หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

คลิปเสวนาที่ Book Re:public "จาก ตลก.ภิวัฒน์ สู่ ตลก.พิทักษ์รัฐธรรมนูญฯ"

คลิปเสวนาที่ Book Re:public "จาก ตลก.ภิวัฒน์ สู่ ตลก.พิทักษ์รัฐธรรมนูญฯ"




เมื่อวันที่ 21 ก.ค. ที่ผ่านมา ที่ร้าน Book Re:public มีการจัดเสวนาหัวข้อ "จาก ตลก.ภิวัฒน์ สู่ ตลก.พิทักษ์รัฐธรรมนูญ (รัฐประหาร)" วิทยากรโดย พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสต์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักคิด นักเขียน นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ และปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยร้าน Book Re:public ได้เผยแพร่รายละเอียดของการเสวนาในรูปแบบของวิดีโอคลิปมีราย

ละเอียดดังนี้ สำหรับข่าวที่เกี่ยวข้องโปรดอ่านที่นี่

พนัส_นิธิ_พรสันต์_1of4 
 
พนัส_นิธิ_พรสันต์_2of4

พนัส_นิธิ_พรสันต์_3of4

พนัส_นิธิ_พรสันต์_4of4

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41772

วันคล้ายวันพระราชสมภพ ๖๐ พรรษา ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

วันคล้ายวันพระราชสมภพ ๖๐ พรรษา ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช







 




ทำไมนายวชิราลงกรณ์ไม่สมควรที่จะเป็นประมุข

 

โดยใจ อึ๊งภากรณ์

 

ใน ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงรัชกาล คนไทยจำนวนมากคงไม่สบายใจเป็นอย่างมากที่ดูเหมือนว่าเจ้าฟ้าชายจะขึ้นมาเป็น ประมุขของประเทศ ถ้า นายวชิราลงกรณ์ ถือเป็นบุคคลธรรมดาที่ไม่มีบทบาทสาธารณะ เราคงจะไม่แสดงความเห็นหรือพิพากษาเขา นอกจากจะมีกรณีที่ก่ออาชญากรรมหรือละเมิดสิทธิของคนอื่น แต่การเป็นประมุข ถือว่าเป็นตำแหน่งสาธารณะ และเป็นตัวแทนของสังคมเราอีกด้วย เราต้องมีความเห็น ถ้าเราไม่ใช่ทาส


ประมุขมีไว้ทำไม? ถ้า ศึกษาประมุขโดยทั่วไป ประมุขอาจมีอำนาจไม่มากก็น้อย อาจมีหน้าที่เชิงพิธีกรรมหรือสัญลักษณ์ หรืออาจถูกอ้างว่าเป็นศูนย์รวมของชาติบ้านเมือง ถ้าประมุขมีอำนาจการเมืองจริง เช่นประธานาธิบดี คนนั้นควรจะมาจากการเลือกตั้งตามระบบประชาธิปไตย เพราะอำนาจอธิปไตยควรอยู่ในมือของประชาชน ไม่ใช่ในมือของเผด็จการหรือคนที่บังเอิญเกิดมาในตระกูลหนึ่ง การมีฐานะพิเศษที่นำไปสู่อำนาจพิเศษในสังคมอันเนื่องมาจากการเป็นลูกใคร ต้องถือว่าเป็นการคอร์รับชั่นชนิดหนึ่ง ซึ่งเห็นในประเทศล้าหลังอย่างเกาหลีเหนือ หรือเผด็จการในประเทศด้อยพัฒนาทั่วไป ถ้านายวชิราลงกรณ์จะขอเป็นประมุขที่มีอำนาจ เขาควรจะลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยไม่มีสิทธิพิเศษ และจะต้องแข่งกับผู้อื่นที่เสนอตัวมาตามกติกาประชาธิปไตย

ถ้า ประมุขมีบทบาทเชิงพิธีกรรม สัญลักษณ์ หรือเป็นจุดรวมของชาติบ้านเมืองเท่านั้น อย่างกษัตริย์ยุโรปหรือญี่ปุ่น ประมุขควรจะเป็นตัวอย่างที่ดีของสังคมนั้นๆ เป็นสัญลักษณ์ของสังคมตามที่ประชาชนต้องการ ถ้าเราเข้าใจประเด็นเหล่านี้เราจะเข้าใจว่าทำไมนายวชิราลงกรณ์ไม่สมควรจะ เป็นประมุข และควรจะมีการปรับสภาพเป็นพลเมืองธรรมดาแทน

