หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มาตรา 112 กับการล่าแม่มดครั้งใหม่

มาตรา 112 กับการล่าแม่มดครั้งใหม่

 

 

โดยสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ


ในสมัยกลางของยุโรป เมื่อคริสตศาสนายังคงเป็นความคิดอันครอบงำ ชนชั้นปกครองและพระชั้นสูงในสมัยนั้น รักษาอำนาจโดยการอ้างอิงตนเองว่า เป็นผู้ศรัทธาต่อพระเจ้าอันแท้จริง และกล่าวหาคนที่คิดต่างว่า เป็นพวกแม่มด ต้องถูกลงโทษโดยการเผาทั้งเป็น ผลจากกรณีนี้ทำให้มีประชาชนผู้บริสุทธิ์จำนวนมาก ถูกสอบสวนและถูกลงโทษ เมื่อเวลาผ่านไป มาตราการล่าแม่มดเช่นนี้ ถือว่าเป็นมาตราการป่าเถื่อนจึงถูกยกเลิก เสรีภาพในด้านความคิดความเชื่อจึงเป็นที่ยอมรับ และชาวยุโรปก็จะเลิกบังคับให้คนคิดและศรัทธาในแบบเดียวกัน 

แต่ในกรณีของประเทศไทย การล่าแม่มดยังคงดำเนินการอยู่ กรณีล่าสุด เริ่มต้นเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันที่ศาลรัฐธรรมนูญจะอ่านคำวินิจฉัยกรณีที่ศาลเองไปทำการละเมิด อำนาจนิติบัญญัติ ด้วยการใช้คำสั่งให้รัฐสภายุติการพิจารณาการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ที่จะต้องมีการลงมติในวาระที่สาม ในวันนั้น กลุ่มประชาชนฝ่ายขวาหลายกลุ่มที่ให้การสนับสนุนศาลรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะกลุ่มที่เรียกตนเองว่า กองทัพปลดแอกประชาชน ได้ไปชุมนุมกันที่บริเวณด้านหน้าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ โดยอ้างเหตุผลว่าจะปกป้องศาล ซึ่งในที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญก็ได้เสนอข้อวินิจฉัยอันไร้สาระออกมาชุดหนึ่ง แต่ปัญหาของเหตุการณ์ไม่ได้อยู่ที่คำวินิจฉัย หากแต่อยู่เหตุการณ์หน้าศาล ดังที่เอเอสทีวีรายงานว่า

“ในระหว่างที่กลุ่มกองทัพปลดแอกประชาชน จะให้สื่อมวลชนบันทึกภาพในพิธีอัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวฯ มาร่วมในการบันทึกภาพ ได้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเมื่อมีหญิงสูงอายุคนหนึ่ง ทราบชื่อภายหลัง นางฐิตินันท์ แก้วจันทรานนท์ อายุ 63 ปี ได้เดินฝ่าฝูงชนเข้ามาตรงไปยังผู้ที่อัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ ก่อนที่จะกระทำการอันมิบังควรกับพระบรมฉายาลักษณ์ซึ่งผู้ถือได้ชูอยู่เหนือ ศีรษะ สร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มผู้ชุมนุมที่เห็นเหตุการณ์เป็นอย่างมาก”

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/08/41865

ฝึกโหด เบื้องหลังความสำเร็จนักกีฬาจีน

ฝึกโหด เบื้องหลังความสำเร็จนักกีฬาจีน

 

 
 
 
 

 

เบื้องหลังความสำเร็จของนักกีฬาจีนที่คว้าเหรียญทองในการแข่งขัน กีฬาโอลิมปิกแทบทุกชนิดกีฬา มาจากการฝึกอย่างหนัก ตั้งแต่ในวัยเด็ก โดยได้รับการวิจารณ์ว่าเป็นการทรมานนักกีฬาเด็กมากกว่าการฝึกฝนเพื่อชัยชนะ
 
