หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แถลงการณ์: ต่อต้านกบฏ ปกป้องรัฐบาลประชาธิปไตย ไม่เอารัฐบาลแห่งชาติ

แถลงการณ์: ต่อต้านกบฏ ปกป้องรัฐบาลประชาธิปไตย ไม่เอารัฐบาลแห่งชาติ

 

Photo 





แถลงการณ์  ฉบับที่ 1/2556
“ต่อต้านกบฏ ปกป้องรัฐบาลประชาธิปไตย ไม่เอารัฐบาลแห่งชาติ”

จากปรากฏการณ์การยกระดับ “ม๊อบฝนตกขี้หมูไหลฯ” ของพวกอันธพาลทางการเมือง “กลุ่มพลังอนุรักษ์นิยม” ภายใต้การชี้นำของ “เครือข่ายอำมาตย์”  ที่ได้จัดตั้งองค์กรสัปปะรังเคในนาม “คณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” (กปปส.)  แสดงให้เห็นถึงการวางแผนเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อนำไปสู่อุดมการณ์สูงสุด คือ “รัฐบาลแห่งชาติ” (รัฐบาลพระราชทาน/ รัฐบาล ม.7) ที่จะมาจาก “คนดีมีศีลธรรม” ซึ่งเป็นแผนการรื้อฟื้น, สถาปนา “ระบอบอำมาตยาธิปไตย” ขึ้นมาใหม่

ดังนั้น  ทาง “สหพันธ์ประชาชนเสรีเพื่อประชาธิปไตย” (สปป.)  ซึ่งเป็นองค์กรกลางในการประสานงานองค์กร, เครือข่าย “กลุ่มพลังประชาธิปไตย” และประชาชน, เสรีชนผู้รักประชาธิปไตย ในขอบเขตทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ “สร้างสรรค์ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แท้จริง” ให้เกิดขึ้นในแผ่นดินไทย ที่มีรายชื่อแนบท้ายนี้  จึงมีข้อเสนอต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน  ดังนี้

ข้อเสนอต่อ นปช. และประชาชนผู้รักประชาธิปไตย

 
1.  ให้รวมพลังกาย  พลังใจ  สามัคคีกัน เพื่อลุกขึ้นต่อสู้กับพวก “กบฏ กปปส.” โดยไม่ยอมจำนนอย่างถึงที่สุด
2. ให้เตรียมคน  เตรียมความคิด  เตรียมเสบียง  และเตรียมอุปกรณ์  เพื่อรองรับการต่อสู้ในระยะยาว
3. ให้ นปช. , พรรคเพื่อไทย (พท.) และประชาชนผู้รักประชาธิปไตย ร่วมกันจัดชุมนุมต่อต้านกบฏที่หน้า “ศาลากลางจังหวัด” ในทุกจังหวัดอย่างรวดเร็ว

135 คณาจารย์ ชี้ 4 ข้อ ปัญหาท่าทีที่ประชุมอธิการบดี

135 คณาจารย์ ชี้ 4 ข้อ ปัญหาท่าทีที่ประชุมอธิการบดี

 

   


 
5 ธ.ค.2556 คณาจารย์ 135 คน ร่วมลงนามใน ‘จดหมายเปิดผนึกจากคณาจารย์กลุ่มหนึ่งต่อท่าทีของที่ประชุมอธิการบดีใน สถานการณ์วิกฤติการเมือง’ ไม่เห็นด้วยต่อการแสดงท่าทีของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ในสถานการณ์วิกฤติการเมืองปัจจุบัน โดยระบุไม่ได้สะท้อนความเป็นตัวแทนของประชาคมทางวิชาการของประเทศ และไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์ต่อสังคมในระยะยาว


จดหมายเปิดผนิดดังกล่าวมีเนื้อหา ดังนี้

จดหมายเปิดผนึกจากคณาจารย์กลุ่มหนึ่งต่อท่าทีของที่ประชุมอธิการบดีในสถานการณ์วิกฤติการเมือง

เรียนที่ประชุมอธิการบดี

ข้าพเจ้าผู้มีรายนามดังต่อไปนี้ มีความเห็นว่าท่าทีของที่ประชุมอธิการบดี (ทปอ.)


