หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

′ประชาพิจารณ์′ ก็สำคัญ

 

 โดย นฤตย์ เสกธีระ

คึกคักปลายปีกับแนวทางร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ตอนนี้มีผู้เสนอกันมากมายเรื่องขั้นตอนและวิธีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

มีทั้งคนเสนอให้ประชามติกันเลยว่าประชาชนจะอนุญาตให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กันหรือไม่

อีกทางหนึ่งก็บอกว่าเอาไว้ประชามติกันตอนหลังจากรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นว่าประชาชนรับหรือไม่รับ

สำหรับวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นดูเหมือนจะมีความเห็นพ้องกันคือ สมควรใช้กลไกของ ส.ส.ร.

ส.ส.ร. คือ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
สมัยรัฐธรรมนูญปี 2540 ใช้วิธีการเลือกตั้ง คัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

สมัยรัฐธรรมนูญปี 2550 ใช้วิธีการสรรหา คัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

สำหรับ ส.ส.ร.รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะใช้วิธีอะไรก็ต้องลองฟังดู แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขอให้ประชาชนมีส่วนร่วมกันถ้วนทั่ว

เหตุที่ต้องถ้วนทั่วเพราะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสมควรเป็นกฎหมายที่ประชาชนคนไทยมีส่วนร่วม

การลงประชามติก็ถือเป็นการมีส่วนร่วมอย่างหนึ่ง แต่ยังไม่พอ
เพราะการลงประชามติเป็นการตัดสินใจของประชาชน

เลือกว่า "แก้" หรือ "ไม่แก้" รัฐธรรมนูญ

เลือกว่า "รับ" หรือ "ไม่รับ" ร่างรัฐธรรมนูญ

ส่วนการทำประชาพิจารณ์อาจจะต้องใช้เวลานานหน่อย แต่หากจัดการได้อย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ

(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1324911280&grpid=&catid=02&subcatid=0207
นิติธรรมอีกที


















โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

มื่อสองสามสัปดาห์ก่อน ผมได้ตั้งคำถามในบทความชื่อ "นิติธรรม" ว่า หากมีการลงประชามติในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างชัดเจน แล้วมีการร่าง พ.ร.บ.ตามประชามติขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายให้ลงพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์ยังทรงพระราชอำนาจที่จะใช้พระบรมราชวินิจฉัยอยู่อีกหรือไม่ เพียงใด

แต่เนื่องจากความขัดข้องทางเทคนิคบางประการ ทำให้คำตอบของปัญหานี้ไม่อาจลงต่อเนื่องกันได้ ผมจึงขอนำกลับมาเสนอในครั้งนี้ และขอย้ำว่านี่เป็นความเห็นส่วนตัวซึ่งอาจผิดหรือถูกก็ได้ ผู้รู้อาจกรุณาชี้แจงได้ในภายหลัง

ในประเทศอื่น นี่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนในระบอบประชาธิปไตยที่มีสถาบันกษัตริย์

แต่ ก่อนจะตอบปัญหาว่า พระมหากษัตริย์ยังทรงมีพระราชอำนาจที่จะใช้พระบรมราชวินิจฉัยหรือไม่ หากปวงชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยได้แสดงเจตจำนงอย่างแน่ชัดแล้วผ่านการลง ประชามติ ผมขอพูดถึงบทบาททางการเมืองของสถาบันกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยของประเทศ อื่นก่อน

นอกจากเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนปวงชน ซึ่งทำให้กฎหมายทุกฉบับที่ผ่านสภาต้องประกาศใช้ในพระปรมาภิไธยแล้ว หลายประเทศยังให้พระราชอำนาจที่จะถ่วงดุลอำนาจนิติบัญญัติระดับหนึ่ง (บางประเทศเช่นสวีเดน ไม่ได้ให้พระราชอำนาจนี้ไว้เลย บางประเทศให้ไว้มากหน่อย บางประเทศให้ไว้น้อย แต่ไม่มีประเทศประชาธิปไตยใดที่ให้พระราชอำนาจนี้ไว้เด็ดขาด) การให้พระราชอำนาจนี้ไว้มาจากเหตุใด?
ผมคิดว่ามาจากสองเหตุคือ


(อ่านต่อ) 
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1324911600&grpid=&catid=02&subcatid=0207

รองโฆษก ปชป. อัด "นิติราษฎร์" ไม่ควรถือสัญชาติไทย


 

 อรรถพร พลบุตร

เพราะรณรงค์แก้ไข ม.112 เป็นการสร้างความขัดแย้งในบ้านเมือง พร้อมไล่ให้โอนสัญชาติไปเคลื่อนไหวในประเทศที่ให้เสรีภาพในการวิพากษ์ วิจารณ์กษัตริย์ ลั่นที่ผ่านมาไม่เคยมีผู้บริสุทธิ์ถูกยัดเยียดความผิด ขู่ถ้าเคลื่อนไหวต่อไปจะต้องเผชิญหน้า "พลังของความจงรักภักดี"

มติชนออนไลน์ รายงานวันนี้ (27 ธ.ค.) ว่า นายอรรถพร พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี ในฐานะรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของกลุ่มนิติราษฎร์ ที่จะรณรงค์แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ในวันที่ 15 มกราคมนี้ว่า กรณีนี้จะสร้างความขัดแย้งในบ้านเมืองให้มากยิ่งขึ้น และขอให้กลุ่มนิติราษฎร์โอนสัญชาติไปเคลื่อนไหวในประเทศที่ให้เสรีภาพในการ วิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ ไม่ควรถือสัญชาติไทย ซึ่งถือว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นแกนหลักของบ้านเมืองที่ผู้ใดจะล่วง ละเมิดมิได้

รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ยัง ตั้งข้อสังเกตว่า กรณีการแก้ไขมาตรา 112 เป็นประเด็นละเอียดอ่อนและจะนำไปสู่ชนวนความขัดแย้งจนบ้านเมืองลุกเป็นไฟ จนกระทั่งพรรคเพื่อไทยยังหลีกเลี่ยงที่จะแตะต้องมาตราดังกล่าว แต่กลุ่มนิติราษฎร์ยังไม่ยอมหยุด

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2011/12/38501

หัวข้อ: ปชป.กล่าวหา"นิติราษฎร์"รับจ๊อบ-ไม่ควรถือสัญชาติไทย ไล่ไปแก้ ม.112 ต่างแดน 

http://www.tfn5.info/board/index.php?PHPSESSID=4df389cfe2c0ef94dbc909c421fa310d&topic=33312.msg164243#msg164243