หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

รัฐประหารยาว

รัฐประหารยาว


 
โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

 
รัฐประหารเดือน พฤษภาคม ๒๕๕๗ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของกระบวนการรัฐประหารปัจจุบันในไทย มันเริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๔๙

ต้นเหตุของความชำรุดของระบบประชาธิปไตยไทย เริ่มจากวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี ๒๕๓๙ เพราะในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ นายทุนหลายส่วน และข้าราชการชั้นสูง ต่างหาทางโยนภาระในการแบกปัญหาวิกฤตไปสู่คนจน โดยการเลิกจ้าง ตัดเงินเดือน และตัดสวัสดิการ พวกอำมาตย์หัวเก่าเหล่านี้ใช้เงินรัฐที่มาจากภาษีประชาชน เพื่อจ่ายหนี้เสียในระบบการเงินและหนุนเงินออมของคนรวยและชนชั้นกลาง ฝ่ายเอ็นจีโอและนักวิชาการแนวชาตินิยม ก็สนับสนุนแนวคิดล้าหลังแบบเศรษฐกิจพึ่งตนเอง โดยอ้างแบบเพ้อฝันว่าเราสามารถปิดประเทศและหมุนนาฬิกากลับไปสู่สังคมเกษตร ได้ ส่วนนักวิชาการเสรีนิยมกลไกตลาด ก็พยายามแก้ตัวเรื่องการเปิดเสรีที่นำไปสู่วิกฤตครั้งนี้ โดยอ้างว่าเปิดมากเกินไปโดยไม่มีการกำกับดูแลอย่างเพียงพอโดยรัฐ แต่เขาไม่กล้ายอมรับว่าวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนั้นมาจากข้อบกพร่องในตัวมันเอง ของกลไกตลาดเสรี และเขาไม่กล้าศึกษาทฤษฏีเศรษฐศาสตร์การเมืองของฝ่ายซ้าย ที่อธิบายวิกฤตเศรษฐกิจทุนนิยมมาตั้งแต่สมัย คาร์ล มาร์คซ์
 
สำหรับ ทักษิณ ชินวัตร กับพรรคพวก วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้เน้นความล้าหลังของเศรษฐกิจกับสังคมไทย พรรคไทยรักไทยจึงเสนอนโยบายที่จะพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และเพื่อสร้างฐานเสียงในหมู่พลเมือง นอกจากนี้มีการผลักดันนโยบายต่างๆ ที่จะปรับปรุงและพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้ทันสมัย นี่คือที่มาของชัยชนะของพรรคไทยรักไทย และเป็นสาเหตุให้ทักษิณและไทยรักไทยครองใจประชาชนส่วนใหญ่ถึงทุกวันนี้ 
 
เราต้องเข้าใจว่ารัฐบาลไทยรักไทยเป็นรัฐบาลนายทุน เพื่อประโยชน์นายทุน แต่คนอย่างทักษิณเข้าใจว่าต้องนำพลเมืองส่วนใหญ่เข้ามามีส่วนร่วม ด้วยนโยบายรูปธรรมที่ครองใจประชาชน
 
ก่อนหน้านี้สังคมไทยมีแต่พรรคการเมืองของนายทุนเพื่อประโยชน์นายทุน ซึ่งล้วนแต่ไม่สนใจที่จะดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ตัวอย่างที่ดีคือพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งอาศัยการสร้างฐานเสียงด้วยระบบอุปถัมภ์ โดยเฉพาะในภาคใต้ และยังอาศัยการสนับสนุนจากชนชั้นกลางอนุรักษ์นิยมในกรุงเทพฯด้วย
 
เป้าหมายของไทยรักไทยคือการพัฒนาเศรษฐกิจกับสังคมไทย เพื่อให้ประเทศไทยแข่งขันในเวทีโลกได้ โดยเฉพาะหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี ๒๕๔๐ และรัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลแรกที่มองว่าคนจนควรจะเป็น “ผู้ร่วมพัฒนา” โดยไม่มองว่าคนจนเป็น “ภาระ” หรือเป็น “คนโง่” 

