หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Wake up Thailand

Wake up Thailand



 
 

Wake up Thailand ประจำวันที่ 19 พฤศจิกายน 2556 ตอนที่ 2 
คำพิพากษา...ทางออกของศาลหรือทางออกของประเทศ 
http://www.dailymotion.com/video/x17cv8l_คำพ-พากษา-ทางออกของศาลหร-อทางออกของประเทศ 

Wake up Thailand ประจำวันที่ 19 พฤศจิกายน 2556 ตอนที่ 1
นกหวีด ปะทะ นกแสก 
http://www.youtube.com/watch?v=Jpx5p-QKMSI 

Divas Cafe

Divas Cafe

  
 
 
Divas Cafe ประจำวันที่ 19 พฤศจิกายน 2556
ประวัติศาสตร์หน้าใหม่คือสิ่งที่สังคมไทยต้องการ 
http://www.youtube.com/watch?v=lWUwoYNvmMU&feature=youtube_gdata 

"ดักคอ" พรรคเพื่อไทย ในท่าทีต่อศาลรัฐธรรมนูญ

"ดักคอ" พรรคเพื่อไทย ในท่าทีต่อศาลรัฐธรรมนูญ




โดย พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล


ตอน นี้คงแสดงความเห็น "ดักคอ" พรรคเพื่อไทย ในท่าทีต่อศาลรัฐธรรมนูญ ไว้ดังนี้ครับ (สำหรับกรณีศาลรัฐธรรมนูญ มีคนกล่าวถึงเยอะแล้ว) โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผม * ไว้

1. หากพรุ่งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา ๓๑๒ ราย ก็รอเลือกตั้งสมาชิกสภาที่ขาดไปมาทดแทนจนเต็มจำนวนครับ และจะโทษใครไม่ได้เพราะก่อนหน้านี้ พรรคเพื่อไทยมองเพียงประโยชน์เฉพาะหน้า (เกี้ยเซี้ย) หวังจะคืนดีกับพวกระบอบเก่า จึงไม่ยอมยุบเลิกศาลรัฐธรรมนูญ แล้วตั้ง "องค์กรชั่วคราว" มาดำเนินการแทนที่ ตามข้อเสนอคณะนิติราษฎร์ ( http://www.enlightened-jurists.com/blog/66 ) คงต้อง "สมน้ำหน้า" พรรคเพื่อไทยเอง และหากไม่สู้โดยยืนกรานไม่ยอมรับความผูกพันตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญก็สมควรสมน้ำหน้าซ้ำ 

*** กล่าวคือ ไม่ว่าผลจะออกในทางใดๆ สมาชิกรัฐสภาจำต้อง "ไม่ยอมรับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้" ต้องถือเป็น null มีค่าเป็น ศูนย์ ในทุกกรณี ไม่ว่าผลจะเป็นทางดีหรือเลวร้ายก็ตาม ***

2. ตอนนี้พวกประชาธิปัตย์ระดมพลผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ๒ หมื่นรายชื่อ ยื่นถอดถอนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่โหวตผ่าน "พ.ร.บ.เหมาเข่ง" จำนวน ๓๑๐ คนครับ เพื่อให้วุฒิสภาส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วยเหตุจงใจกระทำขัดรัฐธรรมนูญ และขณะเดียวกันวุฒิสภาจะมีมติถอดถอนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ถูกยื่นถอดถอนต่อไป เรื่องนี้ก็ "สมน้ำหน้า" เช่นกัน เพราะพวกคุณจงใจทำขัดรัฐธรรมนูญ "จริง" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "คณะกรรมาธิการ" ที่ยัดไส้เข้ามานี้ และผู้โหวตรับร่าง พ.ร.บ.ยัดไส้ ก็ถือเป็นการทรยศต่อเสียงข้างมากในมติที่ ๑ การพ้นจากตำแหน่งจึงเป็นเรื่องที่"ทำตัวเองแท้ๆ" และต้องรอเลือกตั้งใหม่ทดแทนจนครบตามจำนวนที่พ้นจากตำแหน่งไป.   

