สำนึกรัฐบาลอียิปต์ สะท้อนสำนึก(บาง)รัฐบาลไทย
แม้การลาออกของ คณะรัฐบาลอียิปต์ ที่นำโดย นายอัสซาม ซาราฟ นายกรัฐมนตรีอียิปต์ จะมีขึ้นหลังการชุมนุมใหญ่อีกครั้ง ของประชาชนชาวอียิปต์
เป็นการลาออกหลังมีกลุ่มผู้ชุมนุมเสียชีวิตไปแล้ว 33 คน และยังมีผู้บาดเจ็บอีกนับพันคน
ท่ามกลางการประกาศ ของ โมฮัมเมด ฮาเกซี โฆษกรัฐบาล ที่ประกาศถ้อยแถลงดังกล่าว ผ่านสำนักข่าวมีนา ระบุว่า "รัฐบาล ของนายกรัฐมนตรีอัสซาม ชาราฟ ยื่นใบลาออกต่อ (คณะผู้ปกครอง) สภาทหารสูงสุดแล้ว แต่เนื่องด้วยกรณีแวดล้อมอันยากลำบากที่ประเทศกำลังเผชิญ รัฐบาลจะยังคงทำงานต่อไปจนว่าใบลาออกจะได้รับการอนุมัติ"
การตัดสินใจดำเนินการดังกล่าว จะเป็นเพียงแค่การเจาะช่องระบายแรงดันความโกรธแค้นจากประชาชนชาวไอยคุปต์เหล่านี้
เพราะยังมีอีกหนึ่งเป้าหมายใหญ่ ที่มีการระบุว่า “สภาทหารสูงสุด” ยังเป็น “เบื้องหลัง” ที่สร้างความไม่พอใจในการปกครองประเทศ เนื่องจากประชาชนยังคงต้องการ “ประชาธิปไตย” ที่ใสสะอาด และอยากให้การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 28 พฤศจิกายน เป็นไปอย่างโปร่งใส ซึ่งถือเป็นศึกเลือกตั้งครั้งแรกนับตั้งแต่การปฏิวัติโค่นล้มประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ในเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา....
เพื่อจะหาทางบีบให้ “ชนชั้นปกครอง” ลดช่องว่างความเป็นอยู่ลงมาบ้าง เพราะดินแดนแถบนั้นอุดมไปด้วย “ทองคำสีดำ” ที่เป็นแหล่งสร้างทรัพย์สมบัติให้ชนชั้นผู้ปกครองร่ำรวยกันอย่างล้นเหลือกับธุรกิจน้ำมันที่กวาดเงินจากทั่วโลกเข้าตัวเอง
แต่เมื่อประชาชนถูกเอาเปรียบ และถูกกดขี่ จึงทำให้การประท้วงลุกฮือเกิดขึ้น
ก็ไม่ต่างไปจากประเทศไทย ที่มีการเมืองบนความแตกต่าง ทั้งความคิด และความเป็นอยู่ กับคนสีหนึ่ง กับฝ่ายหนึ่งที่มีอีกสี
และเมื่อวันหนึ่งมีการชิงความได้เปรียบ ด้วยการ “อุ้ม” กลุ่มการเมืองบางกลุ่ม เพื่อเพิ่มจำนวนนับ ให้เกิดการสลับขั้วในการตั้งรัฐบาลเกิดขึ้น จนทำให้ นายอภิสทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้นั่งเก้าอี้ตัวนี้สมใจ กระทั่งนำไปสู่การชุมนุมเรียกร้องสิทธิ และต่อต้านอำนาจนอกระบบที่เข้ามาแทรกแซง ภายใต้การนำของ กลุ่มแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ในเหตุการณ์ “สงกรานต์เลือด” ในเดือน เม.ย.2552 จนต่อเนื่องไปถึงการชุมนุมใหญ่อีกครั้งของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้าน เผด็จการแห่งชาติ ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ที่บริเวณแยกราชประสงค์
และเป็นรัฐบาลอภิสิทธิ์ ที่เข้าบริหารจัดการปัญหามวลชนชุมนุมครั้งนี้ ด้วยการใช้ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. เข้าดำเนินการ ภายใต้การประกาศใช้พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี นั่งแท่นเป็นประธาน ศอฉ. มี พล.อ.อนุพงศ์ เผ่าจินดา อดีตผบ.ทบ. เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบ และมีคนที่โผล่หน้าผ่านโทรทัศน์บ่อยๆ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด เป็นโฆษก ศอฉ.
และการสลายการชุมนุมครั้งนั้นส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตไปถึง 91 ศพมีทั้งนักข่าวช่างภาพจากต่างประเทศ ผู้บาดเจ็บอีกจำนวนมาก
(อ่านต่อ)
http://news.voicetv.co.th/thailand/23954.html