หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สมศักดิ์ เจียมฯ:การได้รัฐบาลยิ่งลักษณ์มาคุ้มค่ากับคนตาย เจ็บ พิการ ติดคุกหรือไม่?-คำตอบคือ"ไม่"!


หาก เปรียบเทียบคำแถลงรับโปรดเกล้าฯ เป็นนายกฯ 4 คนหลังสุด สิ่งทีน่าสะดุดใจคือ ถ้ามองในแง่ "ตัวบท" (text) ยิ่งลักษณ์ "ซาบซึ้งพระมหากรุณาธิคุณ" มากสุด มีการ quote พระราชดำรัส พระราชทานปริญญาที่เธอเข้าร​ับ ที่ ม.ช. ด้วย ดูเหมือนคราวนี้ ทีม "เพื่อไทย" speech writer ทำงานซีเรียสมาก

โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ที่มา เฟซบุ๊ค สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

ผมเห็นใจ คุณยิ่งลักษณ์(ทักษิณ), เห็นใจ นักการเมืองเพื่อไทย นะ

แต่คนที่ผมเห็นใจยิ่งกว่า คือคนทีตาย บาดเจ็บ พิการ ติดคุก

และผมเห็นว่า ก่อนที่ใครจะรีบพูดเรือ่ง "ต้องประคับประคองรัฐบาลให้อยู่รอดก่อน" "ต้องแก้ปัญหาปากท้องเศรษฐกิจก่อน" "ต้อง ..." ฯลฯ

โปรดหยุดคิดสักนิด ถึงชีวิต (ของคนตาย) ความเป็นอยู่ (ของคนเจ็บพิการ) และอิสรภาพ (ของคนติดคุก) ...

ผมยังเห็นว่า สิ่งเหล่านี้ มีค่าและสำคัญยิ่งกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้ กับความอยู่รอดปลอดภัยของนักการเมือง-รัฐบาล

....

ถ้าพูดแบบไม่เกรงใจ ความรู้สึกของผมคือ การเมืองระดับการตั้งรัฐบาล และสิ่งที่ดูเหมือนรัฐบาลจะทำ (ที่พูดๆกันเรื่อง "ปากท้อง เศรษฐกิจ" อะไรแบบนั้น) เมื่อเทียบกับ ความสูญเสีย-การเสียสละ (90 กว่าศพ หลายพันพิการ) ต้องบอกว่า "ห่างกัน" เยอะมาก

หรือพูดแบบภาษาการค้าแบบไม่เกรงใจคือ เป็นการ "ลงทุน" ที่ "ไม่คุ้ม" หรือ "ขาดทุน" อย่างย่อยยับมหาศาล

- จะมีการปลดนายทหาร และปฏิรูปกองทัพหรือไม่ (ตอบ: คงไม่)
- จะมีการปฏิรูประบบตุลาการ ศาล หรือไม่ (ตอบ: คงไม่)
- จะมีการทำอะไรกับปัญหาองคมนตรี และในที่สุด คือ ปัญหาสถานะ/อำนาจ ของสถาบันฯ ในลักษณะปฏิรูป ให้เป็นประชาธิปไตย หรือไม่ (ตอบ: ฝันไปก่อน)

สรุป: ร่วมร้อยชีวิต และอีกนับพันที่พิการ เป็น อะไรที่น่าเสียดาย และ "ไม่คุ้ม" อย่างยิ่ง

ตอบข้อกังวลเรื่องรัฐสวัสดิการ


โดย "กลุ่มเสื้อแดงเพื่อสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยและรัฐสวัสดิการ" 
 
