หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อภิสิทธิ์หนีทหาร ความจริงอีกด้าน Hot Topic 25กค55

อภิสิทธิ์หนีทหาร ความจริงอีกด้าน Hot Topic 25กค55

 

(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=FrYvWC6h1tI&feature=player_embedded

ความสับสนซับซ้อนของเรื่อง “เสรีนิยม” ในโลกปัจจุบัน

ความสับสนซับซ้อนของเรื่อง “เสรีนิยม” ในโลกปัจจุบัน 



โดยใจ อึ๊งภากรณ์


เมื่อไม่นานมานี้มีคนตั้งคำถามสำคัญท้าทายกับผมว่า “ทำไมถึงเสนอว่าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคอำมาตย์ เป็นพรรคเสรีนิยม?” ผมจะพยายามตอบในบทความนี้

แนวคิดเสรีนิยม (Liberalism) เป็นทั้งแนวคิดทางการเมืองและเศรษฐศาสตร์พร้อมกัน แยกออกจากกันไม่ได้ จุดเริ่มต้นของแนวนี้คือการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างชนชั้นนายทุน กับชนชั้นขุนนางอนุรักษ์นิยมในยุโรป ในสมัยปฏิวัติ อังกฤษ อเมริกา และฝรั่งเศส เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17-18

ในยุคนั้นพวกขุนนางอนุรักษ์นิยมสามารถผูกขาดอำนาจเศรษฐกิจ ผ่านการถือตำแหน่งในรัฐ และสามารถควบคุมอำนาจทางการเมืองผ่านเผด็จการ ดังนั้นแนวคิดของชนชั้นนายทุน ซึ่งเป็นชนชั้นใหม่ที่เติบโตขึ้นมาและท้าทายขุนนางอนุรักษ์นิยม จะเสนอว่าต้องมีประชาธิปไตย และสิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน และต้องทำลายการผูกขาดระบบเศรษฐกิจของรัฐโดยการใช้กลไกตลาดเสรีและการค้า เสรี

นักคิดสำคัญๆ ของแนวเสรีนิยมนี้มีอย่างเช่น John Locke, de Tocqueville, James Mill และเขามักจะเน้นเรื่อง “ประชาธิปไตย” เสรีภาพปัจเจกกับสิทธิในทรัพย์สินปัจเจก เพื่อเผชิญหน้ากับรัฐเผด็จการของขุนนาง ส่วน Adam Smith จะเน้นเรื่องความสำคัญของกลไกตลาดเสรีเพื่อต้านการผูกขาด แต่ “ประชาธิปไตย” ของเขาไม่ใช่ประชาธิปไตยที่พลเมืองชายหญิงทุกชนชั้นจะมีสิทธิเท่าเทียมกัน อย่างที่เราเข้าใจในยุคนี้ มันเป็นการเน้นสิทธิเสรีภาพของนักธุรกิจและชนชั้นกลางเพศชายมากกว่า สิทธิในทรัพย์สินคือสิทธิของนายทุนที่จะจ้าง (และขูดรีด) แรงงาน และสำหรับ Smith การใช้กลไกตลาดมีเป้าหมายในการทำลายอำนาจผูกขาดของขุนนาง ในขณะเดียวกัน Smith เน้นว่าระบบเศรษฐกิจที่พึงปรารถนา จะมีความเป็นธรรมสำหรับคนจนด้วย ไม่ใช่ระบบ “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” แต่ลูกศิษย์ Smith ในยุคนี้มักจะลืมประเด็นสำคัญอันนี้

เราต้องเข้าใจว่าคนที่ยึดถือแนวเสรีนิยมในยุคนั้นคือคนสมัยใหม่ก้าวหน้า ที่กำลังสู้กับระบบเก่า แต่พอชนชั้นนายทุนสถาปนาตนเองเป็นชนชั้นปกครอง และระบบทุนนิยมครอบงำโลกได้ กระแสคิดหลักของนายทุนก็เปลี่ยนไปเป็นการปกป้องอำนาจและผลประโยชน์ของเขา คือเขากลายเป็นคนอนุรักษ์นิยมนั้นเอง