ในสถานการณ์วิกฤติการเมืองในห้วงเวลานี้ไม่ได้สะท้อนความเป็นตัวแทนของ ประชาคมทางวิชาการของประเทศ และไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์ต่อสังคมในระยะยาว ด้วยเหตุผลสี่ประการ

1. ในการประชุมและการแถลงท่าทีของ ทปอ.ต่อสถานการณ์ทางการเมือง ทปอ.ได้จัดการประชุมกันเอง โดยไม่ได้จัดรับฟังความเห็นและข้อถกเถียงจากประชาคมมหาวิทยาลัยของตนเองเลย การบริหารของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งนั้นมีโครงสร้างการบริหารจัดการที่ซับซ้อน และคำนึงถึงหลักธรรมาภิบาล โดยเฉพาะหลักการมีส่วนร่วมและพร้อมรับผิดชอบ (accountability) มิได้ปล่อยให้อธิการบดีเอาความเป็นสถาบัน และภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยออกไปใช้ในทางการเมืองโดยไม่ฟังเสียงประชาคม ของมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และ นิสิตนักศึกษา


ระบอบ “ขาใหญ่”

ระบอบ “ขาใหญ่” 

 


Photo 
โดย อนุสรณ์ อุณโณ
  
นักมานุษยวิทยาชื่อ Hansen และ Stepputat เสนอว่าขณะที่ประเพณีการศึกษาสถาบันกษัตริย์ในทางมานุษยวิทยาไม่สามารถช่วย ให้เข้าใจความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนระหว่างพระราชอาชญา (Royal Sovereignty) กับรูปแบบการปกครองสมัยใหม่ได้ การ “บั่นเศียรพระราชาในทางสังคมศาสตร์” ของ Foucault ก็ไม่สามารถตอบคำถามได้ว่าเหตุใดกฎหมายที่วางอยู่บนความคิดเรื่องรัฐในฐานะ ศูนย์กลางของสังคมจึงยังคงแพร่หลายหากว่าอำนาจกระจัดกระจายอย่างที่ Foucault กล่าวไว้จริง พวกเขาเห็นว่าแนวคิดอำนาจสูงสุด (Sovereign Power) ของ Agamben สามารถช่วยให้ฝ่าสภาวะชะงักงันทางทฤษฎีดังกล่าวได้ เพราะเป็นการเคลื่อนย้ายความสนใจจากการพิจารณาอำนาจสูงสุดในฐานะแหล่งสถิตย์ ของอำนาจมาเป็นรูปแบบของสิทธิอำนาจที่ก่อตัวขึ้นบนความรุนแรง นอกจากนี้ พวกเขาเสนอแนวคิดอำนาจสูงสุดในทางปฏิบัติ (De Facto Sovereignty) หรือความสามารถในการสังหาร ลงทัณฑ์ และจัดระเบียบวินัยโดยไม่ต้องรับผิด ซึ่งมีหลากชนิดและมักแข่งขันช่วงชิงกันในอาณาบริเวณจำพวกเขตอาณานิคม สังคมหลังอาณานิคม และประเทศที่อยู่ในสภาวะสงคราม อันเป็นอาณาบริเวณที่รัฐไม่ได้เป็นแหล่งสถิตย์ของอำนาจเหนือชีวิตแต่ผู้ เดียวอีกต่อไป หากแต่กลายเป็นหนึ่งในบรรดาเจ้าเหนือชีวิต (Sovereign) ที่ประกอบด้วยกลุ่มอาชญากรรม ขบวนการทางการเมือง เจ้าพ่อ หรือบรรดา “ขาใหญ่” ที่ต่างพยายามบังคับใช้ระเบียบกฎเกณฑ์ของตนลงในพื้นที่และบนชีวิตของผู้คน ผ่านการใช้ความรุนแรง


