หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

ครม.เยียวยาเหยื่อสลายชุมนุมเสียชีวิต 4.5 ล้านบาทต่อราย


10 ม.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมว่า ที่ประชุมเห็นชอบตามที่คณะกรรมการประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อ เสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) ที่มีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีแลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน เสนอแนะมาตรการ กลไก และวิธีการในการเยียวยาผู้เสียหาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงหรือความขัดแย้งทางการเมือง ตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 ถึงเมษา-พฤษภาปี 2553 ดังนี้

1.กรณีเสียชีวิต อัตรา 4.5 ล้านบาทต่อราย โดยคำนวณตามฐานข้อมูลรายได้เฉลี่ยประจำต่อคนต่อเดือนตามสถิติรายได้ประชา ชาติของประเทศไทย (GDP per Capita) ของปี 2553 ซึ่งเท่ากับ 1.5 แสนบาท ชดเชยค่าเสียโอกาสเป็นเวลา 30 ปี โดยประมาณว่าผู้เสียชีวิตมีอายุเฉลี่ยที่ 35 ปี จะมีโอกาสทำงานไปจนถึงอายุ 65 ปี

2.เงินช่วยเหลือค่าปลงศพ อัตรา 2.5 แสนบาทต่อราย
3.เงินชดเชยกรณีทุพพลภาพ อัตราเท่ากับเงินชดเชยกรณีเสียชีวิต
 
http://www.prachatai.com/journal/2012/01/38690
ผู้แทน 'ยูเอ็น’ ด้านเสรีภาพการแสดงออก เยือน ‘ประชาไท’

‘แฟรงค์ ลา รู’ ผู้ตรวจการพิเศษด้านเสรีภาพการแสดงออกแห่งยูเอ็น เข้าเยี่ยมสำนักข่าวประชาไทในวาระการมาเยือนไทยอย่างไม่เป็นทางการ ระบุจะยังคงสนับสนุนให้รัฐบาลไทยแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และพร้อมให้ความช่วยเหลือตามต้องการ

10 ม..ค. 55 แฟรงค์ ลา รู ผู้ตรวจการพิเศษด้านเสรีภาพการแสดงออกของสหประชาชาติ ได้เข้าเยี่ยมสำนักข่าวประชาไท ในวาระการมาเยือนประเทศไทยอย่างไม่เป็นทางการ ก่อนจะเดินทางไปเข้าร่วมเวทีสัมมนาด้านเสรีภาพการแสดงออกที่สิงคโปร์ในวัน พรุ่งนี้ โดยลา รู ย้ำว่า ทางยูเอ็นจะยังคงหนุนให้รัฐบาลไทยทำการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ต่อไปในอนาคต

ลา รู กล่าวกับผู้สื่อข่าวประชาไทว่า ครั้งนี้เป็นครั้งที่สามแล้วที่เขาได้เดินทางมาเยือนประเทศไทย และเขาหวังว่าจะได้กลับมาอีก เพื่อตรวจดูสถานการณ์ที่เกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทยในทุกแง่ มุม ไม่เพียงแต่ในแง่ของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงเรื่องการแสดงออกทางวัฒนธรรม, สิทธิในการชุมนุมโดยสันติ, การคุ้มครองผู้สื่อข่าว, สิทธิในการเข้าถึงข้อมู

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/01/38683

33 องค์กร หนุนแก้ รธน.เลือก สสร. หยุดอำนาจนอกระบบโดยสมบูรณ์

 

33 องค์กรร่วมลงนามในแถลงการณ์ สนับสนุนแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ตามแนวทางของคณะนิติราษฎร์ และ นปช. ด้วยการเลือก สสร. 3 หวังสร้างสังคมไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง โดยมีรายละเอียดแถลงการณ์ ดังนี้

0 0 0 

 แถลงการณ์
ขอสนับสนุนแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112
แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 โดยประชาชนเลือก สสร. 3
เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง

ความเห็นต่างทางความคิด และความขัดแย้งทุกปริมณทลทางการเมืองสังคมวัฒนธรรม ถือได้ว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาในสังคมประชาธิปไตย ในทางตรงกันข้าม มีแต่ความเห็นเหมือนอย่างถูกกดขี่บังคับและการปิดกั้นความต่างโดยการริดร อนเสรีภาพ ล้วนสะท้อนถึงการปกครองประเทศแบบเผด็จการอำนาจนิยมของผู้ปกครองทั้งสิ้น
ปัจจุบัน การขับเคลื่อนทางสังคมไทย เพื่อปรับเปลี่ยนแก้ไขนำพาสังคมไทยสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์นั้น ได้รวมศูนย์อยู่ในประเด็นการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 และการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ 50
“คณะนิติราษฎร์” ได้มีข้อเสนอเพื่อแก้ไขผลพวงของการรัฐประหาร และปัญหาด้านสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน โดยการแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 เพื่อสอดคล้องกับหลักการความยุติธรรมและระบอบประชาธิปไตยดั่งอารยะประเทศ
เพื่อมิให้เกิดกรณีเช่น “อากง” “สมยศ พฤกษาเกษมสุข” “สุรชัย แซ่ด่าน” “สุรพศ ทวีศักดิ์” “ก้านธูป” และอีกหลายคน จึงต้องยึดหลักนิติรัฐคู่กับหลักนิติธรรม มิใช่ปล่อยให้บุคคลใดฟ้องร้องกล่าวโทษก็ได้ และควรกำหนดโทษให้เหมาะสมกับสิทธิ์ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ยุคโลกาภิวัฒน์มิ ใช่ยุคป่าเถื่อนอีกแล้ว ตลอดทั้งเพื่อมิให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการบ่อนทำลายผู้รักชาติรัก ประชาธิปไตยเหมือนเช่นประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ผ่านมา

ขณะที่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายการปกครองสูงสุดของประเทศ และกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นการสะท้อนความสัมพันธ์ทางอำนาจของกลุ่มพลังต่างๆใน สังคมไทย แต่อย่างใดก็ตามรัฐธรรมนูญก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขทางการเมืองอยู่ ตลอดเวลาโดยเฉพาะเมื่อมีการรัฐประหารเกิดขึ้นในสังคมการเมืองไทย
    
ปัญหารากเหง้าของรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่มาจาก “ระบอบอำมาตยาธิปไตย” โดย “อำมาตยาธิปไตย” และเพื่อ”อำมาตยาธิปไตย” จึงต้องดำเนิการแก้ไขเพื่อนำพาสังคมไทยสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อย่างแท้จริง

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/01/38668