ในปัจจุบัน แนวคิดเสรีนิยมกลายเป็นแนวที่ต่อต้านการใช้รัฐ เพื่อสร้างสวัสดิการและความเป็นธรรมสำหรับส่วนรวม ซึ่งเป็นกระแสหลักในยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เสรีนิยมที่รื้อฟื้นขึ้นมานี้เป็นแนวคิดที่เน้นสิทธิปัจเจกของคนรวยและนาย ทุน เหนือสิทธิของคนธรรมดาที่มาจากการเน้นผลประโยชน์ส่วนรวม “เสรีนิยมใหม่” หรือ Neo-liberalism คือลัทธิของคนที่เน้นการค้าเสรี การขายรัฐวิสาหกิจให้เอกชน และการยกเลิกรัฐสวัสดิการ เช่นพรรคอนุรักษ์นิยมในอังกฤษและส่วนอื่นของยุโรปและในสหรัฐ ในทศวรรษ 1980 (ยุค Thatcher กับ Reagan) พวกนี้นอกจากจะเน้นความ “ศักดิ์สิทธิ์ของกลไกตลาด” และความ “จำเป็น” ที่จะลดบทบาทรัฐแล้ว เขาพร้อมจะรับแนวคิด “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” แล้วยังอ้างว่าการลดบทบาทรัฐในระบบเศรษฐกิจ จะทำให้มี “ประชาธิปไตย” มากขึ้น แต่ในความเป็นจริงมันเป็นการทำลายสิทธิเสรีภาพของคนทำงานซึ่งต้องการให้รัฐ ปกป้องความเสมอภาคในสังคม

พวกเสรีนิยมใหม่ มักจะวิจารณ์สวัสดิการรัฐว่าเป็นการสร้าง “ระบบอุปถัมภ์” และ “ทำลายวินัยทางการคลัง” เพราะรัฐเก็บภาษีสูงและกู้เงินมาเพื่อสร้างสวัสดิการ แทนที่จะลดภาษีให้คนรวยและหลีกทางให้บริษัทเอกชนเป็นคนกู้เงินในตลาดการเงิน

ทุกวันนี้พรรคการเมือง “เสรีนิยม” ในญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อังกฤษ และส่วนอื่นของยุโรป เป็นแค่พรรคอนุรักษ์นิยมชนิดหนึ่งของนายทุนเท่านั้น กรณีพรรคประชาธิปัตย์ในไทยก็ไม่ต่างออกไป และพรรคนี้เป็นส่วนหนึ่งของ “สากลเสรีนิยม” อีกด้วย

ที่น่าสนใจคือ พรรคประชาธิปัตย์ และนักวิชาการเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมในไทย มักจะโจมตีการที่รัฐบาล ไทยรักไทย ใช้รัฐในการสร้างสวัสดิการว่าเป็นการ “ทำลายวินัยทางการคลัง” และการสร้างวัฒนธรรมพึ่งพาอุปถัมภ์ และนักวิชาการรัฐศาสตร์เสรีนิยมในไทย ที่อ้างนักคิดเสรีนิยมต่างๆ เพื่ออธิบายประชาธิปไตย ก็หันไปต้อนรับรัฐประหาร 19 กันยา นี่คือสาเหตุที่ผมเรียกพวกนี้ว่า “เสรีนิยมรถถัง”

ประเด็นถกเถียงระหว่างพวกเสรีนิยมกับพวกสังคมนิยมในเรื่องประชาธิปไตย ตะวันตกคือ สิทธิเสรีภาพของปัจเจก และระบบประชาธิปไตยแบบตะวันตก จะถูกพัฒนาผ่านการปล่อยวางให้กลไกตลาดดำเนินไปโดยไร้อุปสรรค์ หรือจะถูกพัฒนาผ่านการใช้รัฐในการเพิ่มคุณภาพชีวิตของพลเมือง

