สงครามกลางเมืองในอเมริกา
นายทุนอเมริกาทางเหนือต้องการกำแพงภาษีที่กีดกัน
สินค้าอุตสาหกรรมจากคู่แข่งในอังกฤษ
ในขณะที่เจ้าทาสเจ้าของไร่ทางใต้ต้องการระบบการค้าเสรี
เพื่อจะได้ส่งออกฝ้ายสู่โรงงานของอังกฤษ
โดย C. H.
สงครามกลางเมืองในอเมริการะเบิดขึ้นในปี ค.ศ. 1861 ระหว่างรัฐทางใต้
ที่ใช้ระบบทาสผิวดำในไร่ขนาดใหญ่ กับรัฐทางเหนือที่ใช้แรงงานเสรี
ในระบบอุตสาหกรรมใหญ่ และการเกษตรเสรีในไร่นาขนาดย่อม
ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำในสองระบบนี้ มาจากการแย่งผลประโยชน์กันในดินแดนบุกเบิกใหม่ทางตะวันตกของอเมริกา ฝ่ายเจ้าทาสต้องการขยายพื้นที่ไร่ฝ้าย เพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรมในอังกฤษ ส่วนคนทางเหนือต้องการขยายพื้นที่สำหรับเกษตรกรรายย่อยที่จะมีที่ดินของตน เอง เกษตรกรเหล่านี้จะได้เป็นตลาดสำคัญของนายทุนโรงงานอุตสาหกรรมในเมืองทาง เหนือ
นอกจากนี้นายทุนอเมริกาทางเหนือต้องการกำแพงภาษีที่กีดกันสินค้าอุตสาหกรรม จากคู่แข่งในอังกฤษ ในขณะที่เจ้าทาสเจ้าของไร่ทางใต้ต้องการระบบการค้าเสรี เพื่อจะได้ส่งออกฝ้ายสู่โรงงานของอังกฤษ
ในปี 1854 ประธานาธิบดีพรรคเดโมแครท(Democrat) ซึ่งสนับสนุนระบบทาส พร้อมจะยกรัฐ แคนสัส ให้ระบบทาส ซึ่งสร้างความไม่พอใจมากทางเหนือ และมีการตั้งพรรคการเมืองใหม่ชื่อพรรค รีพับลีแคน(Republican) ที่สนับสนุนแรงงานเสรีและนายทุนใหญ่ ต่อมาในปี 1860 อับบราแฮม ลิงคอน จากพรรค รีพับลีแคน ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ในช่วงแรกคนส่วนใหญ่ทางเหนือไม่ได้คัดค้านระบบทาสในทางอุดมการณ์เลย แต่เมื่อ 7 รัฐทางใต้ประกาศแยกตัวออกจากสหรัฐ ตั้งกองทัพ และโจมตีป้อม ซัมท์เนอร์ ในปี 1861 เริ่มมีการลุกฮือและเปลี่ยนความคิดในสังคมทางเหนือ และแกนนำขบวนการรณรงค์ให้ยกเลิกระบบทาสก็ได้รับการสนับสนุนอย่างมาก
ในขั้นตอนแรกประธานาธิบดี ลิงคอน ประนีประนอม และผู้บัญชาการกองทัพของฝ่ายเหนือไม่เต็มใจต่อสู้ แต่ในที่สุดกระแสความคิดก้าวหน้าสุดขั้วมีอิทธิพลมากขึ้น นายพล กรานท์ และ เชอร์มัน เข้าใจดีว่าถ้าจะชนะกองทัพใต้ ต้องมีการทำลายโครงสร้างระบบทาส ไม่ใช่แค่ชนะกองทัพ ต่อจากนั้น ลิงคอน ก็เริ่มเข้าใจว่าต้องประกาศเลิกทาส เพื่อเอาชนะรัฐใต้อย่างเบ็ดเสร็จ
หลังจากชัยชนะของกองทัพเหนือ มีการคุมพื้นที่ทางใต้โดยทหาร ซึ่งเปิดโอกาสให้คนผิวดำเข้ามามีบทบาททางการเมืองและสังคม แต่ในไม่ช้ามีการถอนทหารออกไป และปล่อยให้พวกเหยียดผิวรุนแรงอย่างกลุ่ม คูคลักซ์แคลน (Ku Klux Klan) เข้ามาทำลายสิทธิเสรีภาพและฐานะของคนผิวดำ และต่อมาพรรค รีพับลีแคน ซึ่งเป็นพรรคหลักของนายทุนอุตสาหกรรม ก็ลืมคำขวัญเก่าๆ เรื่องความเท่าเทียมของมนุษย์
ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำในสองระบบนี้ มาจากการแย่งผลประโยชน์กันในดินแดนบุกเบิกใหม่ทางตะวันตกของอเมริกา ฝ่ายเจ้าทาสต้องการขยายพื้นที่ไร่ฝ้าย เพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรมในอังกฤษ ส่วนคนทางเหนือต้องการขยายพื้นที่สำหรับเกษตรกรรายย่อยที่จะมีที่ดินของตน เอง เกษตรกรเหล่านี้จะได้เป็นตลาดสำคัญของนายทุนโรงงานอุตสาหกรรมในเมืองทาง เหนือ
นอกจากนี้นายทุนอเมริกาทางเหนือต้องการกำแพงภาษีที่กีดกันสินค้าอุตสาหกรรม จากคู่แข่งในอังกฤษ ในขณะที่เจ้าทาสเจ้าของไร่ทางใต้ต้องการระบบการค้าเสรี เพื่อจะได้ส่งออกฝ้ายสู่โรงงานของอังกฤษ
ในปี 1854 ประธานาธิบดีพรรคเดโมแครท(Democrat) ซึ่งสนับสนุนระบบทาส พร้อมจะยกรัฐ แคนสัส ให้ระบบทาส ซึ่งสร้างความไม่พอใจมากทางเหนือ และมีการตั้งพรรคการเมืองใหม่ชื่อพรรค รีพับลีแคน(Republican) ที่สนับสนุนแรงงานเสรีและนายทุนใหญ่ ต่อมาในปี 1860 อับบราแฮม ลิงคอน จากพรรค รีพับลีแคน ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ในช่วงแรกคนส่วนใหญ่ทางเหนือไม่ได้คัดค้านระบบทาสในทางอุดมการณ์เลย แต่เมื่อ 7 รัฐทางใต้ประกาศแยกตัวออกจากสหรัฐ ตั้งกองทัพ และโจมตีป้อม ซัมท์เนอร์ ในปี 1861 เริ่มมีการลุกฮือและเปลี่ยนความคิดในสังคมทางเหนือ และแกนนำขบวนการรณรงค์ให้ยกเลิกระบบทาสก็ได้รับการสนับสนุนอย่างมาก
ในขั้นตอนแรกประธานาธิบดี ลิงคอน ประนีประนอม และผู้บัญชาการกองทัพของฝ่ายเหนือไม่เต็มใจต่อสู้ แต่ในที่สุดกระแสความคิดก้าวหน้าสุดขั้วมีอิทธิพลมากขึ้น นายพล กรานท์ และ เชอร์มัน เข้าใจดีว่าถ้าจะชนะกองทัพใต้ ต้องมีการทำลายโครงสร้างระบบทาส ไม่ใช่แค่ชนะกองทัพ ต่อจากนั้น ลิงคอน ก็เริ่มเข้าใจว่าต้องประกาศเลิกทาส เพื่อเอาชนะรัฐใต้อย่างเบ็ดเสร็จ
หลังจากชัยชนะของกองทัพเหนือ มีการคุมพื้นที่ทางใต้โดยทหาร ซึ่งเปิดโอกาสให้คนผิวดำเข้ามามีบทบาททางการเมืองและสังคม แต่ในไม่ช้ามีการถอนทหารออกไป และปล่อยให้พวกเหยียดผิวรุนแรงอย่างกลุ่ม คูคลักซ์แคลน (Ku Klux Klan) เข้ามาทำลายสิทธิเสรีภาพและฐานะของคนผิวดำ และต่อมาพรรค รีพับลีแคน ซึ่งเป็นพรรคหลักของนายทุนอุตสาหกรรม ก็ลืมคำขวัญเก่าๆ เรื่องความเท่าเทียมของมนุษย์
http://turnleftthai.blogspot.dk/2013/01/blog-post_5401.html