แนวทางในการส่งเสริมนักกีฬาให้ประสบความ สำเร็จในประเทศจีน คือ การฝึกฝนนักกีฬาอย่างหนักตั้งแต่วัยเด็ก โดยเป็นที่ทราบกันว่า ประเทศจีนมีกิตติศัพท์ในด้านการฝึกนักกีฬาอย่างไร้ความปราณีและมีสถานที่ฝึก สอนนักกีฬาด้วยวิธีการที่โหดร้ายต่อนักกีฬารุ่นเล็กอยู่ทั่วประเทศเด็กที่ ได้รับการฝึกด้วยแนวทางดังกล่าว มีตั้งแต่อายุ 5-6 ขวบ โดยเด็กเหล่านี้ได้รับการปลูกฝังว่า พวกเขาจะประสบความสำเร็จเมื่อลงสู่สนามแข่งขันในช่วงวัยรุ่นส่วนพ่อแม่ที่ ตัดสินใจส่งลูกเข้ารับการฝึกฝนอย่างหนักในโรงเรียนกีฬาเหล่านี้ต่างหวังว่า สักวันหนึ่งลูกของพวกเขาจะได้เป็นนักกีฬาทีมชาติจีน ชุดที่ลงแข่งในกีฬาโอลิมปิกและสามารถคว้าชัยชนะและชื่อเสียงมาให้แก่ประเทศ 
 
ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ลอนดอนเกมส์ 2012 คนทั่วโลกก็ได้ประจักษ์ด้วยสายตาตัวเองถึงศักยภาพของนักกีฬาทีมชาติจีนอีก ครั้ง จากการที่นักกีฬาของจีนคว้าที่ 1 ในหลายชนิดกีฬาได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะกีฬาว่ายน้ำ กระโดดน้ำ และยิมนาสติกอย่างไรก็ตาม วิธีการฝึกโหดอย่างหฤโหดของโรงเรียนกีฬาในประเทศจีนได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ อย่างหนักในอินเทอร์เน็ตว่า เป็นการทรมานเด็กและเป็นการทำลายชีวิตวัยเยาว์ของเด็กเหล่านี้ที่ควรจะได้ เรียนรู้ประสบการณ์ที่ไม่โหดร้ายเช่นในโรงเรียนกีฬาเหล่านี้
 
นอกจากนี้ ยังมีผู้ตั้งข้อสังเกตอีกว่า การฝึกโหดของนักกีฬาจีนตั้งแต่วัยเด็ก เป็นเพราะพวกเขาต้องการเอาชนะสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเจ้าเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกหลายสมัย และต้องการให้จีนเป็นเจ้าเหรียญทองต่อจากปักกิ่งเกมส์ 2008 เมื่อ 4 ปีที่แล้ว

(คลิกฟัง)
http://news.voicetv.co.th/sport/46441.html

Wake Up Thailand 02สค55

Wake Up Thailand 02สค55 

 

(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=7uLwBRE0Bm8

The Daily Dose 02สค55

The Daily Dose 02สค55

 

(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=t6G7Vqz75xc&feature=player_embedded

แบล็คเมล์ประชาชนด้วยศีลธรรม Divas Cafe 02สค55

แบล็คเมล์ประชาชนด้วยศีลธรรม Divas Cafe 02สค55 


แดงโห่ ปชป เฮ นักวิชาการซัด กระแสตีกลับเพื่อไทย Divas Cafe 13มิย55
http://youtu.be/vTCbQdANN1k

(คลิกฟัง
http://www.youtube.com/watch?v=TwZw3WUlsZ8&feature=player_embedded

นศ.ร้องยุติพิจารณาร่าง ม.นอกระบบ ยันฟังความเห็น นศ.ก่อน

นศ.ร้องยุติพิจารณาร่าง ม.นอกระบบ ยันฟังความเห็น นศ.ก่อน




1 สิงหาคม 2555 แนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้านมหาวิทยาลัยนอกระบบ ยื่นหนังสือต่อ รศ.นพ. กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อขอให้ยุติกระบวนการผ่านร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ (มหาวิทยาลัยนอกระบบ) พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการทำประชาพิจารณ์จากฝ่ายต่าง ๆ ภายหลังจากที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้ยืนยันความพร้อมในการแปรสภาพจากมหาวิทยาลัยของรัฐไปเป็นมหาวิทยาลัยใน กำกับรัฐ

นายนิพิฐพนธ์ คำยศ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า เหตุผลที่มายื่นหนังสือ เพราะทางกลุ่มแนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้าน ม.นอกระบบ เห็นว่าทั้งมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ที่ออกนอกระบบไปแล้ว หรือที่กำลังดำเนินการออกนอกระบบ ไม่มีส่วนร่วมจากนักศึกษาในการร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยนอกระบบ อีกทั้งการให้ข้อมูลความรู้ไม่เต็มที่ ไม่ทั่วถึง แสดงให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรม ไม่โปร่งใสในการกระบวนการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ 

