หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

‘ยูเอ็น’ ย้ำอีกครั้ง ไทยต้องแก้กฎหมายหมิ่นฯ – พ.ร.บ. คอมพ์ฯ



“ผมสนับสนุนให้ประเทศไทย จัดทำเวทีหารือสาธารณะที่มีส่วนร่วมจากประชาชนอย่างกว้างขวาง เพื่อแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เพื่อให้สอดคล้องกับข้อผูกพันทางหลักสิทธิมนุษยชนสากล” แฟรงค์ ลา รู กล่าว “การดำเนินคดีโดยตำรวจศาลในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ได้เพิ่มสูงขึ้นมาก นี่ ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขกฎหมายดังกล่าว”


ในขณะเดียวกัน พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ยังถูกใช้เป็นกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วยอีกทางหนึ่ง โดยกฎหมายดังกล่าวมีบทลงโทษจำคุกห้าปี สำหรับการแสดงออกในอินเตอร์เน็ตที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ หรือที่ถูกมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง


“โทษการจำคุกที่ยาวนานและความคลุมเครือของการแสดงออกว่า อะไรที่เข้าข่ายการดูหมิ่น เหยียดหยาม หรือเป็นภัยต่อสถาบัน ทำให้เกิดการเซ็นเซอร์ตัวเองและจำกัดการถกเถียงในเรื่องที่เป็นประโยชน์ สาธารณะ ซึ่งเป็นการทำลายสิทธิของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก” ลา รู กล่าว “มิหนำซ้ำ การที่เปิดโอกาสให้ใครก็ได้สามารถฟ้องตำรวจด้วยข้อหานี้ และการดำเนินคดีลับ ก็ยิ่งแสดงให้เห็นปัญหาดังกล่าวชัดเจนขึ้น”



นักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

http://hirvikatu10.net/timeupthailand/?p=1097&lang=th
รูปภาพ

เสวนา "การเมืองไทยหลังเลือกตั้ง" กับ อ.ใจ อึ๊งภากรณ์


ปชช.อียิปต์ดับ 24 เจ็บกว่า 200 เซ่นปะทะเดือดกลางกรุงไคโร ร้ายแรงสุดนับตั้งแต่"มูบารัก"พ้นตำแหน่ง

 

เกิดเหตุปะทะกันครั้งรุนแรงที่สุดขึ้นในอียิปต์ นับตั้งแต่ที่อดีตประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัก ก้าวลงจากตำแหน่งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยพบผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 24 ราย และบาดเจ็บมากกว่า 200 คน





 


หตุรุนแรงเกิดขึ้นหลังจากที่มีการประท้วงขึ้นในกรุงไคโร ต่อเหตุโจมตีโบสถ์คริสต์ในจังหวัดอัสวานเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งชาวคริสเตียนคอพติคในอียิปต์กล่าวโทษกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง

สถานีโทรทัศน์ของอียิปต์แพร่ภาพผู้ประท้วงกำลังปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขณะที่ยานพาหนะของกองทัพถูกเผาบริเวณหน้าสถานีโทรทัศน์ ด้านรัฐบาลประกาศใช้เคอร์ฟิวในพื้นที่บางส่วนของกรุงไคโรนับตั้งแต่เวลา 02.00 น. - 07.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น และเรียกประชุมฉุกเฉินในวันนี้ (10 ต.ค.)

กลุ่มชาวคริสเตียนคอพต์ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 10 ของประชากรอียิปต์ทั้งประเทศ กล่าวหาคณะกรรมการกองทัพว่าใช้ไม้อ่อนในการจัดการกับผู้ก่อเหตุมากเกินไป ด้านนายกรัฐมนตรีเอสซาม ชาราฟ ออกมากล่าวเตือนให้ชาวอียิปต์อย่าตกเป็นเครื่องมือของการต่อสู้ที่ใช้ ประเด็นด้านความแตกต่างศาสนามาเป็นเครื่องมือ โดยระบุว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่การปะทะระหว่างชาวคริสและชาวมุสลิม แต่เป็นความพยายามที่จะปลุกกระแสความวุ่นวายและความไม่สงบในบ้านเมือง

 
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1318214332&grpid=&catid=06&subcatid=0600

อึ้ง เข้มอีก อิหร่านตัดสินจำคุก 1 ปี-โบยเฆี่ยนหญิงนักแสดง 90 ที ฐานเล่นหนัง(ชมคลิป)

 



สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 10 ต.ค.ว่า น.ส.มาร์เซห์ วาฟามีฮาห์ หญิงนักแสดงอิหร่าน ถูกทางการอิหร่านตัดสินโทษจำคุก 1 ปี และโบยเฆี่ยน 90 ที ฐานแสดงภาพยนตร์ ซึ่งขัดต่อกฎหมายของประเทศ ขณะที่่ทนายความของเธอได้อุทธรณ์คำตัดสินดังกล่าวแล้ว

รายงานระบุว่า น.ส.มาร์เซห์ ถูกจับกุมเมื่อเดือนก.ค.หลังจากถูกพบว่าเล่นภาพยนตร์เรื่อง"My Tehran For Sale"ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างดุเดือดจากกลุ่มหัวเข้มอนุรักษ์นิยมของ ประเทศ โดยภาพยนตร์ดังกล่าวผลิตโดยความร่วมมือกับออสเตรเลีย เป็นเรื่องราวของนักแสดงหญิงในกรุงเตหะรานซึ่งเป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์ที่ถูก แบนจากรัฐบาล และถูกบีบให้ใช้ชีวิตลับๆ  เพื่อแสดงออกด้านศิลปะ และภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้รับการอนุมัติให้ฉายในอิหร่าน และถูกห้ามไม่ให้วางจำหน่ายและแจกจ่ายด้วย ทั้งนี้ น.ส.มาร์เซห์ ได้รับปล่อยตัวเมื่อช่วงเดือนก.ค.ภายหลังเธอยื่นขอประกันตัว

