Wake up Thailand
Wake up Thailand ประจำวันที่ 18 พฤศจิกายน 2556 ตอนที่ 2
จะเป่านกหวีดถามเจ้านายหรือยัง ?
http://www.youtube.com/watch?v=pOBoCzoCIiA&feature=youtube_gdata
Wake up Thailand ประจำวันที่ 18 พฤศจิกายน 2556 ตอนที่ 1
ญัตติอภิปรายของ ปชป. ลำยองยังอาย
http://www.dailymotion.com/playlist/x2uza3_VoiceTV_wake-up-thailand/1#video=x17ba0y
วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
Divas Cafe
Divas Cafe
Divas Cafe ประจำวันที่ 18 พฤศจิกายน 2556
แก้อะไรก็ไม่ได้ ขอคืนประเทศให้ศาลรธน.
http://www.dailymotion.com/video/x17bg65_แก-อะไรก-ไม-ได-ขอค-นประเทศให-ศาลรธ
Divas Cafe ประจำวันที่ 18 พฤศจิกายน 2556
แก้อะไรก็ไม่ได้ ขอคืนประเทศให้ศาลรธน.
http://www.dailymotion.com/video/x17bg65_แก-อะไรก-ไม-ได-ขอค-นประเทศให-ศาลรธ
วาทะจุดประกาย
วาทะจุดประกาย
"ใน เมื่อไม่สามารถวิจารณ์กษัตริย์ ทหาร ชนชั้นปกครองและการกระทำใดๆ เช่นรัฐประหารในปัจจุบัน และวิจารณ์กษัตริย์ศักดินาและสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในอดีตไม่ได้ อย่าไปหวังว่าไทยจะมีประชาธิปไตย และอย่าไปหวังว่าเราจะมีประวัติศาสตร์ที่มีคุณภาพในสถาบันการศึกษา"
"Making lese majeste more draconian.
Thai courts punish people under lese majeste for criticising previous kings dating back to the 1790s.
No hope for democracy in society or any quality history in educational establishments."
ใจ อึ๊งภากรณ์
นักต่อสู้สังคมนิยม,อดีตอาจารย์ ม.จุฬาฯ
"ใน เมื่อไม่สามารถวิจารณ์กษัตริย์ ทหาร ชนชั้นปกครองและการกระทำใดๆ เช่นรัฐประหารในปัจจุบัน และวิจารณ์กษัตริย์ศักดินาและสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในอดีตไม่ได้ อย่าไปหวังว่าไทยจะมีประชาธิปไตย และอย่าไปหวังว่าเราจะมีประวัติศาสตร์ที่มีคุณภาพในสถาบันการศึกษา"
"Making lese majeste more draconian.
Thai courts punish people under lese majeste for criticising previous kings dating back to the 1790s.
No hope for democracy in society or any quality history in educational establishments."
ใจ อึ๊งภากรณ์
นักต่อสู้สังคมนิยม,อดีตอาจารย์ ม.จุฬาฯ
หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6374/2556
หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6374/2556
(ชื่อบทความเดิม: วิเคราะห์ปัญหาในการตีความและบังคับใช้บทบัญญัติมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา : ศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6374/2556)
โดย อรชุน เจนธนุรวิทยา [นามปากกา]
คำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้วินิจฉัยว่าจำเลยกระทำความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 112 โดยศาลฎีกาได้ยกเหตุแห่งการตีความหลายประการซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในระบบงาน ยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทย ทั้งนี้ ด้วยความเคารพต่อศาล ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลฎีกาด้วยเหตุผลหลายประการดังต่อไปนี้