“แนวร่วมฯ เห็นว่า ถ้ามหาวิทยาลัยยังพยายามที่จะออกนอกระบบ โดยไม่ฟังเสียงประชาคม ผลเสียก็จะเกิดกับนิสิตนักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่ส่งลูกหลานมาเรียน ดังนั้นทางกลุ่มจึงขอให้คณะกรรมการการอุดมศึกษา ยุติกระบวนการการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ของทุกมหาวิทยาลัย และให้ส่งร่าง พ.ร.บ.ของแต่ละมหาวิทยาลัยกลับไปยังมหาวิทยาลัยนั้น ๆ เพื่อทำกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย” นายนิพิฐพนธ์ กล่าว

(ที่มา)

แถลงข่าวเรื่อง ลงนาม “ยอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ICC ชั่วคราว”

แถลงข่าวเรื่อง ลงนาม “ยอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ICC ชั่วคราว”






1 สค. เวลา 10.00 น. ณ ห้องแถลงข่าว สภาผู้แทนราษฎร ดร.จารุพรรณ กุลลดิลก กรรมาธิการต่างประเทศ แถลงข่าวเรื่อง การยื่นหนังสือให้รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ลงนาม “ยอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ICC ชั่วคราว” 

"ดร. จารุพรรณ แกคงลืมไปแล้วว่า กระทรวงการต่างประเทศ เคยออกหนังสือตราครุฑ
ว่า จะไม่ลงสัตยาบัน สนธิสัญญากรุงโรม อย่างเด็ดขาด เพราะ ขัด รธน มาตรา 8

อีกอย่าง การรับรองอำนาจของศาลICC เป็นการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์
ไม่ใช่ของ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศ (ดร สุรชัย โตวิจักษ์ชัยกุล)


เลิกเล่นละครแหกตาได้แล้ว

แหกตา หรือไม่แหกตา

หนก่อน สส สุนัย จุลพงศธร ดร จารุพรรณ น้องเดียร์ ยังแหกตา แถลงข่าวใหญ่โต ว่า ไทยสามารถฟ้องศาล ICC ได้ทันที เพราะได้ลงสัตยาบันไปแล้ว ....ทั้งที่จริงๆ ประเทศไทยแค่ ลงนามในสนธิสัญญากรุงโรม แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน

แต่พอไปศาล ICC จริงๆ สส สุนัย กลับบอกว่า ไปสอบถาม แนวทาง การนำคดีขึ้นสู่ศาล ICC
สส สุนัย แกเล่นพลิกลิ้น จาก ฟ้องศาล ICC ได้ทันที เพราะไทยได้ให้สัตยาบันแล้ว กลายเป็น ไปสอบถาม เสียฉิบ

ถ้าเรื่องนี้ ดร จารุพรรณ รวมทั้งหมอเหวง และแกนนำ นปช เกิดตาลปัต กลับกลายไปยื่นหนังสือ ต่อนายกยิ่งลักษณ์ โดยตรง แบบที่ แม่น้องเกดทำ
ผมก็จะไม่กล่าวหาสักนิด ว่า คนพวกนี้กำลัง เล่นละคร แหกตา
 
แหกตาตรงไหน ...... ก็ตรงที่พยายามโฆษณาชวนเชื่อว่า
รมว ต่างประเทศ มีอำนาจลงนาม แจ้ง รับรองอำนาจของศาล ICC ได้ ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องรับมอบอำนาจจากนายก หรือรัฐบาล ไงครับ 
 
ตรงนี้ละ ที่โป้ปดมดเท็จว่า รมว ต่างประเทศ มีอำนาจลงนาม
ทั้งๆที่ยังไม่ได้รับการมอบอำนาจจากนายกหรือ รัฐบาล
และมีผลทำให้การยื่นหนังสือต่อ รมว ต่างประเทศ กลายเป็นการเล่นละครแหกตาไป"
   
(ที่มา))

ส่วนกลางถึงส่วนตน คำวินิจฉัยศาลรธน. ไฉนกฎหมายสับสน

ส่วนกลางถึงส่วนตน คำวินิจฉัยศาลรธน. ไฉนกฎหมายสับสน

 

 

มีปัญหามาตั้งแต่แสดงท่าทีว่าจะเปิดรับวินิจฉัย

กรณีที่มีผู้เข้าร้องว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ที่รัฐสภากำลังดำเนินการอยู่ เป็นการล้มล้างการปกครอง

