โดย ใจ อึ๊งภากรณ์
อ.สุรชัยรายงานเกี่ยวกับ “คุกนรก”
ที่พัทยา ปัญหาที่หนักที่สุดก็คือปัญหา 2 น. คือ “น้ำ” กับ “แน่น”
เรือนจำพิเศษพัทยาเปิดทำการเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว
เพื่อรองรับผู้ต้องขับประมาณ 600 คน แต่ปัจจุบันคุมขังอยู่ 3,600 คน
เกินความจุไปถึง 3,000 คน
ที่นอนก็ยังไม่พอ จึงต้องมีคนไปนอนบนโถส้วม ใช้กล่องกระดารองนอน เวลามีคนจะไปถ่ายก็ต้องปลุกให้ลุกขึ้น แต่ก็ยังไม่พอ ต้องจัดเวรยามห้องละ 5-10 คน ยืนและนั่งเพื่อให้มีที่ว่างให้คนอื่นๆ นอน
ที่นอนก็ยังไม่พอ จึงต้องมีคนไปนอนบนโถส้วม ใช้กล่องกระดารองนอน เวลามีคนจะไปถ่ายก็ต้องปลุกให้ลุกขึ้น แต่ก็ยังไม่พอ ต้องจัดเวรยามห้องละ 5-10 คน ยืนและนั่งเพื่อให้มีที่ว่างให้คนอื่นๆ นอน
สภาพห้องขังขนาด 5x10 เมตร เท่ากับ 50 ตารางเมตร ต้องนอนรวมกัน 60 กว่าคน ต้องทำยกพื้นขึ้นไปอีก 1 ชั้นจึงจุได้ 60 กว่าคน
ปัญหาเรื่องน้ำจะปล่อยให้ไหลวันละ 2-3 ชั่วโมง 10 โมงเช้าถึงเที่ยงหรือบ่ายโมง ช่วงเช้า ช่วงเย็นและตลอดทั้งคืนไม่มีน้ำ ผู้ต้องขังจึงเป็นหิดและโรคผิวหนังกันมาก
บอกตรงๆ เวลาอ่านแล้วผมพูดได้คำเดียวครับ "เหี้ย"! ชนชั้นปกครองไทยทุกคนอำมาตย์และเพื่อไทยเหี้ยหมด..... ยกเลิก 112!!
ความป่าเถื่อนของระบบศาลและคุกในประเทศไทย
ระบบศาลและคุกในประเทศไทยเป็นระบบป่า
เถื่อนที่ล้าหลังกว่ามาตรฐานสากลหลายร้อยปี และเป็นที่น่าอับอายขายหน้า
แต่การที่ชนชั้นปกครองไทยไม่เคยสนใจที่จะสร้างวัฒนธรรมพลเมืองเสรี
และไม่เคยเคารพความเป็นมนุษย์ของประชาชน เพราะมัวแต่มองว่าประชาชนเป็นเพียง
“ราษฎร์” ที่ควรจะเจียมตัวยอมรับการปกครองจากเบื้องบน
ชนชั้นปกครองไทยจึงไร้จิตสำนึกโดยสิ้นเชิงในการพัฒนาระบบศาลและคุก
และฝ่ายประชาชนเอง ซึ่งเจ็บปวดกับสภาพสังคมในหลายด้าน ก็ถูกข่มขู่
ฆ่าหรือขัง เมื่อลุกขึ้นเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ พร้อมกันนั้น ในปัจจุบัน
พรรคเพื่อไทย และแม้แต่แกนนำ นปช. แดงทั้งแผ่นดิน ก็ไม่เคยสนใจเรื่องนี้
และในกรณีพรรคเพื่อไทยมีการจงใจแช่แข็งความป่าเถื่อนผ่านการจับมือกับทหาร
อีกด้วย อย่างไรก็ตามการตื่นตัวของพลเมือง ทั้งเสื้อแดงบางส่วน
และคนที่ไม่สังกัดสีอีกส่วน ภายใต้กระแสนิติราษฎร์ และการแก้ไขกฎหมาย 112 แสดง
ว่าพลเมืองไทยไม่น้อยพร้อมที่จะเคลื่อนไหวเพื่อปฏิรูปสังคมอย่างจริงจัง
ดังนั้นถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะมาร่วมกันพิจารณาปัญหา
ความป่าเถื่อนของระบบศาลและคุกในประเทศไทย เพราะสภาพความย่ำแย่ของระบบ
“ยุติธรรม” และสภาพคุกในไทย ถูกเปิดโปงจากวิกฤตทางการเมือง
1. การที่ผู้พิพากษาเป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจในระบบเผด็จการมาตลอด
และไม่สามารถถูกวิพากษ์วิจารณ์ และตรวจสอบโดยประชาชน
ตามกระบวนการประชาธิปไตย เพื่อความโปร่งใสและความเป็นธรรม
เรื่องนี้เกิดขึ้นจากการแต่งตั้งผู้พิพากษาและการมองว่าเขาไม่ใช่เจ้า
หน้าที่ที่ต้องได้รับการตรวจสอบจากสังคม มีการใช้ “กฎหมายหมิ่นศาล”
ในลักษณะเดียวกับกฎหมาย 112 เพื่อบังคับกีดกันไม่
ให้ใครวิจารณ์คำตัดสินของศาลและกระบวนการของศาล แต่ในหลักสากล
“การหมิ่นศาล” มีความหมายต่างออกไปคือ คนที่ “หมิ่นศาล”
เป็นเพียงคนที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเท่านั้น ส่วนใครจะวิจารณ์ผู้พิพากษา
การตัดสินของศาล หรือกระบวนการของศาล ทุกคนทำได้อย่างเสรี