ประการหนึ่ง ข้อความของจำเลยที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นการหมิ่นประมาทองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมีข้อความบางส่วนดังนี้ “… เพราะศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ในสิ่งใดที่คิดว่าเราไปแล้วเนี๊ยะ ถ้าเราทำด้วยความอิสระ ทำด้วยความคิดเสรี เพื่อพี่น้องประชาชน เราไปครับ แต่ถ้าเราต้องไปแล้วต้องเป็นเหมือนกับสมัยรัชกาลที่ 4 เราไม่เป็นครับ ยุคนั้นหมดไปแล้ว แต่บ้านเมืองนี้อาจจะมีอยู่บ้าง บางส่วนนะครับ บางส่วนยังมีอยู่บ้าง ก็คือ ความภาคภูมิใจในตัวผม คิดถึงทีไรเราก็มีความภาคภูมิใจตลอด” ผู้เขียนเห็นว่า ข้อความดังกล่าวไม่น่าจะมีลักษณะเป็นการ “หมิ่นประมาท” องค์พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 4 เพราะจากบริบทของข้อความ มิได้มีแม้แต่ตอนหนึ่งตอนใดที่เป็นการ “ใส่ความ” <1> องค์รัชกาลที่ 4 ในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้พระราชอำนาจบริหารบ้านเมืองในรัชสมัยของพระองค์ เป็นแต่เพียงการกล่าวเปรียบเทียบแก่ผู้ฟังโดยยกตัวอย่าง “ระบบการเมืองการปกครอง” ในสมัยนั้นซึ่งมีระบอบการปกครองที่แตกต่างจากสมัยปัจจุบันเท่านั้น ดังนี้ การที่ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า “ข้อความดังกล่าวเป็นการใส่ความหมิ่นประมาท ดูหมิ่นรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ในอดีต เปรียบเทียบว่ายุคของพระองค์เหมือนต้องไปเป็นทาส ไม่มีความเป็นอิสระ มีการปกครองที่ไม่ดี ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา …” จึงเป็นการวินิจฉัยที่นอกจากจะตีความหมายข้อความของจำเลยจนผิดเพี้ยนเกินเลย จากที่ปรากฏตามความเป็นจริงแล้ว ยังเป็นการทำลายหลักวิชาองค์ความรู้ว่าด้วยประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง อีกด้วย เพราะสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนย่อมมีความแตกต่างกันไปตามเงื่อนไข ทางประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองและระบอบการปกครองในแต่ละยุคสมัย หาใช่สิ่งที่อาจอาศัยมาตรฐานความรับรู้ทั่วไปในสมัยปัจจุบันเข้าตัดสินความ ถูกต้องชอบธรรมได้ไม่ แม้ข้อความของจำเลยจะสื่อแสดงได้ว่าในรัชสมัยของรัชกาลที่ 4 ยังมีการใช้ระบบทาสอยู่ในสังคมไทย ก็ไม่อาจฟังได้ว่าเป็นเพราะการปกครองที่ไม่ดีของพระองค์อันทำให้ประชาชนอาจ เสื่อมศรัทธาดังที่ศาลวินิจฉัย เนื่องเพราะระบบทาสมีใช้ในสังคมไทยสืบเนื่องมาแต่บุรพกาล หาใช่พระบรมราโชบายส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 4 ไม่ อีกทั้งเมื่อพิเคราะห์ตามบริบททางสังคมและประวัติศาสตร์ ย่อมจะเห็นได้ว่าการดำรงคงอยู่ของระบบทาสในสังคมไทยสมัยนั้น ไม่มีความเกี่ยวข้องกับพระปรีชาสามารถในการปกครองบริหารบ้านเมืองของรัชกาล ที่ 4 ดังที่ศาลวินิจฉัยแต่ประการใด ด้วยเหตุผลดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ขาด “องค์ประกอบภายนอก” ของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
ภาพลวงตาของ “ไฮเปอร์รอยัลลิสม์”
ภาพลวงตาของ “ไฮเปอร์รอยัลลิสม์”
Thongchai Winichakul: Hyper-royalism: Its spells and Its Magic
ในแง่หนึ่ง เมื่อเทียบกับเสรีภาพทางศาสนา คนไทยยังมีสิทธิเลือกศาสนาและแสดงออกต่างกันได้ แต่ในแง่ของความจงรักภักดี หรือความเป็นกษัตริย์นิยมนั้นคนไทยกลับเลือกได้น้อยกว่า และประชาสังคมก็มีความอดทนต่อคนที่เห็นต่างไปน้อยเสียยิ่งกว่าการเห็นต่าง ทางศาสนา
ธงชัยได้ตั้งคำถามที่สำคัญสามข้อต่อไฮเปอร์รอยัลลิสม์คือ
อะไรที่ทำให้เกิดสภาวะไฮเปอร์รอยัลลิสม์?