จนเมื่อคำวินิจฉัยกลางแบบสรุปประกาศเมื่อศุกร์ 13 กรกฎาคม ปัญหาเดิมก็ไม่ได้หายไปไหน

แถมมีปัญหาใหม่เพิ่มเข้ามาให้ขบคิด

คนจำนวนหนึ่งระบุว่าให้รอจน "คำวินิจฉัยส่วนตัว" ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแถลงออกมาก่อน

ปัญหาและความสับสนสงสัยอาจจะทุเลาลงไป

แต่ความจริงดูเหมือนจะไม่เป็นเช่นนั้น

หลังคำวิจฉัยส่วนตัวในคดีดังกล่าวของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกเผยแพร่เมื่อวันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายดาวรุ่งจากฮาร์วาร์ด ผู้เอาจริงเอาจังอย่างยิ่งกับการชำระกฎหมายมหาชนของเมืองไทย ระบุว่า

ยิ่งอ่านยิ่งมึนไปกับคำวินิจฉัยส่วนตน 8 ตุลาการ เนื่องจากไม่สอดคล้องเนื้อหาคำวินิจฉัยกลางฉบับศุกร์ 13 เพราะไม่มีตุลาการแม้แต่คนเดียวที่เห็นว่ารัฐสภา "ควร" ทำประชามติถามประชาชนก่อน
ในขณะที่ประเด็นว่ารัฐสภาจะสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้หรือไม่ เสียงก็แตกเป็นเสี่ยงๆ

เมื่อตุลาการ 2 คนให้แก้ได้แต่ต้องทำประชามติก่อน

อีก 2 คนบอกทำไม่ได้

ขณะที่อีก 1 คนให้ทำได้

ส่วนที่เหลืออีก 3 เสียง ระบุว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยประเด็นนี้
ความยุติธรรมแบบพอเพียง



โดยจิตรา คชเดช


วันนี้ศาลนัดอ่านคำพิพากษา สรุปได้ว่า ให้ลงโทษฉันในฐานะจำเลยจำคุก 4 เดือนโทษจำคุกรอลงอาญาไว้ 2 ปี และให้รายงานตัว 1 ปี บริการสาธารณะ 12 ชม. และเสียค่าปรับ 80000 บาท 

เริ่มเมื่อเดือนมิถุนายน 2552 คนงานตัดเย็บชุดชั้นใน Triumph ถูกบริษัทเลิกจ้างด้วยจำนวนครึ่งหนึ่งของคนงานในโรงงานเกือบ 2000 คน  ในขณะที่ฉันเป็นเจ้าหน้าที่สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ และพ่วงด้วยตำแหน่งที่ปรึกษาด้วยหน้าที่การงานทำให้ฉันได้ เข้าร่วมชุมนุมกับคนงานที่ข้างโรงงานที่ นิคมอุตสาหกรรมเมืองใหม่บางพลี

ด้วยข้อเรียกร้องที่สหภาพแรงงานมีต่อบริษัทบอดี้ แฟชั่น (ประเทศไทย)จำกัด ตอนนั้นก็คือให้รับคนงานกลับเข้าทำงานโดยไม่มีเงื่อนไข และปฏิบัติตามข้อตกลงสภาพการจ้างที่ทำไว้กับสหภาพแรงงานคือ ต้องปรึกษาหารือกับสหภาพแรงงานเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเสมอภาค ต้องจ่ายค่าชดเชยที่มากกว่ากฎหมายกำหนด และสุดท้ายบริษัทในฐานะบรรษัทข้ามชาติต้องยึดมั่นในหลักจรรยาบรรณทางการค้า

การเลิกจ้างครั้งนี้คนงานแบ่งเป็นสองกลุ่มคือผู้ที่ถูกเลิกจ้างกับไม่ถูก เลิกจ้างและในจำนวนผู้ไม่ถูกเลิกจ้างคือประธานสหภาพแรงงานรวมอยู่ด้วย  การชุมนุมประท้วงทุกรูปแบบ และการประชุมปรึกษาหารือเพื่อวางแผนในการเจรจาคนงานเริ่มไม่เห็นประธานสหภาพ แรงงานเข้าร่วม