นาย วชิราลงกรณ์ เป็นคนที่เรียนไม่เก่ง หรืออาจไม่สนใจเรียนก็ได้ ซึ่งถ้าเป็นพลเมืองธรรมดาก็ไม่ควรไปว่ากันตรงนั้น แต่ถ้าจะเป็นประมุขก็ควรสนใจบ้านเมืองและสนใจเรียนและศึกษาเรื่องปัญหาบ้าน เมือง ควรสามารถพูดคุยกับคนที่มีตำแหน่งทางการเมือง ทั้งภายในและภายนอกประเทศได้ ด้วยสติปัญญา แต่นายวชิราลงกรณ์ทำไม่ได้ ไม่เชื่อก็ไปถามคนในวงการทูตก็ได้ นอกจากนี้ประมุขควรปกป้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน แต่ในเหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ นายวชิราลงกรณ์ไปให้กำลังใจกับลูกเสือชาวบ้านที่ก่อความป่าเถื่อนในวันนั้น

ประมุข ควรจะเป็นคนที่มีมารยาทระดับหนึ่ง โดยเฉพาะในกิจกรรมทางการ แต่นายวชิราลงกรณ์เคยสร้างปัญหาทางการทูตกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเพราะไม่พอ ใจในเรื่องส่วนตัว นำเครื่องบินที่ตนเองขับไปปิดกั้นเครื่องบินของนายกญี่ปุ่นที่ดอนเมือง และในงานเลี้ยงครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งก็ปล่อยให้หมาของตนเองวิ่งไปมาบนโต๊ะ อาหาร ปล่อยให้หมาดมและเลียอาหารในจานของแขกผู้รับเชิญที่มีเกียรติ์ ทั้งไทยและต่างประเทศ โดยที่ไม่มองว่าเป็นการกระทำที่ผิดแต่อย่างใด แสดงว่าไร้คุณสมบัติ ตรงนี้เราไม่พูดถึงข่าวลือต่างๆ นาๆ เรื่องการใช้ความรุนแรงและการเป็นเจ้าพ่อนักเลง ซึ่งควรจะนำมาตรวจสอบอย่างเปิดเผยและเป็นธรรมก่อนที่จะรับตำแหน่งสาธารณะใดๆ

ถ้านายวชิราลงกรณ์จะเป็นประมุขเชิงสัญลักษณ์ของไทย เขาจะเป็นตัวแทนของสตรีไทย 30 กว่าล้านคน ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของสังคม เราต้องพิจารณาภาพของนายวชิราลงกรณ์เกี่ยวกับทัศนะต่อสตรี ในสายตาคนไทยและคนต่างประเทศ

การ ที่นายวชิราลงกรณ์หลงรักหรือหลงใคร่ผู้หญิงหลายคน ไม่ควรเป็นเรื่องผิด และควรเป็นเรื่องส่วนตัว ถ้าเขาอยากถ่ายรูปแฟนเขาเปลือยกายเพื่อเก็บไว้ดูเอง ก็ไม่น่าจะผิดและน่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวอีก แต่ประเด็นที่เราควรพิจารณาคือ นายวชิราลงกรณ์ ในฐานะ “เตรียมประมุข” เป็น คนที่เคารพผู้หญิงหรือไม่ ตรงนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับตำแหน่งประมุขในเชิงสัญลักษณ์ที่ไม่ได้รับการเลือก ตั้ง มันไม่ใช่เรื่องส่วนตัวแล้ว มันควรเป็นเรื่องที่สาธารณะพิจารณา