1. กลไกตลาดมีประสิทธิภาพในการให้บริการมากกว่าภาครัฐ

นิยายอันนี้เป็นความพยายามอย่างหยาบๆ ที่จะลดบทบาทรัฐ ลดการเก็บภาษีจากคนรวย และเพิ่มกำไรภาคเอกชนผ่านการให้สวัสดิการในระดับที่น้อยที่สุด แต่ไม่มีข้อมูลจากที่ไหนในโลกที่ยืนยันความเชื่อนี้ได้ ค่าใช้จ่ายต่อหัวในระบบสาธารณะสุขแบบเอกชน ที่เน้นการประกันตน มักจะสูงกว่าระบบที่อาศัยการเก็บภาษีในระบบถ้วนหน้าของรัฐเสมอ และสาเหตุสำคัญมาจากการจ้างนักปัญชีมาบริหารระบบเอกชนอย่างสิ้นเปลือง ระบบสาธารณะสุขของสหรัฐอเมริกาที่ใช้ระบบเอกชน แพงกว่าระบบอังกฤษสองเท่า(เมื่อเทียบค่าใช้จ่ายต่อหัว) และไม่ครอบคลุมคนจนหลายล้านคนที่เป็นพลเมืองอีกด้วย แถมคนชั้นกลางซึ่งอาจมีฐานะเพียงพอที่จะซื้อประกันสุขภาพในสหรัฐ มักจะพบว่าเมื่อป่วยจริง บริษัทประกันสุขภาพจะหาทุกวิธีทางที่จะปฏิเสธการช่วยเหลือ เพราะการปกป้องกำไรเป็นเป้าหมาย ซึ่งหมายความว่าในด้านประสิทธิภาพของการให้บริการกับผู้มีประกัน และประสิทธิภาพในการดูแลประชากร ระบบกลไกตลาดของอเมริกาล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ถ้าเปรียบเทียบคุณภาพและประสิทธิภาพของระบบสาธารณะสุขสหรัฐกับระบบของประเทศ อื่น จะพบว่าสหรัฐอยู่ในอันดับที่ 70 ของโลก ในขณะที่ประเทศที่มีรัฐสวัสดิการ หรืออย่างน้อยระบบถ้วนหน้าที่บริหารโดยรัฐอยู่ในอันดับ1 ถึง 25[2]

ข้อมูลจากทั่วโลกในระบบการบริการอื่นๆ เช่น การเก็บขยะ การศึกษา และสาธารณูปโภค ก็พิสูจน์เช่นกันว่าภาคเอกชนและกลไกตลาดมีประสิทธิภาพต่ำในการบริการประชาชน ทั้งหมด เพราะการโอนการบริการของภาครัฐไปสู่เอกชนมีผลแค่ในการลดงบประมาณของรัฐ และเพิ่มกำไรให้เอกชน ในขณะที่คนธรรมดาได้รับการบริการแย่ลง และลูกจ้างที่เคยทำงานในภาครัฐถูกตัดเงินเดือนและลดมาตรฐานการจ้างงาน

ในภาพกว้างวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ระเบิดขึ้นในปี 2008 เกิดจากภาคเอกชน โดยเฉพาะธนาคารต่างๆ แล้วหลังจากนั้นรัฐต่างๆ ทั่วโลกต้องเข้ามาอุ้มหนี้สินทั้งหลายของเอกชน แต่เป็นที่น่าแปลกใจที่นักวิชาการฝ่ายเสรีนิยมยังท่องสูตรความเชื่อเดิมๆ แบบนกแก้วอยู่อย่างพร่ำเพรื่อ

2. ถ้าสวัสดิการสูงเกินไปคนจะขี้เกียจ ถ้าบริการฟรีคนจะใช้เกินความจำเป็น

นิยายนี้เป็นนิยายที่แสดงอคติของฝ่ายเสรีนิยมต่อคนจนอย่างแรง คนหนึ่งที่เคยท่องสูตรนี้คือนายภูมิพล ที่ไม่เคยขยันทำงานเลี้ยงชีพตนเองเลย

ในประการแรกคนรวยและอภิสิทธิ์ชนแต่ไหนแต่ไรเชื่อว่าคนจนจะขี้เกียจ “ถ้าไม่เฆี่ยนตี ขู่ จ่องดู หรือชักชวนด้วยเงิน” แต่ในความเป็นจริงคนที่ทำงานหนักสุดและนานสุดในสังคมคือคนจน ในขณะที่คนรวยลอยเหมือนกาฝากอยู่เหนือสังคม