ในไทย ทั้งรัฐบาลไทยรักไทย และรัฐบาลอำมาตย์อนุรักษ์นิยมของ คมช. กับประชาธิปัตย์ ชื่นชมในนโยบายเสรีนิยมกลไกตลาด เช่นการเซ็นสัญญาค้าเสรี การนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ถ้าศึกษารัฐธรรมนูญปี 2550 จะเห็นว่าอำมาตย์ส่งเสริมทั้งกลไกตลาดเสรี แบบเสรีนิยมโลกาภิวัตน์ กับเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่กัน และมีการเน้นว่าทั้งสองไปด้วยกันได้และไม่ขัดแย้งกัน เราเข้าใจได้เพราะทั้งสองปฏิเสธการใช้รัฐเพื่อการกระจายรายได้และสร้าง สวัสดิการ

ไทยรักไทย ต่างจากอำมาตย์อนุรักษ์นิยมและพรรคประชาธิปัตย์ ตรงที่มีการใช้เศรษฐกิจคู่ขนาน คือใช้เสรีนิยมกลไกตลาดในระดับชาติกับโลกาภิวัตน์ และงบประมาณรัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้าในระดับหมู่บ้านตามแนวเคนส์ (Keynesian) ไทยรักไทย ต่างจากพวกนั้นอีกในเรื่องการพัฒนาสวัสดิการ และการเชื่อมโยงเรื่องนี้กับชัยชนะในการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย

สรุปแล้วความขัดแย้งในวิกฤตการเมืองปัจจุบัน ไม่ใช่ระหว่างกลุ่มชนชั้นนำที่ใช้เสรีนิยม กับกลุ่มชนชั้นนำที่อยากปิดประเทศและหมุนนาฬิกากลับไปสู่ยุคก่อนโลกาภิวัตน์ แต่อย่างใด แต่เป็นความขัดแย้งระหว่างอำมาตย์อนุรักษ์นิยมที่ต้องการปกครองประชาชน โดยที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมอะไรเลย ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ กับนักการเมืองนายทุนที่ทำแนวร่วมประชาธิปไตยกับพลเมืองส่วนใหญ่ผ่านการ พัฒนาสังคม

พรรคประชาธิปัตย์ จึงเป็นทั้งพรรคเสรีนิยม และพรรคอนุรักษ์นิยมได้ และนักวิชาการเสรีนิยมในไทยเป็นพวกที่สนับสนุนอำมาตย์กับเผด็จการ

แต่ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เป็น “นิยามทางวิชาการ” เพราะถ้าคุณใบตองแห้งและคนอื่นจะเรียกตัวเองด้วยภาษาชาวบ้านว่าเป็น “เสรีนิยม” ในความหมายที่ชื่นชมสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย เขาก็มีสิทธิ์ที่จะเรียกตัวเองแบบนั้น และผมก็จะสนับสนุนความรักในเสรีภาพของเขาเต็มที่

ส่วนผมจะขอเรียกตัวเองว่าเป็น “เสื้อแดงสังคมนิยม” ที่ต้องการเห็นประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยและรัฐสวัสดิการ ผ่านการทำลายเผด็จการของอำมาตย์ และเผด็จการทางเศรษฐกิจของทุนนิยมกลไกตลาดเสรี

(ที่มา)
http://prachatai.com/journal/2010/10/31488 


เผด็จการของเสรีนิยม
(คลิกอ่าน)
http://redthaisocialist.com/2011-02-22-09-46-04/303-2011-12-06-13-23-22.html

หลักการเสรีนิยมแตกต่างกับประชาธิปไตยอย่างไร Divas Cafe 26กค55

หลักการเสรีนิยมแตกต่างกับประชาธิปไตยอย่างไร Divas Cafe 26กค55 


แดงโห่ ปชป เฮ นักวิชาการซัด กระแสตีกลับเพื่อไทย Divas Cafe 13มิย55
http://youtu.be/vTCbQdANN1k