นาย วชิราลงกรณ์เคยนั่งดื่มไวน์และกินข้าวริมสระน้ำกับแฟนเขา ตรงนั้นไม่แปลก แต่ที่แปลกคือแฟนเขาแก้ผ้าหมด ในขณะที่เขาสวมเสื้อผ้า และที่ยิ่งแปลกและน่ากังวลคือคนรับใช้ผู้ชายแต่งชุดราชการ และมีคนอื่นถ่ายรูปทั้งวิดีโอและภาพนิ่ง แค่นั้นไม่พอ มีการให้แฟนตนเองเปลือยกายคลานกับพื้นเพื่อรับขนมจากมือนายวชิราลงกรณ์ เหมือนเอาอาหารให้หมากิน ภาพนี้ ซึ่งปวงชนชาวไทยจำนวนมากได้แลเห็นไปแล้ว เป็นภาพที่สะท้อนการไม่เคารพเพศสตรีของนายวชิราลงกรณ์ และประกอบกับการปล่อยภาพเปลือยกายของสตรีคนอื่นๆที่นายวชิราลงกรณ์คบ ต้องถือว่าเป็นการล่วงละเมิดทางเพศผ่านการมีเงินและอำนาจ ตรงนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่นายวชิราลงกรณ์ไม่ควรเป็นประมุข ไม่ควรมีอำนาจ และไม่ควรมีอิทธิพลเหนือผู้หญิงหรือประชาชนทั้งปวงในประเทศไทย

อย่า ลืมว่าผู้เป็นแม่ เอ็นดูและยกโทษให้ลูกชายตนเองเสมอ ซึ่งไม่แปลก แต่ไม่สมควรในคนที่อยู่ในแวดวงประมุข อย่าลืมว่าแม่กับลูกใกล้ชิดกัน และอย่าลืมว่าแม่และลูกสาวเขา ได้ไปงานศพพันธมิตรฯที่ก่อความรุนแรงและทำลายประชาธิปไตย อย่าลืมอีกว่าผู้เป็นพ่อไม่ยอมออกมาตักเตือนลูกชายตนเอง ทั้งๆ ที่รู้ว่ามีการผลักดันลูกชายให้เป็นประมุขคนต่อไป

อย่า ลืมอีกว่าในสังคมอำมาตย์ของไทย ประชาชนถูกบังคับให้ยืนเคารพประมุข ถูกบังคับให้หมอบคลาน ถูกบังคับให้ใช้ภาษาพิเศษ ถูกบังคับให้เสียภาษีเพื่อวิถีชีวิตอันร่ำรวยของประมุข ถูกบังคับให้เดือดร้อนเพราะมีการปิดถนนให้เขาเดินทางอย่างสะดวกสบาย และถูกบังคับให้ท่องในห้องเรียนว่าประมุขเป็นคนดีวิเศษ แต่นายวชิราลงกรณ์ไม่ใช่คนดีวิเศษ และไม่ใช่แบบอย่างสำหรับนักเรียนในโรงเรียน

ถ้า พิจารณาตรงนี้จะเห็นว่าการตั้งความหวังไว้กับรัชกาลต่อไป ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี โดยคุณทักษิณหรือคนอื่น น่าจะเป็นสิ่งผิดพลาด ยกเว้นว่าจะมีการมองว่านายวชิราลงกรณ์จะขอพัก ขอลาออก ขอไม่เป็นประมุข ขอเป็นบุคคลธรรมดาและอยู่อย่างเงียบๆ และในช่วงนั้นมีการปรับปรุงประชาธิปไตยให้เต็มใบ สงสารและเห็นใจแฟนของนายวชิราลงกรณ์เถิด

เวลาท่านเห็นภาพริมสระน้ำ หรือภาพเปลือยกายของเหล่าแฟน หรือ “หม่อม” ของ นายวชิราลงกรณ์ โปรดอย่าด่าผู้หญิง โปรดเข้าใจว่าใครมีอำนาจตรงนั้น โปรดให้อภัยสตรีน้อยๆ ผู้ตัดสินใจผิด โปรดอย่าไปว่าคนที่โชว์ร่างเปลือยอันงาม เพราะนั้นก็ไม่ใช่อาชญากรรม

ทำไมมีการปล่อยภาพแบบนี้ออกมา? ต้อง ตอบอย่างตรงไปตรงมาว่าไม่มีข้อมูลหลักฐานพอที่จะตอบได้ ได้แต่เดาเอา ที่แน่นอนคือมันไม่ใช่อุบัติเหตุ เพราะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาหลายปี ดังนั้นอาจเป็นวิธีควบคุมผู้หญิงให้หมดศักดิ์ศรีและพึ่งพานายวชิราลงกรณ์คน เดียว หรืออาจเป็นการที่นายวชิราลงกรณ์อยากจะอวดว่าได้ผู้หญิงสวยๆ มาหลายคนก็ได้ หรือเขาอาจมีทัศนะว่า “กูจะทำแล้วทำไม?” พยายาม สร้างภาพว่าไม่มีใครแตะได้ แต่ทั้งหมดเป็นการเดาเท่านั้น และการเดาใจคนที่น่าจะผิดเพี้ยนเคารพคนอื่นไม่เป็นทำยาก ซึ่งน่าจะหมายความว่านายวชิราลงกรณ์ไม่สมควรเป็นประมุข

