Alienation: การสร้างสภาวะแปลกแยกโดยระบบทุนนิยม (ตอนที่ 2)
ลัทธิบูชาสินค้า: ในระบบตลาด ผู้ผลิตและลูกค้ารับรู้ร่วมกันว่าจะต้องทำการแลกเปลี่ยนกันระหว่างเงินกับสินค้า (ที่มาเว็บวิกีพีเดีย http://en.wikipedia.org/wiki/Commodity_fetishism [1] )
พจนา วลัย
องค์กรเลี้ยวซ้าย
องค์กรเลี้ยวซ้าย
พจนา วลัย
องค์กรเลี้ยวซ้าย
องค์กรเลี้ยวซ้าย
โดย พจนา วลัย
องค์กรเลี้ยวซ้าย
องค์กรเลี้ยวซ้าย
จากตอนที่ 1
อธิบายถึงการสร้างสภาวะแปลกแยกในโครงสร้างทางเศรษฐกิจของระบบทุนนิยม
และในตอนที่ 2
นี้เชื่อมโยงโครงสร้างทางการเมืองระดับบนหรือระบบรัฐว่าสัมพันธ์กับโครง
สร้างระดับฐานอย่างไร
รัฐเป็นตัวสร้างสภาวะแปลกแยกเหินห่างจากความเป็นมนุษย์
และปัญหาความขัดแย้งทางชนชั้นอย่างไร
จากการที่ระบบทุนนิยมเป็นระบบที่คอยสัญญากับประชาชนว่า
ประชาชนจะมีความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิต แต่เมื่อมองไปรอบๆ ตัว
ช่างดูห่างไกลคือ เราเห็นอัตราการหย่าร้าง ครอบครัวแตกแยก
การกดขี่ผู้หญิงและเด็ก การค้าหญิงบริการทั่วไป การใช้ความรุนแรง
การติดยาเสพติด ปัญหาโรคติดต่อ ความเครียด
เสียสุขภาพจิตและความรู้สึกแปลกแยก ความหดหู่ของผู้คนจำนวนมาก
ดังนั้นสิ่งที่มากไปกว่าความสำเร็จในชีวิต คือ
คนจำนวนมากกำลังเผชิญกับความแปลกแยก ในขณะที่มีคนหลายคนไม่รู้สึกแปลกแยก
แต่อาจมีแนวโน้มที่จะหลอกตัวเองในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
บางทีมีความรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า
มีความหมายเพราะมีมายาคติเกี่ยวกับบริบท/สภาพแวดล้อมและตัวตนของตัวเอง
ทำไมระบบทุนยังคงผลิตซ้ำสังคมแบบชนชั้นได้ จวบมาถึงยุคสมัยใหม่
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ข้างต้นเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทั่วโลก
ความแปลกแยกของมนุษย์ยังคงฝังรากลึกในสังคมชนชั้น (เออร์เนส แมนเดลและจอร์ช โนแว็ค. The Marxist Theory of Alienation. New York: Pathfinder Press. 2nd edition, 1973, น.7)
ที่ชนชั้นแรงงานถูกทำให้ไร้อำนาจในการตัดสินใจผลิตและเป็นเจ้าของผลผลิตร่วม
กัน ส่วนชนชั้นนายทุนผูกขาดอำนาจการบริหารปกครองในภาคการผลิต
และเป็นอภิสิทธิชน ทั้งนี้มีรัฐ ชนชั้นผู้ปกครองช่วยรักษาสถาบัน ระเบียบ
กฎหมายที่ให้อำนาจแก่ชนชั้นนายทุน
สร้างความชอบธรรมและส่งเสริมการปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพในการผลิต
และเพิ่มอัตราการขูดรีดผู้ใช้แรงงานมากขึ้นด้วย
ระบบรัฐทุนนิยมเกี่ยวข้องกับสภาวะแปลกแยกอย่างไร
รัฐสมัยใหม่ประกอบด้วยสถาบันทางการเมือง
สถาบันที่เกี่ยวข้องกับพลเมือง วัฒนธรรมและความเชื่อ
แต่ยังประกอบด้วยระบบความสัมพันธ์ของกลุ่มพลังทางสังคมที่พยายามถ่วงดุล
อำนาจซึ่งกันและกัน ต่อสู้กันและผลผลิตของการต่อสู้ก็อยู่ในระบบรัฐสมัยใหม่
ซึ่งรัฐสมัยใหม่เป็นรัฐทุนนิยม เพราะมีกลไกอุดมการณ์
ความคิดความเชื่อที่ครอบงำแรงงานให้มีรูปการจิตสำนึกผลิตซ้ำระบบทุนนิยม
แม้จะมีการต่อสู้กันระหว่างชนชั้น แต่ก็มีการประนีประนอมกันได้เป็นช่วงๆ
จากรูปธรรม รัฐต้องการเงินภาษีจากนายทุน และมีผลประโยชน์ของตัวเอง
เพราะรัฐก็ผลิต หาเงิน สะสมทุนด้วย จึงมีกฎหมาย สถาบันค้ำจุนระบบทุนนิยม
และไปเสริมสร้างสภาวะแปลกแยกให้แก่พลเมืองมากขึ้น
เนื่องจากรัฐใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตของพลเมืองมากเกินไป
เสริมสร้างระบบการแบ่งงานกันทำ ใช้ระบบการจ้างงานยืดหยุ่น
คนทำงานขาดความมั่นคง สังคมขาดการคุ้มครอง คนตกงาน
ได้รับผลกระทบเมื่อเกิดวิกฤตมากกว่าพวกนายทุน
นอกจากนี้รัฐทุนนิยมยังส่งเสริมระบบเศรษฐกิจที่สร้างลัทธิบูชา/คลั่ง