(คลิก) 

The Daily Dose 26กรกฎาคม55

The Daily Dose 26กรกฎาคม55 

 

(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=YqOM8gZDo6w&feature=player_embedded

"ทักษิณ"ลั่นจะได้กลับบ้านเร็วๆ นี้ แนะคน ปชป.อ่านหนังสือจะได้เข้าใจ เหน็บอ่านนิยายน้ำเน่ากันเยอะ

"ทักษิณ"ลั่นจะได้กลับบ้านเร็วๆ นี้ แนะคน ปชป.อ่านหนังสือจะได้เข้าใจ เหน็บอ่านนิยายน้ำเน่ากันเยอะ

 

 


วันที่ 26 ก.ค. ที่พรรคเพื่อไทย ในงานเปิดห้องสมุดทักษิณ ชินวัตร เนื่องในโอกาสครบรอบวันคล้ายวันเกิด 63 ปี ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี   พ.ต.ท.ทักษิณ วิดีโอลิงค์จากเกาะฮ่องกงมาในงานว่า ครอบครัวคงรู้ว่าตนชอบอ่าน จึงทำห้องสมุดนี้ขึ้นมาเพื่อจุดประกายทุกคนให้รักการอ่าน เพราะการอ่านทำให้มีความรู้ และความรู้คือการสร้างพลัง ไม่ใช่เงินอย่างที่คนในพรรคประชาธิปัตย์เข้าใจ เลยแกล้งยึดเงินไป มากกว่านั้นอยากให้คนในพรรคประชาธิปัตย์ได้มาอ่าน เพื่อจะได้รู้ว่าตนคิดอย่างไร

พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า เพราะทุกวันนี้ คนอ่านนิยายน้ำเน่ากันเยอะ ทำให้เป็นคนไม่มีความรู้ และที่ทุกวันนี้บ้านเมืองวุ่นวายเพราะคนไม่มีความรู้มีมากกว่าคนมีความรู้ เลยทำให้คนไม่รู้ถูกหลอก ซึ่งแท้ที่จริงควรนำความรู้มาพูด จึงอยากให้นักการเมืองได้อ่านหนังสือดีๆ  โดยตนจะนำหนังสือที่ชอบและใช้อ่านในช่วงอยู่ต่างประเทศส่งมาให้อ่านด้วย
 
นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังกล่าวอีกว่า อีกไม่นานนี้จะได้กลับบ้าน รอเพียงประเทศไทยออกวีซ่าให้เท่านั้น ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะมีใครออกให้และออกเมื่อไหร่ สำหรับงานครบรอบวันเกิดนั้น ใครมาหรือไม่ได้มาที่เกาะฮ่องกงไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่อยู่ที่ความมุ่งมั่นในการสร้างบ้านเมืองมากกว่า

(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1343277290&grpid=00&catid=&subcatid=

คำวินิจฉัยกลางศาลรัฐธรรมนูญ: คดีแก้ รธน. คือ ล้มล้างการปกครองฯ หรือไม่ (อย่างเป็นทางการ)

คำวินิจฉัยกลางศาลรัฐธรรมนูญ: คดีแก้ รธน. คือ ล้มล้างการปกครองฯ หรือไม่ (อย่างเป็นทางการ)



 
ออกแล้ว คำวินิจฉัยกลาง (อย่างเป็นทางการ) ที่ 18-22/2555 เรื่องคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68


26 ก.ค. 55 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่คำวินิจฉัยกลางที่ 18-22/2555 เรื่องคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ตามที่มีผู้ร้องให้ศาลวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาทำหน้าที่พิจารณายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ทั้งฉบับ เป็นการล้มล้างการปกครองหรือเป็นการให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครอง โดยวิถีทางที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งขัดกับมาตรา 68 หรือไม่ รวมทั้งสิ้น 29 หน้า โดยมีประเด็นวินิจฉัยทั้งสิ้น 4 ประเด็น