อัตราว่างงานในสังคมไม่ได้ขึ้นลงตามความขี้เกียจของคน แต่เกิดจากสภาพเศรษฐกิจ คนส่วนใหญ่ต้องการงาน ต้องการศักดิ์ศรีที่มาจากการเลี้ยงตนเองและครอบครัว ไม่ใช่ว่าอยากนอนไม่ทำอะไรที่บ้าน ดังนั้นการกดระดับสวัสดิการในยุคที่อัตราว่างงานสูง ไม่มีผลอะไรนอกจากการเพิ่มความเดือดร้อนกับคนที่โชคร้ายตกงานในสังคมเท่า นั้น การมีรัฐสวัสดิการที่สร้างคุณภาพชีวิตให้ทุกคนไม่เคยลดประสิทธิภาพการทำงาน ของสังคม ตรงกันข้าม กลับเพิ่มประสิทธิภาพของเศรษฐกิจโดยรวม การที่คนยากคนจนต้องตกงานยากลำบากและเสียศักดิ์ศรีเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำลาย กำลังใจในการทำงานต่างหาก

ฝ่ายเสรีนิยมชอบอ้างถึงการ “โกงระบบ” ของผู้รับสวัสดิการ ซึ่งเกิดขึ้นบ้าง แต่ถ้าดูสถิติจริง จำนวนเงินที่ประชาชนมีสิทธิ์เบิกจากรัฐสวัสดิการแต่เลือกไม่เบิก มีมากกว่าจำนวนเงินที่ถูกโกงจากระบบ และจำนวนเงินที่คนรวยโกงผ่านการหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีมากยิ่งกว่านั้นอีก

ข้อเสนอของแนวเสรีนิยมที่ว่า “ถ้าให้บริการฟรีคนจนจะไปใช้มากเกินไปโดยไม่มีเหตุผล” เป็นข้อเสนอที่ดูถูกคนจนอย่างถึงที่สุด นักวิชาการเหล่านี้มองว่าตาสีตาสาโง่ ชอบไปหาหมอทุกวันโดยไม่มีเหตุผล ซึ่งไม่เคยปรากฏเป็นจริงที่ไหนเลย

3. รัฐสวัสดิการตะวันตกล้มเหลวเพราะคนชรามีมากเกินไป

ทุกวันนี้นักวิชาการและนักการเมืองเสรีนิยมกำลังเสนอว่าพ่อแม่เรา หรือคนชราทั่วไปในสังคม “เป็นภาระ” เพราะดันทะลึ่งไปมีสุขภาพดีและอายุยืนนานกว่าสมัยก่อน ความคิดนี้นอกจากจะไม่ระลึกถึงบุญคุณที่เราควรจะมีต่อคนทำงานรุ่นก่อน ที่สร้างเศรษฐกิจเราให้เจริญแล้ว ยังเป็นความเชื่อเท็จที่เสนอไปเพื่อเพิ่มอัตรากำไรให้บริษัทและกลุ่มทุน เพราะพวกนี้กำลังเสนอว่าบำเหน็จบำนาญของคนชรา “แพงเกินไป” ในยุโรปความเชื่อนี้นำไปสู่การยืดเวลาทำงาน มีการพยายามขยายอายุเกษียน และมีการกดระดับสวัสดิการอีกด้วย ในประเทศไทยรัฐบาลเริ่มมีการพูดว่าคนแก่ “เป็นภาระ” ด้วยทั้งๆ ที่คนชราในไทยไม่เคยได้สวัสดิการเพียงพอ และทั้งๆที่พวกอำมาตย์ใช้ชีวิตอย่างสุขสบายจากภาษีเราเสมอ

