฤตและสงครามกลางเมืองระหว่างอำมาตย์กับพรรคคอมมิวนิสต์ ความพ่ายแพ้ของพรรคนำไปสู่การปรองดองในเชิงยอมจำนนสำหรับอดีตนักสู้ ปัญญาชน และนักศึกษาของพรรคคอมมิวนิสต์ โดยมีการสร้าง “ข้อตกลง” สู่สันติภาพและความสงบ และมีการอภัยโทษทุกฝ่าย

ต่อจากนั้นอำมาตย์ก็ยอมให้มีการเลือกตั้งในกรอบรัฐสภาทุนนิยม แต่มีเงื่อนไขคือไม่ให้มีพรรคของฝ่ายสังคมนิยมหรือของคนงานกรรมาชีพเลย มีแต่การเลือกตั้งแข่งกันระหว่างพรรคนายทุนที่ไม่แตกต่างกันในเชิงนโยบายเลย มันคือยุคทองของระบบซื้อขายเสียงและอำนาจเงินในการเลือกตั้ง แต่สภาพเช่นนี้มีเสถียรภาพได้ก็ต่อเมื่อเศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น

ในขณะเดียวกันอดีตนักสู้คอมมิวนิสต์ก็เลิกสู้กับรัฐ และในทางความคิดส่วนใหญ่ก็ยอมจำนนต่อสถาบันต่างๆ ในโครงสร้างอำมาตย์โดยสิ้นเชิง ทุกฝ่ายจับมือกันและประกาศว่า “หมดยุคแห่งสังคมนิยมแล้ว” แต่ นั้นไม่ได้หมายความว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม หรือความสำคัญของชนชั้นหายไปจากสังคมไทยแต่อย่างใด มันแค่ถูกกดทับด้วยการลดประเด็นการเมืองไปสู่ยุค “เอ็นจีโอ” และยุคเศรษฐกิจบูมเท่านั้น
 


(อ่านต่อ)
http://turnleftthai.blogspot.com/2012/01/blog-post_27.html

ความเป็นไทยที่ถูกลืม ชาติที่ไม่ใช่ของผู้มีปืน

ความเป็นไทยที่ถูกลืม ชาติที่ไม่ใช่ของผู้มีปืน


โดย เกษียร เตชะพีระ

 

ผมได้นำเสนอว่านอกจากความเป็นไทยกระแสหลักแบบสังคม ศักดินา-รัฐอาญาสิทธิ์แล้ว ยังมีมรดกความเป็นไทยกระแสอื่นๆ อีก ชั่วแต่ว่าถูกกดกลบบดบังไว้หรือมองข้ามละเลยไปในประวัติศาสตร์ ไม่ว่ามรดกความเป็นไทยที่เน้นความเสมอภาคของศรีปราชญ์, หรือมรดกความเป็นไทยที่ยืนยันเสรีภาพและระบบรัฐสภาของเทียนวรรณ เป็นต้น

นั่น หมายความว่าเมื่อกล่าวถึงกระแสหลากหลายต่างๆ นานาในวัฒนธรรมไทยแล้ว ไม่ว่าต้นธารจะมาจากไหน: ชมพูทวีป ราชอาณาจักรจีน ตะวันออกกลางหรือยุโรป

ไม่ว่าจะไหลแผ่เข้ามาผ่านสื่อภาษาใด: บาลี/สันสกฤต จีน อาหรับหรือโปรตุเกส/วิลันดา/ฝรั่งเศส/อังกฤษ/เยอรมัน/รัสเซีย

และ ไม่ว่าจะนำพาคติลัทธิศรัทธาอะไรเข้ามา: ฮินดู พุทธ อิสลาม สิกข์ คริสต์ ยิว ขงจื๊อ เจ้าแม่กวนอิม ปุนเถ้ากง ยุครู้แจ้ง เสรีนิยม ประชาธิปไตย ราชาธิปไตย สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ อนาธิปไตย โพสต์โมเดอร์นิสต์ ฟาสซิสต์ ฯลฯ

ลงได้ถูกแปล/แปรเป็นภาษาไทย เข้าปะทะประสานปฏิสัมพันธ์กับคติขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรมและฉันทลักษณ์ไทยๆ มีชีวิตโลดเต้นขับเคลื่อนผันแปรอยู่ในครรลองความคิด ความเชื่อของผู้คนในสังคมไทยแล้ว มันก็ย่อมกลายเป็นน้ำเนื้อส่วนหนึ่งของความเป็นไทยอย่างเป็น ธรรมชาติธรรมดาอยู่ดี ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ก็ตาม

เพราะแต่ไหนแต่ไร มา ที่ตั้งทางวัฒนธรรมของสังคมไทยมักมีลักษณะเป็นเมืองท่าเปิด (entrepot แบบอยุธยา, ธนบุรี, บางกอก) ที่ซึ่งสินค้าข้าวของผู้คนหลากชาติหลายภาษาไหลรวมมา บรรจบกัน, ไม่ใช่ค่ายกักกันหรือเรือนจำความคิดที่มีรั้วรอบขอบชิด (แบบเกาหลีเหนือ เป็นต้น)


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1327664585&grpid&catid=02&subcatid=0207