(ชมคลิป)

http://www.youtube.com/watch?v=47sEhwrq73E&feature=player_embedded 

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1318220906&grpid=&catid=06&subcatid=0600 
วงเสวนา ′ปรีดี′ หนุน ′นิติราษฎร์′ ส่ง ′รัฐประหาร′ ให้ศาลชี้



(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 10 ตุลาคม 2554)

หมาย เหตุ - วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ จัดเสวนาวิชาการในหัวข้อ "ปรีดี พนมยงค์ กับรัฐประหาร" ที่ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีนายโภคิน พลกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตประธานรัฐสภา นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายอนุสรณ์ ธรรมใจ กรรมการมูลนิธิและสถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมอภิปราย

พนัส ทัศนียานนท์


ดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การ ตั้งคำถามถึงกรณีที่ว่าการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองในปี 2475 เป็นการทำรัฐประหารหรือไม่นั้น ผมคิดว่านักประวัติศาสตร์มักติดอยู่กับรูปแบบก็ว่าได้ เพราะหากมีการทำรัฐประหารนั่นเท่ากับมีการเข้ามายึดอำนาจ แล้วจึงออกกฎหมายนิรโทษกรรม โดยจะถือว่าผู้มีอำนาจมีความชอบธรรมในการบริหารบ้านเมืองต่อไป ก็กลายเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ทั้งนี้ การรัฐประหารมีสองนัย นัยหนึ่ง เป็นการอภิวัฒน์เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 เป็นการเปลี่ยนเพื่อไปสู่ระบอบที่ดีกว่าเดิม นัยที่สอง คือ การรัฐประหารโดยปฏิกิริยา มีลักษณะเป็นการใช้อำนาจละเมิดสิทธิเสรีภาพของคนไทยโดยสิ้นเชิง เริ่มต้นมาตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 ดังนั้น การจะนำเอาเหตุการณ์ 2475 มาเทียบกับเหตุการณ์ 19 กันยายน 2549 ซึ่งเป็นการทำรัฐประหารที่มีลักษณะเป็นแบบการปฏิวัติ ต่อต้านระบอบประชาธิปไตยไม่ได้ทั้งสิ้น


(อ่านต่อ)
 http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1318228153&grpid=&catid=01&subcatid=0100
สงครามกองโจรในภาคใต้
โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 10 ตุลาคม 2554)
รายงาน ขององค์กรนิรโทษกรรมสากลเกี่ยวกับภาคใต้ เมื่อเร็วๆ นี้ แม้เป็นข่าวใหญ่ในเมืองไทย แต่ที่จริงแล้วข้อสรุปนี้เห็นได้ชัดมาหลายปีแล้ว นั่นคือปฏิบัติการฝ่ายผู้ก่อการได้กลายเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติไปแล้ว เพราะมุ่งเป้าโจมตีประชาชนผู้ไม่เกี่ยวข้องอย่างไม่แยกแยะ ทั้งที่เป็นพุทธและมุสลิม ในขณะเดียวกันปฏิบัติการฝ่ายเจ้าหน้าที่บ้านเมืองก็เลวร้ายไม่แพ้กัน เพราะมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง มีการใช้การทรมาน และละเมิดกระบวนการทางยุติธรรมอยู่บ่อยๆ

ในระยะแรกๆ ยังพอจะพูดได้บ้างว่าขบวนการมุ่งจะต่อสู้กับอำนาจรัฐที่เห็นว่าไม่เป็นธรรม จึงทำร้ายเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นตัวแทนของอำนาจรัฐ รวมทั้งครูซึ่งคือผู้นำเอาอุดมการณ์ของรัฐไปเผยแพร่ ในขณะเดียวกันปฏิบัติการของผู้ก่อการอย่างอุกอาจหลายครั้ง ก็เพื่อทำให้เห็นประจักษ์ว่าอำนาจของรัฐไทยในพื้นที่สั่นคลอน จนไม่สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐานของรัฐคือการให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตและ ทรัพย์สินของพลเมือง
แต่ "การก่อการร้าย" ต้องมีเป้าหมายทางการเมือง เพราะ "การก่อการร้าย" ไม่อาจเป็นเป้าหมายในตัวเองได้


(อ่านต่อ) http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1318230807&grpid=&catid=02&subcatid=0207
คลิป 33 ปี เศรษฐศาสตร์การเมือง 07ตค54
33 ปี เศรษฐศาสตร์การเมือง
ศาสตราจารย์ ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง
เสวนาในหัวข้อ"แนวทางการศึกษารัฐศาสตร์จากมุมมองของรัฐและเศษฐกจการเมือง"
ดำเนินรายการโดย ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์
เนื่องในงาน 33 ปี เศษฐศาสตร์การเมืองในรัฐศาสตร์จุฬา "เมื่อรัฐและชาวนาจะค้นหาเศษฐกิจการเมือง"
เพื่อเป็นเกียรติแก่ ศ.ดร.อนุสรณ์ ลิ่มมณี และรศสุชาย ตรีรัตน์


(อ่านต่อ)
 http://www.internetfreedom.us/forum/viewtopic.php?f=2&t=11332