ข้อมูลที่พวกเสรีนิยมนำมาใช้เพื่อสนับสนุนความเชื่อเท็จนี้ คือสัดส่วนระหว่างคนทำงานกับคนชราที่ลดลง สัดส่วนนี้ลดลงเพราะคนมีแนวโน้มจะมีลูกน้อยและคนแก่มีอายุยืน ดังนั้นอัตราการขยายตัวของประชากรจะช้าลง แต่สิ่งที่พวกเสรีนิยมไม่เคยอยากพิจารณาคือในขณะที่สัดส่วนคนทำงานลดลง ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าใน 50ปีข้างหน้าคนทำงานจะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยเฉลี่ยสองเท่า ซึ่งแปลว่าคนทำงานสามารถเลี้ยงดูคนชราได้มากขึ้นสองเท่า[3] นอกจากนี้ในทุกประเทศการชะลอของอัตราเกิดที่ทำให้สัดส่วนคนชราเพิ่มขึ้นเป็น ปรากฏการณ์ชั่วคราว เพราะในที่สุดสัดส่วนนั้นจะคงที่และไม่เปลี่ยนอีก อย่างเช่นในกรณีอังกฤษซึ่งมีคนชรา 20% เหมือนกับ 20ปีก่อน และที่สำคัญในประเทศที่อัตราการเกิดตกต่ำกว่าอัตราการตายเป็นเวลานาน การขาดแรงงานแก้ได้โดยการเปิดพรมแดนต้อนรับคนงานจากที่อื่นได้[4]

“วิกฤตของกองทุนบำเหน็จบำนาญ” หรือ “วิกฤตรัฐสวัสดิการ” ที่นักการเมืองและนักวิชาการเสรีนิยมพูดถึง ไม่ได้มาจากการที่มีคนชรามากเกินไปแต่อย่างใด และไม่ได้เกิดจาก “ธรรมชาติของรัฐสวัสดิการ” แต่มาจากการที่รัฐบาลในประเทศพัฒนาลดงบประมาณรัฐที่ควรใช้ในการสนับสนุนกอง ทุนดังกล่าว และไม่ยอมเก็บภาษีในอัตราเดิมสมัยที่เริ่มสร้างรัฐสวัสดิการ นอกจากนี้มีการลดภาษีให้บริษัทใหญ่ และบริษัทเหล่านั้นไม่ยอมสมทบทุนบำเน็จบำนาญในระดับเดิมอีกด้วย พูดง่ายๆ ปรากฏการณ์นี้เกิดจากการจงใจไม่บำรุงรักษารัฐสวัสดิการ

ประเด็นเรื่องคนชราเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับการแบ่งมูลค่าในสังคมที่คนทำงาน สร้างขึ้นมา[5] แนวคิดเสรีนิยมต้องการจะรุกสู้เพื่อให้ฝ่ายนายทุนได้ส่วนแบ่งมากขึ้นจากคนทำ งาน ผลก็เห็นชัดที่สุดในสหรัฐอเมริกาเพราะระดับรายได้ของคนธรรมดาในสหรัฐในปี 1993 แย่ลงกว่า 20ปีก่อนและคนงานสหรัฐส่วนใหญ่ต้องทำงานเพิ่มอีกหลายวันต่อปี ในขณะเดียวกันสัดส่วนมูลค่าการผลิตที่ตกกับผู้บริหารและเจ้าของทุนมีการ เพิ่มขึ้นมหาศาล

4. รัฐสวัสดิการสร้างวัฒนธรรมการพึ่งพา

แนวคิดหลอกลวงนี้ดูถูกคนจนเช่นกัน และในไทยมักจะออกมาจากปากนักวิชาการ “สลิ่ม”

รัฐสวัสดิการเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของ พลเมือง และในการสร้างคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการพึ่งพา ในทางตรงข้ามสังคมใดที่มีคนจนมากเพราะไม่มีรัฐสวัสดิการจะมีปัญหาของการที่ คนจนต้องถูกบังคับให้พึ่งพามูลนิธิ การกุศล หรือความเมตตาของผู้อุปถัมภ์ ยิ่งกว่านั้นในสังคมทุนนิยมที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ คนกลุ่มหนึ่งได้ทรัพย์สินมหาศาลจากการเป็นเจ้าของหุ้นหรือเงินทุนโดยไม่ได้ ลงมือทำงานเอง คนกลุ่มนี้ต่างหากที่พึ่งพาการทำงานของคนส่วนใหญ่และเป็นกลุ่มคนที่ อ.ปรีดี พนมยงค์ เคยเรียกว่า “กาฝากสังคม” [6]

5. ถ้ามีรัฐสวัสดิการจะมีการเก็บภาษีสูงเกินไป

อันนี้ไม่ใช่ข้อกังวลที่เราประชาชนธรรมดาควรจะมี เพราะการเก็บภาษีสำหรับการสร้างและการบำรุงรักษารัฐสวัสดิการ จะต้องเก็บในอัตรา “ก้าวหน้า” คือคนรวยจ่ายมาก คนจนจ่ายน้อยหรือถ้าจนมากไม่จ่ายเลย และนอกจากการสร้างรายได้ของรัฐเพื่อรัฐสวัสดิการแล้ว การเก็บภาษีเป็นเครื่องมือสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำ

ดังนั้นในประเทศไทยคนอย่างนายภูมิพลต้องจ่ายมากที่สุด เศรษฐีนายทุนและนายพลต้องจ่ายมากๆ คนอื่นที่มีฐานะดีก็ต้องจ่ายมากกว่าประชาชนธรรมดา และแน่นอนพวกสลิ่มเสื้อเหลืองและอำมาตย์ทั้งหลายคงไม่อาสาจ่ายภาษีเพื่อ ประโยชน์ส่วนรวม ในยุโรปก็ไม่ต่างออกไป พวกนี้ต้องถูกบังคับกดดันจากขบวนการเคลื่อนไหว สหภาพแรงงาน และพรรคการเมืองของคนส่วนใหญ่ที่ต้องการสร้างสังคมที่เป็นธรรม การต่อสู้ของมวลชนในการสร้างสังคมที่เป็นธรรม จึงแยกไม่ออกจากการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ซึ่งต้องอาศัยพลังมวลชนเช่นกัน เราทราบว่าพรรคประชาธิปัตย์คงจะคัดค้านมาตรการที่จำเป็นในการสร้างรัฐ สวัสดิการแน่ อย่างไรก็ตามแม้แต่คนอย่างอดีตนายก ทักษิณ ก็ไม่อยากจ่ายภาษีมากและพยายามเคลื่อนย้ายทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่าย ภาษีสูงๆ นักการเมืองเศรษฐีในพรรคเพื่อไทยก็คงไม่ต่าง ดังนั้นเราหวังพึ่งพรรคการเมืองแบบนี้ไม่ได้ เราต้องมีพรรคการเมืองของคนชั้นล่างแท้ๆ

6. ประเทศไทยมีเงินเพียงพอหรือไม่?

ในขณะที่นายภูมิพลคนเดียวมีความร่ำรวยเป็นอันดับที่ 8 ของเศรษฐีทั่วโลก และรวยกว่ากษัตริย์ในยุโรปหรือในญี่ปุ่นทุกคน พวกอำมาตย์ชอบอ้างว่าประเทศไทย “ไม่มีเงินเพียงพอที่จะสร้างรัฐสวัสดิการ” แต่ถ้าเรายกเลิกสถาบันกษัตริย์และยึดทรัพย์สินทั้งหมดมาเพื่อประโยชน์ส่วน รวม พร้อมกับการตัดงบประมาณทหารให้เหลือน้อยที่สุด เราสามารถเริ่มต้นสร้างรัฐสวัสดิการได้