นาย วชิราลงกรณ์ควรจะเป็นพลเมืองธรรมดา ควรจะหางานทำ ควรจะเสียภาษี และควรจะทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี และหลังจากนั้นเขาจะมีพฤติกรรมอะไรในบ้านเขาก็น่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว

(ที่มา)

การทำรัฐประหารในเมืองไทยอย่างน้อยต้องใช้กำลังสามส่วน คือ...

การทำรัฐประหารในเมืองไทยอย่างน้อยต้องใช้กำลังสามส่วน คือ... 

 


The Daily Dose 27กค55

The Daily Dose 27กค55

 



(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=_xcBDdPibTo&feature=player_embedded

สภาตาขาว ถึงคราวสร้าง.. พรรคซ้ายของประชาชน // นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 55

สภาตาขาว ถึงคราวสร้าง.. พรรคซ้ายของประชาชน // นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 55 



Open publication
 
ในเล่มพบกับ

แบทแมน ความคลุมเครือของโลกที่ไร้ทางออก
โดย วรรณ วรรณ 

"แรงงานเสรี" ของอดัม สมิท
โดย C.H.

ศาลรัฐธรรมนูญ จะทำรัฐประหารหรือไม่?
โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

นักสื่อสารแรงงาน อย่าหลงประเด็น
โดย จารุวัฒน์ เกยูรวรรณ

แรงงานเป็นเรื่องการต่อสู้แบบสากล
โดย ฮิปโป

อัพเดทสถานการณ์ วิกฤตทางเศรษฐกิจและการเมืองในยุโรป ตอนที่ 2
โดย นุ่มนวล ยัพราช

ถ้าไม่สร้างพรรคฝ่ายซ้ายในไทย การเมืองจะวนเวียนอยู่ในอ่างน้ำเน่าต่อไป
โดย ลั่นทมขาว 

ก้าวต่อไปให้ถึงประชาธิปไตยสมบูรณ์
โดย Netiwit Ntw Junrasal 

โรคร้ายในสังคมไทย
โดย ยังดี โดมพระจันทร์

ว่าด้วยทุน เล่ม 2 ภาคที่ 1 การเปลี่ยนรูปของทุนและวงจรของมัน(บทที่ 2-4)
โดย กองบรรณาธิการ

คนงานทำความสะอาดใต้ดินในลอนดอนนัดหยุดงานเรียกร้องขึ้นค่าจ้างรับโอลิมปิก

คนงานทำความสะอาดใต้ดินในลอนดอนนัดหยุดงานเรียกร้องขึ้นค่าจ้างรับโอลิมปิก

Striking Tube cleaners rally in Stratford, 27 July 2012

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=oueK-zHPaTU

 

เมื่อเวลา 5.30 น. ของวันที่ 27 ก.ค. ตามเวลาท้องถิ่น คนงานสมาชิกสหภาพ RMT (สหภาพคนงานรถไฟ เรือเดินทะเล และการขนส่งอังกฤษ) เริ่มการนัดหยุดงานเรียกร้องเพิ่มค่าจ้างโดยคาดว่าจะหยุดต่อเนื่องไปอีก 2 วัน ส่งผลกระทบต่อพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิก

คนงานทำความสะอาดเคยประสบความสำเร็จจากการประท้วงขอขึ้นค่าแรงเพื่อชีวิต ในปี 2550 แต่นายจ้างซึ่งเป็นผู้รับเหมาเอกชนไม่ได้ให้การขึ้นค่าแรงประจำปีตามที่ตกลง กันไว้

เวเนตซิยา เรเชตาโรวา คนงานทำความสะอาดซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพกล่าวว่า “พวกเราทำงานหนัก และมันก็เป็นธรรมหากเราได้รับค่าจ้างในระดับที่เหมาะสมกับงานที่เราทำ” และย้ำว่า “การนัดหยุดงานในช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกนั้นเป็นเรื่องที่ถูกแล้ว ถ้าไม่ใช่เวลานี้แล้วควรจะเป็นช่วงไหนล่ะ ถ้าหากไม่บรรลุข้อเรียกร้อง เราก็ต้องนัดหยุดงานอีก”

ด้านเพทริต มิฮาจ ตัวแทนด้านสุขภาพและความปลอดภัยของสหภาพ RMT ระบุว่านี่เป็นเรื่องของบริษัทที่มีมูลค่าระดับหลายล้านปอนด์ที่เอาเปรียบ แรงงานที่ค่าแรงต่ำที่สุดซึ่งอยู่ใต้ดิน

“ขณะที่ลอนดอนกำลังมีงานที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก แต่คนทำความสะอาดกำลังถูกเอาเปรียบ ดังนั้นเราจึงเผยข้อเท็จจริงให้ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก”

ดีน อานลอง พนักงานประจำร้านของ RMT กล่าวชื่นชมการต่อสู้ของคนงานทำความสะอาด
“คนงานทำความสะอาดนั้นถูกทิ้งเอาไว้ก้นบึ้ง แต่เป็นเวลา 5 ปีมาแล้ว ที่พวกเขาสามารถรวมตัวและจัดตั้งกันได้” เขากล่าว

(ที่มา)

รายการ Wake up Thailand ประจำวันศุกร์ที่ 27 ก.ค. 55

รายการ Wake up Thailand ประจำวันศุกร์ที่ 27 ก.ค. 55 






นำเสนอประเด็น
 
- เปิดห้องสมุดทักษิณ ชินวัตร
- ทักษิณเปิดใจ ยังคิดเพื่อชาติ อีกไม่นานได้อยู่ใกล้ประชาชน 
- กิจกรรมวันเกิด พ.ต.ท.ทักษิณ ที่วัดแก้วฟ้า จ.นนทบุรี        
- เสื้อแดงเชียงใหม่-อุดรธานีฉลองวันเกิดทักษิณ                       
- ศาล รธน. เผยแพร่คำวินิจฉัยกลางปมแก้ รธน.แล้ว
- "ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน" เปิดแคมเปญ deadtweet รำลึกนักข่าวพลเมืองถูกสังหารในซีเรีย                                
- สมชัย สุวรรณบรรณ นั่งเก้าอี้ ผอ.ไทยพีบีเอสคนใหม่            
- จดหมายเปิดผนึกฉบับที่3  
- ธนบัตร Eva Peron ของอาร์เจนติน่า   
- ประธาน ECB ประกาศอุ้มยูโร
- ปปช.เชือด 'สุเทพ' แทรกแซงวธ.ชงถอด 

(คลิกฟัง)
http://shows.voicetv.co.th/wakeup-thailand/       

คำวินิจฉัยพร่าๆ ในพายุที่พรำๆ

คำวินิจฉัยพร่าๆ ในพายุที่พรำๆ 

โดย วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ 
นักกฎหมายอิสระ http://www.facebook.com/verapat


ครบ 13 วัน นับจาก ‘ศุกร์ที่ 13’ ที่ศาลได้อ่านคำวินิจฉัย ก็ประจวบกับคลื่นลม ‘จากแดนไกล’ ที่พัดเข้าใกล้การเมืองไทยมากขึ้นทุกที

เอกสารคำวินิจฉัยที่ศาลเผยแพร่หลังพ้น 13 วันนี้ มีสาระการวินิจฉัยตรงตามที่ศาลอ่าน สิ่งที่อ่านไม่ชัดเจน ก็ยังคงเขียนไม่ชัดเจน และศาลก็ไม่ระบุจำนวนมติตุลาการซึ่งขัดแนวปฏิบัติสากลที่ศาลรัฐธรรมนูญไทยใน อดีตเคยยึดถือ อีกทั้งยังไม่เปิดเผยคำวินิจฉัยส่วนตนให้อ่านประกอบได้ ในเบื้องต้นผู้เขียนจึงไม่มีประเด็นเพิ่มเติมจากที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ (ดู http://bit.ly/VPCONS)


แต่สังเกตว่า ศาลได้ปรับถ้อยคำอย่างมีนัยสำคัญบางจุด เริ่มตั้งแต่หน้าแรก ที่ระบุเพิ่มว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 ไม่ใช่ ‘ประธานรัฐสภา’ แต่เป็น ‘ประธานรัฐสภา ในฐานะรัฐสภา’


ถ้อยคำนี้ถูกปรับให้ต่างไปจาก ‘หนังสือเรียกเอกสารฯ’ ที่ประธานศาลเคยลงนามพร้อมระบุว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 คือ ‘ประธานรัฐสภา’ (เฉยๆ ดู http://bit.ly/VPC1June ) ซึ่งตรงกับที่ประธานศาลชี้แจงว่าตนออกหนังสือแจ้งไปยังประธานรัฐสภา แต่มิได้สั่งสภา อีกทั้งตรงกับคำในเอกสารข่าวของสำนักงานศาล  และสอดรับกับการไต่สวนพยานที่ให้ ‘คุณวัฒนา เซ่งไพเราะ’ มาศาล ‘แทนประธานรัฐสภา’ (แต่ไม่ได้มาแทนรัฐสภา) 

การปรับถ้อยคำเช่นนี้ จึงเป็นเครื่องยืนยัน ‘ความผิดรูปผิดรอย’ ของคดีที่หลุดเลยจาก ‘ปริมณฑลทางกฎหมาย’ มาแต่ต้น และทำให้เห็นว่า ศาลเองก็สับสนในข้อกฎหมายมาตั้งแต่วันรับคำร้องแล้วเช่นกัน

แต่คำถามที่สำคัญในเวลานี้ ก็คือ สภาจะเดินหน้าต่ออย่างไร ?

คำวินิจฉัยศาล มีผลทางกฎหมายหรือไม่ ?

แม้ผู้เขียนจะค้านว่า ศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้มาแต่ต้น แต่ก็ค้นจิตสำนึกทางกฎหมายไว้พร้อมแล้วว่า ไม่ว่าสุดท้ายศาลจะวินิจฉัยข้อกฎหมายอย่างไร ผู้เขียนก็พร้อมจะสนับสนุนให้คำวินิจฉัยนั้นต้องเด็ดขาดและเป็นที่สิ้นสุด

กล่าวคือ หากศาลวินิจฉัยว่า รัฐธรรมนูญ ‘กำหนดให้’ รัฐสภาต้องทำ ‘ประชามติ’ ก่อนการ ‘ยกร่างแก้ไขใหม่ทั้งฉบับ’ แม้ว่าผู้เขียนเองจะไม่เห็นด้วยกับศาลเลยก็ตาม แต่ก็พร้อมจะหนุนศาลว่า สภาก็ต้องไปหาวิธีทำประชามติเพื่อปฏิบัติตามที่ศาลได้ชี้ขาด

เหตุผลที่ผู้เขียนมองเช่นนี้ ไม่ใช่เพราะลุ่มหลงกับ มาตรา 216 วรรค 5 แห่งรัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติให้คำวินิจฉัยนั้นต้องเด็ดขาดและผูกพันรัฐสภา แต่เป็นเพราะผู้เขียนเชื่อในหลักการที่ใหญ่กว่านั้น

หลักการที่ว่า ก็คือ ‘หลักกระบวนการเรียนรู้ทางประชาธิปไตย’ กล่าวคือ ประชาธิปไตยต้องอาศัยเวลาในการเรียนรู้ร่วมกันภายใต้กติกาที่แน่นอน แม้จะกติกาที่ว่าจะไม่สมบูรณ์และไม่เป็นที่ถูกใจทุกฝ่ายก็ตาม ดังนั้น เมื่อสภาปฎิบัติตามศาลแล้ว สภาจะไปแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือจะไปปฏิรูปศาลอย่างไร ก็เป็นเรื่องกระบวนการประชาธิปไตยที่ทั้งสภาและศาลจะต้องเรียนรู้ร่วมกัน โดยไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปตัดตอนผลคำวินิจฉัย ซึ่งเป็นสาระของการเรียนรู้เสียเอง

ฉันใดก็ฉันนั้น หากจะมี ‘พายุแดนไกล’ ลูกใด ที่ถูกถูกมองว่ารุนแรงและเลวร้ายต่อการเมืองไทย แต่หากเรามีศาลเป็นที่พึ่ง มีกติกาที่แน่นอน ผู้เขียนก็เชื่อว่า คนไทยก็มิได้โง่เขลาขนาดจะปล่อยให้บ้านเมืองถูกพัดทำลายจนชาติสลาย ดังนั้น จึงไม่มีพื่นที่ใดที่จำเป็นสำหรับ ‘ลัทธิรัฐประหาร’ ที่มาตัดตอนการสู้คลื่นลมโดยประชาชน ที่มีกฎหมาย ศาล สภา และองค์กรอื่นๆ เป็นที่พึ่ง (ดูเพิ่มที่ http://bit.ly/VPProcess )

(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1343354985&grpid=&catid=02&subcatid=0200

สงคราม ป้อมค่าย เบื้องหน้า "ปรองดอง" ประลอง กำลังกัน

สงคราม ป้อมค่าย เบื้องหน้า "ปรองดอง" ประลอง กำลังกัน

 

 

กรณีที่พันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย ยื่นคำขาดให้ถอนร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ ออกก่อนการเปิดประชุมสภาสมัยสามัญในวันที่ 1 สิงหาคม นั้น
เป็นไปเหมือนกับที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง สรุป

นั่นก็คือ "ลงมือเร็วไป"

คำว่า "เร็วไป" สะท้อนให้เห็นการเปิดเกมรุกหลังจากประเมินว่าได้ชัยชนะจาก 2 กลยุทธ์ต่อเนื่องกัน

1 กลยุทธ์สกัดกั้นการร่วมสำรวจชั้นบรรยากาศกับนาซา

1 กลยุทธ์สกัดกั้นการเดินหน้าร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ตามมาตรา 291 ในวาระ 3 ผ่านกระบวนการตุลาการภิวัฒน์ของศาลรัฐธรรมนูญ

จึงไม่ลังเลที่จะเปิดเกมรุกต่อร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ

เป็น การเปิดเกมรุกโดยที่ไม่เพียงแต่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง จะประเมินว่า "ลงมือเร็วเกินไป" ประการเดียว หากที่สำคัญเป็นอย่างมาก คือ มองเห็นแต่ด้านถอยของรัฐบาล ของพรรคเพื่อไทย

มิได้มองเห็นว่ากระบวนการถอยของรัฐบาล ของพรรคเพื่อไทย มิได้เป็นการถอยอย่างไร้กระบวนท่า มิได้ถอยอย่างหนียะย่ายพ่ายจะแจ

ถอยเพื่อรุก

ความ มั่นใจเป็นอย่างยิ่งของรัฐบาลอันแสดงออกผ่าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อันแสดงออกตอกย้ำโดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ต่อร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ คือ

1 ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติอยู่ในสภา

1 ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติทั้ง 4 ฉบับไม่ได้เสนอโดยรัฐบาล หากแต่เป็นการเสนอโดยสมาชิกแห่งรัฐสภา

"รัฐบาลจะไปถอนได้อย่างไร ไม่มีอำนาจและเป็นเรื่องของสภาและผู้อื่น"


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1343360381&grpid=01&catid=&subcatid=

ASEAN Weekly: โลจิสติกส์ในอุษาคเนย์

ASEAN Weekly: โลจิสติกส์ในอุษาคเนย์




(คลิกฟัง)

ASEAN Weekly โดยสุลักษณ์ หลำอุบล และดุลยภาค ปรีชารัชช สัปดาห์นี้ ติดตามข่าวการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนครั้งที่ 45 ที่กรุงพนมเปญ ซึ่งเกิดล้มเหลวเป็นครั้งแรกในรอบ 45 ปี นับตั้งแต่มีสมาคมอาเซียน โดย ที่ประชุมไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมได้ เนื่องจากไม่สามารถมีข้อสรุปร่วมกันในเรื่องการจัดการข้อพิพาทด้านพรมแดนใน ทะเลจีนใต้กับจีน โดยเจ้าภาพอย่างกัมพูชาก็คัดค้านการออกแถลงการณ์ร่วมดังกล่าว ซึ่งเรื่องนี้สะท้อนอิทธิพลของชาติมหาอำนาจในอาเซียนโดยเฉพาะจีน ซึ่งมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ติดต่อกัน และเข้าร่วมการประชุม

ข่าวต่อมา ติดตามสถานการณ์ไทย-กัมพูชาถอนกำลังทหารจากชายแดนพิพาทด้านเขาพระวิหาร ตามคำสั่งศาลโลก และเปลี่ยนเป็นกำลังตำรวจเข้ามาประจำการแทน และปิดท้ายช่วงแรกด้วยข่าวอดีตรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ร่วมเสวนาหัวข้อ "การปรองดอง" กับผู้นำอาเซียนอย่างประธานาธิบดีอินโดนีเซีย และผู้นำฝ่ายค้านมาเลเซียในเวทีเปิดตัววารสาร "Strategic Review" ที่อินโดนีเซีย โดยเป็นการวงประชุมนานาชาติเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่พ้นจากอำนาจหลังรัฐประหารในปี 2549
 
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41754

"สุกำพล"แถลงโชว์หลักฐานสำคัญ"สด.9"ตัวจริง! ยัน"อภิสิทธิ์"ไม่ได้ตรวจเลือกเป็นทหารกองเกิน

"สุกำพล"แถลงโชว์หลักฐานสำคัญ"สด.9"ตัวจริง! ยัน"อภิสิทธิ์"ไม่ได้ตรวจเลือกเป็นทหารกองเกิน

 

http://www.youtube.com/watch?v=LrUcl_fIYm0&feature=player_embedded#! 



จากกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนกระทรวงกลาโหม ได้ทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงถึงสำนักผู้ตรวจการแผ่นดินกรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ถูกร้องใช้เอกสารอันเป็นเท็จ เพื่อเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารวมทั้งมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร

ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการปฏิบัติตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตาม พ.ร.บ. รับราชการทหาร พ.ศ.2497 โดยได้นำหลักฐานตัวจริง ใบสำคัญต่างๆมาแสดง อาทิ แบบแสดงสำคัญ หรือ สด.9  ใบรายชื่อในบัญชีบุคคลพ้นจากฐานะยกเว้นผ่อนผัน หรือแบบ สด.16 และใบรับรองการผ่านการผ่อนผันการเข้าเกณฑ์ทหาร ของสัสดีเขตพระโขนงมา​แสดงต่อสื่อมวลชน ว่านายอภิสิทธิ์ไม่ได้รับการตรวจ เลือกเข้าเป็นทหารกองเกินของกองทัพบก และยังเป็นเอกสารที่ไม่อยู่ในระบบราชการ เข้าบรรจุรับราชการเป็นอาจารย์ในโรงเรียนนายร้อย จปร. รวมไปถึงการเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ก็มีการลา ถึง 200 วัน ทำงานเพียง 35 วัน

พล.อ.อ.สุกำพล แถลงว่า ส่วนกรณีที่นายศิริโชค โสภา ส.ส.ประชาธิปัตย์ นำเอกสาร สด. 20 มายืนยันว่านายอภิสิทธิ์ได้รับการผ่อนผันจากกองทัพ หนึ่งในคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ ชี้แจ้งว่า เอกสารฉบับดังกล่าวคือบัญชีที่ได้รับการผ่อนผัน จะเกิดขึ้นต่อเมื่อนายอภิสิทธิ์ ได้ผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร แต่จากการตรวจสอบไม่มีเอกสารการขอผ่อนผันมายืนยันทั้งนี้เอกสารทั้งหมดที่นำ มาแสดงในวันนี้ ทางกองทัพได้ส่งให้กับสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อนำไปตรวจสอบตั้งแต่วัน ที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา และจะดำเนินการส่งเพิ่มเติมอีกครั้ง


ส่วนจะดำเนินคดีอาญากับนายอภิสิทธิ์ ฐานหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหารหรือไม่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวว่าเรื่องดังกล่าวไม่อยู่อำนาจ เพราะเวลาผ่านมาแล้วกว่า  25 ปี ซึ่งคดีน่าจะขาดอายุความไปแล้ว อย่างไรก็ตาม พล.อ.อ.สุกำพล ยืนยันว่าการออกมาชี้แจงเรื่องดังกล่าวไม่มีเจตนาเล่นงานทางการเมือง แต่เป็นการดำเนินการตามขอบข่ายอำนาจของกระทรวงกลาโหม


(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1343366201&grpid=00&catid=&subcatid=