ตัวแทนญาติปี 53 ร้องรบ.ต้องขอโทษประชาชนฐานผลักดัน 'เซ็ตซีโร่'

ตัวแทนญาติปี 53 ร้องรบ.ต้องขอโทษประชาชนฐานผลักดัน 'เซ็ตซีโร่'

 
 
 

'พ่อน้องเฌอ'-'แม่น้องเกด' เสนอส.ส.เพื่อไทยใช้สถานะค้ำประกันเพื่อช่วยนักโทษการเมืองโดยเร็ว พร้อมทั้งเสนอตั้งคณะกรรมการค้นหาความจริงขึ้นมาใหม่โดยใช้ข้อมูลจากคอป.และ ศปช.รวมกัน 

19 พฤศจิกายน 2556 เมื่อเวลา 11.00 น. ที่สมาคมนักข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) องค์กรฮิวแมนไรท์ วอทช์ มีการจัดงานแถลงข่าวเรื่องการนิรโทษกรรมในประเทศไทย โดยแบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียของฮิวแมนไรท์ วอทช์ ได้วิพากษ์วิจารณ์ถึงวัฒนธรรมการลอยนวลจากการรับผิดในประเทศไทยที่มีมานาน ต่อเนื่องตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลา เหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ จนถึงเหตุการสลายการชุมนุมในปี 53 

อดัมส์กล่าวว่า การผ่านกฎหมายนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ยิ่งเป็นการตอกย้ำวัฒนธรรมดังกล่าว และเป็นการทำผิดคำพูดของตนเองในฐานะผู้นำประเทศที่เคยให้สัญญาไว้ในช่วงหา เสียง และยังเป็นการขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติด้วย

เขามองด้วยว่าการพยายามรวมนิรโทษกรรมให้กับพ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ในร่างพ.ร.บ. นิรโทษกรรมที่ผ่านมา ทำให้ไม่มีคนสนใจเรื่องการนิรโทษกรรมทหารที่จะเกิดขึ้นจากการเหมาเข่งนี้ ด้วย 

"สิ่งที่น่าผิดหวังอย่างยิ่งกับรัฐบาลนี้ คือพวกเขากระตือรือล้นอย่างมากที่จะเอาผิดอภิสิทธิ์ (เวชชาชีวะ) และสุเทพ (เทือกสุบรรณ) แต่กลับไม่พยายามเอาผิดกับกองทัพในแบบเดียวกันนี้เลย" อดัมส์กล่าว

(อ่านต่อ)

ศาลโปรดอย่าก้าวล่วงพระราชอำนาจ

ศาลโปรดอย่าก้าวล่วงพระราชอำนาจ


 

โดย วีรพัฒน์ ปริยวงศ์


 สังคมไทยเริ่มชินชากับการที่ 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ขยายอำนาจเข้าไปตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซึ่ง 'รัฐสภา' แก้ไขให้ 'ประชาชน' มีโอกาสเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สมาชิกวุฒิสภา ประหนึ่งว่าหากประชาชนชาวไทยจะมีโอกาสเลือกผู้แทนตนเองได้ ก็จะต้อง 'ขออนุญาต' จากศาลซึ่งประชาชนไม่ได้เลือกมาเสียก่อน

เรื่องนี้นอกจาก ละเมิดสามัญสำนึกทางประชาธิปไตยแล้ว ยังเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญอย่างโจ่งแจ้ง โดยศาลกำลังละเมิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 68  ทั้งด้านเนื้อหา กล่าวคือ ศาลนำเรื่องการใช้อำนาจของรัฐสภาไปปะปนกับเรื่องการใช้สิทธิเสรีภาพของ ประชาชนและพรรคการเมือง อีกทั้งละเมิดกระบวนการโดยเบียดบังอำนาจของอัยการสูงสุดเพื่อนำอำนาจนั้นมา ไว้กับตนให้รับพิจารณาคดีได้เองแต่ผู้เดียว

การขยายอำนาจเช่นนี้อาจ เป็นเพราะศาลมีความปรารถนาดีว่า 'ประชาธิปไตย' ไม่ใช่เรื่องของ 'เสียงข้างมาก' เท่านั้น แต่เสียงข้างมากต้องถูกตรวจสอบถ่วงดุลได้

การ ตรวจสอบถ่วงดุลนั้นสำคัญจริง แม้แต่กรณีที่รัฐสภาเสียงข้างมากจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญก็เช่นกัน กระบวนการทั้งหมดต้องมีขั้นตอนให้ฝ่ายเสียงข้างน้อยได้แสดงความเห็นและเสนอ แนะคัดค้าน มิอาจรวบรัดตัดตอนให้แล้วเสร็จในทันทีได้ เช่น มีกรรมาธิการที่มีสัดส่วนและมีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาที่อภิปรายหรือลง มติอย่างเปิดเผยให้สังคมร่วมตรวจสอบทั้ง 3 วาระ

คำถามสำคัญก็คือ เมื่อรัฐสภาได้ลงมติเห็นชอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญไปแล้ว  จะยังมีผู้ใดที่จะตรวจสอบถ่วงดุลรัฐสภาได้?

คำตอบนั้น หาใช่ ศาลรัฐธรรมนูญ หาใช่ รัฐสภา และ หาใช่ คณะรัฐมนตรี

แต่เป็น "พระราชอำนาจ" โดยเฉพาะของพระมหากษัตริย์ซึ่งยึดโยงกับจิตสำนึกและเจตจำนงของปวงชน

ทั้ง นี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ประกอบกับ มาตรา 151 ได้บัญญัติไว้ชัดเจนว่า เมื่อรัฐสภาได้ลงมติเห็นชอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญและส่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไข เพิ่มเติมให้นายกรัฐมนตรีแล้ว นายกรัฐมนตรีต้องนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายใน 20 วันเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ซึ่งเมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ ผู้ที่จะยับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ผู้เดียว ก็คือ พระมหากษัตริย์

โดย หากพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานร่างรัฐธรรมนูญคืนมายัง รัฐสภา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาต้องปรึกษากันว่าจะดำเนินการต่ออย่างไร หากรัฐสภาทบทวนแล้วเกิดความยับยั้งชั่งใจว่าไม่ควรดำเนินการต่อ ร่างรัฐธรรมนูญนั้นก็ยังประกาศใช้ไม่ได้

แต่หากรัฐสภามีมติยืนยันตาม เดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา นายกรัฐมนตรีจะต้องนำร่างรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีก ครั้งหนึ่ง

ซึ่งเมื่อรัฐสภาได้มีมติยืนยันเช่นนี้ หากพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยก็ดำเนินการประกาศใช้บังคับรัฐธรรมนูญ ที่แก้ไขเพิ่มเติมต่อไป แต่หากพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธย และไม่พระราชทานคืนมาภายใน 30 วัน รัฐธรรมนูญก็ได้กำหนดให้นายกรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญนั้นประกาศในราชกิจจา นุเบกษาใช้บังคับได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว


(อ่านต่อ)
http://prachatai.com/journal/2013/11/49862

สมาชิกรัฐสภา 312 คน ประกาศไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ

สมาชิกรัฐสภา 312 คน ประกาศไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ






ส.ส. - ส.ว. 312 คนแถลงคัดค้านและไม่ยอมรับอำนาจศาล รธน. ระบุการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐสภา และการรับคำร้องของศาล รธน. เป็นการก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัติ

19 พ.ย. 2556 - สำนักข่าวแห่งชาติ รายงานวันนี้  (19 พ.ย.) ว่า สมาชิกรัฐสภา ประกอบด้วย ส.ส. และ ส.ว. ที่ร่วมลงชื่อร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. 312 คน นำโดยนายอำนวย คลังผา ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล และนายกฤช อาทิตย์ แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร แถลงข่าว "คัดค้านและไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ" ที่เตรียมวินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว.ขัดมาตรา 68 เข้าข่ายล้มล้างการปกครองหรือไม่เนื่องจากเชื่อมั่นว่า สมาชิกรัฐสภาทำหน้าที่อย่างถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นอำนาจของสมาชิกรัฐสภาที่สามารถทำได้ ตามมาตรา 291 โดยไม่มีข้อบัญญัติของกฏหมาย ให้อำนาจศาลวินิจฉัย ซึ่งเห็นว่า การรับคำร้องไว้วินิจฉัย เป็นการก้าวล่วงการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ และกังวลว่า อาจมีการขยายอำนาจให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต และอาจกลายเป็นปัญหาให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย

ทั้งนี้ หากศาลวินิจฉัยทางหนึ่งทางใด จะไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัย แต่จะยังไม่แสดงท่าทีอื่นใด รวมถึงการยื่นถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย

สำหรับแถลงการณ์สมาชิกรัฐสภา "เรื่อง แจ้งเหตุผลการปฏิเสธและไม่ยอมรับอำนาจการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญกรณีการ แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ" มีใจความระบุว่า

"ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติรับคำร้องเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐ ธรรมนูญไว้พิจารณาหลายคดีด้วยกัน ซึ่งสมาชิกรัฐสภาอันประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ผู้ถูกร้องได้ปฏิเสธและไม่รยอมรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในการรับคดีไว้ พิจารณาดังกล่าว โดยไม่เข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนุญอันเป็นที่ทราบกันโดยทั่ว ไปนั้น"

(อ่านต่อ)
http://prachatai.com/journal/2013/11/49876