เราอาจพูดได้ว่ารัฐสวัสดิการ เป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมการเป็นพลเมืองที่เท่าเทียมกัน เพราะพลเมืองทุกคนจะได้ประโยชน์จากรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้า โดยที่ไม่ต้องพิสูจน์ความจน หรือพิสูจน์ว่าเป็นใครจากตระกูลไหน แต่ในขณะเดียวกัน มันเป็นหน้าที่ของพลเมืองที่จะร่วมสมทบกองทุนรัฐสวัสดิการ ผ่านการจ่ายภาษี และใครมีความพร้อมมากที่สุด ก็ต้องจ่ายภาษีมากที่สุด มันจะมีอะไรที่เป็นธรรมมากกว่านี้?
 _________________________________________________________________________________
[1] “กลุ่มเสื้อแดงเพื่อสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยและรัฐสวัสดิการ” เป็นกลุ่มคนไทยในยุโรปที่ต้องการเห็นประเทศไทยเป็นประเทศที่มีประชาธิปไตย แท้ มีสิทธิเสรีภาพ และความเท่าเทียม

[2] World Health Organisation (2001) World Health Report. Koichi Kawabuchi (2004) Health Care for Everyone. Asia Pacific Perspectives (Japan) 1 (12), 14-15.

[3] Shaw, F. (2002) Is the ageing population the problem it I made out to be? Foresight (4) 3, 4-11. Lowe, R. (1999) The Welfare State in Britain since 1945. Macmillan Press.

[4] Minns, R. & Sexton, S. (2006) Too many grannies? Private pensions corporate welfare & insecurity. Corner House Briefing 35.

[5] Minns, R. & Sexton, S. (2006) พึ่งอ้าง [6] ปรีดี พนมยงค์ (๒๔๗๕) “เค้าโครงการเศรษฐกิจ”

วันกฎหมายไทย คปต.เดินรณรงค์ ขอแค่สิทธิประกันตัวนักโทษการเมือง

http://www.youtube.com/watch?v=BcwP1vkvAk0&feature=player_embedded


เครือข่ายประชาธิปไตยครึ่งร้อยเดินรณรงค์วันกฏหมายไทยจากอนุสาวรีย์ ประชาธิปไตยไปศาลฎีกาเรียกร้องสิทธิการประกันตัวนักโทษทางการเมือง ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550 อันเป็นผลิตผลของการรัฐประหาร รวมถึงปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม


เครือข่ายประชาธิปไตย ชุมนุมหน้าประตู 1 ศาลฎีกา กทม. 7 ส.ค.54
7 ส.ค.54 เวลา  10.00 น.ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน เครือข่ายประชาธิปไตยประชาธิปไตย หรือ คปต. (Democracy Networks) ประมาณ 50 คน ชุมนุมเพื่อรำลึกเนื่องในวันรพี หรือวันกฎหมายไทย พร้อมเรียกร้องให้มีการปล่อยตัว โดยให้สิทธิในการประกันตัวนักโทษการเมือง ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550 อันเป็นผลิตผลของการรัฐประหาร รวมถึงปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม

หลังจากนั้นเวลา 11.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมได้เคลื่อนขบวนไปตามถนนราชดำเนิน ไปยังบริเวณประตู 1 หน้าศาลฎีกา สนามหลวง เพื่อนำเอาป้าย “ขอเศษเสี้ยวความเป็นธรรม” และ “ขอให้ใช้กฎหมายกับคนสั่งฆ่า 92 ศพ” เป็นต้น ไปติดไว้หน้าประตูศาล หลังจากนั้นได้มีการปราศรัยของคนในเครือข่ายก่อนสลายการชุมนุม