โดยประเด็นที่หนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการรับคำร้องวินิจฉัยคดีนี้หรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ศาลฯมีอำนาจหน้าที่ในการรับวินิจฉัยคำร้องดังกล่าว ตามมาตรา 68 วรรคสอง โดยอัยการสูงสุดมีหน้าที่แค่พิจารณาเบื้องต้นเท่านั้น ไม่มีอำนาจตัดสิทธิการร้องของบุคคลโดยตรง ในประเด็นที่สอง การแก้ไขรัฐธรมนูญ มาตรา 291 ทำได้ทั้งฉบับหรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า แม้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 จะเป็นอำนาจรัฐสภา แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขทั้งฉบับได้ เพราะเมื่อรัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติโดยประชาชน ดังนั้น ควรถามประชาชนก่อนแก้ไข ประเด็นที่ สาม การแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภานี้ เป็นการล้มล้างระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขหรือไม่ ศาลวินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะชี้ชัดได้ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะทำให้เกิดการล้มล้างการปกครอง เพราะเป็นเพียงการกล่าวอ้าง และแสดงความเป็นห่วงเท่านั้น จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง และเมื่อยกคำร้องแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องพิจารณาในประเด็นที่ 4 เกี่ยวกับการยุบพรรค และตัดสิทธิทางการเมือง


โดยคำวินิจฉัยอย่างเป็นทางการ มีรายละเอียด ดังนี้


(คลิก)
คำวินิจฉัยกลางศาลรัฐธรรมนูญ: คดีแก้ รธน. คือ ล้มล้างการปกครองฯ หรือไม่ (อย่างเป็นทางการ)
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41752

Wake up Thailand ประจำวันพฤหัสบดีที่ 26 ก.ค. 55

Wake up Thailand  ประจำวันพฤหัสบดีที่ 26 ก.ค. 55
 
  

(ส.ส. ไม่แข็ง..Primary Vote เสียดีไหม?)

 




(คลิกฟัง)
http://shows.voicetv.co.th/wakeup-thailand/45722.html

สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์/เนลสัน แมนเดล่า ประเทศไทย

สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์/เนลสัน แมนเดล่า ประเทศไทย


Posted Image
 
วันนี้สภาผู้แทนคนเสื้อแดงในคุก จะอภิปรายพูดถึงคนเสื้อแดงที่ถูกคุมขังอยู่ในคุกคนหนึ่ง เขาถูกกล่าวหาในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 รวมทั้งหมด 5 คดี ต่างกรรม ต่างวาระ เขารับสารภาพไม่ขอต่อสู้คดี ศาลตัดสินจำคุกคดีละ 2 ปี 6 เดือน ให้นับต่อแต่ละคดี เวลานี้คดีสิ้นสุดหมดแล้ว
 
เขาผู้นี้ก็คือ อาจารย์สุรชัย แซ่ด่าน อธิการบดีมหาวิทยาลัยสนามหลวง ประธานกลุ่มแดงสยามนั่นเอง อาจารย์สุรชัย ติดคุกมาแล้ว 3 รอบ รวม 21 ปี โดยรอบแรก ถูกศาลพิพากษาจำคุก 6 ปี แต่ถูกจองจำอยู่เพียง 3 ปี รอบที่สอง ถูกศาลทหารพิพากษาจำคุก 23 ปี หนึ่งคดี และพิพากษาประหารชีวิตอีกคดีหนึ่ง ถูกคุมขังอยู่ 16 ปี ส่วนรอบนี้เป็นรอบที่ 3 ถูกตัดสิน 5 คดี 12 ปี 6 เดือน ถูกขังมาแล้ว 1 ปี 4 เดือน ยังไม่รู้ว่าจะต้องอยู่อีกกี่ปี
 
อาจารย์สุรชัย คาดว่าจะอยู่ในคุกประมาณ 6-7 ปี ก็จะทำสถิติเท่ากับท่านเนลสัน แมนเดล่า แห่งประเทศแอฟริกาใต้ ที่ติดคุกอยู่ 27 ปี ออกจากคุกตอนอายุ 76 ปี อ.สุรชัยปีนี้ อายุ 70 ปี ถ้าอยู่ในคุกอีก 6 ปี ออกจากคุก็ 76 ปี เท่ากับท่านเนลสัน แมนเดล่า และติดคุก 27 ปีเท่ากัน อ.สุรชัยจึงเป็น เนลสัน แมนเดล่า แห่งประเทศไทย แต่จะเป็นเพียงเนลสัน แมนเดล่า ที่ติดคุกเท่านั้น ไม่ใช่เนลสันที่เป็นประธานาธิบดีหรอก
 
ทำไม อ.สุรชัย จึงคิดว่าต้องถูกคุมขังอยู่ในคุกถึง 6-7 ปี เพราะคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ผ่านมาไม่เคยมีใครที่จะต้องถูกคุมขังอยู่นานขนาดนั้น เพราะเป็นคดีที่ละเมิดต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์จะทรงมีพระเมตตาพระราชทานอภัยโทษเสมอ ซึ่ง อ.สุรชัย ก็เคยได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานอภัยโทษประทานชีวิตให้มาแล้ว
 
อ.สุรชัย คงจะคาดการณ์ไปในทางร้ายว่า เพราะเคยได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานอภัยโทษ ประหารชีวิตให้มาแล้วนั่นเอง จึงอาจจะไม่ได้รับพระราชทานอภัยโทษพิเศษในครั้งนี้ เนื่องจากจะถูกมองว่าไม่เข็ดหลาบ จึงเตรียมติดคุกยาว ถึงขนาดทำพินัยกรรมเอาไว้ เผื่อตายในคุกทีเดียว
 
ที่ประชุมสภาผู้แทนคนเสื้อแดงในคุกมีความเห็นว่า อ.สุรชัย เป็นผู้ที่ไม่เชื่อถือกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยเลย จึงไม่ต่อสู้คดี เพราะเคยผิดหวังและเจ็บปวดมาแล้วจากการกระทำของกระบวนการยุติธรรม ถูกยัดเยียดคดีและตัดสินอย่างไม่เป็นธรรม เป็นผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนรุนแรงที่สุด จึงคิดว่าครั้งนี้ก็คงไม่ได้รับความเป็นธรรมอีก
 
ก็เป็นเรื่องที่ชาวไทยและชาวโลกจะได้ติดตามดูต่อไปว่า สิ่งที่ อ.สุรชัย คิดนั้นถูกหรือผิด รัฐบาลโดยกระทรวงยุติธรรมจะดำเนินการยื่นเรื่องราวทูลเกล้าถวายฎีกาขอพระราช ทานอภัยโทษพิเศษ แก่ อ.สุรชัย ในเดือนสิงหาคม 2555 นี้ ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนารถ ทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ และเป็นปีแห่งพุทธชยันตี พระพุทธเจ้าตรัสรู้ 2,600 ปี จึงมีการสร้างกุศลยิ่งใหญ่เกิดขึ้นมากมาย แต่ อ.สุรชัย ไม่มั่นใจว่าตนจะได้รับกุศลผลบุญด้วยหรือไม่
 
อดีตนักโทษประหารที่ผ่านการติดคุกมาแล้ว 21 ปี ด้วยวัย 70 ปี ถ้าต้องอยู่ในคุกอีก 6 ปีก็จะทำสถิติเท่ากับอดีตประธานาธิบดีเนลสัน แมเดล่า แห่งประเทศแอฟริกาใต้ กลายเป็น เนลสัน แมนเดล่า แห่งประเทศไทย ที่ประชุมสภาผู้แทนคนเสื้อแดงในคุก จึงมีมติอวยพรให้ อ.สุรชัย ได้มีชีวิตยืนยาว ถึงวันนั้นเพื่อรับการสดุดี 
 
เสียงจากคุก
 
(ที่มา)
http://blogazine.in.th/blogs/littlevoicefromprisons/post/3528