ตามสิทธิในระบบประชาธิปไตย
นอกจากนี้ในระบบศาลไทย พลเมืองธรรมดาไม่มีส่วนร่วม
เพราะไม่มีระบบลูกขุนที่คัดเลือกจากประชาชนโดยไม่เลือกหน้าหรือมีข้อจำกัด
ใดๆ
ระบบลูกขุนและการมีส่วนร่วมของพลเมืองมีความสำคัญในการคานความอคติของผู้
พิพากษา ลูกขุนมีสิทธิ์ตัดสินว่าผู้ต้องหาผิดหรือไม่
ส่วนผู้พิพากษามีหน้าที่ชี้แจงประเด็นกฎหมาย
และลงโทษผู้ที่ถูกตัดสินว่ากระทำผิด
ระบบนี้เป็นระบบที่ขยายพื้นที่ประชาธิปไตยเข้าสู่ระบบศาล
2. การที่ผู้พิพากษา ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ศาล ไร้ความเคารพต่อพลเมืองที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับระบบศาลโดยสิ้นเชิง
โดยมองว่าประชาชนเหล่านั้นเป็นคนชั้นต่ำที่ย่อมทำความผิด ผู้พิพากษา ตำรวจ
และเจ้าหน้าที่ศาล ไม่เคยมองว่าตนควรจะบริการรับใช้ประชาชนแต่อย่างใด
บ่อยครั้งเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะใช้ท่าทีเหยียดหยามดูหมิ่น
ประชาชน มีหลายกรณีที่ผู้พิพากษาไม่ยอมลงมาตัดสินคดีในศาล
ผู้ต้องหาจึงต้องคุยกับผู้พิพากษาผ่านโทรทัศน์วงจรปิด
ซึ่งเป็นการกีดกันระบบยุติธรรมและสิทธิเสรีภาพในการชี้แจงข้อมูลให้ผู้
พิพากษาอย่างเต็มที่
ในกรณีอื่นผู้พิพากษาบังอาจใช้เสียงในการอ่านคำตัดสินหรือการพูดที่ค่อยเกิน
ไป จนผู้ต้องหาและประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิที่จะรับฟัง
ในกรณีคดี 112 ประชาชน
ทั่วไปไม่สามารถร่วมพิจารณาคดีได้
และไม่สามารถตรวจสอบความเที่ยงตรงของศาลได้
เพราะสื่อจะถูกห้ามไม่ให้รายงานรายละเอียดของคดีทุกครั้ง
3. การที่ระบบศาลในไทย ไม่ปฏิบัติตามหลักพื้นฐานที่ถือว่าผู้ต้องหาทุกคนบริสุทธิ์ก่อนที่จะมีการตัดสินคดี ทั้งๆ ที่เรื่องนี้ระบุไว้เป็นนามธรรมในรัฐธรรมนูญ พร้อมกันนั้นมีการกีดกันไม่ให้คนจนสามารถได้รับการประกันตัว
4. การล่ามโซ่และบังคับให้ผู้ต้องหาที่อยู่ในขั้นตอนก่อนตัดสินคดีต้องแต่งชุดนักโทษ เป็นการละเมิดมาตรฐานยุติธรรมพื้นฐาน
5. ในระบบศาลและคุกไทย และในสังคมไทยโดยรวมไม่มีการมองถึง “สิทธิมนุษยชน” ของนักโทษที่ได้รับการตัดสินคดีแต่อย่างใด การปฏิบัติต่อบุคคลเหล่านี้จึงขาดแง่ของการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยสิ้นเชิง
6. สภาพคุกไทย แย่พอๆ กับสภาพกรงสัตว์ ไม่มีการคำนึงถึงความเป็นมนุษย์แต่อย่างใด
7. คุกไทยเต็มไปด้วยคนจน ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีคดีประเภท “ลักขโมย” หรือคดียาเสพติด
สังคมไทยไม่มีการถกเถียงและพิจารณาว่ามีระบบคุกไว้ทำไม เพื่อแก้แข้น
เพื่อลงโทษ หรือเพื่อปกป้องสังคมจากคนอันตราย
และไม่มีการพิจารณาความจริงเกี่ยวกับสาเหตุของการลักขโมย
หรือสาเหตุของการใช้ยาเสพติด
เพื่อหาทางแก้ไขแต่แรกโดยไม่ใช้ความรุนแรงป่าเถื่อน
8. คนรวย คนมีเส้น นายพลระดับสูง นักการเมืองที่ใกล้ชิดกับทหารหรืออำมาตย์ ลูกนักการเมือง ฯลฯ ไม่เคยต้องรับโทษหรือถูกพิพากษาในระบบไทย
คนที่ฆ่าประชาชนเป็นหมู่ ลอยนวลเสมอ ดังนั้นระบบศาลและคุกไทยมีไว้ลงโทษ
กลั่นแกล้ง และกดขี่คนชั้นล่างเท่านั้น
ไม่ได้มีไว้เพื่อสร้างความยุตธรรมแต่อย่างใด
9. การลงโทษในระบบศาลไทย ไม่สมเหตุผล เช่นคดีฆ่าคน หรือทำร้ายคน ได้รับโทษเบากว่าคดี 112 ซึ่งมาจากการแสดงความเห็นต่อระบบการเมือง โดยที่ผู้กระทำไม่เคยใช้ความรุนแรงแต่อย่างใด
(ที่มา)
http://botkwamdee.blogspot.dk/2012/02/ji482ak.html