นายเยี่ยมยอด ศรีมันตะ รักษาการประธานเครือข่ายประชาธิป ได้กล่าวปราศรัยชี้แจงบริเวณหน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยก่อนเคลื่อนขบวนไป หน้าศาลฎีกาว่า นอกจากวันนี้จะได้มาน้อมรำลึกถึงวันกฎหมายไทยแล้ว พวกเรายังคิดว่า บ้านเมืองของเราจะปกครองประเทศด้วยระบบนิติรัฐ  ซึ่งจะใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารประเทศ  ในการที่จะให้ประเทศหรือประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขด้วยระบบนิติรัฐ   วันนี้บ้านเมืองของเราประสบปัญหาเรื่องความเป็นธรรม  ขาดหลักการที่สำคัญ แทนที่จะใช้หลักนิติรัฐมาบริหารประเทศ  เช่น เรายังมีผู้กระทำผิดซึ่งไม่ได้รับการลงโทษและมีผู้ไม่ได้กระทำความผิดกลับ ได้รับการลงโทษ ดังนั้นเราจึงมารวมตัวกันเรียกร้องหาความเป็นธรรมด้วยวัตถุประสงค์สำคัญ คือ

1. เพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมให้กับผู้ถูกจับกุมคุมขังในกรณีเรียกร้อง ประชาธิปไตย ระหว่างปี 2549-2553   คดีการเมืองรวมทั้งคดีอาญามาตร 112 โดยให้ผู้ถูกดำเนินคดีได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว และดำเนินคดีด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ
2. เพื่อเรียกร้องให้มีการยกเลิก ปรับปรุงกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550 อันเป็นผลิตผลของการรัฐประหาร
3. เพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ ตั้งแต่กระบวนการตรากฎหมาย กระบวนการบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการตีความกฎหมาย

“ขอใช้โอกาสสำคัญในวันนี้ที่เป็นวันกฎหมายไทย เรียกร้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการขับ เคลื่อน  ให้มีการปฏิรูประบบยุติธรรมของไทยทั้งระบบ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันนี้ สิ่งที่เผชิญหน้าอยู่คือนักโทษการเมือง นักโทษประชาธิปไตย ที่ถูกกล่าวหาที่มีจำนวนมาก ต้องได้รับสิทธิในการประกันตัวทุกคน  เพื่อมาต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรม” รักษาการประธานเครือข่ายประชาธิปไตย กล่าวทิ้งท้าย

ก่อนหน้านี้ เมื่อ 25 เม.ย.ที่ผ่านมา ที่สำนักงาน Red Power ชั้น 5 อิมพีเรียล ลาดพร้าว กรุงเทพฯ เครือข่ายประชาธิปไตย (คปต.) ได้แถลงเรียกร้อง "หยุด 112 หยุดคุกคามประชาชน เราต้องการเสรีภาพ" โดยนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำเครือข่าย และยังได้ประกาศในนามเครือข่ายว่า จะรณรงค์ล่ารายชื่อ 10,000 ชื่อตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ เพื่อยกเลิกมาตรา 112 ผ่านทางรัฐสภา ซึ่งหลังจากนั้น  5 วัน นายสมยศ กลับถูกจับกุมในข้อหาละเมิด​กฎหมายอาญามาตรา 112 และเมื่อวันที่ 25 ก.ค.ที่ผ่านมา อัยการได้ยื่นคำฟ้องต่อศาลโดยจะมีการนัดพร้อมเพื่อตรวจพยานหลักฐาน นัดหมายสืบพยานในวันที่ 12 ก.ย.54
ทั้งนี้ตั้งแต่ถูกจับกุมตัวเมื่อวันที่ 30 เม.ย. จนกระทั่งถึงปัจจุบัน สมยศยังคงถูกคุมขังอ​ยู่ ณ เรือนจำพิเศษโดยไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว



เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
นักข่าวพลเมือง: เปิดตัว 'เครือข่ายประชาธิปไตย' เดินเครื่องกิจกรรมยกเลิก ม.112-คืนเสรีภาพผู้ต้องโทษ กม.หมิ่นฯ
'เครือข่ายประชาธิปไตย' รณรงค์ล่าหมื่นชื่อ ยกเลิก 112
'เครือข่ายประชาธิปไตย' จัดเวทีรำลึก 19 พ.ค.ที่สวนลุม ทำพิธีสาปแช่งผู้บงการสังหารหมู่ปชช.
อัยการสั่งฟ้อง ‘สมยศ’ ศาลนัดพร้อม 12 ก.ย.