สภาวะดังกล่าวดำรงอยู่ได้อย่างไรในภาวะสมัยใหม่/ประเทศไทยเองเป็นรัฐสมัยใหม่หรือยัง ?
สภาวะดังกล่าวดำรงอยู่ได้อย่างไรในสภาพสังคมที่เปิด เป็นฆราวาส และเข้าสู่การใช้เหตุผลสมัยใหม่แล้ว?
ธงชัยขยายความต่อถึงปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดสภาวะรอยัลลิสม์ โดยชี้ว่ามาจากเหตุผลสองด้าน อย่างแรก มาจากการที่ฝ่ายนิยมเจ้าต้องการฟื้นฟูอำนาจของสถาบันกษัตริย์ในการเมืองไทย โดยเฉพาะหลังการสิ้นสุดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และภายหลังการสิ้นอำนาจของคณะราษฎร ซึ่งฝ่ายกษัตริย์นิยมต้องการสถาปนาอำนาจเหนือประชาธิปไตยซึ่งเขาเรียกว่า เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบกษัตริย์นิยม (Royalist Democracy)
'เป่านกหวีด' บทความใน The Economist ฉบับที่ไม่วางจำหน่ายในไทย
'เป่านกหวีด' บทความใน The Economist ฉบับที่ไม่วางจำหน่ายในไทย
บทความในอิโคโนมิสต์ฉบับวันที่ 16 พ.ย. ระบุว่ากลุ่ม “ชินวัตร”
อาจจะมั่นใจเกินไปว่าได้ความไว้วางใจจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมแล้ว
และทำเกินตัวเกินไปที่ผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรมผ่านรัฐสภา
แต่ก็ยากจะแพ้เลือกตั้ง
และสิ่งที่ฝ่ายต้านทักษิณกลัวที่สุดก็คือการเข้าหาราชสำนักของทักษิณนั่นเอง
ในรอบหลายปีมานี้ อิโคโนมิสต์หลายฉบับ ถูกงดจำหน่ายในประเทศไทย เช่นเมื่อปี 2554 อิโคโนมิสต์ ฉบับ 5 กุมภาพันธ์ 2554 ไม่มีการวางจำหน่าย โดยสายส่งปฏิเสธนำเข้าและจัดส่งหนังสือ "เพราะมีเนื้อหาไม่เหมาะสมกับประเทศไทย" โดยในเล่มมีรายงานข่าวเกี่ยวกับประเทศไทยในกรณีการบังคับใช้กฎหมาย “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ในหัวข้อ “When more is less. The increasing use of lèse-majesté laws serves no one” (เมื่อยิ่งมากก็ยิ่งน้อย การใช้กฎหมายหมิ่นฯ ที่เพิ่มขึ้นไม่ควรมีใครถูกดำเนินคดี) (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
หรือในปี 2553 ผู้จัดจำหน่ายในประเทศไทย งดวางจำหน่ายอิโคโนมิสต์ฉบับวันที่ 20 มีนาคม 2553 ที่มีคำโปรยที่หน้าปกว่า “The battle for Thailand” โดยบริษัทเวิร์ล มีเดีย ผู้แทนจัดจำหน่ายในประเทศไทยระบุว่า ดิ อิโคโนมิสต์ตัดสินใจระงับการจัดจำหน่ายในประเทศไทย และเจ้าหน้าที่ตำรวจก็กล่าวว่าไม่มีคำสั่งห้ามการจัดจำหน่ายออกมาเป็นทางการ (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) http://prachatai.com/journal/2010/03/28430
นอกจากนี้ในรอบปี 2551 - 2552 มีการงดวางจำหน่ายนิตยสารอิโคโนมิสต์ 4 ฉบับ ในจำนวนนี้มี 2 ครั้งที่เป็นการสั่งห้ามจำหน่ายจากตำรวจสันติบาล (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
สำหรับรายละเอียดของบทความ "เป่านกหวีด" มีรายละเอียดบางส่วน ดังต่อไปนี้
000
Banyan, 16 พฤศจิกายน 2013
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)