จับตา คดี 10 เมษายน ลักษณะ ประวัติศาสตร์ สอบ ′อภิสิทธิ์′
การเดินทางไปให้ปากคำของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลในวันที่ 8 ธันวาคม เกี่ยวกับเหตุการณ์ขอคืนพื้นที่ในวันที่ 10 เมษายน 2553
มีลักษณะประวัติศาสตร์ เช่นเดียวกับ การเดินทางไปให้ปากคำของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลในวันที่ 9 ธันวาคม เกี่ยวกับเหตุการณ์ขอคืนพื้นที่ในวันที่ 10 เมษายน 2553
เป็นการให้ปากคำเพราะว่าเหตุการณ์ขอคืนพื้นที่ในวันที่ 10 เมษายน 2553 นั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรับผิดชอบในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการ แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)
เป็นการให้ปากคำเพราะว่ามีนายทหารที่ออกปฏิบัติการในการขอคืนพื้นที่ใน วันที่ 10 เมษายน 2553 เป็นปฏิบัติการตามคำสั่งของผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)
เป็นการให้ปากคำเพราะว่าศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) จัดตั้งขึ้นภายใต้อำนาจตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
เป็นการให้ปากคำเพราะว่ามีคนตายจากคำสั่งอันมาจากนายกรัฐมนตรี
มองในเชิงเปรียบเทียบ มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดในความพยายามคลี่คลายคดีอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ระหว่างรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เป็นความแตกต่างในเรื่อง "บทสรุป"
เป็นความแตกต่างในเรื่อง "ความคืบหน้า" ของรูปคดี
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1323087378&grpid=03&catid=&subcatid=