ศาลทหารให้ประกัน 'จิตรา' และอีก 2 ราย- 'ทอม ดันดี' ฝากขัง 12 วัน

ศาลทหารให้ประกัน 'จิตรา' และอีก 2 ราย- 'ทอม ดันดี' ฝากขัง 12 วัน








14 มิ.ย.2557 เวลาประมาณ 16.20 น. ศาลทหารมีคำสั่งอนุญาตปล่อยชั่วคราว จิตรา คชเดช ด้วยหลักประกันเงินสด 20,000 บาท ขณะที่อนุรักษ์ เจนตวนิชย์ (ฟอร์ด เส้นทางสีแดง) และ สุรสิทธิ์ น่วมศิริ (ผู้จับที่หน้าห้างพารากอนเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว) ผู้ต้องหาฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. ศาลอนุญาตปล่อยชั่วคราว ด้วยหลักประกันเงินสด 10,000 บาท ด้วยเช่นกัน

ส่วนทอม ดันดี หรือนายธานัท ธนวัชรนนท์ ผู้ต้องหาฝ่าฝืนไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่ง คสช. ศาลทหารไม่อนุญาตปล่อยชั่วคราว โดยให้เหตุผลว่าเกรงจะหลบหนี และให้ฝากขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ 12 วันตามที่ตำรวจยื่นคำร้องขอฝากขัง ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ทหารได้ควบคุมตัวนทอม ดันดี จากกองพลทหารม้าที่2รักษาพระองค์(พล.ม.2รอ.)มายัง กองบังคับการปราบปรามตั้งแต่วันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมา

เงื่อนไขสำหรับผู้ได้รับการประกันตัว ประกอบด้วย 1. ห้ามชุนุมทางการเมืองอันก่อให้เกิดความไม่สงบในราชอาณาจักร และห้ามแสดงความคิดเห็นด้วยวาจาหรือวิธีอื่นใด หรือทำเป็นหนังสือเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ ประชาชน 2.ให้ผู้ต้องหามารายงานตัวต่อศาลในวันที่ 19 มิ.ย.2557 เวลา 9.30 น. จากนั้นวันที่ 25 มิ.ย.นัดฟังคำพิจารณาว่าศาลจะให้ฝากขังต่อหรือไม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลาประมาณ 17.30 น. ญาติและเพื่อนๆ ได้เดินทางไปรอการปล่อยตัวของจิตราอยู่ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง ส่วนอนุรักษ์และสุรสิทธิ์นั้นจะปล่อยตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ล่าสุด เวลา 21.05 น. จิตราได้รับการปล่อยตัวจากทัณฑสถานหญิงกลาง

ทั้งนี้ จิตรา ถูก คสช. เรียกเข้ารายงานตัวตามคำสั่งที่ 44/2557 แต่ไม่สามารถเดินทางมารายงานตัวได้เนื่องจากติดภารกิจที่ประเทศสวีเดน จากนั้น คสช.ได้ออกหมายจับ และเมื่อจิตราเดินทางกลับจากสวีเดนถึงสนามบินสุวรรณภูมิเมื่อเช้าวานนี้ (13 มิ.ย.) ก็ถูกควบคุมตัวไว้ที่กองปราบ 1 คืน  ส่วนนายสุรสิทธิ์ นั้นเป็นประชาชนที่ถูกับกุมจากหน้าห้างพารากอนในวันที่มีกิจกรรมต้านรัฐ ประหารเมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมาถูกควบคุมตัวที่กองปราบ ขณะที่ ฟอร์ด เส้นทางสีแดง  นักกิจกรรมช่วยเหลือผู้ไดรับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวจากบ้านพักราว 2-3 วันก่อนมาไว้ที่กองปราบเช่นกัน

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2014/06/54003  

บก.ลายจุด ถูก ตร. สภ.เมืองร้อยเอ็ด เข้าแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม เป็นคดี 112


 

เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ นายอานนท์ นำภา ทนายความของนายสมบัติ บุญงามอนงค์ (บก.ลายจุด) แจ้งว่า เมื่อช่วงบ่ายวันนี้ พนักงานสอบสวน สภ.เมืองร้อยเอ็ด ได้เดินทางมาที่เรือนจำเพื่อเข้าแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมกับนายสมบัติ ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งเป็นคดีที่นายวิพุธ สุขประเสริฐ หรือผู้ใช้นามแฝงว่า "I Pad" ได้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษนายสมบัติเมื่อวันที่ 5 ม.ค.57 โดยกล่าวอ้างถึงการแชร์ภาพล้อเลียนในเฟซบุ๊ก และศาลได้อนุมัติหมายจับเมื่อวันที่ 10 มิ.ย.ที่ผ่านมา เบื้องต้นนายสมบัติให้การปฏิเสธ

(ที่มา)

นี่คือการยึดอำนาจเพื่อไปสู่ยุคศรีอารยะ!

นี่คือการยึดอำนาจเพื่อไปสู่ยุคศรีอารยะ!





คนถือปืนกลายเป็นพระเจ้า
ใส่บาตรเช้าด้วยเลือดพิราบ
รัฐประหารคือการล้างบาป
เสรีภาพคือมารศาสนา


พระไตรปิฎกไม่เคยกล่าวไว้
ทำไมพิราบต้องถูกไล่ล่า
ปล่อยค้างคาวสยายปีกเต็มฟ้า
บนดินแดนอันน่าสาปแช่ง


ยึดอำนาจเพื่อบำเพ็ญภาวนา
สิทธิคนธรรมดากลายเป็นของแสลง
หุบปากไว้!, อย่าได้ระแวง
นี่คือการปูพรมแดง...สู่ยุคศรีอารยะ!


(หุบปากไว้! และโปรดอย่าได้ระแวง
เรากำลังพาท่านเดินพรมแดง...สู่ยุคศรีอารยะ!)


Adorable Flowers 

เจ็ดคำถาม! ถามกองทัพไทย?

เจ็ดคำถาม! ถามกองทัพไทย?




 

ข้อเท็จจริงก็คือข้อเท็จจริง  ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 กองทัพไทยกลับมาดำรงสถานะผู้นำในการปั้นแต่งโครงสร้างการปกครองของประเทศนี้ อีกครั้ง  ความหวังที่จะแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองที่เรื้อรังในประเทศไทยภายในกรอบ รัฐธรรมนูญมีอันต้องมอดมลายไป เมื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาประกาศว่า เขายึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและระงับการใช้รัฐธรรมนูญ


ในการปราศรัยทางโทรทัศน์หลังจากรัฐประหารหนึ่งสัปดาห์ พลเอกประยุทธ์สัญญากับประชาชนไทยว่า “การเลือกตั้งทั่วไป” จะเกิดขึ้นแน่นอนหลังจากการปฏิรูปเป็นเวลาหนึ่งปีหรือนานกว่านั้น  ขณะที่ทั้งโลกกำลังจับตามอง ประยุทธ์ประกาศด้วยว่า การเลือกตั้งที่จะมาถึงจะอยู่ “ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยสมบูรณ์ที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย”

ดังนั้น “การปฏิรูปการเมืองก่อนการเลือกตั้ง” จึงดูเหมือนเป็น fait accompli (เรื่องที่ได้ข้อยุติแล้ว เราไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องยอมรับโดยดุษณี—ผู้แปล) อย่างน้อยที่สุดก็ตราบเท่าที่กองทัพและการคุกคามบังคับของกองทัพยังคงอยู่ใน ฐานะเครื่องมือควบคุมทางการเมืองที่มีประสิทธิภาพ  ระบอบของการกดขี่บังคับให้เงียบเสียงปกครองประเทศนี้แล้ว  และแม้ว่าจะมีกระแสอื้ออึงและพูดถึงความเป็นไปได้ แต่ “สงครามกลางเมือง” ไม่น่าเกิดขึ้น ทั้งนี้เพราะมีแค่ฝ่ายเดียวเท่านั้นที่มีอาวุธเต็มอัตราศึก  บทเรียนของเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2553 ยังสะท้อนสะเทือนต่อฝ่ายต่อต้านการรัฐประหาร  หนังสะติ๊กกับระเบิดขวดเป็นเดิมพันที่เสี่ยงเกินไปในการต่อสู้กับกระสุนปืน ของกองทัพสมัยใหม่  มีเพียงแค่ความแตกแยกที่คาดไม่ถึงและรุนแรงภายในกองทัพเองเท่านั้นที่อาจทำ ให้เกิดสงครามกลางเมืองได้ในจุดนี้