ข่าวลือต่างๆเข้ามาไม่ขาดสายเกี่ยวกับประธานสหภาพแรงงาน ทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องรับผลประโยชน์ต่างๆนาๆ  สิ่งที่ฉันทำได้ตอนนั้นคือเรียกร้องให้ทุกคนหยุดพูดและไม่เชื่อเพราะเชื่อ ว่านี่คือขบวนการทำลายสหภาพแรงงานจากบริษัทฯ  และสุดท้ายมีการลงรายมือชื่อของสมาชิกสหภาพแรงงาน เข้าชื่อกันเรียกร้องให้เปิดประชุมวิสามัญด้วยหัวข้อไม่ไว้วางใจประธานสหภาพ แรงงงาน ในวันที่ 18 กันยายน 2552 และผลการประชุมก็เป็นไปตามที่คนงานต้องการ มติที่ประชุมปลดประธานสหภาพแรงงานและปลดจากการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานและแต่ง ตั้งประธานใหม่

ในวันที่ 26 กันยายน 2552 มีหมายเรียกให้ฉัน เข้าพบพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจบางเสาธง ด้วยข้อหาหมิ่นประมาทโดยการกระจายเสียงอดีตประธานสหภาพแรงงาน ในชั้นสอบสวนฉันปฎิเสธทันทีเพราะไม่เคยพูดในสิ่งที่ถูกล่าวหา และเชื่อว่านี่คือการทำลายสหภาพแรงงานโดยใช้คนงานด้วยกันเป็นเครื่องมือ

และที่สุดอัยการก็มีความเห็นสั่งฟ้อง สองกรรมต่างวาระ ในขณะที่พวกเราคนงานยังชุมนุมกันอยู่ที่กระทรวงแรงงงาน และได้มีอาจารสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์จุฬาฯใช้ตำแหน่งอาจารย์ประกันตัวในวงเงิน 100000 บาท และมีเงินสดอีก 10000 บาท และได้มีการปล่อยตัวชั่วคราว
ประมาณปี2554 เริ่มมีการสืบพยาน ฝ่ายโจทย์มีพยาน 5 ปาก พอสรุปได้ว่า โจทก์โดยผู้เสียหายไม่เคยได้ยินการหมิ่นด้วยตัวเองแต่มีเพื่อร่วมงานมาเล่า ให้ฟัง และเพื่อนร่วมงานเป็นสมาชิกสหภาพที่ไม่ได้ถูกเลิกจ้างมาได้ยินในขณะที่ฉัน ใช้โทรโข่งกล่าวคำหมิ่นประมาทและพยานได้ยินก็เดินหนีไปขึ้นรถกลับบ้าน

พยานที่สองเป็นพนักงานขับรถได้ยินฉันหมิ่นโจทย์ผู้เสียหายในวันที่ที่มี การประชุมใหญ่วิสามัญสหภาพแรงงานวันที่ 18 กันยายน  2552 บอกว่าฉันหมิ่น โจทก์ ด้วยเครื่องเสียง และเขาไม่เคยรู้จักฉันมาก่อนเลยรีบไปถาม รปภ.ว่าใครเป็นคนพูด รปภ.ตอบว่าคือฉันเป็นคนพูด

เมื่อ รปภ.มาให้การบอกว่าไม่รู้จักฉันไม่เคยเห็นหน้าและไม่รู้ว่าใครพูดแต่ได้ยินว่ามีการกล่าวหมิ่นโจทก์จริง

ฝ่ายฉันใช้พยานคือตัวฉันเอง ประธานสหภาพแรงงาน ปัจจุบันและไม่ได้ถูกเลิกจ้าง  อดีตเลขาธิการสหภาพแรงงาน เหรัญญิกสหภาพแรงงาน และพยานวัตถุคือซีดีวีดีโอบันทึกการประชุมใหญ่วิสามัญ และภาพถ่ายสถานที่ต่างๆ


พอสรุปประเด็นสู้ว่าฉันไม่เคยพูดและเรื่องข่าวลือแบบนี้เกิดขึ้นกับประธาน ทุกคนจนถึงคนปัจจุบัน และถ้าเกิดเรื่องแบบนี้สหภาพแรงงานมีการจัดการเกี่ยวกับเรื่องนี้เพราะฉัน เป็นเจ้าหน้าที่สหภาพแรงงาน ประธานไม่เคยนำเรื่องเข้าที่ประชุม และสหภาพแรงงานไม่เคยใช้โทรโข่งในการกล่าวปราศัย การจะใช้เครื่องเสียงเลขาธิการสหภาพจะเป็นคนจัดคิว และไม่เคยมีใครเคยได้ยินฉันการกล่าวหมิ่นประมาท และในวันที่ 18 กันยายน 2552 มีการบันทึกวีดีโอจึงให้ส่งเป็นพยานวัตถุ