แม้สังคมไทยไม่ได้เติบโตมาอย่างสังคมตะวันตกและประเทศไทยก็ไม่เคยตก เป็นอาณานิคมอย่างเป็นทางการเหมือนเช่นประเทศแถบละตินอเมริกา เอเชียใต้ และแอฟริกา อันเป็นที่มาของบรรดาแนวคิดข้างต้น แต่ด้วยเงื่อนไขจำเพาะบางประการสังคมไทยไม่เพียงแต่อุดมไปด้วย “ขาใหญ่” หากแต่ “ขาใหญ่” ยังเป็นช่องทางที่คนในสังคม นิยมพึ่งพาอาศัย ไม่ว่าจะเป็นการส่งส่วยให้นักเลงหรือ “คนมีสี” สำหรับการประกอบธุรกิจ การจ่ายค่าน้ำร้อนน้ำชาให้เจ้าหน้าที่เวลาติดต่อราชการ การให้ของกำนัลผู้หลักผู้ใหญ่ในการฝากฝังบุตรหลานเข้าทำงาน หรือแม้กระทั่งการบนบานศาลกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้สำเร็จสมหวัง เพราะทั้งหมดนี้คือการอาศัยอำนาจของ “ขาใหญ่” ในการทำให้ระเบียบกฎเกณฑ์ปกติไม่ถูกบังคับใช้กับเรา เป็นการอาศัยอำนาจของ “ขาใหญ่” ในการช่วยให้เราบรรลุสิ่งที่เราต้องการในสภาวการณ์ที่เราคิดว่ากติกาหรือ วิธีการปกติไม่สามารถช่วยให้เราบรรลุได้  

คำต่อคำ'ยิ่งลักษณ์-สุเทพ' ต่อหน้าผบ. 3 เหล่าทัพ

คำต่อคำ'ยิ่งลักษณ์-สุเทพ' ต่อหน้าผบ. 3 เหล่าทัพ





บนความขัดแย้งที่เกิดขึ้น คงมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่คงอยากจะรู้ว่า เมื่อค่ำวันอาทิตย์ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา ผู้บัญชาการ 3 เหล่าทัพ

คือผบ.ทบ. ผบ.ทอ. ผบ.ทร. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนายกรัฐมนตรีและสุเทพ เทือกสุบรรณเลขาธิการคณะกรรมการประชาชน เพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ให้เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)

การพูดคุยค่ำคืนนั้น เรียกว่าอยู่ท่ามกลางบรรยากาศการชุมนุมที่กระจายกันอยู่หลายแห่ง ทั้งที่ศูนย์ราชการ กระทรวงการคลัง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย รวมไปถึงการชุมนุมบริเวณบริเวณแยกนางเลิ้งถึงแยกพาณิชยการของกลุ่มเครือข่าย นักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย(คปท.)และอีกหลายพื้นที่ 


ทันทีที่ไปถึงสถานแห่งหนึ่ง พร้อมหน้าพร้อมตา ผบ.ทบ.ได้เป็นผู้เริ่มต้นการพูดคุย พร้อมกับเปิดทางให้นายกฯยิ่งลักษณ์และสุเทพได้พูดคุยกัน

นายกฯยิ่งลักษณ์มีคำถามแรกถามสุเทพ ว่าจะให้ทำอย่างไร

สุเทพตอบทันที ไม่เอายิ่งลักษณ์

นายกฯยิ่งลักษณ์ถามต่ออีกว่า จะให้ลาออกไหม

สุเทพบอกว่า ไม่เอา

นายกฯยิ่งลักษณ์ถามต่อว่า ถ้าไม่ลาออก ไม่ยุบสภา เอาอย่างไร

จากนั้นผบ.ทบ.ถามสุเทพ ถ้างั้นเอาอย่างไร

สุเทพบอกทันทีว่า จะเอาสภาประชาชน และให้ยกอำนาจให้ประชาชนเพื่อตั้งสภาประชาชนขึ้นมาใหม่

นายกฯยิ่งลักษณ์ถามต่ออีกว่า ไม่มีนายกฯจะสั่งการบริหารประเทศได้อย่างไร

สุเทพบอกว่า เขาจะเป็นผู้ตั้งนายกฯ ขึ้นมาเอง โดยให้สภาประชาชนเป็นผู้สนับสนุน

นายกฯยิ่งลักษณ์ถามต่อว่า ถ้าอย่างนั้น ในส่วนของกระทรวง ทบวง กรม จะทำอย่างไร

สุเทพบอกว่า ก็ให้ประชาชนเป็นผู้บริหาร เราจะฟังเสียงประชาชน

นายกฯยิ่งลักษณ์ถามต่อว่า เอากฎหมายใดมารองรับ

สุเทพบอกว่า ก็ให้สภาประชาชนยกร่างกฎหมายใหม่ขึ้นมา