ขอละไว้ไม่เอ่ยถึงคำถามมากมายว่ากองทัพจะปกครองประเทศนี้และดำเนินนโยบาย อย่างไรในระหว่างที่ครองอำนาจ  เพียงแค่คำมั่นสัญญาที่เน้นหนักเป้าหมายของพลเอกประยุทธ์ก็สร้างความวิตก กังวลอย่างมากต่ออนาคตของรัฐบาลพลเรือนและการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของ ประเทศไทยแล้ว  ทั้งนี้เพราะการเลือกตั้งครั้งหน้าของไทยจะมีขึ้นหลังจากการปฏิรูปการเมือง  นี่จึงเป็นเวลาอันสมควรที่เราพึงตั้งคำถามบางประการเกี่ยวกับการปฏิรูปที่จะ เกิดขึ้น

คำถามเจ็ดข้อต่อไปนี้เป็นคำถามต่อคณะผู้นำการรัฐประหารของประเทศไทย  ผู้เขียนตั้งคำถามด้วยน้ำเสียงสุภาพ ปราศจากการเสียดสีหรือยอกย้อน  แต่ละคำถามตามด้วยข้อคิดเห็นโดยสังเขปเพื่ออธิบายว่าทำไมคำถามนั้น ๆ จึงเป็นเรื่องที่ควรวิตกกังวล  คำถามและข้อคิดเห็นเหล่านี้นำเสนอโดยคำนึงถึงประสบการณ์ของรัฐบาลพลเรือนใน อดีตของประเทศไทย และตั้งอยู่ในบริบทของเงื่อนไขพื้นฐานหลายประการของระบอบประชาธิปไตยภายใต้ รัฐธรรมนูญที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง

ชาวไทยและรวมทั้งสมาชิกชุมชนนานาชาติต้องเรียกร้องให้รัฐบาลทหารของไทยรับ ผิดชอบต่อตารางเวลาที่ตัวเองประกาศออกมา รวมถึงเป้าหมายการปฏิรูปที่อ้างว่าจะฟื้นฟู “ระบอบประชาธิปไตยสมบูรณ์” แก่ประเทศนี้  ในช่วงหลายเดือนต่อจากนี้ คำตอบต่อแต่ละคำถามจะเผยออกมาโดยดูได้จากการวางแผน ชี้นำและกระทำการของผู้นำอำนาจนิยมชุดใหม่ของประเทศไทย  ผู้เขียนตั้งใจจะย้อนกลับมาดูคำถามเหล่านี้อีกครั้งในวันที่ 30 พฤษภาคม 2558 กล่าวคือครบรอบหนึ่งปีหลังจากพลเอกประยุทธ์ให้คำสัญญาต่อสาธารณชนว่าจะ จัดการเลือกตั้งครั้งใหม่และฟื้นระบอบประชาธิปไตยให้แก่ประเทศไทย

คำถามที่ 1. ท่านวางแผนจะร่างและสร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 19 ของประเทศไทยอย่างไร?

ประเทศไทยฉีกรัฐธรรมนูญมาสิบแปดฉบับแล้ว  เมื่อคำนึงถึงความล้มเหลวที่ผ่านมา พลเมืองชาวไทยหรือชุมชนนานาชาติจะมั่นใจได้แค่ไหนว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่ 19 จะเอื้ออำนวยให้เกิดระบอบประชาธิปไตยที่เป็นธรรมและมีเสถียรภาพ?  หากมุ่งหวังให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประสบความสำเร็จและยืนนาน ก็ต้องร่างรัฐธรรมนูญและนำมาใช้อย่างชอบธรรม  หากพิจารณาดูอดีตระยะใกล้ ดูเหมือนมีโมเดลพื้นฐานสองแบบในการพยายามสร้างความชอบธรรม  กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2557 จะเดินตามโมเดลไหน? หรือกระบวนการจะแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง?