หน้าเว็บ

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ต้องยอมรับคำวินิจฉัยที่ไม่เป็นธรรมด้วยหรือ

ต้องยอมรับคำวินิจฉัยที่ไม่เป็นธรรมด้วยหรือ

 


อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยและสมาชิกบ้านเลขที่111 ชี้ 6 ข้อกังขาต่อความชอบธรรมในการวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

โดยจาตุรนต์ ฉายแสง 

 

 

“แต่ถ้าปล่อยให้มีการแสดงความเห็นในทางยอมรับหรือเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยแต่เพียงทางเดียว จะเกิดความยุติธรรมจริงหรือ  

บางทีเราก็ลืมกันไปว่าคำว่ายุติธรรมนั้นคือ ยุติด้วยการตัดสินที่เป็นธรรม หากตัดสินด้วยความไม่เป็นธรรมแล้วความขัดแย้งนอกจากจะไม่ยุติ ยังอาจจะยิ่งสับสนวุ่นวายยิ่งขึ้นอีกด้วย”
 
มีเสียงเรียกร้องจากฝ่ายที่ต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีที่มีผู้ร้องตามมาตรา 68 ในวันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคมนี้แล้วทุกฝ่ายควรจะยอมรับคำวินิจฉัยนั้น บางคนก็ไปไกลถึงขั้นที่เสนอว่า ไม่ว่าศาลจะวินิจฉัยออกมาอย่างไรทุกฝ่ายก็ต้องยอมรับ มิฉะนั้นสังคมก็จะวุ่นวาย

ผมขอตั้งคำถามว่าจำเป็นด้วยหรือที่ทุกฝ่ายทุกคนจะต้องยอมรับคำวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญ และจริงหรือที่ว่าหากไม่ยอมรับแล้วสังคมจะวุ่นวาย

คำว่า “ควรยอมรับ”หรือ “ต้องยอมรับ” ถ้ามาจากคู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียก็มักมาจากฝ่ายที่เชื่อว่าคำวินิจฉัยจะ ตรงกับความเห็นของตนหรือเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายตน    ต้องการให้เรื่องที่ขัดแย้งกันอยู่นั้นยุติลงตามคำวินิจฉัย

ผู้ที่กำลังเรียกร้องอย่างแข็งขันให้ทุกฝ่ายยอมรับคำวินิจฉัยครั้งนี้ ก็ดูจะได้แก่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และคุณชวน หลีกภัย

แต่ถ้าปล่อยให้มีการแสดงความเห็นในทางยอมรับหรือเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยแต่เพียงทางเดียว จะเกิดความยุติธรรมจริงหรือ  

บางทีเราก็ลืมกันไปว่าคำว่ายุติธรรมนั้นคือ ยุติด้วยการตัดสินที่เป็นธรรม หากตัดสินด้วยความไม่เป็นธรรมแล้วความขัดแย้งนอกจากจะไม่ยุติ ยังอาจจะยิ่งสับสนวุ่นวายยิ่งขึ้นอีกด้วย

 เพราะฉะนั้นถ้าจะให้เกิดความยุติธรรมขึ้นจริงๆ เมื่อมีคำวินิจฉัยออกมา ควรเปิดโอกาสให้คนแสดงความเห็นได้ทั้งทางที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับคำ วินิจฉัยนั้น  

กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินในวันที่ 13 นี้  เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมาอย่างไร ย่อมผูกพันองค์กรต่างๆ องค์กรที่เกี่ยวข้องก็ย่อมต้องปฏิบัติตาม เช่น ถ้าศาลฯสั่งให้รัฐสภายุติการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา291 ที่กำลังทำกันอยู่ รัฐสภาก็ไม่สามารถลงมติในวาระที่ 3 ต่อไปได้ การแก้รัฐธรรมนูญก็ต้องยุติลง แล้วหากใครอยากจะแก้อีกก็คงต้องไปเริ่มต้นกันใหม่ 

(อ่านต่อ)

นายกฯสเปนประกาศขึ้นVATเป็น 21% ตัดงบท้องถิ่นกว่า 3,500 ล้านยูโร สนอง"รัดเข็มขัด"

นายกฯสเปนประกาศขึ้นVATเป็น 21% ตัดงบท้องถิ่นกว่า 3,500 ล้านยูโร สนอง"รัดเข็มขัด"

 

foton


นายกรัฐมนตรีมาเรียโน ราโคยของสเปน ประกาศการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จาก 18% ขึ้นเป็น 21% และการปรับลดงบประมาณท้องถิ่นลงกว่า 3.5 พันล้านยูโร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งมาตรการรัดเข็มขัดครั้งใหม่เพื่อรักษาสมดุลงบประมาณต่อ รัฐสภา

ก่อนหน้านี้ ที่ประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซน ได้ตกลงกันในเงื่อนไขที่จะให้ความช่วยเหลือธนาคารที่ประสบปัญหาของสเปน โดยพร้อมที่จะจัดหาเงินมูลค่า 3 หมื่นล้านยูโรให้กับธนาคารสเปนที่ประสบปัญหาภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม และจะขยายระยะเวลาสำหรับรัฐบาลสเปนออกไปอีก 1 ปีจนถึงปี 2014 ในการบรรลุเป้าขาดดุลงบประมาณที่ร้อยละ 3  ของจีดีพี

ทั้งนี้ รัฐบาลสเปนจะปรับลดงบใช้จ่ายลงราว 1 หมื่นล้านยูโรภายในปีนี้  ซึ่งมาตรการของรัฐบาลสเปน รวมถึงการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม การปรับลดการจ่ายเงินสวัสดิการสังคม การปรับลดการจ่ายเงินสวัสดิการว่างงาน และการปรับเปลี่ยนวิธีการคำนวณเงินบำนาญ และเพื่อเป็นการตอบแทน คณะกรรมาธิการยุโรป เสนอที่จะผ่อนคลายเป้าหมายในการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลสเปน
 
นายราโคย ซึ่งถูกขัดจังหวะหลายครั้งจากรัฐมนตรีจากพรรคฝ่ายค้าน กล่าวต่อรัฐสภาว่า มาตรการที่เขาประกาศในครั้งนี้จะต้องเร่งดำเนินการในทันที  โดยการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มและการตัดงบประมาณอื่นๆครั้งนี้ จะทำให้รัฐบาลลดการใช้จ่ายงบประมาณไปได้กว่า 6.5 หมื่นล้านยูโร ภายในระยะเวลา 2 ปีครึ่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 6.5 ของจีดีพี

นายกฯสเปนประกาศการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จาก 18% ขึ้นเป็น 21% ขณะที่ในภาคการขนส่งสาธารณะและธุรกิจโรงแรม อัตราภาษีจะอยู่ที่ระหว่าง 8-10% ส่วนสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน อาทิ ขนมปัง ยา และหนังสือ อัตราภาษียังคงเดิมที่ 4% ขณะที่องค์กรสาธารณะ จะงดจ่ายโบนัสในวันคริสต์มาส   และผลประโยชน์ที่ได้รับหลังการลาออกจากงานจะถูกตัดเมื่อครบ 6 เดือน
 

(อ่านต่อ)http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1341991776&grpid=&catid=06&subcatid=0600 



คนงานเหมืองแร่ลุกขึ้นมาประท้วงหลังจากที่นายกฯประกาศขึ้นVATเป็น 21% ตัดงบท้องถิ่นกว่า 3,500 ล้านยูโร สนอง"รัดเข็มขัด"




The 'black march' through the center of Madrid .. ตอนนี้คนงานเหมืองแร่ที่สเปนกำลังต่อสู้อย่างดุเดือด เพราะรัฐบาลกำลังตัดการสนับสนุนและจะทำให้คนงานเหมืองแร่ตกงานเกือบหมด พวกเขาเดินขบวนเข้ามาในเมือง มาดริด ซึ่งคนในเมืองใหัการสนับสนุน และร่วมประท้วงด้วยดังภาพ

คนในเมืองหลายพันร่วมชุมนุมและสนับสนุน คนงานเหมืองแร่ซึ่งสวมหมวกแข็งและเปิดไฟด้านหน้า (ชุดทำงาน)ซึ่งกำลังถูกรัฐบาลตัดงบการสนับสนุน 63% ได้เดินขบวนเข้ามาในเมือง ซึ่งชาวมาดริดบางส่วนคนก็จุดพลุแสงสว่างบนไฮส์เวย์ และติดป้ายแสดงข้อความสนับสนุน คนงานในทุก ส่วนของสเปนกำลังถูกกดดันอย่างหนักจากรัฐบาลฝ่ายขวาที่รับแนวเสรีนิยมสุด ขั้วมาจากสหภาพยุโรป ได้บังคับให้ประชาชนต้องจ่ายภาษีเพิ่มมากขึ้น ออกกฎหมายที่ไล่คนงานออกได้ง่ายขึ้น ตัดงบประมาณการศึกษาและระบบสาธรณสุข ฯลฯ

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand


  

Wake Up Thailand 11กค55

http://www.youtube.com/watch?v=R8Qfuv5cqNE&feature=plcp

The Daily Dose

The Daily Dose

 

The Daily Dose 11กค55

http://www.youtube.com/watch?v=BrlKXextBes&feature=plcp

Divas Cafe

Divas Cafe

 


แดงโห่ ปชป เฮ นักวิชาการซัด กระแสตีกลับเพื่อไทย Divas Cafe 13มิย55
http://youtu.be/vTCbQdANN1k

จับกระแสข่าวศุกร์13 Divas Cafe 11กค55

 http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=IZpIeSPB39I

กองทัพไทยมีไว้ปราบ"ประชาชน"

กองทัพไทยมีไว้ปราบ"ประชาชน"

 
สุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ ชี้ให้เห็นถึงบทบาทของกองทัพไทยว่าแท้ที่จริงแล้ว มิได้ทำหน้าที่หลักในการปกป้องประชาชนอย่างที่คนเข้าใจ แต่มีบทบาทหลักในการปกป้องอำนาจของชนชั้นปกครอง และหลายครั้งถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเข่นฆ่าประชาชน โดยดูได้ในกระทู้ถามตอบด้านล่าง:
ถาม: เรียนถามอาจายร์ครับ อยากทราบว่า ร.5 มีกองกำลังไว้ปราบปรามประชาชนจริงไหมครับ

ส.ศิวรักษ์: จริงสิครับ อันนี้คุณไม่้ต้องเชื่อผม เพราะ ร.5 เสด็จอินเดีย ก่อนพระชนม์ครบ 20 และได้อิทธิพลจากคนอังกฤษที่อินเดียเลยว่า ถ้าเผื่อจะมีชาติ จะปกครองบ้านเมืองต้องมีกองทัพที่เกรียงไกร ไม่ใช่ไปรบกับอริราชศัตรู เพราะศัตรูของไทยเวลานี้ ข้างหนึ่งอังกฤษมันยึดพม่าไปแล้ว ยึดมลายูไปแล้ว อีกด้านฝรั่งเศส มันยึดเขมรไปแล้ว แล้วกองทัพไทยจะไปรบกับใครครับ ก็มีไว้สำหรับปราบปรามศัตรูเท่านั้นเอง นี่ท่านไปเรียนมาจากอังกฤษ ที่มันบอกมันปกครองอินเดียได้ หนึ่ง)ต้องให้การศึกษาล้างสมองคน ให้นับถือพระเจ้าแผ่นดิน ยิ่งกว่านับถือพ่อแม่ ให้เรียนภาษาภาคกลาง ยิ่งกว่าภาษาของตัวเอง สอง)ต้องวางแผนการปกครอง ศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเทพฯ รวบอำนาจไว้ที่กรุงเทพฯทั้งหมด แต่ก่อนไม่เป็นครับ เรามีพระเจ้าเชียงใหม่ พระเจ้าน่าน พระเจ้าแพร่ ที่ปัตตานีเขาก็มีเจ้าผู้ครองนครปัตตานี แล้วแต่ก่อนนี้ ไทรบุรี กลันตัน ก็เป็นของเรา เขาก็มีเจ้านครทั้งนั้น ร.5ไปยึดเอามาหมดเลย แล้วถ้าเผื่อยึดอย่างนี้ พวกนั้นเขาขัดแข็ง ก็เอากองทัพไปปราบ ดังนั้นกองทัพไทยมีไว้ปราบปรามคนไทยตั้งแต่ร.5 เริ่มปราบกบฏผีบุญที่อุบลฯ กบฏเมืองแพร่ กบฏปัตตานี นี้3เมืองนี้สมัยร.5 แล้วปราบเรื่อยมาสมัยรัชกาลที่6 ก็ปราบพวก ร.ศ.130 รัชกาลที่7 ก็กบฏบวรเดชปราบพวกคณะราษฎร แต่แพ้ สมัยรัชกาลที่9 ก็ปราบมาเรื่อยเลย ตั้งแต่2490 , 2516 , 2519 พฤษภาทมิฬ แล้วที่ราชประสงค์ กองทัพปราบประชาชนแทบทั้งนั้น กองทัพทำอย่างอื่นไม่เป็นเลยครับ เพราะถ้าไม่ปราบประชาชนมันก็เล่นกอลฟ์กัน เที่ยวผู้หญิงกัน ตีกะหรี่กัน ซื้อรถยนต์แพงๆขับแข่งกัน นี้คนก็หลงมัน เหมือนที่หลงคึกฤทธิ์ ปราโมช หลวงวิจิตรฯ โอ้ กองทัพมาช่วยเรื่องน้ำท่วมหน่อย ก็ตื่นเต้นกันใหญ่ น้ำท่วมไม่ใช่หน้าที่กองทัพเลย แต่ไม่มีอะไรทำ ออกมาช่วยก็ดีเหมือนกัน ดีกว่าอยู่เปล่าๆ
(ที่มา)http://www.facebook....150941885092798 

'30 บาท' เก็บทั้งทีต้องดีกว่าเดิม

'30 บาท' เก็บทั้งทีต้องดีกว่าเดิม



หมอ

โดยนพ.พงศธร พอกเพิ่มดี

 

การเก็บค่าธรรมเนียมเมื่อไปใช้บริการสำหรับบัตรทองครั้งละ 30 บาท กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างอีกครั้ง เมื่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทยได้พยายามรื้อฟื้นขึ้นมา หลักจากที่ถูกยกเลิกไปในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ครั้งนี้พรรคเพื่อไทยอ้างเหตุผลในการกลับมาเก็บค่าธรรมเนียม 30 บาท เพื่อเพิ่มคุณภาพการให้บริการให้กับประชาชน การเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะสามารถเพิ่มคุณภาพบริการตามที่ทางการ เมืองกล่าวอ้างได้จริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงต้องการรีแบรนด์โครงการนี้ใหม่ จะมีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร มีแง่มุมเพื่อแลกเปลี่ยน ดังนี้


ก่อนอื่นนั้นมีคำ 2 คำที่อยากทำความเข้าใจในเบื้องต้นก่อน คือ 1) การร่วมจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ (Co-insurance) เช่น การเก็บเบี้ยประกันสุขภาพรายเดือนของผู้ประกันตน ร่วมกับนายจ้างและรัฐบาล มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้มีงบประมาณเพียงพอในการดูแลสุขภาพซึ่งเป็นรูปแบบระบบสวัสดิการสังคม (Social health insurance) ที่มีต้นแบบมาจากเยอรมัน และ 2) การเก็บค่าธรรมเนียมการให้บริการ ณ จุดรับบริการ (Co-payment หรือ user charge) เช่น การเก็บ 30 บาท เมื่อมารับบริการที่โรงพยาบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการลด (Moral hazard) หรือการใช้บริการที่ไม่จำเป็นลง โดยเฉพาะการไปโรงพยาบาลนั้นที โรงพยาบาลโน้นที เพราะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

อย่างไรก็ตามแม้การเก็บค่าธรรมเนียมนั้นจะมีข้อดี แต่ก็จะส่งผลกระทบในการเข้าถึงบริการของประชาชนโดยเฉพาะคนจน หากค่าธรรมเนียมนั้นแพงเกินไป ปัญหาก็จะตกอยู่ที่คนจนที่จะไม่สามารถจะเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็น โดยเฉพาะ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมป้องกันโรค เช่น การรับวัคซีน การฝากครรภ์ เป็นต้น เพราะค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่เฉพาะค่าธรรมเนียมอย่างเดียว แต่ประชาชนยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ (indirect cost) เช่น ค่าเดินทาง การขาดรายได้จากการทำงานในวันนั้น ด้วยเหตุนี้การเก็บเงินค่าธรรมเนียม จึงจะต้องออกแบบให้เหมาะสมและพิจารณาด้วยความรอบคอบ จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบสุขภาพ 

(อ่านต่อ) 
http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41478 

ยุบศาลรัฐธรรมนูญเสียเถอะ

ยุบศาลรัฐธรรมนูญเสียเถอะ

 

โดยสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ


เมื่อวันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญไทย ได้มีมติ 7 ต่อ 1 ให้รับคำร้องของกลุ่ม 40 สมาชิกวุฒิสภาที่นำโดย พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม นายสมชาย แสวงการ ส.ว.ลากตั้ง โดยอ้างถึงกรณีที่รัฐสภาได้ผ่านการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ขั้นวาระที่สองในมาตรา 291 ให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อร่างรัฐธรรมูญฉบับใหม่ โดยศาลรัฐธรรมูญเห็นว่า การดำเนินการเช่นนั้น อาจเป็นการลบล้างระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมาพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ศาลจึงออกคำสั่งให้รัฐสภาชะลอการพิจารณาลงมติร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมในวาระ 3 ที่จะมีขึ้นวันที่ 5 มิถุนายน 2555 เอาไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยออกมา

ในคำอธิบายของศาลรัฐธรรมนูญอ้างการตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ซึ่งระบุไว้ว่า ผู้ทราบการกระทำว่า มีบุคคลหรือพรรคการเมืองกระทำการเพื่อลบล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอัน มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีสิทธิ์เสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุด และเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเพื่อดำเนินการวินิจฉัยสั่งการให้เลิกกระทำ การดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีอำนาจรับเรื่องพิจารณาได้ และเมื่อศาลรับพิจารณา แล้วรัฐสภาก็ต้องชะลอการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามคำสั่ง

กรณีนี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของผู้ใช้อำนาจตุลาการ ใช้อำนาจแทรกแซงการดำเนินการของฝ่ายนิติบัญญัติ แต่กระนั้น คงต้องเริ่มอธิบายว่า การใช้อำนาจตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ ก็มาจากการตีความเอาเองของศาล เพราะตามข้อบัญญัติในเรื่องนี้จะต้องให้ผู้ร้องเสนอต่ออัยการสูงสุด แล้วให้อัยการสูงสุดเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญ การตีความเช่นนี้ ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจล้นฟ้า และถือกันว่าเป็นการยึดอำนาจโดยศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสถาปนาสูงสุด เหนือกว่ารัฐสภา ที่ได้รับอาณัติมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ยิ่งกว่านั้น การออกคำสั่งต่อรัฐสภาก็เป็นการดำเนินการโดยไม่มีกฏหมายใดรองรับ เป็นการใช้อำนาจสั่งเอง

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41497

กรือเซะ: เยียวยาหรือตอกย้ำบาดแผล

กรือเซะ: เยียวยาหรือตอกย้ำบาดแผล

 


ญาติของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์กรือ เซะ ในวันที่ 28 เมษายน 2547 ชุมนุมประท้วงแสดงความไม่พอใจต่อมติของคณะกรรมการเยียวยาฯ ที่อนุมัติเงินเยียวยาเพียง 4 ล้านบาท

โดยฮัสซัน โตะดง 
โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ)

 
บรรดาญาติของผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ปะทะที่บริเวณมัสยิดกรือเซะเมื่อ แปดปีก่อนรวมตัวกันในช่วงกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาเพื่อคัดค้านมติของทาง การที่อนุมัติเงินเยียวยาให้กับครอบครัวผู้เสียชีวิตเพียงรายละ 4 ล้านบาท การชดเชยด้วยตัวเงินที่มุ่งหวังให้เป็นการเยียวยาความรู้สึกอาจกลับกลายเป็น การตอกย้ำบาดแผลที่อยู่ในใจคนมลายูมุสลิมก็เป็นได้

นางแสนะ บูงอตันหยง หนึ่งในตัวแทนผู้ชุมนุม ผู้ซึ่งสูญเสียลูกชายจากเหตุการณ์กรือเซะแถลงในวันที่ 18 มิถุนายน 2555 ว่าตนรับไม่ได้กับมติของคณะกรรมการเยียวยาฯ ที่ตัดเงิน 3.5 ล้านบาทออกไปโดยอ้างว่า “มีการปะทะกับเจ้าหน้าที่”

“ความจริงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าในมัสยิดนั้นมีทั้ง เยาวชน และคนชราที่ไม่สามารถต่อสู้ได้”, นางแสนะกล่าวในใบแถลงการณ์ที่เขียนด้วยลายมือเป็นภาษาไทย “ถามว่าบุคคลเหล่า นี้ได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ ? หรือได้รับการพิพากษาหรือไม่? ซึ่งเห็นได้ว่าหน่วยงานภาครัฐใช้วิธีวิสามัญฆาตกรรม โดยใช้อาวุธสงครามกระหน่ำอย่างหนัก ถล่มเพื่อหวังแก่ชีวิตโดยไม่คำนึงถึง (สิทธิ) มนุษยชน” 

กระแสคัดค้านเกิดขึ้นภายหลังจากที่คณะกรรมการเยียวยาฯ มีมติในวันที่ 10 มิถุนายน 2555 ให้เงินเยียวยาจำนวน 7.5 ล้านบาทกับผู้ได้รับผลกระทบในเหตุการณ์ 28 เมษายน 2547 กรณีสะบ้าย้อยจำนวน 19 ราย ในขณะที่กรณีกรือเซะให้เพียงรายละ 4 ล้านบาท 

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41495

บังคับให้รักแล้วปล่อยตัว!? 'โจ กอร์ดอน' ได้รับการอภัยโทษแล้ว ปล่อยตัวจากเรือนจำคืนวานนี้

บังคับให้รักแล้วปล่อยตัว!? 'โจ กอร์ดอน' ได้รับการอภัยโทษแล้ว ปล่อยตัวจากเรือนจำคืนวานนี้

 

 

นักโทษคดีม. 112 สัญชาติไทย-อเมริกัน 'โจ กอร์ดอน' ได้รับพระราชทานอภัยโทษแล้ว หลังจากถูกคุมขังมาแล้วกว่าหนึ่งปี โดยโฆษกสถานทูตสหรัฐระบุว่าได้จับตาและหารือกับทางการไทยอย่างสม่ำเสมอ เรื่องมาตราฐานเสรีภาพในการแสดงออกสากล 

11 ก.ค. 55 - สำนักข่าวเอพีรายงานโดยอ้างคำพูดของ วอลเตอร์ บราวน์โนเลอร์ โฆษกของสถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทยว่า โจ กอร์ดอน ผู้ต้องขังคดีม. 112 สัญชาติไทย-อเมริกัน ได้รับพระราชทานอภัยโทษแล้ว โดยเขาถูกปล่อยตัวคืนวันอังคารที่ผ่านมา (10 ก.ค.) ทั้งนี้ ไม่มีเหตุผลที่ชัดเจนสำหรับการอภัยโทษครั้งนี้ แต่โฆษกสถานทูตฯ กล่าวว่าทางการสหรัฐได้กระตุ้นทางการไทยอย่างสม่ำเสมอในเรื่องมาตรฐาน เสรีภาพการแสดงออกตามหลักสากล

"ทางเรายินดีมากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานอภัยโทษให้ แก่โจ กอร์ดอน ซึ่งทำให้เขาได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำ" บราวน์โนเลอร์ ให้สัมภาษณ์กับเอพี "เราได้กระตุ้นเตือนไปยังทางการไทยอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในทางส่วนตัวและทางสาธารณะ ทั้งในกรุงเทพฯ และกรุงวอชิงตัน ว่าให้พิทักษ์เสรีภาพในการแสดงออกตามพันธกรณีสากล"
เว็บไซต์เดอะ การ์เดียนของอังกฤษ รายงานเรื่องนี้เช่นกัน โดยมองว่า การที่โจ กอร์ดอนได้รับอภัยโทษในช่วงนี้ อาจเป็นเพราะนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยต้องไปพบปะกับนางฮิลลารี คลินตันในกัมพูชาสัปดาห์นี้ และต้องการหลีกเลี่ยงความสนใจที่อาจพุ่งเป้ามาที่กรณีของโจ กอร์ดอน รวมถึงกรณีผู้ต้องโทษประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพรายอื่นๆ

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41485