สินค้า (Commodity fetishism) และความเชื่อบางอย่าง
ที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์แปลกแยกเหินห่างซึ่งกันและกัน
ทั้งนี้อยู่ภายใต้ฐานเศรษฐกิจแบบแบ่งงานกันทำ แบ่งเป็นสาขาวิชา
ข้อมูลถูกแยกส่วน ความเป็นผู้เชี่ยวชาญ แรงงานสมอง แรงงานไร้ฝีมือ
ที่ทำให้สังคมมองแรงงานเป็นแค่เครื่องมือการผลิต
แต่ไม่ใช่ผู้มีอำนาจตัดสินใจในระบบการผลิต
จากนั้นความเป็นอยู่ของทุนกับแรงงานก็แตกต่างเหลื่อมล้ำกันจากความสัมพันธ์
เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันนั่นเอง
ลัทธิบูชาสินค้า คือ การแปลงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์
ที่มีรากมาจากการค้าขายสินค้าในระบบตลาด
ด้วยวิธีที่ความสัมพันธ์ทางสังคมของคนถูกแสดงออกมาในลักษณะเป็นความสัมพันธ์
ทางเศรษฐกิจ/วัตถุบริโภค
เป็นความสัมพันธ์ในเชิงแลกเปลี่ยนระหว่างเงินและสินค้า ผู้ซื้อกับผู้ขาย
นั่นคือ การแปลงลักษณะอัตวิสัย/นามธรรมของมูลค่าทางเศรษฐกิจไปเป็นตัววัตถุ
สิ่งของที่คนเชื่อว่ามีค่าอยู่ในตัวอยู่แล้ว
(โดยไม่ต้องไปสืบค้นหาที่มาของการสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ
ซึ่งจริงๆ มาจากการทำงานของแรงงาน) พูดง่ายๆ คือ
คนมักสัมพันธ์กันในระบบการซื้อขาย แลกเปลี่ยนในตลาด
สนใจแต่เรื่องมูลค่าแลกเปลี่ยนหรือราคาตลาด
แต่ไม่สนใจว่าสินค้าหรือบริการนั้นถูกสร้างให้มีมูลค่าในระบบการผลิตอย่างไร
ด้วยเหตุนี้การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในตลาดจึงคอยบดบังลักษณะทาง
เศรษฐกิจที่แท้จริง (Real economy)
ที่เป็นความสัมพันธ์ของมนุษย์ในระบบการผลิต
ความสัมพันธ์ระหว่างทุนกับแรงงานคือแก่นสารของระบบทุนนิยมนั่นเอง
การที่รัฐเข้าไปค้ำจุนระบบทุนนิยม
และตอกย้ำสภาวะแปลกแยกให้แก่ชนชั้นแรงงานและความแตกแยกทางชนชั้นมากขึ้น คือ
การกีดกันประชาชนออกไปจากการมีส่วนร่วมในการเมือง การบริหาร การปกครอง
การทำให้เป็นพลเมืองชั้นสอง การทำให้เป็นชายขอบ
เพื่อไม่ให้เข้าถึงสิทธิประโยชน์ ทรัพยากร
ปัจจัยการผลิตในการดำรงชีพและพัฒนาระบบการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย
และรัฐยังมีบทบาทในการประนีประนอมการต่อสู้ระหว่างทุนกับแรงงาน
อีกทั้งจัดตั้งและใช้กลไกปราบปราม (คุก ศาล ทหาร ตำรวจ) ในการจัดการ
ทำลายขบวนการประชาธิปไตย
งานของอันโตนิโอ กรัมชี่
ได้อธิบายรัฐว่าเป็นระบบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มพลังทางสังคมหรือชนชั้น
ที่ประกอบด้วย 2 ชนชั้นคือ ชนชั้นปกครองและชนชั้นผู้ถูกปกครอง
(ชนชั้นปกครองหรือผู้มีปัจจัยการผลิต ประกอบด้วยนายทุนใหญ่
เจ้าที่ดินและนายทุนน้อยหรือนายทุนในชนบท ซึ่งครอบครองปัจจัยการผลิต
และชนชั้นผู้ถูกปกครองคือ
ชาวนาและกรรมาชีพในความหมายที่กว้างคือทั้งคนงานในโรงงาน ช่างฝีมือ
นักบวชและกลุ่มปัญญาชนด้วย) แต่ชนชั้นปกครองเข้าถึงการใช้อำนาจบังคับ
สร้างความยินยอมพร้อมใจเหนือผู้ถูกปกครอง และครอบงำด้วยอุดมการณ์
และไม่ต้องการที่จะถูกท้าทายจากกลุ่มพลังอื่นๆ นั่นหมายความว่า
ในระบบรัฐเต็มไปด้วยนายทุน (ผู้บังคับบัญชา) มากกว่าแรงงาน
(ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา) นายทุนในคราบนักการเมืองรวยๆ
ในพรรคการเมืองที่ใช้นโยบายเอื้อให้เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ผลิต
และสะสมทุนต่อไปได้ รวมทั้งองค์กร หน่วยงานรัฐที่ประกอบการ
ข้าราชการถือหุ้นรัฐวิสาหกิจ บรรษัท ไต่เต้าและสะสมความมั่งคั่งเช่นกัน
แต่สิ่งนี้ถูกทำให้ชอบธรรม บดบัง บิดเบือนได้ด้วยกระบวนการกล่อมเกลา
อบรมทางสังคม ด้วยความคิดความเชื่อทางอุดมการณ์อยู่เบื้องหลัง